หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์จับมือเครือ มทร. จัดอบรมเทคโนโลยีดิจตอลกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลและไลฟ์สไตล์การชีวิตอยู่บนวิถีออนไลน์มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมการเงิน การช็อปปิ้งการสร้างโลกเสมือนจริงจากเกม VRหรือแม้แต่การสะสมเงินสกุลดิจิตอล (Bitcoin) การจารกรรมข้อมูลในโลกไซเบอร์จึงมีให้เห็นมากขึ้นตามไปด้วยด้วยฉะนั้นการมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี จึงมีความสำคัญสำหรับโลกอนาคต นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และได้รับการยอมรับว่าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศที่มีระบบการศึกษาที่โดดเด่นและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการเตรียมความพร้อมและวางพื้นฐานให้เด็กนักเรียนก้าวทันการเปลี่ยนแปลงพร้อมสู่การใช้ชีวิตในยุคดิจิตอลและเศรษฐกิจโลกในอนาคตจากผลสำรวจฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจ ของนิตยสารดิอีโคโนมิสต์ ปี 2017 กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)นำโดย มทร.พระนครจึงได้ร่วมกับ หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ประจำประเทศไทยและบริษัท Knowledge pluseducation servicesตัวแทนที่ปรึกษาด้านการศึกษาต่อประเทศนิวซีแลนด์ จึงได้จัดเวิร์คชอปให้กับคณาจารย์และนักศึกษาของกลุ่มมทร.ในหัวข้อเทคโนโลยีดิจิตอลกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศไทยและสถาบันการศึกษาของนิวซีแลนด์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านการศึกษาตามนโยบายของประเทศไทยและนำไปสู่การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิตอลให้เข้ากับสังคมและเศรษฐกิจในยุคDigital 4.0 โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากสถาบันการศึกษาWINTECประเทศนิวซีแลนด์ณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เมื่อเร็วๆ นี้ Mr.Monjur Ahmedผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสารโทรคมนาคมศูนย์ข้อมูลธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันการศึกษาWaikato Institute of Technology (WINTEC)เปิดเผยว่า เราสูญเสียเงินมากกว่า 6 พันล้านเหรียญต่อปี ไปกับภัยคุกคามทางไซเบอร์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ก้าวหน้าไปอย่างมากในปัจจุบัน ส่งผลให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในยุคเศรษฐกิจดิจิตอลมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรุนแรงเพิ่มขึ้นการขโมยข้อมูลบัญชีธนาคารหรือธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ เป็นปัญหาที่กระทบทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การจะจับแฮ็กเกอร์ได้เราต้องรู้จักวิถีของแฮ็กเกอร์ก่อนฉะนั้นการสอนให้นักศึกษารู้จักระบบต่างๆในระบบไซเบอร์ รวมไปถึงระบบความปลอดภัย จะช่วยให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญ และสามารถตรวจสอบหรือตรวจจับกลุ่มผู้ก่อการร้ายทางไซเบอร์ไม่ให้เข้ามาขโมยข้อมูลสำคัญต่างๆ ได้สามารถลดอาชญากรทางไซเบอร์ไปได้มากเมื่อทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ และจะสามารถรองรับอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคดิจิตอลได้อีกด้วย โดยการอบรมในครั้งนี้ผมและนักศึกษาได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่รวมไปถึงกฎหมายคอมพิวเตอร์นิติกรรมทางคอมพิวเตอร์ ให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศไม่ว่าจะเป็นการทดสอบการเจาะระบบคอมพิวเตอร์การรวบรวมหลักฐานสำหรับสืบสวนหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางไซเบอร์การตรวจสอบระบบปฏิบัติการของดิสก์อิมเมจ และการกู้ไฟล์ที่เสียหายไปแล้วสำหรับตรวจสอบฮาร์ดไดร์ฟและสมาร์ทโฟน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสารโทรคมนาคมจากสถาบันการศึกษาWINTECประเทศนิวซีแลนด์ กล่าวเสริมว่า ด้วยสถาบัน WINTEC มีนโยบายสร้างชุมชนให้เข้มแข็งด้วยการศึกษาวิจัยและพัฒนาอาชีพ จึงมุ่งหวังว่า นักศึกษาจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์จะช่วยให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนสามารถพัฒนาไปด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางสาววรัญญา เสาวคนธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จาก มทร.พระนครเล่าว่า การเข้าอบรมในครั้งนี้ทำให้เราสามารถเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างขึ้นเนื่องจากมีครูจากต่างประเทศมาสอนทำให้เราเรียนรู้วิธีการที่หลากหลายมากขึ้น ได้เห็นว่ามีวิธีการขโมยข้อมูลและการป้องกันข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปและแสดงให้เราเห็นได้ชัดเจนว่ายังมีหน่วยงานอีกมากมายที่ต้องการคนทำงานด้านนี้เนื่องจากเทคโนโลยีมันยังก้าวไปอีกไกลซึ่งการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองจะทำให้เรามีทักษะและความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เรากำลังเรียนอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนนางสาววราภรณ์ ทับทิมนักศึกษาชั้นปีที่3 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จาก มทร.พระนครเปิดเผยว่า การได้มาอบรมในครั้งนี้เป็นอะไรที่ดีมากเราสามารถรู้ได้ว่าใครที่เข้ามาแอบดูข้อมูลของเราอยู่และเราจะมีวิธีในการจับอาชญากรเหล่านั้นได้อย่างไรเราสามารถใช้โปรแกรมอะไรในการตรวจสอบและสืบค้นข้อมูล โดยอาจารย์ได้เน้นให้เราได้เห็นว่าการใช้ชีวิตประจำวันของเรามีความเสี่ยงแค่ไหนการใช้สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ทำงานอยู่ สามารถถูกจารกรรมได้ทุกเมื่อ ทางด้านนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จาก มทร.ธัญบุรีนำโดย นายเกียรติเกรียงไกร บุญเพ็งเล่าว่า พวกเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของตรวจจับและตรวจสอบผู้กระทำผิดในระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ว่าเกิดจากบุคคล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานฮาร์ดแวร์หรือซอฟแวร์ต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษและการทำงานเป็นทีมนั้นสำคัญมากเนื่องจากข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษและแฮ็กเกอร์ก็มีมากมายทั่วโลก หากเรามีความเข้าใจในภาษาเป็นพื้นฐานก็จะทำให้เราเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้องด้วย ผมว่าถ้านักเรียนได้เรียนรู้ในเชิงปฏิบัติทุกวันสถาบันการศึกษาต่างๆ จะสามารถผลิตนักศึกษาที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออกมาพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ: บริษัท คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์จำกัด คุณบุษบา สุขบัติ และคุณชลียาพันธุ์นุ่นสวัสดิ์ โทร. 02 718 3800
Create Date : 27 มีนาคม 2561 |
Last Update : 27 มีนาคม 2561 14:12:20 น. |
|
0 comments
|
Counter : 757 Pageviews. |
|
|