space
space
space
<<
ธันวาคม 2560
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
12 ธันวาคม 2560
space
space
space

แพทย์-ผู้ป่วย ชี้ล้างไตทางช่องท้อง ตอบโจทย์คนไทย


แพทย์-ผู้ป่วยชี้ล้างไตทางช่องท้อง ตอบโจทย์คนไทย

ลดโหลดรพ.ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาแม้พื้นที่ห่างไกล

แพทย์โรคไต รพ.อยุธยา และประธานชมรมเพื่อนโรคไต ประสานเสียงยืนยันการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน(CAPD) สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งทางระบบสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ช่วยลดปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอและความแออัดในโรงพยาบาลอีกทั้งยังช่วยตอบโจทย์บริบทผู้ป่วยโรคไตในพื้นที่ห่างไกลและช่วงประสบภาวะวิกฤติอุทกภัย ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อยครั้ง

พญ.เสาวลักษณ์ ชาวโพนทอง อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากโรคไตวายเรื้อรังมักพบในผู้สูงอายุนอกจากนี้ตัวเลขที่สูงขึ้นยังมากจากการคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงอีกด้วยอย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่ผู้ป่วยก็สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทั่วถึงมากกว่าในอดีตเนื่องจากนโยบาย PD First Policy ที่ให้ผู้ป่วยบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องเป็นอันดับแรกในผู้ป่วยสิทธิบัตรทองโดยผู้ป่วยสามารถทำเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อยๆ ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียังสามารถช่วยลดปัญหาการขาดแคลนด้านบุคคลากรทางการแพทย์และความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างมาก

พญ.เสาวลักษณ์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตมีทัศนคติที่ดีขึ้นกับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเอง(CAPD) โดยทีมแพทย์ มีการให้ข้อมูลและทางเลือกด้านการรักษาที่มากขึ้นควบคู่กับการให้ความรู้เรื่องการป้องกัน เช่น การกินยาชุด หรือยาลูกกลอนจะส่งผลเสียต่อไตอย่างไร รวมถึงการจัดตั้ง HealthGroup ให้ผู้ป่วยและญาติ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการรักษาซึ่งกันและกันอีกทางหนึ่งทำให้ผู้ป่วยใหม่เห็นว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีนี้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติส่งผลให้ผู้ป่วยเชื่อมั่นในด้านการรักษาที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้ป่วยเปิดใจกว้างและยอมรับพร้อมเลือกรับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเข้าถึงการรักษาได้ทั่งถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวขึ้น

“นอกจากนี้ รพ.อยุธยายังได้มีการวางแผนสำหรับผู้ป่วยในเหตุการณ์วิกฤติต่างๆ เช่น น้ำท่วมโดยทำคู่มือดูแลตนเองในภาวะน้ำท่วม และมีการส่งน้ำยาล้างไตล่วงหน้าให้กับผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยไม่สามารถออกมาได้ทางโรงพยาบาลได้มีการประสานหน่วยงานต่างๆ ในการขนส่งน้ำยาล้างไตโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย พร้อมเตรียมทีมช่วยเหลือฉุกเฉินไว้ทั้งมีการสำรองน้ำยาล้างไตไว้สำหรับผู้ป่วยวิกฤติอีกด้วย” พญ.เสาวลักษณ์กล่าว

ด้าน นายธนพลธ์ ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทยกล่าวว่า เป็นไตวายอย่าท้อ เพราะยังสามารถทำงานได้และไม่เป็นภาระใครหากรู้จักดูแลรักษาตนอย่างถูกวิธี ซึ่งตนเองเคยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังมากว่า 13ปีและปัจจุบันได้รับการปลูกถ่ายไตแล้ว แต่ตนยังทำหน้าที่ผลักดันและให้ความรู้ด้านสิทธิการรักษาและวิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยและสมาชิกชมรมซึ่งมีอยู่มากกว่า 100,000 ราย โดยเฉพาะเรื่องการล้างไตทางช่องท้อง จากการสำรวจพบว่าเป็นวิธีที่ช่วยตอบโจทย์บริบทไทยมากที่สุดเนื่องจากสามารถทำได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยไม่ต้องสูญเสียเงินในการเดินทางมาโรงพยาบาล ไม่ต้องใช้ชีวิตแบบผูกขาดอยู่กับสถานพยาบาลถึงสัปดาห์ละ3 วันเพื่อฟอกเลือดและไม่เป็นภาระของญาติที่ต้องพามาโรงพยาบาลด้วย จึงช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถเข้าถึงบริการได้100% แม้แต่ผู้ป่วยที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ก็สามารถได้รับบริการอย่างทั่วถึงมีน้ำยาล้างไตส่งให้ถึงที่บ้าน ส่วนเรื่องการติดเชื้อไม่ต้องกลัว เพราะการดูแลตัวเองย่อมทำได้ดีกว่าให้คนอื่นมาดูแลแต่เราต้องตระหนักถึงความสะอาดและทำตามขั้นตอนที่แพทย์และพยาบาลแนะนำอย่างเคร่งครัด

“เมื่อก่อนคนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตเนื่องจากไม่มีเงินรักษาหรือไม่ก็ต้องล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาหลังจากการขับเคลื่อนเพื่อให้ได้สิทธิคุ้มครองรักษาโรคไต (CAPD FirstPolicy) ในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคผู้ป่วยก็มีโอกาสในการรักษาและสามารถเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น โดยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธีที่ช่วยตอบโจทย์บริบทของคนไทยได้ดีมาก เพราะผู้ป่วยบางคนอยู่บนดอยห่างจากสถานพยาบาลร่วม 200 กิโล การเดินทางไป-กลับใช้เวลาเกือบทั้งวัน หากเขาต้องเดินทางมาพบแพทย์ทุกสัปดาห์ก็คงไม่ไหวไหนจะเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา จะเอาเวลาไหนมาทำงานหาเลี้ยงชีพ ดังนั้นจึงอยากให้แพทย์และผู้เกี่ยวข้องมองถึงพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและบริบทของผู้ป่วยโรคไตตรงนี้ด้วย ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลกับผู้ป่วยให้จัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน เพื่อให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีในด้านการรักษามากขึ้นซึ่งทางชมรมเองได้พยายามผลักดันเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นรวมถึงการสร้างความเข้าใจเรื่องวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วยทุกรายและให้ความรู้ที่ถูกต้องว่าการติดเชื้อมันไม่สามารถติดได้ง่ายและผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่มักจะไม่ใช่เสียชีวิตด้วยโรคไตแต่อาจจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เช่น ความดัน เบาหวาน เป็นต้น” ประธานชมรมเพื่อนโรคไต กล่าว

ประธานชมรมเพื่อนโรคไตยังกล่าวให้ความเห็นว่า การล้างไตทางช่องท้องยังช่วยลดปัญหาบุคลากรทางการแพทย์และสถานพยาบาลไม่เพียงพอ โดยอัตราส่วนระหว่างพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอยู่ที่1:50 คน (ตามมาตรฐาน) ขณะที่พยาบาลที่ดูแลเรื่องการฟอกเลือด(HD) จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้เพียง 1คน :4เครื่อง : รอบ (ใน 1 วัน สามารถทำได้สูงสุด 4รอบ หรือ คนไข้16 คนเท่านั้น) ดังนั้น หากไม่มีการล้างไตทางช่องท้องจะส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ก็จะไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยโดยต้องมีการผลิตเพิ่มอีกมากกว่า 3,500 อัตราพร้อมเพิ่มศูนย์บริการทางการแพทย์อีกเป็นจำนวนมากให้ครบทุกจังหวัด และอำเภอต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยตามมา




Create Date : 12 ธันวาคม 2560
Last Update : 12 ธันวาคม 2560 18:14:58 น. 1 comments
Counter : 777 Pageviews.

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:15:14:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 3876554
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3876554's blog to your web]
space
space
space
space
space