กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
เพชรพระมหามงกุฎ
แผ่นดินทอง
รัตนโกสินทร์ ๒๒๕ ยินดีต้อนรับ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระราชสกุล
เที่ยวเมืองพระร่วง
ตำนานวังหน้า
ความ-ทรงจำ ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
อธิบายเรื่องธงไทย
ตำนานภาษีอากร
บันทึกรับสั่งสมเด็จฯ
สารคดีที่น่ารู้ - ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
พระจอมเกล้าพระจอมปราชญ์
เทศาภิบาล
สิมอีสาน
ม.ร.ว.โต จิตรพงศ (คู่พระบารมีนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์)
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (นายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์)
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ชิต บุรทัต
กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ
กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
พระสุนทรโวหาร (ภู่) อาลักษณ์ขี้เมา
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ ๕
เจ้าพระยาพระคลัง(หน) กับสมบัติอมรินทร์คำกลอน
คุณพุ่ม บุษบาท่าเรือจ้าง
กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
เจ้าพระยาอภัยราชา (โรลังยัคมินส)
เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (ม.ร.ว.อรุณ ฉัตรกุล)
คนดีเมืองเหนือ
พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร)
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิต)
พระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ (โพธิ)
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ)
พระยาพฤฒาธิบดีศรีสัตยานุการ (อ่อน โกมลวรรธนะ) เปรียญ
พระครูวัดฉลอง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พระราชหัตถ์ซ้าย)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (พระราชหัตถ์ขวา)
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนพลแก้ว
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ (ชม สุนทรารชุน)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ ๕
เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.คลี่ สุทัศน์)
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดี
เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
พระมหามงกุฎเป็นเครื่องหมายของราชาธิปไตย
พระมหามงกุฎสง่างามด้วยประดับเพชรนิลจินดาอันมีค่าฉันใด
ข้าราชการที่อุตส่าห์ช่วยกันทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญสุข
ก็เปรียบเหมือนเพชรนิลเครื่องประดับพระมหามงกุฎฉันนั้น
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
....................................................................................................................................................
เมื่อก่อนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน.
อธิบายเบื้องต้น
หนังสือซึ่งข้าพเจ้าเรียบเรียงทูลเกล้าฯถวาย ในงานพระราชกุศลหน้าพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร ๒ เรื่องที่พิมพ์มาแล้ว คือ เรื่องจดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พิมพ์ในงานสัตมวาร และเรื่องพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อก่อนเสวยราชย์ พิมพ์ในงานปัญญาสมวาร มีข้อความกล่าวถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมทั้ง ๒ เรื่อง ครั้นถึงเวลาเรียบเรียงหนังสือทูลเกล้าฯถวายสำหรับพิมพ์ในงานศตมาห ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเป็นเรื่องประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เห็นจะเหมาะดี จะได้เป็นเรื่องเนื่องต่อกันในหนังสือแจกทั้ง ๓ งาน ข้าพเจ้าจึงได้เรียบเรียงเรื่องประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ตอนเมื่อก่อนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ความที่กล่าวในเรื่องประวัตินี้ โดยมากล่าวตามที่พบในจดหมายเหตุต่างๆทั้งของไทยและของฝรั่ง ที่ทราบด้วยตนเองก็มีบ้าง แห่งใดซึ่งเป็นแต่กล่าวโดยสันนิษฐานของข้าพเจ้าก็ได้บอกไว้ เพื่อท่านจะได้วินิจฉัยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในทางความรู้โบราณของท่านทั้งปวง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์(ดิศ บุนนาค) ท่านผู้หญิงจัน(น้องกรมหมื่นนรินทรภักดี)เป็นมารดาเกิดในรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๕๑ ( คนสำคัญของประเทศสยามเกิดเป็นสหชาติกันในปีมะโรงมี ๔ คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ ๑ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทพระองค์ ๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ๑ เจ้าพระยาภูธราภัย(นุช บุณยรัตพันธ์)ที่สมุหนายก ๑ ) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๙ คน แต่อยู่มาจนเป็นผู้ใหญ่แต่ตัวท่านกับน้องอีก ๔ คน คือเจ้าคุณหญิงแข เรียกกันว่าเจ้าคุณตำหนักใหม่คน ๑ เจ้าคุณหญิงปุก เรียกกันว่าเจ้าคุณกลางคน ๑ เจ้าคุณหญิงหรุ่นเรียกกันว่าเจ้าคุณน้อยคน ๑ พระยามนตรีสุริยวงศ์(ชุ่ม)คน ๑
เรื่องประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ปรากฏว่าได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กแต่ในรัชกาลที่ ๒ แต่ส่วนการศึกษานั้นมีเค้าเงื่อนทราบในชั้นหลัง ว่าเห็นจะไม่ได้เรียนอักขระสมัยลึกซึ้งนัก เพราะการเล่าเรียนของลูกผู้ดีในสมัยเมื่อท่านยังเยาวัยนั้นมักเป็นแต่ฝากให้พระภิกษุสอนตามวัดไม่ได้เล่าเรียนกวดขัน จะรู้ได้มากหรือน้อยก็แล้วแต่ความนิยมของเด็ก แม้การที่เรียนวิชาสำหรับเป็นอาชีพเมื่อเติบใหญ่ ในสมัยนั้นก็มักเรียนโดยกระบวนฝึกหัดอบรมในสำนักผู้ปกครองคือบิดาเป็นอาทิ ดังเช่นบิดาเป็นช่างหรือเป็นนายแพทย์ บุตรก็ฝึกหัดศึกษาวิชานั้นจากบิดาต่อไปดังนี้เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ซึ่งเป็นพระยาพระคลังเสนาบดีว่าการต่างประเทศ(ในสมัยเมื่อยังมิได้แยกออกเป็นกระทรวงหนึ่งต่างหาก) และได้ว่าการปกครองหัวเมืองชายทะเลฝ่ายตะวันออกมาแต่ในรัชกาลที่ ๒ คงจะได้ศึกษาราชการที่เนื่องกับชาวต่างประเทศ และกระบวนการปกครองหัวเมืองในสำนักของบิดาเป็นวิชาสำคัญสำหรับตัวมาแต่แรก จึงไม่ปรากฏว่าท่านสันทัดในการช่าง(ต่อเมื่อมีตำแหน่งในราชการแล้ว จึงได้ศึกษาวิชาต่อเรือกำปั่นจนชำนิชำนาญ กับอีกอย่างหนึ่งดูเหมือนจะชอบศึกษาพงศาวดารจีนด้วย แต่ก็เป็นการชั้นหลัง) หรือในการขี่ช้างขี่ม้าและวิชาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ได้ยินว่าท่านผู้หลักผู้ใหญ่ชมมาก็แต่ข้อที่มีความสามารถฉลาดในกระบวนราชการบ้านเมืองอย่างเดียว
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เห็นจะเป็นคนโปรดของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๒ ด้วยบิดาของท่านเป็นผู้ซึ่งทรงชอบชิดสนิทสนม และได้มารับราชการกรมท่าร่วมกันเมื่อตอนปลายรัชกาล เพราะฉะนั้นพอถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงตั้งบิดาของท่านให้เป็นเจ้าพระยาพระคลัง ตัวท่านก็ได้เป็นที่นายชัยขรรค์หุ้มแพร มหาดเล็ก และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดฯให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นหลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็ก(สันนิษฐานว่าได้เป็นที่นายชัยขรรค์ ในต้นรัชกาลที่ ๓ เวลานั้นอายุได้ ๑๘ ปี และมีจดหมายเหตุของมิชชันนารี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ เรียกท่านว่า หลวงนายสิทธิ์ เห็นจะได้เป็นหลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็ก เมื่ออายุราว ๒๕ ปี) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อยังเป็นหลวงนายสิทธิ์แต่งงานกับท่านผู้หญิงกลิ่น ธิดาหลวงแก้วอายัติ(จาด)บุตรของเจ้าพระยามหาเสนาบุนนาค (แต่เจ้าคุณนวลมิได้เป็นมารดา) แต่จะแต่งงานเมื่อปีใดนั้นทราบได้แต่ว่าก่อน พ.ศ. ๒๓๗๑ เพราะเจ้าพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์บุตรของท่เกิดเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๑ แล้วมีธิดาอีกคนหนึ่งชื่อกลาง ได้แต่งงานสมรสกับพระยาสีหราชฤทธิไกร(แย้ม บุณยรัตพันธุ์)บุตรเจ้าพระยาภูธราภัย
พิเคราะห์ตามความที่ปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุเก่าๆ ดูเหมือนความสามารถฉลาดหลักแหลมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะเริ่มปรากฏแก่คนทั้งหลายตั้งแต่เมื่อเป็นหลวงสิทธิ์นายเวร เพราะเหตุการณ์ต่างๆให้โอกาสประกอบกับฐานะของท่านที่เป็นบุตรเจ้าพระยาพระคลัง เป็นต้นว่าพอถึงรัชกาลที่ ๓ แล้วไม่ช้าอังกฤษก็เริ่มมามีอำนาจขึ้นใกล้ชิดกับประเทศสยาม ด้วยตีได้หัวเมืองของพม่าที่ต่อแดนไทยไว้เป็นเมืองขึ้น และมาตั้งเมืองเกาะหมากเป็นที่มั่นต่อแดนไทยทางหัวเมืองมลายูต้องทำหนังสือสัญญาทางไมตรีกับบริษัทอังกฤษซึ่งปกครองอินเดียเริ่มมีการเมืองและการค้าขายเกี่ยวข้องขึ้นกับอังกฤษต่อนั้นมา (เมื่อเสร็จการปราบกบฏเวียงจันทร์แล้ว) ไทยเกิดรบกับญวนต้องเตรียมรักษาปากน้ำเจ้าพระยาและเมืองจันทบุรี มิให้ญวนจู่มาทำร้ายได้โดยทางทะเล ในการปรึกษาทำหนังสือสัญญากับทูตอังกฤษก็ดี การสร้างป้อมและเตรียมรักษาปากน้ำเจ้าพระยาและเมืองสมุทรปราการก็ดี การสร้างเมืองจันทบุรีใหม่ที่เนินวงบางกระจะก็ดี อยู่ในกระทรวงของเจ้าพระยาพระคลังบิดาของท่าน
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นบุตรผู้ใหญ่ก็ได้รับใช้เป็นผู้ช่วยอย่างกับมือขวาของบิดาของท่านในการทั้งปวง(บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ที่ได้เป็นกำลังช่วยบิดาอีกคนหนึ่งในครั้งนั้นคือ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์(ขำ บุนนาค)ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ ได้เป็นที่จมื่นราชามาตย์ในกรมตำรวจ) จึงเป็นโอกาสที่ได้แสดงคุณวุฒิให้ปรากฏ จะนำเรื่องมาสาธกพอเป็นอุทาหรณ์ ดังเช่น เมื่อบิดาของท่านลงไปสร้างเมืองจันทบุรีตัวท่านต่อเรือกำปั่นรบ คิดพยายามทำเรือกำปั่นอย่างฝรั่งได้ แล้วพาเรือกำปั่นบริค(เป็นเรือชนิดใช้ใบเหลี่ยมทั้งเสาหน้าเสาท้าย)ลำแรกเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โปรดฯพระราชทานชื่อว่า "เรือแกล้วกลางสมุทร" (แต่มีชื่อเรียกอย่างฝรั่งอีกชื่อหนึ่งว่าเรือ "อาเรียล")
มีจดหยามเหตุของพวกมิชชันนารีอเมริกาแต่พิมพ์ไว้ในหนังสือบางกอกริคอเดอร์ ว่าด้วยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อยังเป็นหลวงนายสิทธิ์ ร่วมเวลาเมื่อพาเรือกำปั่นลำนั้นเข้ามาถวาย ได้คัดคำแปลมาลงไว้ต่อไปนี้
วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๘
วันนี้มีขุนนางไทยหนุ่มคนหนึ่งมาหาพวกมิชชันนารี ขุนนางหนุ่มผู้นี้ท่าทางคมขำ เฉียบแหลม พูดจาไพเราะ เมื่อแรกมาถึงได้สนทนากับพวกมิชชันนารรีอยู่สักพักหนึ่ง ครั้นจวนจะกลับจึงได้สนทนากับยอน แบบติสต์ผู้ช่วยในร้านขายยา ตอนที่คุยกับยอน แบบติสต์นี้เอง ขุนนางหนุ่มคนนั้นได้บอกว่าตัวท่านคือหลวงนายสิทธิ์(คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์)บุตรหัวปีของเจ้าพระยาพระคลัง เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ พึ่งกลับมาจากจันทบุรีโดยเรือที่ต่อมาจากที่นั่นซึ่งได้เรียกชื่อว่าอาเรียล ส่วนบิดาของท่านยังคงอยู่ที่จันทบุรี เมื่อพวกมิชชันนารีรู้เข้าเช่นนี้จึงเชื้อเชิญให้ท่านอยู่สนทนากันอีกก่อน ท่านก็ยอมอยู่สนทนาด้วยอีกสักครู่หนึ่ง ขณะเมื่อจะลาไปได้เชิญให้พวกมิชชันนารีไปเที่ยวที่บ้านของท่านบ้าง
วันที่ ๒๔ ตุลาคม
วันนี้พวกมิชชันนารีได้ไปหาหลวงนายสิทธิ์ยังบ้านท่าน บ้านท่านหลวงนายสิทธิ์นี้ หมอบรัดเลกล่าวว่าใหญ่โตงดงามมาก ที่หน้าบ้านเขียนป้ายติดไว้ว่า"นี่บ้านหลวงนายสิทธิ์ ขอเชิญท่านสหายทั้งหลาย" ที่บ้านหลวงนายสิทธิ์นี้พวกมิชชันนารีได้รู้จักคนดีๆอีกหลายคน ข้อนี้พวกมิชชันนารีรู้สึกชอบพอและรักใคร่ท่านมาก
วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๘
พวกมิชชันนารีไปชมเรือใบ อาเรียล ซึ่งต่อมาจากเมืองจันทบุรี มาถึงได้ ๒-๓ วันเท่านั้น จะนำมาถวายให้ในหลวงทอดพระเนตร พวกมิชชันนารีกล่าวว่าเรืออาเรียลนี้เป็นเรือลำแรกที่ทำเทียมฝรั่ง หลวงนายสิทธิ์ไม่มีแบบดีแต่เที่ยวได้จำแบบเรือจากฝรั่งลำโน้นนิดลำนี้หน่อยแล้วมาทำขึ้น ถึงเช่นนั้นก็นับว่าทำพอใช้ทีเดียว หลวงนายสิทธิ์ผู้นี้เป็นคนฉลาดไหวพริบนัก คนไทยออกจะฉลาดเทียมฝรั่งแล้ว นอกจากเรืออาเรียลที่นำมาถวายทอดพระเนตร หลวงนายสิทธิ์ยังได้ต่อเรืออื่นๆที่เมืองจันทบุรีนั้นอีกเป็นจำนวนมาก น้ำหนักตั้งแต่ ๓๐๐ ตันถึง ๔๐๐ ตัน
ภรรยาหลวงนายสิทธิ์(ท่านผู้หญิงกลิ่น) นิสัยก็คล้ายกับสามี ชอบสมาคมกับชาวต่างประเทศ ได้ชอบพอรักใคร่กับนางแบบติสต์มาก ถึงกับเคยไปนอนค้างที่บ้านนางแบบติสต์ กินหมากติด
วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๘
เรเวอเรนต์ ยอนสันกับภรรยามาหาหมอบรัดเลแจ้งว่า หลวงนายสิทธิ์เชิญเขาทั้งสองไปเมืองจันทบุรี และจะให้พักอยู่ที่นั่นสัก ๖ เดือน ด้วยหลวงนายสิทธิ์ ภรรยาและลูกมีความประสงค์จะเรียนภาษาอังกฤษในโอกาสอันนี้ ยอนสันจะได้แจกหนังสือและสอนศาสนาแก่พวกจีนที่จันทบุรีด้วย
วันที่ ๗ ยอนสันกับภรรยาตกลงจะไปกัลหลวงนายสิทธิ์แน่นอน หมอบรัดเลก็จะไปด้วยแต่ไปเปลี่ยนอากาศชั่วคราว เมื่อสบายดีแล้วจะกลับมา เพราะหมอบรัดเลไม่ไคร่สบายมาตั้งแต่พวกมิชชันนารีถูกไล่ออกจากที่อยู่เดิม หมอเป็นผู้วิ่งเต้นเรื่องที่อยู่อันเป็นภาระมากมาย
วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๘ หมอบรัดเลออกจากบ้านไปลงเรืออาเรียล ซึ่งจะไปยังเมืองจันทบุรีพร้อมด้วยยอนสันและภรรยา ไปถึงเรือเวลาเที่ยงตรง ได้พบกับมารดาและภรรยาหลวงนายสิทธิ์ไปถึงก่อนแล้ว มารดาและภรรยาของหลวงนายสิทธิ์นี่เป็นคนอัธยาศัยดีทั้งคู่ คุณกลิ่น(ภรรยาหลวงนายสิทธิ์)ออกตัวและขอโทษแก่พวกฝรั่งว่าเรือคับแคบ หลวงนายสิทธิ์จัดให้พวกฝรั่งพักบนดาดฟ้าชั้นบน หมอบรัดเลต้องอยู่พรากจากเมียเป็นครั้งแรกตั้งแต่แต่งงานมา เรือแล่นไปสะดวกดีเกินที่คาดหมายกัน
วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๘
รุ่งเช้าเรือล่องลงมาถึงปากน้ำ มารดาและญาติพี่น้องผู้หญิงของหลวงนายสิทธิ์ลงเรือมาส่งแค่นี้แล้วขึ้นจากเรือที่ปากน้ำ ตกเวลากลางคืนพวกมิชชันนารีร้องเพลงเล่นกันแก้ง่วง หลวงนายสิทธิ์บอกว่าบนดาดฟ้าดีกว่าข้างล่าง เพราะข้างล่างปะปนกันมาก พวกที่อยู่ข้างล่างก็ซ้อมเพลงกล่อมช้างเผือกที่ได้ ณ เมืองจันทบุรี วันหนึ่งร้องหลายๆเที่ยวกลับไปกลับมาจนน่าเบื่อ Dr. ยอนสันกับภรรยาอยู่ห้องใกล้ๆกับหมอบรัดเล พวกมิชชันนารีที่ไปเมืองจันทบุรีคราวนี้ได้รับความเอาใจใส่จากกัปตันลิช พวกลูกเรือและผู้ที่มาด้วยเป็นอย่างดี
วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๘
พอน้ำมากข้ามสันดอนได้ก็ออกเรือ หลวงนายสิทธิ์แสดงว่ามีความเสียใจที่ต้องจากมารดาไป และมารดาก็เหมือนกัน เมื่อจะไปแสดงว่าเสียดายที่จะจากบุตรและหลาน ในจำพวกบุตรของหลวงนายสิทธิ์ชั้นหลังได้เป็นอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีกระทรวงกลาโหมคนหนึ่ง(คือเจ้าพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์(วอน บุนนาค)) เรือแล่นไปโดยสวัสดิภาพ
วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๗๘
วันนี้หลวงนายสิทธิ์มีความกรุณาเตรียมเข้าของและเครื่องเสบียงอาหารอันจะใช้เป็นของสำหรับเดินทางกลับกรุงเทพฯ ให้แก่หมอบรัดเลเป็นจำนวนมาก
วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๗๘ วันนี้หมอบรัดเลลงเรือที่ปากน้ำจันทบุรี เดินทางกลับกรุงเทพฯกลับมาพร้อมกับน้องเขยของหลวงนายสิทธิ์(พระยาสุรเสนา)
วันที่ ๑๙ ถึงปากน้ำเมืองสมุทร วันที่ ๒๐ ลงเรือสำปั้นเข้ามากรุงเทพฯกับนายสุจินดา(คือพระยาสุรเสนา(สวัสดิ์) ต้นสกุล "สวัสดิชูโต" นั้นเอง) วันที่ ๒๑ ถึงกรุงเทพฯมีความสุขสบายดี
การที่คบหาสมาคมกับมิชชันนารีอเมริกันในสมัยนั้นไม่แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เท่านั้น ตั้งแต่พวกมิชชันนารีอเมริกันเริ่มเข้ามาตั้งในกรุงเทพฯเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑ เดิมมาเช่าที่ตั้งอยู่ที่หน้าวัดเกาะ ครั้นถึงพ.ศ. ๒๓๗๓ มีฝรั่งพวกนายเรือใบไปอาศัยพวกมิชชันนารีแล้วเลยเข้าไปยิงนกในวัดเกาะเป็นเหตุวิวาทขึ้นกับพระ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาพระคลัง จึงให้พวกมิชชันนารีย้ายขึ้นมาอยู่ใต้บ้านพวกเข้ารีตที่กุฎีจีนใกล้กับจวนของท่าน เป็นเหตุให้พวกมิชชันนารีอเมริกันได้โอกาสเข้าใกล้ชิดกับไทยที่มีบรรดาศักดิ์ ก็ลักษณะที่พวกมิชชันนารีประพฤตินั้น มีการสอนคริสต์ศาสนาเป็นเบื้องต้นก็จริง แต่พอใจสอนภาษาอังกฤษและวิชาความรู้ต่างๆของฝรั่งไปด้วยกันกับทั้งรับรักษาไข้เจ็บด้วย ถึงกระนั้นไทยโดยมากก็มีความรังเกียจพวกมิชชันนารีด้วยเห็นว่าจะมาสอนให้เข้ารีตถือศาสนาอื่น แต่มีบางคนซึ่งเป็นชั้นหนุ่มหรือถ้าจะเรียกตามอย่างปัจจุบันนี้ก็ว่าเป็นพวกสมัยใหม่ ใคร่จะเรียนภาษาและวิชาของฝรั่งเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองไม่รังเกียจการที่จะคบหาสมาคมและศึกษาวิชาการกับพวกมิชชันนารี
พวกสมัยใหม่ที่กล่าวนี้ได้มาเป็นบุคคลสำคัญในชั้นหลัง ๔ คน คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงผนวช พอพระราชหฤทัยใคร่จะเรียนภาษาและหนังสืออังกฤษกับทั้งวิชาต่างๆมีโหราศาสตร์เป็นต้นพระองค์ ๑ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พอพระราชหฤทัยจะทรงเรียนวิชาทหารเป็นที่ตั้ง ทั้งเรียนหนังสือเพื่อจะได้ทรงอ่านตำหรับตำราได้เองพระองค์ ๑ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์ไทยอยู่แล้ว ใคร่จะทรงศึกษาวิชาแพทย์ฝรั่งแต่ไม่ประสงค์จะทรงเรียนภาษาอังกฤษพระองค์ ๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อยังเป็นหลวงสิทธิ์นายเวร ใคร่จะเรียนวิชาต่อเรือกำปั่นเป็นสำคัญและภาษาอังกฤษก็ดูเหมือนจะได้เรียนบ้าง อีกคน ๑ (จะรู้ภาษาอังกฤษเพียงใดทราบไม่ได้ ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านพูดภาษาอังกฤษกังฝรั่งครั้งหนึ่ง ดูเหมือนจะพอสนทนาปราศัยได้ แต่การต่อเรือกำปั่นท่านศึกษาจนชำนิชำนาญไม่มีตัวสู้ในสมัยของท่าน ได้เป็นผู้ต่อตลอดจนเรือกำปั่นไฟในรัชการที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เห็นจะได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นที่จมื่นวัยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็ก เมื่อราวปีฉลู พ.ศ. ๒๓๘๔ ด้วยปรากฎในการทำสงครามกับญวนในปีนั้น ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งให้จัดกองทัพเรือใช้เรือกำปั่นที่ต่อใหม่เป็นพื้น และโปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพใหญ่ ใหญ่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อยังเป็นที่จมื่นวัยวรนารถเป็นนายทัพหน้า ยกลงไปตีเมืองบันทานมาศ(ฮาเตียน)แต่ไปทำการไม่สำเร็จดังพระราชประสงค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเพิ่มสร้อยนามพระราชทานว่า "จมื่นวัยวรนารถภักดีศรีสุริยวงศ์" (นามนี้ปรากฎอยู่ในจดหมายเหตุครั้งเซอร์เชมสบรุกเป็นทูตอังกฤษเข้ามาเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓)
จะเป็นด้วยทำความชอบพิเศษอย่างไรหาทราบไม่แต่เมื่อพิเคราะห์ตามเหตุการณ์ในสมัยนั้นก็พอจะสันนิษฐานเค้าเงื่อนได้ ด้วยบิดาของท่านดำรงตำแหน่งเสนาบดีกลาโหมกับกรมท่ารวมกัน ๒ กระทรวงมาหลายปี เมื่อจับแก่ชราและมีการเกี่ยวข้องกับฝรั่งมากขึ้น ตัวท่านไม่สันทัดการฝรั่งก็เป็นธรรมดาที่จะปรึกษาหารือบุตรซึ่งได้ศึกษาการนั้น ช่วยปลดเปลื้องกิจธุระในตำแหน่ง ได้ช่วยราชการต่างหูต่างตามากขึ้นก็เป็นโอกาสที่จะให้ปรากฏคุณวุฒิแก่พระญาณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งขึ้นเป็นลำดับมา ข้อนี้พึงเห็นได้ในหนังสือจดหมายเหตุเรื่องเซอร์เชมสบรุกทูตอังกฤษเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญาเมื่อเดือน ๙ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ เป็นเวลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มทรงประชวรในคราวที่จะเสด็จสวรรคต เสด็จออกว่าราชการไม่ได้ เพราะทรงพระวิตกว่าการครั้งนี้ผิดกับครั้งครอเฟรอดเป็นทูตมาในรัชกาลที่ ๒ และเฮนรีเบอร์นีเป็นทูตเข้ามาเมื่อต้นรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นแต่ทูตของบริษัทอังกฤษที่ปกครองหัวเมืองในอินเดีย เซอร์เชมสบรุกเป็นทูตมาจากรัฐบาลอังกฤษมีศุภอักษรของลอร์ดปาลเมอสตอนอัครมหาเสนาบดีประเทศอังกฤษมาว่ากล่าวจะให้แก้สัญญา จะประมาทไม่ได้ด้วยรัฐบาลอังกฤษเอากำลังเข้ารบพุ่งบังคับให้จีนทำสัญญามาไม่ช้านัก ได้โปรดฯให้ตระเตรียมป้องกันปากน้ำไว้อย่างแข็งแรง
ครั้นเซอร์เชมบรุกมีหนังสือมาจึงมีรับสั่งให้เขียนข้อพระราชดำริพระราชทานออกมาให้เสนาบดีกับผู้อื่นซึ่งทรงเลือสรรโดยเฉพาะให้ประชุมปรึกษากัน ความในกระแสรับสั่งแห่งหนึ่งว่า "....การครั้งนี้เป็นการฝรั่ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ทราบอย่างธรรมเนียมฝรั่งมาก ควรเอาเป็นที่ปรึกษาใหญ่ได้ ก็แต่ว่าติดประจำปืนอยู่ที่เมืองสมุทรปราการ จมื่นวัยวรนารถเล่าก็เป็นคนสันทัดหนักในอย่างธรรมเนียมฝรั่งก็ลงไปรักษาเมืองสมุทรปราการอยู่ แต่ทว่าเห็นจะได้พูดจาปรึกษาหารือกับเจ้าพระยาพระคลังแล้ว ก็เห็นจะถูกต้องกันกับเจ้าพระยาพระคลัง...." ดังนี้ กระแสรับสั่งที่กล่าวมาพระราชทานออกมาเมื่อ ณ วันอังคาร เดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ คือก่อนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเพียง ๘ เดือน ปรากฏว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ยังเป็นจมื่นวัยวรนารถอยู่ เพราะฉะนั้นเห็นจะได้เลื่อนที่เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ ตำแหน่งจางวางมหาดเล็กเมื่อจวนสิ้นรัชกาลที่ ๓ และเป็นพระยาอยู่ไม่ถึงปีก็ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยา (ในรัชกาลที่ ๒ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ได้เป็นที่พระยาสุริยวงศ์มนตรี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติได้เป็นที่พระยาศรีสุริยวงศ์ ตำแหน่งจางวางมหาดเล็กทั้ง ๒ คน(มาก่อน))
ในเวลาเมื่อใกล้จะสิ้นรัชกาลที่ ๓ นั้น ปรากฏว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์วงศ์ได้อาศัยสติปัญญาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ช่วยแก้ไขเหตุลำบากเรื่องหนึ่ง จะต้องกล่าวย้อนขึ้นไปถึงเรื่องอันเป็นมูลเหตุก่อน คือในรัชกาลที่ ๓ เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพสวรรคตแล้ว พวกข้าเจ้าต่างกรมพากันคาดว่าเจ้านายของตนจะได้เลื่อนขึ้นเป็นพระมหาอุปราชหลายกรม บางแห่งถึงเตรียมตัวหาผ้าสมปักขุนนาง และที่เป็นตำรวจหาหอกไว้ถือแห่เสด็จก็มี กิตติศัพท์นั้นทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาพระคลัง กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติเมื่อยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ พระยาศรพิพัฒน์กราบทูลความเห็นว่าควรโปรดฯให้เลื่อนกรมเจ้านายที่มีความชอบเสียทันที จะได้ปรากฏว่าเจ้านายของตนจะได้เลื่อนพระยศเป็นเพียงนั้นเอง ก็ทรงดำริเห็นชอบด้วย (เรื่องครั้งนี้เป็นมูลเหตุจึงเลยเป็นประเพณีที่เลื่อนกรมและตั้งกรมเจ้านาย เมื่อพระมหาอุปราชสวรรคตในรัชกาลหลังๆต่อมา)
เมื่อจวนสิ้นรัชกาลที่ ๓ เจ้านายซึ่งได้เลื่อนกรมครั้งนั้นยังดำรงพระชนม์อยู่หลายพระองค์ แต่กรมขุนพิพิธภูเบนทร์นั้นเกิดทรงหวาดหวั่นเพราะข้าในกรมเคยขึ้นชื่ออวดอ้างยิ่งกว่ากรมอื่น ทรงพระวิตกเกรงเจ้าพระยาพระคลังกับพระยาศรีพิพัฒน์จะพาลเอาผิดในเวลาเปลี่ยนรัชกาล จึงเรียกระดมพวกข้าในกรมเข้ามารักษาพระองค์ที่ในวังเชิงสะพานหัวจระเข้ไม่พอให้คนอยู่ ต้องให้ไปอาศัยพักอยู่ตามศาลาในวัดพระเชตุพน ความนั้นทราบถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ แต่ยังสงสัยอยู่จึงให้บุตรสองคน (คือพระยามนตรีสุริยวงศ์(ชุ่ม)เมื่อยังเป็นนายพลพันหุ้มแพรคน ๑ กับเจ้าพระยาภานุวงศ์ฯเมื่อยังเป็นมหาดเล็กคน ๑) ไปดูที่วัดพระเชตุพนว่าจะจริงอย่างว่าหรือฉันใด ก็ไปเห็นผู้คนมีอยู่ตามศาลามากผิดปกติ ไต่ถามได้ทราบว่าเป็นข้าในกรมขุนพิพิธภูเบนทร์ทั้งนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์จึงเรียกสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มาปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เรียนว่าขอให้สงบไว้สักวันหนึ่งก่อน ในวันนั้นท่านรีบลงไปยังเมืองสมุทรปราการ เรียกพวกทหารปืนเล็กเอาลงบรรทุกเรือกำปั่นลำหนึ่งแล่นขึ้นมาในกลางคืน พอเช้าถึงกรุงเทพฯให้เรือทอดสมอที่ตรงท่าเตียน แล้วตัวท่านก็ไปเฝ้ากรมขุนพิพิธภูเบนทร์ ทูลว่าบิดาให้มาทูลถาม ว่าที่ระดมผู้คนเข้ามาไว้มากมายเช่นนั้นมีพระประสงค์อย่างใด กรมขุนพิพิธฯตรัสตอบว่าด้วยเกรงภัยอันตราย (คำว่าภัยอันตรายในสมันนั้น หมายความได้กว้างออกไปจนถึง เช่น เกิดโจรผู้ร้ายกำเริบขึ้นในพระนคร หรือเกิดแย่งชิงราชสมบัติกันเมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต) จึงเรียกคนมาไว้เพื่อป้องกันพระองค์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ทูลว่า บิดาของท่านกับเสนาบดีช่วยกันรักษาราชการบ้านเมืองเป็นปกติอยู่ ไม่มีเหตุสมควรจะทรงหวาดหวั่นเช่นนั้น ขอให้ไล่คนกลับไปเสียให้หมดโดยเร็วมิฉะนั้นจะให้ทหารมาจับเอาคนเหล่านั้นไปทำโทษ กรมขุนพิพิธภูเบนทร์ก็จนพระทัยต้องปล่อยคนกลับไปหมด
เรื่องประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ อันเนื่องด้วยการถวายพระราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เคยได้ยินท่านผู้หลักผู้ใหญ่แต่ก่อนเล่ากันมา ว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้คิดเห็นก่อนบิดาของท่าน ว่าถ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตราชสมบัติต้องได้แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบ้านเมืองจึงจะเป็นปกติต่อไป อาศัยเหตุนั้นตัวท่านเมื่อยังเป็นที่จมื่นวัยวรนารถกับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เมื่อยังเป็นจมื่นราชามาตย์ซึ่งมีความเห็นพ้องกัน จึงชวนกันปฏิสังขรณ์วัดดอดไม้ (ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดบุปผาราม สันนิษฐานว่าในสมัยนั้นเห็นจะเป็นวัดร้าง) ซึ่งอยู่ในสวนแห่งหนึ่งไม่ไกลกับบ้านที่ท่านอยู่นั้น แล้วกราบทูลขอคณะสงฆ์ธรรมยุตจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปครอง
เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เกิดมีกิจที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องเสด็จไปทรงตรวจตราและสั่งสอนพระสงฆ์ซึ่งออกวัดไปใหม่เนืองๆ ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ก็ได้โอกาสมาเฝ้าแหน เกิดวิสาสะประกอบกับสมานฉันท์ในความนิยมศึกษาวิชาความรู้ทางข้างฝรั่งก็เลยทรงชอบชิดสนิทสนมแต่นั้นมา ครั้นถึงเวลาปัญหาเกิดขึ้นจริงด้วยเรื่องรัชทายาท ท่านทั้งสองนั้นก็ได้เป็นกำลังสำคัญอยู่ข้างหลังบิดาในการขวยขวายให้พร้อมเพรียงกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะฉะนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงสถาปนาเจ้าพระยาพระคลังขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน" และทรงสถาปนาพระยาศรีพิพัฒน์ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการพระนคร" แล้วจึงทรงตั้งพระยาศรีสุริยวงศ์จางวางมหาดเล็กเป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ "ว่าที่สมุหพระกลาโหม" และทรงตั้งจมื่นราชามาตย์เป็นเจ้าพระยารวิวงศ์"ผู้ช่วยราชการกรมท่า" (การตั้งขุนนางผู้ใหญ่ดูเหมือนจะมีประกาศเป็นครั้งแรกเมื่อทรงตั้งสมเด็จเจ้าพระยา ๒ องค์นี้ แต่ที่ทรงตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และเจ้าพระยารวิวงศ์หาปรากฏว่ามีประกาศไม่)
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้สร้างตราสุริยมณฑลพระราชทานสำหรับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ และตราจัทรมณฑลสำหรับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ยังคงถือตราพระคชสีห์สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหมกับตราบัวแก้วสำหรับตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังอยู่อย่างเดิม จึงโปรดฯให้สร้างตราศรพระขรรค์ขึ้นอีกดวงหนึ่งพระราชทานสำหรับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ใช้ ครั้นต่อมาเมื่อเจ้าพระยาศรีสุรยวงศ์ได้เป็นที่สมุหพระกลาโหมเต็มตำแหน่งแล้ว จึงโปรดฯให้ใช้ตราศรพระขรรค์เป็นคู่กับตราพระคชสีห์ เหมือนอย่างกับตราจักรเป็นคู่กับตราพระคชสีห์ สำหรับตำแหน่งสมุหนายก (แต่สมุหนายกคนอื่นต่อมาหาได้ถือตราศรพระขรรค์ไม่ เห็นจะเป็นเพราะเมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ใช้ตราศรพระขรรค์เป็นตราอาญาสิทธิ์ ตรานั้นก็เลยเกินศักดิ์สมุหกลาโหม)
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้เป็นเจ้าพระยาว่าที่สมุหพระกลาโหมนั้น ได้พระราชทานที่บ้านเจ้าพระยาบดินเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) (อันอยู่ริมคลองสะพานหันฝั่งตะวันออก ตรงหน้าวังบูรพาภิรมย์ข้าม) อันเป็นบ้านหลวงให้เป็นจวนที่อยู่ด้วย แต่เห็นจะอยู่เรือนของเดิมเป็นแต่ซ่อมแซมไม่ได้สร้างเหย้าเรือนขึ้นใหม่ (เจ้าคุณพระประยูรวงศ์บอกว่าเมื่อท่านเกิดนั้น เจ้าพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์บิดาของท่านอยู่ในบ้านนี้ ท่านเกิดที่เรือนแพจึงได้ตั้งนามว่า "แพ" มีพี่ของท่านคนหนึ่งชื่อว่า ฉาง เพราะเกิดที่ฉางเก่า(ซึ่งแก้ไขเป็นเรือนที่อยู่)) ได้อยู่ในจวนแห่งนี้จนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงพิราลัยใน พ.ศ. ๒๓๙๘ และโปรดฯให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นอัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหมเต็มตำแหน่ง จึงได้ข้ามกลับไปอยู่ทางฟากธนบุรี แต่ไปสร้างจวนอยู่ใหม่(ที่เรียกว่า โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปัจจุบันคือ โรงเรียนศึกษานารี) อยู่ริมคลองสานบัดนี้)ที่จวนเดิมของบิดาท่านให้น้องอยู่
เรื่องประวัติของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มามีเป็นตอนสำคัญปรากฏเมื่อครั้งสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียประเทศอังกฤษให้ เซอร์จอน เบาริง เป็นราชทูตเขามาขอทำสัญญาทางพระราชไมตรีเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ อธิบายเรื่องนี้ก็จะต้องกล่าวความย้อนถอยหลังขึ้นไปสักหน่อย คือเมื่อรัชกาลที่ ๓ ไทยได้ทำหนังสือสัญญาค้าขายกับบริษัทอังกฤษซึ่งปกครองอินเดีย เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๖๙ (คือครั้งร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่) แล้วต่อมาทำหนังสือสัญญาเช่นเดียวกันกับสหปาลีรัฐอเมริกันเข้ามาค้าขายในพระราชอาณาเขตโดยสะดวก ข้างอังกฤษและอเมริกันยอมให้ไทยเก็บค่าจังกอบตามขนาดปากเรือ ถ้าเป็นเรือบรรทุกสินค้าเข้ามาขายให้เก็บจังกอบวาละ ๑,๗๐๐ บาท ถ้าเป็นเรือเปล่าเข้ามาซื้อสินค้าให้เก็บค่าจังกอบเพียงวาละ ๑,๕๐๐ บาทเมื่อได้เสียจังกอบแล้วไทยรับว่าจะไม่เรียกเก็บภาษีอย่างอื่นอีกเช่นนี้ ต่อมาพวกพ่อค้าอังกฤษและอเมริกันเกิดไม้พอใจเหตุด้วยในสมัยนั้นการเก็บภาษีภายในใช้วิธีให้ผูกขาดอยู่เป็นพื้น(ภาษีผูกขาดในชั้นหลังเป็นแต่ชักส่วนสิ่งของซึ่งต้องเสียภาษี เห็นจะแก้วิธีผูกขาดอย่างเดิมในรัชกาลที่ ๔ เมื่อทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ)
ก็วิธีผูกขาดอย่างโบราณนั้นมอบอำนาจให้เจ้าภาษีซื้อขายสินค้าสิ่งซึ่งตนรับผูกขาดได้แต่คนเดียว ใครมีสินค้าสิ่งนั้นจะขายก็ต้องขายแก่เจ้าภาษี ใครต้องการซื้อก็ต้องมาซื้อไปจากเจ้าภาษี ยังสินค้าซึ่งเป็นของมีราคามากดังเช่น นอแรด งาช้าง และดีบุกเป็นต้น ก็ผูกขาดเป็นของหลวงขายซื้อได้แต่พระคลังสินค้าแห่งเดียว นอกจากวิธีภาษีผูกขาดดังกล่าวมาในสมัยนั้นทั้งในหลวงและเจ้านายผู้ใหญ่ ผู้น้อยยังทำการค้าขายเองตามประเพณีซึ่งมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือแต่งเรือไปซื้อขายสินค้าถึงนานาประเทศบ้าง เช่นระวางเรือผู้อื่นฝากสินค้าไปมาบ้าง และผู้พาสินค้าเข้าออกยังต้องเสียภาษีอีกชั้นหนึ่ง พวกพ่อค้าฝรั่งกล่าวหาว่ารัฐบาลเก็บค่าจังกอบแล้วยังแย่งค้าขาย และให้ผูกขาดเก็บภาษีทางอ้อมไม่ทำตามหนังสือสัญญา ข้างฝ่ายไทยเถียงว่าไม่ได้ทำผิดสัญญาเพราะพวกพ่อค้าแขกและจีนก็ต้องเสียภาษีขาเข้าและขาออกอยู่อย่างเดิมพวกฝรั่งมาขอเปลี่ยนเป็นเสียค่าจังกอบตามขนาดปากเรือก็อนุญาตให้ตามประสงค์ เมื่อไม่สมัครเสียค่าปากเรือจะเสียภาษีขาเข้าขาออกอย่างเดียวกับพวกพ่อค้าแขกและจีนก็ได้จะยอมตามใจสมัคร
อีกประการหนึ่งในหนังสือสัญญาก็ไม่ได้รับว่าจะเลิกภาษีผูกขาดและค้าขายของหลวงหรือไม่อนุญาตให้เจ้านายข้าราชการค้าขายจะว่าผิดสัญญาอย่างไรได้ เป็นข้อทุ่มเถียงกันมาดังนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ รัฐบาลอเมริกันให้นายบัลเลศเตียนเป็นทูตมาขอแก้หนังสือสัญญาเมื่อต้นปีก็ไม่ตกลงกัน ต่อมาในปีจอนั้นเองรัฐบาลอังกฤษแต่งให้เซอร์เชมสบรุกเป็นทูตเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญา แต่ประจวบเวลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรคราวจะเสด็จสวรรคต พระราชทานกระแสพระราชดำริออกมาให้ข้าราชการผู้ใหญ่ปรึกษาหารือกันว่ากล่าวเจรจากับเซอร์เชมสบรุก ที่สุดก็ไม่ตกลงกันได้อีกเซอร์เชมสบรุกต้องกลับไปเปล่า แต่เหตุการณ์ในครั้งนี้ผิดกับคราวเฮนรี่เบอนี่เป็นทูตของบริษัทอังกฤษที่ปกครองอินเดียเข้ามาทำหนังสือสัญญาค้าขายเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๖๙ ด้วยเดิมมาจีนก็ไม่ยอมทำหนังสือสัญญาค้าขายกับต่างประเทศ จนเกิดรบกับอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ จีนแพ้ต้องยอมทำหนังสือสัญญา จึงเป็นเหตูให้ฝรั่งได้ใจเห็นว่าต้องใช้อำนาจจึงจะให้พวกชาวประเทศตะวันออกยอมทำหนังสือสัญญาค้าขายตามประสงค์ได้ เซอร์เชมสบรุกกลับไปคราวนั้นความปรากฏว่าไปเสนอต่อรัฐบาลอังกฤษขอให้ส่งกองทัพเรือเข้ามาบังคับไทยให้ทำหนังสือสัญญาอย่างเดียวกับจีน
แต่เผอิญประจวบเวลาทางเมืองไทยเปลี่ยนรัชกาลใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริโดยพระปรีชาญาณเห็นมาแต่เมื่อยังทรงผนวชอยู่ ว่าเหตุการณ์ทางประเทศตะวันออกไม่เหมือนแต่ก่อนด้วยฝรั่งกลับมามีอำนาจขึ้น ซึ่งจะไม่ยอมแก้หนังสือสัญญานั้นไม่ได้ ฝ่ายข้างอังกฤษมาถึงสมัยนี้ได้เกาะฮ่องกงของจีนมาตั้งเป็นเมืองขึ้น รัฐบาลอังกฤษจึงมอบอำนาจให้เซอร์จอน เบาริงเจ้าเมืองฮ่องกงเป็นผู้มาจัดการทำหนังสือสัญญากับไทยให้สำเร็จ เซอร์จอน เบาริ่งทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาสันทัดภาษาอังกฤษและมีพระราชอัธยาศัยกว้างขวาง จึงมีจดหมายเข้ามาทำทางพระราชไมตรีให้มีต่อส่วนพระองค์ไว้เสียก่อน แล้วตัวเซอร์จอน เบาริ่งจึงเชิญพระราชสาส์นของสมเด็จพระราชินีวิกเตอเรียเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ขอทำหนังสือสัญญาอย่างในระหว่างประเทศที่เป็นอิสระด้วยกันเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งข้าหลวง ๔ คน คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระองค์ ๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ องค์ ๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ องค์หนึ่ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ คน ๑ เจ้าพระยารวิวงศ์ผู้ช่วยราชการกรมท่า ว่าที่พระคลัง คน ๑ ให้เป็นผู้ปรึกษาข้อสัญญากับเซอร์จอนเบาริ่ง
การปรึกษาสัญญาคราวนี้เมื่อพิจารณาดูเรื่องราวซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุ (ความพิศดารทางฝ่ายอังกฤษกล่าว แจ้งอยู่ในหนังสือเซอร์จอนเบาริงแต่ง ว่าด้วยเรื่องประเทศสยาม เล่ม ๒ ตอนที่ ๑๖) เป็นการลำบากมิใช่น้อย ด้วยรัฐบาลอังกฤษได้วางแบบแผนหนังสือสัญญาไว้เมื่อรบชนะประเทศจีน ว่าจะทำสัญญากับประเทศตะวันออกเป็นทำนองเดียวกันทั้งหมด ไม่ใช่มาปรึกษาหาความตกลงตามแต่สะดวกด้วยกันทั้งสองฝ่าย หรือว่าอีกอย่างหนึ่งเสมออังกฤษร่างหนังสือสัญญาเข้ามาแล้วยอมให้ไทยแก้ไขแต่พลความ ส่วนใจความอันเป็นข้อสำคัญเช่นว่าด้วยอำนาจกงสุลซึ่งจะให้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯก็ดี สิทธิของคนในบังคับอังกฤษที่จะไม่ต้องอยู่ในบังคับของรัฐบาลไทยเพียงใดก็ดี ยุติมาเสียแล้ว
มีการปรึกษาแต่ด้วยเรื่องเก็บภาษีอากรแก่คนในบังคับอังกฤษ อังกฤษขอให้เลิกภาษีผูกขาดอย่างปิดซื้อปิดขาย ตลอดจนวิธีซื้อขายของพระคลังสินค้า เปลี่ยนเป็นเก็บภาษีมีพิกัดตามจำนวน(คือร้อยละเท่านั้นเท่านี้ในจำนวนสินค้า) และจำกัดอัตราภาษีศุลกากร เช่นเรียกภาษีสินค้าเข้าตามราคาได้แต่เพียงร้อยละ ๓ เป็นต้น เมื่อเสียภาษีตามหนังสือสัญญาแล้วไทยต้องยอมให้คนในบังคับอังกฤษซื้อขายได้ตามใจ เว้นสินค้าต้องห้ามบางอย่างมีฝิ่นและเครื่องอาวุธปืนไฟเป็นต้น ฝ่ายข้างไทยในเวลานั้นความเห็นก็เห็นจะร่วมกันหมดในข้อที่ว่าต้องยอมทำหนังสือสัญญาใหม่กับอังกฤษจะปฏิเสธอย่างครั้งเซอร์เชมสบรุคไม่ได้ ข้อสัญญาว่าด้วยการอย่างอื่น เช่น อำนาจของกงสุลก็ดี หรือสิทธิของคนในบังคับอังกฤษก็ดี ดูไม่ปรากฏความรังเกียจเพียงใดนัก ความขัดข้องโต้แย้งของท่านผู้ใหญ่คือสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสององค์เป็นสำคัญอยู่ในข้ออื่น คือเรื่องเลิกภาษีผูกขาดเป็นต้น อ้างว่าเคยเป็นประเพณีการบ้านเมืองมาช้านาน ถ้าเลิกผูกขาดภาษีเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น เงินผลประโยชน์สำหรับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินก็จะตกต่ำถึงฝืดเคือง
อีกประการหนึ่ง (ข้อนี้คิดดูในเวลานี้ก็ชอบกล) เห็นว่าการทำนาในเมืองไทย ได้ข้าวก็แต่พอจะเลี้ยงไพร่บ้านพลเมืองมิให้อัตคัต ถ้าให้ชาวต่างประเทศมาซื้อข้าวเอาไปบ้านเมืองตามใจชอบก็จะเป็นเหตุให้ราษฎรในพื้นเมืองอดอยาก อีกประการหนึ่งถ้าทำหนังสือสัญญาอย่างนั้นแล้วฝรั่งเข้ามาค้าขายมากขึ้นก็จะมาค้าขายแข่งคนในพื้นเมือง ทำให้พวกพ่อค้าตลอดจนผู้มีบรรดาศักดิ์ซึ่งเคยอาศัยเลี้ยงชีพในการค้าขายพากันย่อยยับเพราะฝรั่งมีทุนมากกว่า การโต้แย้งขัดขวางในข้อเหล่านี้เป็นเหตุให้การปรึกษาติดขัดในชั้นแรก จนถึง เซอร์จอนเบาริ่งเตรียมตัวจะกลับไป ว่าจะไปปรึกษากับราชทูตฝรั่งเศส ราชทูตอเมริกันที่เมืองจีน กับทั้งแม่ทัพเรือของอังกฤษว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป ที่การปรึกษาสำเร็จได้ครั้งนี้ เพราะสติปัญญาบุคคลแต่ ๒ คน คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ ๑ กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ องค์ ๑ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เซอร์จอน เบาริ่งว่าไม่ได้เกี่ยวข้องในการปรึกษาที่เดียว เพราะเกรงใจสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสอง)
Create Date : 19 มีนาคม 2550
Last Update : 19 มีนาคม 2550 13:59:01 น.
1 comments
Counter : 3401 Pageviews.
Share
Tweet
(ต่อ)
แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระเจ้าแผ่นดินจะเข้าทรงปรึกษาว่ากล่าวเองไม่ถนัด ได้แต่คอยทรงอำนวยการและแนะนำ อย่างว่า"อยู่ข้างหลังฉาก" ในจดหมายเหตุของเซอร์จอน เบาริ่งกล่าวว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นตัวผู้ที่ได้เข้าพูดจาว่ากล่าวกับทูตอังกฤษ ทั้งเมื่อเวลาประชุมข้าหลวงปรึกษาสัญญา ณ จวนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์หลายๆวันประชุมกันครั้งหนึ่ง และไปพูดจาปรึกษาหารือกับเซอร์จอน เบาริ่งเป็นอย่างส่วนตัวแทบทุกวัน พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้นทรงพระราชดำริว่าความข้อใดซึ่งเห็นว่าอังกฤษคงจะเอาให้จงได้ ยอมให้เสียโดยดีแลกเอาข้อที่ไทยต้องการจะให้เขาลดหย่อนผ่อนผันให้ดีกว่าเพราะอย่างไรๆก็ต้องทำหนังสือสัญญาจึงจะพ้นเหตุเภทภัยแก่บ้านเมือง
ครั้งนั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้อยู่กลางในระหว่างทูตอังกฤษกับสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสอง แต่สามารถเข้าได้สนิททั้งสองฝ่ายจนเซอร์จอน เบาริ่งชมไว้ในจดหมายรายวัน ซึ่งเขียนในระหว่างเวลาเมื่อปรึกษาสัญญากันอยู่นั้นแห่ง ๑ เขียนเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ค.ศ. ๑๘๕๕(พ.ศ. ๒๓๙๘)ว่า
"..เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์คนนี้ถ้าไม่เป็นเจ้ามารยาอย่างยอดก็เป็นคนรักบ้านเมืองของตนอย่างยิ่ง แต่จะเป็นคนเจ้ามารยาหรือเป็นคนรักบ้านเมืองก็ตาม ต้องยอมว่าฉลาดล่วงรู้การล้ำคนทั้งหลายที่เราได้พบในที่นี้ ทั้งมีกิริยาอัชฌาศัยสุภาพอย่างผู้ดีและรู้จักพูดจาพอเหมาะแก่การ.."
อีกแห่งหนึ่งเขียนเมื่อ วันที่ ๑๓ เมษายน ว่า
"..อัธยาศัยของอัครมหาเสนาบดี(คือเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์)นั้นน่าสรรเสริญมาก ท่านได้กล่าวแก่เราหลายครั้ง ว่าถ้าเรามีความมุ่งหมายจะช่วยประชาชนให้พ้นความกดขี่ และช่วยบ้านเมืองให้พ้นภาษีผูกขาด ซึ่งเอาประโยชน์ของบ้านเมืองไปเป็นส่วนบุคคลนั้นก็จะช่วยเราเหนื่อยด้วย และถ้าเราทำการสำเร็จชื่อเสียของเราก็จะเป็นที่ยกย่องต่อไปชั่วกาลนาน ท่านเล่าให้เราทราบความบกพร่องต่างๆโดยมิได้ปิดบังเลย และบางคราวพูดอย่างโกรธเกรี้ยว(ไม่พอใจในการที่เป็นอยู่) ถ้าท่านผู้นี้มีใจจริงดังปากว่าก็ต้องนับว่าเป็นคนรักบ้านเมือง และฉลาดเลิศที่สุดคนหนึ่งในเหล่าประเทศตะวันออกนี้ อนึ่งการใช้เงินนั้นท่านเป็นผู้ไม่ตระหนี่ กล่าวว่าเงินทำให้ร้อนใจจึงใช้สอยเสียอย่างไม่เบียดกรอเลย ส่วนความยากซึ่งมีในฐานะของตัวท่านนั้น ท่านก็ชี้แจงให้เราทราบหมดแม้ความลำบากเกี่ยวกับผู้ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน(เห็นจะหมายความว่าสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสององค์)ก็ไม่ปกปิด.."
คำเซอร์จอน เบาริ่งส่อให้เห็นความสามารถฉลาดหลักแหลมของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เพียงใดในสมัยนั้น พอทำหนังสือสัญญากับอังกฤษแล้ว ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ นั้นเอง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ก็ถึงพิราลัย
ต่อมาอีก ๒ ปีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติก็ถึงพิราลัยในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ แต่นั้นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็เป็นตัวหัวหน้าเสนาบดีทั้งปวง ทั้งโดยตำแหน่งและโดยความสามารถในราชการงานเมืองทั่วไป (เจ้าพระยานิกรบดินทร์เป็นที่สมุหนายกยังอยู่ แต่แก่ชราอายุถึง ๘๐ ปีไม่สามารถรับราชการเสียแล้ว กรมหลวงวงศาธิราชสนิทได้ทรงกำกับราชการกระทรวงมหาดไทย)
ตั้งแต่อังกฤษเข้ามาทำหนังสือสัญญาสำเร็จแล้ว ต่อมาอีกปีหนึ่งอเมริกันและฝรั่งเศสก็เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาบ้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริโดยพระปรีชาญาณเห็นว่าการอันเป็นข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ว่าไหนๆก็จำต้องทำหนังสือสัญญากับฝรั่งแล้วทำสัญญาเสียให้หลายชาติด้วยกัน ความเป็นอิสระภาพของบ้านเมืองก็จะมั่นคงกว่าให้ฝรั่งแต่ชาติหนึ่งชาติเดียวเข้ามามีอำนาจ เพราะฉะนั้นเมื่อชาติไหนมาขอทำหนังสือสัญญาก็โปรดฯให้รับทำด้วย เป็นพระบรมราโชบายมาตลอดรัชกาลที่ ๔ เป็นแต่ระวังมิให้เสียเปรียบกว่าสัญญาที่ทำมาแล้ว
การที่ทำหนังสือสัญญากับฝรั่งต่างชาติครั้งนั้นเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขกิจการบ้านเมืองหลายอย่าง เป็นต้นว่าการเก็บภาษีภายในต้องเลิกผูกขาดซื้อขายอย่างแต่ก่อน เปลี่ยนวิธีเก็บชักส่วนตามจำนวนสินค้าแล้วแต่ใครจะค้าสิ่งใดก็ได้ และต้องตั้งภาษีขึ้นใหม่อีกหลายอย่างทดแทนเงินผลประโยชน์แผ่นดินที่ขาดไปเพราะเลิกภาษีผูกขาด ส่วนการทดแทนผลประโยชน์ของเจ้านายและข้าราชการทั้งพ่อค้าที่ต้องขาดไปเพราะทำหนังสือสัญญากับฝรั่งนั้น ก็แก้ไขด้วยให้พวกพ่อค้า(ซึ่งเป็นเชื้อจีนโดยมาก) เข้ารับเป็นเจ้าภาษีนายอากรที่ตั้งขึ้นใหม่ และแจกการควบคุมภาษีนั้นๆให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงต่างๆผู้มีบรรดาศักดิ์ซึ่งขาดผลประโยชน์เป็นเจ้ากระทรวงอยู่โดยมาก ก็ได้รับส่วนแบ่งจากเงินภาษีอากรที่ตนได้ควบคุมนั้น (ที่เก็บภาษีอากรแยกขึ้นอยู่ในกระทรวงต่างๆในรัชการที่ ๔ เป็นด้วยเหตุดังกล่าวมา เพราะในสมัยนั้นประเพณีที่เสนาบดีได้เงินเดือนตามตำแหน่งยังไม่เกิดขึ้น) ยังการที่ต้องคิดป้องกันมิให้ชาวเมืองเกิดอดอยากเพราะฝรั่งมาซื้อข้าวเอาไปเสียนั้น ก็ต่องคิดอ่านบำรุงการกสิกรรมและพาณิชนกรรมให้เพิ่มพืชผลขึ้นพำอเก่การค้าขาย จึงเกิดความคิดขุดคลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ เพิ่มทางคมนาคมและเบิกที่ให้คนทำไร่นามากขึ้น
นอกจากที่ได้กล่าวมา เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ออกไปเมืองสิงคโปร์ด้วยกันกับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธร ซึ่งได้ทรงบัญชาการกรมพระคลังมหาสมบัติ ให้ตรวจตราพิจารณาวิธีที่อังกฤษทำนุบำรุงบ้านเมือง แต่จะกลับมากราบบังคมทูลถวายรายงานอย่างไรบ้างหาปรากฏไม่ การทำนุบำรุงกรุงเทพฯตามคติฝรั่ง เช่นทำถนนและสะพานสำหรับใช้รถจัดโปลิศเป็นต้น เนื่องมาตั้งแต่ทำหนังสือสัญญาเปิดการค้ากับต่างประเทศ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้รับสั่งให้ดูแลการเหล่านั้นแทบทุกอย่าง
ข้อสำคัญอันหนึ่งในเรื่องประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อตอนก่อนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คือที่ท่านคิดอ่านยกกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ดังปรากฏอยู่ในเรื่องจดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต (ซึ่งพิมพ์ในงานสตมวาร) นั้น มีหลักฐานปรากฏว่าท่านได้ตกลงใจมาแล้วหลายปี เห็นจะเป็นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ และได้กราบบังคมทูลความคิดนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบด้วย
เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ามีพระราชดำรัสเล่า ว่าวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับ ณ พระทวารหน้ามุขพระที่นั่งอนันตสมาคมอันเป็นที่รโหฐาน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เข้าเฝ้าฯส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับคอยรับใช้อยู่เบื้องพระขนองของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้ทรงสดับตรัสประภาษกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ด้วยเรื่องต่างๆมาจนถึงเรื่องวังหน้า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะไดด้กราบทูลอธิบายว่ากระไรหาทรงได้ยินถนัดไม่ ได้ยินแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสตอบว่า
"ถ้าเช่นนั้นกั้นกำแพงแบ่งกันเสียที่ท้องสนามหลวงก็แล้วกัน"
เข้าพระทัยว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์คงกราบทูลอธิบายว่าเห็นจำเป็นจะต้องให้กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเป็นพระมหาอุปราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย แต่จะทรงโต้แย้งขัดขวางก็เห็นไม่เป็นประโยชน์ จึงมีพระราชดำรัสอย่างนั้น
เรื่องที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเล่านี้ ก็สมกับการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องกรมหมื่นบวรวิชัยชาญในเวลาต่อมา เช่นโปรดฯให้ไปเยี่ยมตอบราชทูตฝรั่งเศส(ที่ปรากฏในหนังสือเรื่องพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อก่อนเสวยราชย์) และเล่ากันว่าเมื่อเสด็จออกรับเจ้าเมืองสิงคโปร์ที่พลับพลาหว้ากอ โปรดฯให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญหมอบเฝ้าฯข้างที่ประทับยฝ่ายหนึ่ง คู่กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหตุใดสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงคิดยกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ข้อนี้ท่านที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่มีความเห็นพ้องกันโดยมาก ว่าคงเป็นเพราะสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์คิดเกรงว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญวัยขึ้นจะทรงตัดอำนาจวาสนาของท่าน หรืออย่างต่ำก็คอยโต้แย้งขัดขวางมิให้ท่านทำการงานได้สะดวก และอาจทรงทำได้ด้วยเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงคิดตั้งพระมหาอุปราชไว้เป็นที่กีดกั้น และเลือกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็นพระมหาอุปราชด้วยเห็นว่าจะเข้ากันกับวังหลวงไม่ได้ก็จำเป็นต้องอาศัยตัวท่านทั้งวังหลวงและวังหน้าดังนี้ ความคิดเห็นของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เช่นผู้อื่นสันนิษฐานดังกล่าวมา แม้ท่านจะคิดอย่างนั้นจริง ก็เห็นจะไม่กล้ากราบบังคมทูลฯพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นนั้น
จึงน่าสันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะได้ยกเหตุอันใดขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงเห็นความจำเป็นในการที่จะต้องยกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ข้อนี้ไม่ได้ยินท่านผู้ใดกล่าว ได้แต่ลองคิดเดาดูโดยอาศัยความจริงมีอยู่ ๒ ข้อ ข้อ ๑ คือประเพณีที่มีผู้อื่นสำเร็จราชการบ้านเมืองแทนพระเจ้าแผ่นดินเมื่อยังทรงพระเยาว์มิได้เคยมีเยี่ยงอย่างในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ แม้เคยมีในสมัยกรุงศรีอยุธยาหลายครั้งก็มักมีภัยอันตรายแก่พระเจ้าแผ่นดินซึ่งยังทรงพระเยาว์นั้น
มีตัวอย่างครั้งหลังที่สุดคือเมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชโอรสพระเจ้าทรงธรรมได้รับรัชทายาท พระชันษาได้ ๑๔ ปี พระเจ้าปราสาททองเมื่อยังเป็นเจ้าพระยากลาโหม(อย่างเดียวกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นอยู่เมื่อรัชกาลที่ ๔ และมีราชทินนามว่า"สุริยวงศ์"คล้ายกันด้วย)ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จะคัดความที่กล่าวในหนังสือพระราชพงศาวดารตรงนั้นมาลงไว้พอให้เห็น
"อยู่มาเดือนเศษ มารดาเจ้าพระยากลาโหมถึงชีพิตักษัย แต่งการศพเสร็จแล้วเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ออกไปตั้งการปลงศพ ณ วัดกุฏ ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนผู้ใหญ่ผู้น้อยออกไปช่วย (ถึง)นอนค้างแรมอยู่เป็นมาก ฝ่ายข้าหลวงเดิมพระเจ้าอยู่หัว(คือสมเด็จพระเชษฐาธิราช)กราบทูลยุยงเป็นความลับว่า เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ทำการครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก หากเอาการศพเข้ามาบังไว้เห็นที่จะคิดประทุษร้ายต่อพระองค์เป็นมั่นคง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้มีวิจารณ์ให้ถ่องแท้ ตกพระทัย ตรัสให้เหล่าชาวป้อมล้อมพระราชวังขึ้นประจำหน้าที่แล้วเตรียมทหารไว้เป็นกองๆ จึงดำรัสให้ขุนมหามนตรีออกไปหาตัวเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เข้ามา(เฝ้า)
ขณะนั้นจมื่นสรรเพ็ธภักดีสอดหนังสือลับออกไปก่อน ว่าพระโองการให้เข้ามาดูมวย บัดนี้เตรียมไว้พร้อมอยู่แล้ว เมื่อเจ้าคุณจะเข้ามานั้นให้คาดเชือกเข้ามาทีเดียว ครั้นขุนมหามนตรีออกไปถึง กราบเรียนว่าพระโองการให้หา เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์แจ้งการซึ่งจมื่นสรรเพ็ธภักดีบอกให้สิ้นอยู่แล้ว จึงว่าขึ้นท่ามกลางขุนนางทั้งปวงว่า เราทำราชการกตัญญูแต่ครั้งพระพุทธเจ้าหลวงมา ท่านทั้งปวงก้แจ้งอยู่สิ้นแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว ถ้าเรารักราชสมบัติท่านทั้งหลายเห็นจะพ้นเราเจียวหรือ ขุนนางทั้งปวงกราบแล้วจึงว่าราชการทั้งปวงก็สิทธิ์ขาดอยู่แก่ฝ่าเท้ากรุณาเจ้าสิ้น ที่จะมีผู้ใดขัดแข็งนั้นข้าพเจ้าทั้งปวงก็ไม่เห็นมีตัวแล้ว เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงว่า ท่านทั้งปวงจงเห็นจริงด้วยเราเถิด เรากตัญญูคิดว่าเป็นลูกเจ้าข้าวแดงจึงเป็นต้นคิดอ่านปรึกษามิให้เสียราชประเพณี ยกราชสมบัติถวายแล้วยังหามีความดีไม่ ฟังแต่คำคนยุยงกลับจะมาทำร้ายเราผู้มีความชอบต่อแผ่นดินอีกเล่า ท่านทั้งปวงจะทำราชการต่อไปข้างหน้าจงเร่งคิดถึงตัวเถิด ขุนนางทั้งนั้นกราบแล้วว่า อันฝ่าเท้ากรุณา(ว่า)ทั้งนี้ควรหนักหนา เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ดูท่วงทีขุนนางทั้งปวงเห็นยังไว้อารมณ์เป็นกลางอยู่มิลงใจเป็นแท้ จึงสั่งทะลวงฟันให้กุมเอาตัวขุนมหามนตรีและบ่าวไพร่ซึ่งพายเรือมานั้นไว้ให้สิ้น ทะลวงฟันก็กรูกันจับเอาขุนมหามนตรีและไพร่ไปคุมไว้
ขุนนางทั้งปวงเห็นดังนั้นต่างตกใจหน้าซีดลงทุกคน เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เห็นดังนั้นจึงว่า บัดนี้พระเจ้าแผ่นดินว่าเราทำการประชุมขุนนางพร้อมมูลทั้งนี้คิดการเป็นกบฏ ก็ท่านทั้งปวงซึ่งมาช่วยโดยสุจริตนั้นจะมิพลอยเป็นกบฏไปด้วยหรือ ขุนนางพร้อมกันกราบเรียนว่าเป็นธรรมดาอยู่แล้ว อุปมาเหมือนหนึ่งนิทานพระบรมโพธิสัตว์เป็นนายสำเภา คนทั้งหลายโดยสารไปค้า ใช้ใบไปถึงท่ามกลางมหาสมุทรต้องพายุใหญ่สำเภาจะอับปางอยู่แล้ว พระบรมโพธิสัตว์จึงคิดว่าถ้าจะนิ่งอยู่ดังนี้ก็จะพากันตายเสียด้วยสิ้นทั้งสำเภา จึงตั้งสัจอธิษฐานว่า ถ้าอาตมาจะสำเร็จแก่พระบรมโพธิญาณขออย่าให้สำเภาอับปางในท้องมหาสมุทรเลย เดชะอานุภาพพระบารมีบรมโพธิสัตว์สำเภาจึงมิได้จลาจล แล่นล่วงถึงประเทศธานีซึ่งจะไปค้านั้น ก็เหมือนการอันเป็นครั้งนี้ถ้าฝ่าเท้ากรุณานิ่งตาย คนทั้งหลายก็จะพลอยตายด้วย เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้ฟังขุนนางว่าดังนั้นก็หัวเราะ แล้วว่าเจ้าแผ่นดินว่าเราเป็นกบฏแล้ว เราจะทำตามรับสั่ง ท่านทั้งปวงจะว่าประการใด ขุนนางทั้งปวงกราบแล้วจึงว่าถ้าฝ่าเท้ากรุณาจะทำการใหญ่จริง ข้าพเจ้าทั้งปวงจะขอเอาชีวิตสนองพระคุณตายก่อน เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เห็นขุนนางปลงใจพร้อมโดยสุจริตก็จัดแจงเป็นหมวดเป็นกองกำหนดกฏหมายกันมั่นคง
ครั้นเพลาบ่าย ๓ โมงเศษ จุดเพลิงเผาศพแล้วได้อุดมฤกษ์เวลา เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ก็ลงเรือพร้อมขุนนางทั้งปวงสักร้อยลำคนประมาณสามพันเศษ สรรพด้วยเครื่องศัสตราวุธล่องมาขึ้นประตูชัย วันนั้นเป็นวันเสาร์ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ใส่เสื้อดำกางเกงดำขึ้นม้าดำ ขุนนางและไพร่ตามมาเป็นอันมาก ครั้นถึงหน้าพระกาฬจึงลงจากม้าตั้งสัจอธิฐานว่า ข้าพเจ้าปรารถนาโพธิญาณถ้าจะสำเร็จแก่พุทธสมบัติเป็นแท้ จะยกเข้าไปล้างผู้อาสัตย์ขอให้สำเเร็จดังปรารถนา เสร็จอธิฐานแล้วเวลาพลบค่ำจึงมาตั้งชุมพลอยู่ ณ วัดสุทธาวาส ครั้นเพลา ๘ ทุ่มนั่งคอยฤกษ์พร้อมกัน เห็นพระสารีริกบรมธาตุเสด็จมาแต่ประจิมทิศผ่านไปปราจิณทิศ ได้นิมิตรเป็นมหามงคลฤกษ์อันประเสริฐก็ยกพลเข้าประตูมงคลสุนทร ให้ทหารเอาขวานฟันประตูมงคลสุนทรเข้าไปได้ ด้วยเดชะกฤษฎาภินิหารอันใหญ่ยิ่ง หามีผู้ใดจะออกต่อต้านมิได้ก็กรูกันเข้าไปในท้องสนามใน ข้าหลวงเดิมซึ่งนอนเวรประจำซองร้องกราบทูลเข้าไปว่า เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ยกเข้ามาได้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินได้ฟังตกพระทัยนักมิได้คิดอ่านที่จะต่อสู้ออกจากพระราชวังกับพวกข้าหลวงเดิมลงเรือพระที่นั่งหนีไป เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เข้าไปในพระราชวังได้รู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหนี จึงสั่งให้พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ ไปตามแต่ในเพลากลางคืนวันนั้น รุ่งขึ้นพระยาเดโช พระยาท้ายน้ำทันพระเจ้าแผ่นดินที่ป่าโมกข์น้อยล้อมจับเอาตัวมาได้ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์สั่งให้เอาตัวไปสำเร็จโทษตามประเพณีกษัตริย์ พระเชษฐาธิราชอยู่ในราชสมบัติปีหนึ่งกับเจ็ดเดือน"
ความที่คัดมาลงตรงนี้ อยู่ในหนังสือพระพงศาวดารฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งเป็นหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับแรกที่ได้พิมพ์เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๐๖ ในรัชกาลที่ ๔ บรรดาผู้ศึกษาพงศาวดารสมัยนั้นได้อ่านหนังสือฉบับนี้ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อใครปรารภถึงเรื่องที่จะต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คิดถึงเรื่องพงศาวดารตรงนี้คงหวาดหวั่น แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ก็คงรู้สึกลำบากใจ
ยังความจริงอีกข้อหนึ่ง คือที่ราชการบ้านเมืองตั้งแต่มีฝรั่งเข้ามาเกี่ยวข้องการบังคับบัญชาลำบากยากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ถ้อยทีได้อาศัยกันในการรักษาบ้านเมืองให้เป็นปกติมา ถ้าสิ้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียแล้ว ภาระอันลำบากยากยิ่งทั้งปวงก็จะตกหนักอยู่แก่ท่าน ถ้ามีแต่ตัวท่านเป็นคนสำคัญอยู่ในแผ่นดินแต่ผู้เดียว ทำอะไรคนทั้งหลายก็จะพากันคอยสงสัย ว่าท่านจะคิดกบฏอย่างเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ครั้งกรุงศรีอยุธยา จึงเห็นควรจะให้มีพระมหาอุปราชขึ้นไว้เป็นคนสำคัญในแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่งเหนือตัวท่าน ทำนองเดียวกับเมื่อมีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพอเป็นเครื่องป้องกันตัวท่านมิให้ถูกสงสัญว่าจะคิดกบฏ บางทีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะกราบทูลอธิบายแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทำนองที่กล่าวมานี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบ แต่มิรู้ที่จะทรงขัดขวางอย่างไรเพราะทรงพระราชดำริเห็นว่า ถ้าจำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ก็คงได้เป็น เมื่อเป็นแล้วจะยกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราชก็คงยกได้ จึงได้มีพระราชดำรัสว่า"ถ้าเช่นนั้นกั้นกำแพงแบ่งกันเสียที่ท้องสนามหวงก็แล้วกัน"
น่าคิดวินิจฉัยต่อไปอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จดำรงพระชนม์อยู่จนถึงได้ทรงมอบเวนราชสมบัติแก่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมพระราชประสงค์แล้ว จะทรงตั้งกรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็นพระมหาอุปราชหรือไม่ ข้อนี้เมื่อคิดใคร่ควรดูเห็นว่าคงไม่ทรงตั้ง เพราะผิดราชประเพณีสถานหนึ่ง กับอีกสถานหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีปกติทรงตริตรองการรอบคอบ มักจะทรงเห็นการณืใกล้กว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ฉลาดยิ่งแต่ที่จะแก้ไขกิจการอันปัจจุบันทันด่วน
ประวัติบุคคลสำคัญ พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
........................................................................................................................................
โดย:
กัมม์
วันที่: 19 มีนาคม 2550 เวลา:11:40:30 น.
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
กัมม์
Location :
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [
?
]
วิชา ความรู้จะมีค่าเมื่อถูกถ่ายทอด
Bigmommy
NickyNick
เพ็ญชมพู
kenzen
สาวใหม
กระจ้อน
คนรักน้ำมัน
Why England
naragorn
biebie999
วรณัย
เซียงยอด
แม่สลิ่ม
รอยคำ
สุธน หิญ
นอกราชการ
BFBMOM
มณีไตรรงค์
karmapolice
เมื่อไรจะหายเหงา
เจ้าชายเล็ก
รักดี
ลุงนายช่าง
nidyada
mr.cozy
กวินทรากร
Mutation
พลังชีวิต
หนุ่มรัตนะ
Webmaster - BlogGang
[Add กัมม์'s blog to your web]
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
หอมรดกไทย
เวียงวัง
มอญ
กฎหมายไทย
ประตูสู่อีสาน
พจนานุกรมไทย-อังกฤษ
พจนานุกรมไทย-บาลี
คำไท - คำถิ่น
คนโคราช
หนังสือหายาก E - Book
ลิลิตตะเลงพ่าย
สามก๊ก
บ้านมหา (หมอลำออนไลน์)
หมากรุกไทย และหมากกระดาน
ราชกิจจานุเบกษา
สมุดภาพเมืองไทยในอดีต
พระราชวังพญาไท
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ฐานข้อมูลภาพถ่าย กรมศิลปากร
ปากเซ ดอท คอม
ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้
มวยไชยา
ดำรงราชานุภาพ
พิพิธภัณฑ์ธงสยาม
ห้องสมุดพันทิป
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
จิตรกรรมฝาผนังวัดบุปผาราม
พิพิธภัณฑ์ศาลไทย
จิตรธานี
Wikimapia
ราชบัณฑิตยสถาน
Bloggang.com
MY VIP Friend
แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระเจ้าแผ่นดินจะเข้าทรงปรึกษาว่ากล่าวเองไม่ถนัด ได้แต่คอยทรงอำนวยการและแนะนำ อย่างว่า"อยู่ข้างหลังฉาก" ในจดหมายเหตุของเซอร์จอน เบาริ่งกล่าวว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นตัวผู้ที่ได้เข้าพูดจาว่ากล่าวกับทูตอังกฤษ ทั้งเมื่อเวลาประชุมข้าหลวงปรึกษาสัญญา ณ จวนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์หลายๆวันประชุมกันครั้งหนึ่ง และไปพูดจาปรึกษาหารือกับเซอร์จอน เบาริ่งเป็นอย่างส่วนตัวแทบทุกวัน พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้นทรงพระราชดำริว่าความข้อใดซึ่งเห็นว่าอังกฤษคงจะเอาให้จงได้ ยอมให้เสียโดยดีแลกเอาข้อที่ไทยต้องการจะให้เขาลดหย่อนผ่อนผันให้ดีกว่าเพราะอย่างไรๆก็ต้องทำหนังสือสัญญาจึงจะพ้นเหตุเภทภัยแก่บ้านเมือง
ครั้งนั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้อยู่กลางในระหว่างทูตอังกฤษกับสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสอง แต่สามารถเข้าได้สนิททั้งสองฝ่ายจนเซอร์จอน เบาริ่งชมไว้ในจดหมายรายวัน ซึ่งเขียนในระหว่างเวลาเมื่อปรึกษาสัญญากันอยู่นั้นแห่ง ๑ เขียนเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ค.ศ. ๑๘๕๕(พ.ศ. ๒๓๙๘)ว่า "..เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์คนนี้ถ้าไม่เป็นเจ้ามารยาอย่างยอดก็เป็นคนรักบ้านเมืองของตนอย่างยิ่ง แต่จะเป็นคนเจ้ามารยาหรือเป็นคนรักบ้านเมืองก็ตาม ต้องยอมว่าฉลาดล่วงรู้การล้ำคนทั้งหลายที่เราได้พบในที่นี้ ทั้งมีกิริยาอัชฌาศัยสุภาพอย่างผู้ดีและรู้จักพูดจาพอเหมาะแก่การ.." อีกแห่งหนึ่งเขียนเมื่อ วันที่ ๑๓ เมษายน ว่า "..อัธยาศัยของอัครมหาเสนาบดี(คือเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์)นั้นน่าสรรเสริญมาก ท่านได้กล่าวแก่เราหลายครั้ง ว่าถ้าเรามีความมุ่งหมายจะช่วยประชาชนให้พ้นความกดขี่ และช่วยบ้านเมืองให้พ้นภาษีผูกขาด ซึ่งเอาประโยชน์ของบ้านเมืองไปเป็นส่วนบุคคลนั้นก็จะช่วยเราเหนื่อยด้วย และถ้าเราทำการสำเร็จชื่อเสียของเราก็จะเป็นที่ยกย่องต่อไปชั่วกาลนาน ท่านเล่าให้เราทราบความบกพร่องต่างๆโดยมิได้ปิดบังเลย และบางคราวพูดอย่างโกรธเกรี้ยว(ไม่พอใจในการที่เป็นอยู่) ถ้าท่านผู้นี้มีใจจริงดังปากว่าก็ต้องนับว่าเป็นคนรักบ้านเมือง และฉลาดเลิศที่สุดคนหนึ่งในเหล่าประเทศตะวันออกนี้ อนึ่งการใช้เงินนั้นท่านเป็นผู้ไม่ตระหนี่ กล่าวว่าเงินทำให้ร้อนใจจึงใช้สอยเสียอย่างไม่เบียดกรอเลย ส่วนความยากซึ่งมีในฐานะของตัวท่านนั้น ท่านก็ชี้แจงให้เราทราบหมดแม้ความลำบากเกี่ยวกับผู้ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน(เห็นจะหมายความว่าสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสององค์)ก็ไม่ปกปิด.." คำเซอร์จอน เบาริ่งส่อให้เห็นความสามารถฉลาดหลักแหลมของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เพียงใดในสมัยนั้น พอทำหนังสือสัญญากับอังกฤษแล้ว ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ นั้นเอง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ก็ถึงพิราลัย
ต่อมาอีก ๒ ปีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติก็ถึงพิราลัยในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ แต่นั้นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็เป็นตัวหัวหน้าเสนาบดีทั้งปวง ทั้งโดยตำแหน่งและโดยความสามารถในราชการงานเมืองทั่วไป (เจ้าพระยานิกรบดินทร์เป็นที่สมุหนายกยังอยู่ แต่แก่ชราอายุถึง ๘๐ ปีไม่สามารถรับราชการเสียแล้ว กรมหลวงวงศาธิราชสนิทได้ทรงกำกับราชการกระทรวงมหาดไทย)
ตั้งแต่อังกฤษเข้ามาทำหนังสือสัญญาสำเร็จแล้ว ต่อมาอีกปีหนึ่งอเมริกันและฝรั่งเศสก็เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาบ้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริโดยพระปรีชาญาณเห็นว่าการอันเป็นข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ว่าไหนๆก็จำต้องทำหนังสือสัญญากับฝรั่งแล้วทำสัญญาเสียให้หลายชาติด้วยกัน ความเป็นอิสระภาพของบ้านเมืองก็จะมั่นคงกว่าให้ฝรั่งแต่ชาติหนึ่งชาติเดียวเข้ามามีอำนาจ เพราะฉะนั้นเมื่อชาติไหนมาขอทำหนังสือสัญญาก็โปรดฯให้รับทำด้วย เป็นพระบรมราโชบายมาตลอดรัชกาลที่ ๔ เป็นแต่ระวังมิให้เสียเปรียบกว่าสัญญาที่ทำมาแล้ว
การที่ทำหนังสือสัญญากับฝรั่งต่างชาติครั้งนั้นเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขกิจการบ้านเมืองหลายอย่าง เป็นต้นว่าการเก็บภาษีภายในต้องเลิกผูกขาดซื้อขายอย่างแต่ก่อน เปลี่ยนวิธีเก็บชักส่วนตามจำนวนสินค้าแล้วแต่ใครจะค้าสิ่งใดก็ได้ และต้องตั้งภาษีขึ้นใหม่อีกหลายอย่างทดแทนเงินผลประโยชน์แผ่นดินที่ขาดไปเพราะเลิกภาษีผูกขาด ส่วนการทดแทนผลประโยชน์ของเจ้านายและข้าราชการทั้งพ่อค้าที่ต้องขาดไปเพราะทำหนังสือสัญญากับฝรั่งนั้น ก็แก้ไขด้วยให้พวกพ่อค้า(ซึ่งเป็นเชื้อจีนโดยมาก) เข้ารับเป็นเจ้าภาษีนายอากรที่ตั้งขึ้นใหม่ และแจกการควบคุมภาษีนั้นๆให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงต่างๆผู้มีบรรดาศักดิ์ซึ่งขาดผลประโยชน์เป็นเจ้ากระทรวงอยู่โดยมาก ก็ได้รับส่วนแบ่งจากเงินภาษีอากรที่ตนได้ควบคุมนั้น (ที่เก็บภาษีอากรแยกขึ้นอยู่ในกระทรวงต่างๆในรัชการที่ ๔ เป็นด้วยเหตุดังกล่าวมา เพราะในสมัยนั้นประเพณีที่เสนาบดีได้เงินเดือนตามตำแหน่งยังไม่เกิดขึ้น) ยังการที่ต้องคิดป้องกันมิให้ชาวเมืองเกิดอดอยากเพราะฝรั่งมาซื้อข้าวเอาไปเสียนั้น ก็ต่องคิดอ่านบำรุงการกสิกรรมและพาณิชนกรรมให้เพิ่มพืชผลขึ้นพำอเก่การค้าขาย จึงเกิดความคิดขุดคลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ เพิ่มทางคมนาคมและเบิกที่ให้คนทำไร่นามากขึ้น
นอกจากที่ได้กล่าวมา เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ออกไปเมืองสิงคโปร์ด้วยกันกับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธร ซึ่งได้ทรงบัญชาการกรมพระคลังมหาสมบัติ ให้ตรวจตราพิจารณาวิธีที่อังกฤษทำนุบำรุงบ้านเมือง แต่จะกลับมากราบบังคมทูลถวายรายงานอย่างไรบ้างหาปรากฏไม่ การทำนุบำรุงกรุงเทพฯตามคติฝรั่ง เช่นทำถนนและสะพานสำหรับใช้รถจัดโปลิศเป็นต้น เนื่องมาตั้งแต่ทำหนังสือสัญญาเปิดการค้ากับต่างประเทศ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้รับสั่งให้ดูแลการเหล่านั้นแทบทุกอย่าง
ข้อสำคัญอันหนึ่งในเรื่องประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อตอนก่อนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คือที่ท่านคิดอ่านยกกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ดังปรากฏอยู่ในเรื่องจดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต (ซึ่งพิมพ์ในงานสตมวาร) นั้น มีหลักฐานปรากฏว่าท่านได้ตกลงใจมาแล้วหลายปี เห็นจะเป็นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ และได้กราบบังคมทูลความคิดนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบด้วย
เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ามีพระราชดำรัสเล่า ว่าวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับ ณ พระทวารหน้ามุขพระที่นั่งอนันตสมาคมอันเป็นที่รโหฐาน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เข้าเฝ้าฯส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับคอยรับใช้อยู่เบื้องพระขนองของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้ทรงสดับตรัสประภาษกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ด้วยเรื่องต่างๆมาจนถึงเรื่องวังหน้า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะไดด้กราบทูลอธิบายว่ากระไรหาทรงได้ยินถนัดไม่ ได้ยินแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสตอบว่า "ถ้าเช่นนั้นกั้นกำแพงแบ่งกันเสียที่ท้องสนามหลวงก็แล้วกัน" เข้าพระทัยว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์คงกราบทูลอธิบายว่าเห็นจำเป็นจะต้องให้กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเป็นพระมหาอุปราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย แต่จะทรงโต้แย้งขัดขวางก็เห็นไม่เป็นประโยชน์ จึงมีพระราชดำรัสอย่างนั้น
เรื่องที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเล่านี้ ก็สมกับการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องกรมหมื่นบวรวิชัยชาญในเวลาต่อมา เช่นโปรดฯให้ไปเยี่ยมตอบราชทูตฝรั่งเศส(ที่ปรากฏในหนังสือเรื่องพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อก่อนเสวยราชย์) และเล่ากันว่าเมื่อเสด็จออกรับเจ้าเมืองสิงคโปร์ที่พลับพลาหว้ากอ โปรดฯให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญหมอบเฝ้าฯข้างที่ประทับยฝ่ายหนึ่ง คู่กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหตุใดสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงคิดยกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ข้อนี้ท่านที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่มีความเห็นพ้องกันโดยมาก ว่าคงเป็นเพราะสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์คิดเกรงว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญวัยขึ้นจะทรงตัดอำนาจวาสนาของท่าน หรืออย่างต่ำก็คอยโต้แย้งขัดขวางมิให้ท่านทำการงานได้สะดวก และอาจทรงทำได้ด้วยเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงคิดตั้งพระมหาอุปราชไว้เป็นที่กีดกั้น และเลือกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็นพระมหาอุปราชด้วยเห็นว่าจะเข้ากันกับวังหลวงไม่ได้ก็จำเป็นต้องอาศัยตัวท่านทั้งวังหลวงและวังหน้าดังนี้ ความคิดเห็นของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เช่นผู้อื่นสันนิษฐานดังกล่าวมา แม้ท่านจะคิดอย่างนั้นจริง ก็เห็นจะไม่กล้ากราบบังคมทูลฯพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นนั้น
จึงน่าสันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะได้ยกเหตุอันใดขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงเห็นความจำเป็นในการที่จะต้องยกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ข้อนี้ไม่ได้ยินท่านผู้ใดกล่าว ได้แต่ลองคิดเดาดูโดยอาศัยความจริงมีอยู่ ๒ ข้อ ข้อ ๑ คือประเพณีที่มีผู้อื่นสำเร็จราชการบ้านเมืองแทนพระเจ้าแผ่นดินเมื่อยังทรงพระเยาว์มิได้เคยมีเยี่ยงอย่างในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ แม้เคยมีในสมัยกรุงศรีอยุธยาหลายครั้งก็มักมีภัยอันตรายแก่พระเจ้าแผ่นดินซึ่งยังทรงพระเยาว์นั้น
มีตัวอย่างครั้งหลังที่สุดคือเมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชโอรสพระเจ้าทรงธรรมได้รับรัชทายาท พระชันษาได้ ๑๔ ปี พระเจ้าปราสาททองเมื่อยังเป็นเจ้าพระยากลาโหม(อย่างเดียวกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นอยู่เมื่อรัชกาลที่ ๔ และมีราชทินนามว่า"สุริยวงศ์"คล้ายกันด้วย)ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จะคัดความที่กล่าวในหนังสือพระราชพงศาวดารตรงนั้นมาลงไว้พอให้เห็น
"อยู่มาเดือนเศษ มารดาเจ้าพระยากลาโหมถึงชีพิตักษัย แต่งการศพเสร็จแล้วเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ออกไปตั้งการปลงศพ ณ วัดกุฏ ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนผู้ใหญ่ผู้น้อยออกไปช่วย (ถึง)นอนค้างแรมอยู่เป็นมาก ฝ่ายข้าหลวงเดิมพระเจ้าอยู่หัว(คือสมเด็จพระเชษฐาธิราช)กราบทูลยุยงเป็นความลับว่า เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ทำการครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก หากเอาการศพเข้ามาบังไว้เห็นที่จะคิดประทุษร้ายต่อพระองค์เป็นมั่นคง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้มีวิจารณ์ให้ถ่องแท้ ตกพระทัย ตรัสให้เหล่าชาวป้อมล้อมพระราชวังขึ้นประจำหน้าที่แล้วเตรียมทหารไว้เป็นกองๆ จึงดำรัสให้ขุนมหามนตรีออกไปหาตัวเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เข้ามา(เฝ้า)
ขณะนั้นจมื่นสรรเพ็ธภักดีสอดหนังสือลับออกไปก่อน ว่าพระโองการให้เข้ามาดูมวย บัดนี้เตรียมไว้พร้อมอยู่แล้ว เมื่อเจ้าคุณจะเข้ามานั้นให้คาดเชือกเข้ามาทีเดียว ครั้นขุนมหามนตรีออกไปถึง กราบเรียนว่าพระโองการให้หา เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์แจ้งการซึ่งจมื่นสรรเพ็ธภักดีบอกให้สิ้นอยู่แล้ว จึงว่าขึ้นท่ามกลางขุนนางทั้งปวงว่า เราทำราชการกตัญญูแต่ครั้งพระพุทธเจ้าหลวงมา ท่านทั้งปวงก้แจ้งอยู่สิ้นแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว ถ้าเรารักราชสมบัติท่านทั้งหลายเห็นจะพ้นเราเจียวหรือ ขุนนางทั้งปวงกราบแล้วจึงว่าราชการทั้งปวงก็สิทธิ์ขาดอยู่แก่ฝ่าเท้ากรุณาเจ้าสิ้น ที่จะมีผู้ใดขัดแข็งนั้นข้าพเจ้าทั้งปวงก็ไม่เห็นมีตัวแล้ว เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงว่า ท่านทั้งปวงจงเห็นจริงด้วยเราเถิด เรากตัญญูคิดว่าเป็นลูกเจ้าข้าวแดงจึงเป็นต้นคิดอ่านปรึกษามิให้เสียราชประเพณี ยกราชสมบัติถวายแล้วยังหามีความดีไม่ ฟังแต่คำคนยุยงกลับจะมาทำร้ายเราผู้มีความชอบต่อแผ่นดินอีกเล่า ท่านทั้งปวงจะทำราชการต่อไปข้างหน้าจงเร่งคิดถึงตัวเถิด ขุนนางทั้งนั้นกราบแล้วว่า อันฝ่าเท้ากรุณา(ว่า)ทั้งนี้ควรหนักหนา เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ดูท่วงทีขุนนางทั้งปวงเห็นยังไว้อารมณ์เป็นกลางอยู่มิลงใจเป็นแท้ จึงสั่งทะลวงฟันให้กุมเอาตัวขุนมหามนตรีและบ่าวไพร่ซึ่งพายเรือมานั้นไว้ให้สิ้น ทะลวงฟันก็กรูกันจับเอาขุนมหามนตรีและไพร่ไปคุมไว้
ขุนนางทั้งปวงเห็นดังนั้นต่างตกใจหน้าซีดลงทุกคน เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เห็นดังนั้นจึงว่า บัดนี้พระเจ้าแผ่นดินว่าเราทำการประชุมขุนนางพร้อมมูลทั้งนี้คิดการเป็นกบฏ ก็ท่านทั้งปวงซึ่งมาช่วยโดยสุจริตนั้นจะมิพลอยเป็นกบฏไปด้วยหรือ ขุนนางพร้อมกันกราบเรียนว่าเป็นธรรมดาอยู่แล้ว อุปมาเหมือนหนึ่งนิทานพระบรมโพธิสัตว์เป็นนายสำเภา คนทั้งหลายโดยสารไปค้า ใช้ใบไปถึงท่ามกลางมหาสมุทรต้องพายุใหญ่สำเภาจะอับปางอยู่แล้ว พระบรมโพธิสัตว์จึงคิดว่าถ้าจะนิ่งอยู่ดังนี้ก็จะพากันตายเสียด้วยสิ้นทั้งสำเภา จึงตั้งสัจอธิษฐานว่า ถ้าอาตมาจะสำเร็จแก่พระบรมโพธิญาณขออย่าให้สำเภาอับปางในท้องมหาสมุทรเลย เดชะอานุภาพพระบารมีบรมโพธิสัตว์สำเภาจึงมิได้จลาจล แล่นล่วงถึงประเทศธานีซึ่งจะไปค้านั้น ก็เหมือนการอันเป็นครั้งนี้ถ้าฝ่าเท้ากรุณานิ่งตาย คนทั้งหลายก็จะพลอยตายด้วย เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้ฟังขุนนางว่าดังนั้นก็หัวเราะ แล้วว่าเจ้าแผ่นดินว่าเราเป็นกบฏแล้ว เราจะทำตามรับสั่ง ท่านทั้งปวงจะว่าประการใด ขุนนางทั้งปวงกราบแล้วจึงว่าถ้าฝ่าเท้ากรุณาจะทำการใหญ่จริง ข้าพเจ้าทั้งปวงจะขอเอาชีวิตสนองพระคุณตายก่อน เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เห็นขุนนางปลงใจพร้อมโดยสุจริตก็จัดแจงเป็นหมวดเป็นกองกำหนดกฏหมายกันมั่นคง
ครั้นเพลาบ่าย ๓ โมงเศษ จุดเพลิงเผาศพแล้วได้อุดมฤกษ์เวลา เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ก็ลงเรือพร้อมขุนนางทั้งปวงสักร้อยลำคนประมาณสามพันเศษ สรรพด้วยเครื่องศัสตราวุธล่องมาขึ้นประตูชัย วันนั้นเป็นวันเสาร์ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ใส่เสื้อดำกางเกงดำขึ้นม้าดำ ขุนนางและไพร่ตามมาเป็นอันมาก ครั้นถึงหน้าพระกาฬจึงลงจากม้าตั้งสัจอธิฐานว่า ข้าพเจ้าปรารถนาโพธิญาณถ้าจะสำเร็จแก่พุทธสมบัติเป็นแท้ จะยกเข้าไปล้างผู้อาสัตย์ขอให้สำเเร็จดังปรารถนา เสร็จอธิฐานแล้วเวลาพลบค่ำจึงมาตั้งชุมพลอยู่ ณ วัดสุทธาวาส ครั้นเพลา ๘ ทุ่มนั่งคอยฤกษ์พร้อมกัน เห็นพระสารีริกบรมธาตุเสด็จมาแต่ประจิมทิศผ่านไปปราจิณทิศ ได้นิมิตรเป็นมหามงคลฤกษ์อันประเสริฐก็ยกพลเข้าประตูมงคลสุนทร ให้ทหารเอาขวานฟันประตูมงคลสุนทรเข้าไปได้ ด้วยเดชะกฤษฎาภินิหารอันใหญ่ยิ่ง หามีผู้ใดจะออกต่อต้านมิได้ก็กรูกันเข้าไปในท้องสนามใน ข้าหลวงเดิมซึ่งนอนเวรประจำซองร้องกราบทูลเข้าไปว่า เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ยกเข้ามาได้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินได้ฟังตกพระทัยนักมิได้คิดอ่านที่จะต่อสู้ออกจากพระราชวังกับพวกข้าหลวงเดิมลงเรือพระที่นั่งหนีไป เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เข้าไปในพระราชวังได้รู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหนี จึงสั่งให้พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ ไปตามแต่ในเพลากลางคืนวันนั้น รุ่งขึ้นพระยาเดโช พระยาท้ายน้ำทันพระเจ้าแผ่นดินที่ป่าโมกข์น้อยล้อมจับเอาตัวมาได้ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์สั่งให้เอาตัวไปสำเร็จโทษตามประเพณีกษัตริย์ พระเชษฐาธิราชอยู่ในราชสมบัติปีหนึ่งกับเจ็ดเดือน"
ความที่คัดมาลงตรงนี้ อยู่ในหนังสือพระพงศาวดารฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งเป็นหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับแรกที่ได้พิมพ์เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๐๖ ในรัชกาลที่ ๔ บรรดาผู้ศึกษาพงศาวดารสมัยนั้นได้อ่านหนังสือฉบับนี้ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อใครปรารภถึงเรื่องที่จะต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คิดถึงเรื่องพงศาวดารตรงนี้คงหวาดหวั่น แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ก็คงรู้สึกลำบากใจ
ยังความจริงอีกข้อหนึ่ง คือที่ราชการบ้านเมืองตั้งแต่มีฝรั่งเข้ามาเกี่ยวข้องการบังคับบัญชาลำบากยากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ถ้อยทีได้อาศัยกันในการรักษาบ้านเมืองให้เป็นปกติมา ถ้าสิ้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียแล้ว ภาระอันลำบากยากยิ่งทั้งปวงก็จะตกหนักอยู่แก่ท่าน ถ้ามีแต่ตัวท่านเป็นคนสำคัญอยู่ในแผ่นดินแต่ผู้เดียว ทำอะไรคนทั้งหลายก็จะพากันคอยสงสัย ว่าท่านจะคิดกบฏอย่างเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ครั้งกรุงศรีอยุธยา จึงเห็นควรจะให้มีพระมหาอุปราชขึ้นไว้เป็นคนสำคัญในแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่งเหนือตัวท่าน ทำนองเดียวกับเมื่อมีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพอเป็นเครื่องป้องกันตัวท่านมิให้ถูกสงสัญว่าจะคิดกบฏ บางทีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะกราบทูลอธิบายแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทำนองที่กล่าวมานี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบ แต่มิรู้ที่จะทรงขัดขวางอย่างไรเพราะทรงพระราชดำริเห็นว่า ถ้าจำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ก็คงได้เป็น เมื่อเป็นแล้วจะยกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราชก็คงยกได้ จึงได้มีพระราชดำรัสว่า"ถ้าเช่นนั้นกั้นกำแพงแบ่งกันเสียที่ท้องสนามหวงก็แล้วกัน"
น่าคิดวินิจฉัยต่อไปอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จดำรงพระชนม์อยู่จนถึงได้ทรงมอบเวนราชสมบัติแก่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมพระราชประสงค์แล้ว จะทรงตั้งกรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็นพระมหาอุปราชหรือไม่ ข้อนี้เมื่อคิดใคร่ควรดูเห็นว่าคงไม่ทรงตั้ง เพราะผิดราชประเพณีสถานหนึ่ง กับอีกสถานหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีปกติทรงตริตรองการรอบคอบ มักจะทรงเห็นการณืใกล้กว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ฉลาดยิ่งแต่ที่จะแก้ไขกิจการอันปัจจุบันทันด่วน
ประวัติบุคคลสำคัญ พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
........................................................................................................................................