23.3 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.2 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-28
GravityOfLove, 30 กันยายน เวลา 19:17 น.

             ตอบคำถามในพาหิติยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8628&Z=8788

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคไม่ทรงประพฤติกายสมาจาร วจีสมาทาน มโนสมาจาร
ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียนเลย
             ๒. สมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียนและไม่พึงติเตียน
             ๓. ท่านพระอานนท์ได้รับผ้าอย่างดีมา แล้วนำมาถวายพระผู้มีพระภาค
----------------------------------
             2. พระพุทธดำรัสว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้วหนอ ที่ท้าวเธอได้เห็นอานนท์
และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์.
             จัดเข้าข้อใดบ้างในมงคล 38 ประการ?
             จัดเข้าข้อต่อไปนี้
             ๒. การคบบัณฑิต
             ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
             ๒๙. การได้เห็นสมณะ
             ๓๐. การสนทนาธรรมโดยกาล

ความคิดเห็นที่ 6-29
ฐานาฐานะ, 30 กันยายน เวลา 19:26 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพาหิติยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8628&Z=8788
...
7:17 PM 9/30/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ๑. พระผู้มีพระภาคไม่ทรงประพฤติกายสมาจาร วจีสมาทาน มโนสมาจาร
ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียนเลย
             แก้ไขเป็น
             ๑. พระผู้มีพระภาคไม่ทรงประพฤติกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร
ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียนเลย

ความคิดเห็นที่ 6-30
GravityOfLove, 30 กันยายน เวลา 19:29 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-31
ฐานาฐานะ, 30 กันยายน เวลา 19:33 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า พาหิติยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8628&Z=8788

              พระสูตรหลักถัดไป คือธรรมเจติยสูตร [พระสูตรที่ 39].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              ธรรมเจติยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8789&Z=8961
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=559

              กรรณกัตถลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8962&Z=9194
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=571

ความคิดเห็นที่ 6-32
GravityOfLove, 30 กันยายน เวลา 19:42 น.

              คำถามอรรถกถาธรรมเจติยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8789&Z=8961

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. พระเจ้าปเสนทิโกศลนี้ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงจับพันธุละเสนาบดีพร้อมด้วยบุตร ๓๒ คน
             ๒. ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระราชามิได้ทรงบรรทมหลับเลย ทรงบรรทมเหมือนหลับอยู่. ทีนั้นได้ตรัสถามช่างไม้เหล่านั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับทางทิศาภาคไหน ครั้นได้ทรงสดับว่าทางทิศาภาคโน้น จึงปรึกษากันว่า พระราชาทรงหันพระเศียรไปยังทิศาภาคที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ หันพระบาทมา (ทางนี้) ถ้าพระศาสดาทรงหันพระเศียรไปยังทิศาภาคที่พระราชาประทับ หันพระบาทมา เราจักกระทำอย่างไรดี. แต่นั้น ช่างไม้เหล่านั้นจึงคิดกันว่า พระราชาทรงขัดพระทัยอยู่ เคยทรงให้สิ่งใดแก่พวกเรา ก็ทรงตัดสิ่งนั้นเสีย ช่างไม้ทั้งหลายพูดกันว่า ก็พวกเราไม่สามารถที่จะหันเท้าไปทางพระศาสดาได้ จึงหันเท้าไปทางพระราชาแล้ว จึงนอนแล้ว. พระราชานี้ทรงหมายถึงข้อนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

ความคิดเห็นที่ 6-33
ฐานาฐานะ, 30 กันยายน เวลา 19:58 น.

              ๑. พระเจ้าปเสนทิโกศลนี้ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงจับพันธุละเสนาบดีพร้อมด้วยบุตร ๓๒ คน
              อธิบายว่า จับกุม เพื่อประหาร.
              ๒. ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระราชามิได้ทรงบรรทมหลับเลย ทรงบรรทมเหมือนหลับอยู่.
              อธิบายว่า ไม่ค่อยจะเข้าใจนัก แต่พอจับความได้ว่า
              หากช่างไม้เหล่านั้นอยู่ระหว่างการประทับของพระผู้มีพระภาคและพระราชา
ช่างไม้เหล่านั้นจะยอมหันเท้าไปทางพระราชา เนื่องจากสถานที่คับแคบ เลือกที่นอนไม่ได้.

ความคิดเห็นที่ 6-34
GravityOfLove, 30 กันยายน เวลา 20:36 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ

             ๑. อธิบายว่า จับกุม เพื่อประหาร.
             มีเรื่องอ่านเพิ่มเติมไหมคะ
             ๓. ข้าแต่พระองค์เจริญ หม่อมฉันได้มีความคิดว่า ท่านเหล่านี้
คงรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเป็นแน่
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-35
ฐานาฐานะ, 1 ตุลาคม เวลา 19:36 น.

GravityOfLove, 30 กันยายน 2556 เวลา 20:36 น.
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. อธิบายว่า จับกุม เพื่อประหาร.
              มีเรื่องอ่านเพิ่มเติมไหมคะ
อธิบายว่า ถูกใส่ความ ทำให้พระราชาไม่ทรงไว้วางใจ
              อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ๓. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ๑- [๓๕]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=3

              ๓. ข้าแต่พระองค์เจริญ หม่อมฉันได้มีความคิดว่า ท่านเหล่านี้
คงรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเป็นแน่
              ขอบพระคุณค่ะ
8:36 PM 9/30/2013

อธิบายว่า คำนี้เป็นการคาดคะเนของพระราชา
              กล่าวคือ ได้เห็นอาการอันน่าเลื่อมของพระภิกษุว่า
              ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน มีรูปอันน่ายินดี
มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีความขวนขวายน้อย มีขนอันตก เลี้ยงชีพด้วยของที่ผู้อื่นให้
มีใจดังมฤคอยู่.
              และได้เห็นอาการแกล้วกล้าของนายช่างไม้ทั้งสองคนว่า
              นายช่างอิสิทันตะและนายช่างปุราณะเหล่านี้ กินอยู่ของเรา ใช้ยวดยาน
ก็ของเรา เราให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา นำยศมาให้เขา แต่ถึงกระนั้น เขาจะได้ทำ
ความเคารพนบนอบในเรา เหมือนในพระผู้มีพระภาคก็หาไม่.
              จึงสันนิษฐานว่า ท่านเหล่านี้น่าจะบรรลุฌานสมาบัติ มรรคผลเป็นแน่.

ความคิดเห็นที่ 6-36
GravityOfLove, 1 ตุลาคม เวลา 20:06 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๙. ธรรมเจติยสูตร ว่าด้วยธรรมเจดีย์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8789&Z=8961&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของพวกเจ้าศากยะอันมีชื่อว่า
เมทฬุปะ ในแคว้นสักกะ
             สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปถึงนครกนิคมด้วยพระราชกรณียะบางอย่าง
             ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปพักผ่อนยังสวนอันรื่นรมย์ ได้ทอดพระเนตร
เห็นต้นไม้ที่ชวนให้เกิดความผ่องใส เงียบสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง ไม่มีคนสัญจรไปมา
สมควรเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด
             ทรงเกิดพระปีติ ปรารภพระผู้มีพระภาคว่า
             ที่แห่งนี้ชวนให้เกิดความผ่องใส เหมือนดังว่าเป็นที่ที่เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
             พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามเสนาบดีว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน
             เมื่อทรงทราบจากเสนาบดีแล้วว่า พระผู้มีพระภาคประทับที่ไหน และระยะทาง
ไม่ไกลนัก จึงทรงดำริจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปถึง ก็ตรัสถามภิกษุที่กำลังเดินจงกรมว่า
             พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน
             ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า
             นั่นพระวิหาร (พระคันธกุฏี) พระทวารปิดเสียแล้ว เชิญมหาบพิตรเงียบเสียง
ค่อยๆ เสด็จเข้าไปถึงระเบียงแล้ว ทรงกระแอม เคาะพระทวารเข้าเถิด พระผู้มีพระภาค
จักทรงเปิดพระทวารรับ
             ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบพระแสงขรรค์และพระอุณหิศ
(กรอบพระพักตร์) แก่เสนาบดีในที่นั้น แล้วเสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคโดยลำพัง
             (เพราะไม่ควรเสด็จเข้าไปยังสำนักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพยิ่ง
ด้วยเพศแห่งอิสริยยศ)
             เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเปิดพระทวารแล้ว (ตรัสว่า เปิดได้)
             พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปข้างใน ทรงซบพระเศียรลงแทบพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาค
             ทรงจูบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระโอษฐ์
             ทรงนวดพระยุคลบาทด้วยพระหัตถ์ และทรงประกาศพระนามว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             มหาบพิตรทรงเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงทรงกระทำการเคารพนอบน้อม
เป็นอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในสรีระนี้ และทรงแสดงอาการฉันทมิตร?
             พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า
             หม่อมฉันมีความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคว่า
             พระผู้มีพระภาคตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคปฏิบัติดีแล้ว เพราะ

             ๑. หม่อมฉันเห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์กำหนดที่สุด ๑๐
ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง แต่ต่อมา สมณพราหมณ์เหล่านั้น กลับบำเรอตน
ให้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ
             แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์ มีชีวิตเป็นที่สุดจนตลอดชีวิต (มอบกายถวายชีวิต)
             หม่อมฉันมิได้เห็นพรหมจรรย์อื่นอันบริสุทธิ์ บริบูรณ์อย่างนี้ นอกจากธรรมวินัยนี้

             ๒. พระราชาก็ยังวิวาทกับพระราชา ฯลฯ แม้พี่น้องหญิงก็ยังวิวาทกับพี่น้องชาย
แม้สหายก็ยังวิวาทกับสหาย
             แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ สมัครสมานกัน ชื่นชมกัน
ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันและกันด้วยตาอันเปี่ยมด้วย
ความรักอยู่

             ๓. หม่อมฉันเดินเที่ยวไปตามอารามทุกอาราม ตามอุทยานทุกอุทยานอยู่
เนืองๆ ในที่นั้นๆ หม่อมฉันได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณ
ไม่ผ่องใส
             หม่อมฉันนั้นได้เกิดความคิดว่า ท่านเหล่านี้คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
เป็นแน่ หรือว่าท่านเหล่านั้นมีบาปกรรมอะไรที่ทำแล้วปกปิดไว้ ท่านเหล่านี้จึงเป็นอย่างนั้น
             หม่อมฉันถามสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า ทำไมเป็นเช่นนี้
             สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบว่า อาตมภาพทั้งหลายเป็นโรคพันธุกรรม
             แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน
มีรูปอันน่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีความขวนขวาย (ประกอบอาชีพ) น้อย มีขนอันตก
(ไม่กลัว) เลี้ยงชีพด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดังมฤคอยู่
             หม่อมฉันได้มีความคิดว่า ท่านเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม
ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเป็นแน่ ท่านเหล่านี้จึงเป็นเช่นนี้
(ทรงคาดคะเนว่า ท่านเหล่านี้น่าจะบรรลุฌานสมาบัติ มรรคผลเป็นแน่)

             ๔. หม่อมฉันเป็นขัตติยราช ได้มูรธาภิเษกแล้ว ย่อมสามารถจะให้ฆ่าคน
ฯลฯ เมื่อหม่อมฉันนั่งอยู่ในที่วินิจฉัยความ ก็ยังมีคนทั้งหลายพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ
             แม้หม่อมฉันจะห้าม แต่คนก็ยังพูดสอดขึ้นในระหว่างถ้อยคำของหม่อมฉัน
             แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ในระหว่างที่พระองค์ทรง
แสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อยเลยอยู่นั้น ไม่มีเสียงจามหรือไอเลย
             เรื่องเคยมีมาแล้ว สาวกของพระองค์รูปหนึ่งไอขึ้น เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่ง
ได้เอาเข่ากระตุ้นให้รู้สึกตัวว่า ท่านจงเงียบเสียง
             หม่อมฉันเกิดความคิดขึ้นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมา ได้ยินว่า
             พระผู้มีพระภาคทรงฝึกบริษัทดีแล้วอย่างนี้ โดยไม่ต้องใช้อาชญาหรือศาสตรา

             ๕. หม่อมฉันได้เห็นกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาด
อาจย่ำยีถ้อยคำอันเป็นข้าศึกได้ มีปัญญาสามารถยิงขนทรายได้ เหมือนดังเที่ยว
ทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา
             กษัตริย์เหล่านั้นพากันแต่งปัญหาด้วยตั้งใจว่า จะถามพระสมณโคดม
ด้วยปัญหานี้ แล้วโต้ตอบยกวาทะพระสมณโคดม
             แต่พอกษัตริย์เหล่านั้นพากันไปเฝ้าพระองค์แล้ว พระองค์ทรงชี้แจงให้
กษัตริย์เหล่านั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
             กษัตริย์เหล่านั้นไม่ทูลถามปัญหากับพระองค์ ที่ไหนจักยกวาทะแก่
พระองค์เล่า ที่แท้ ก็พากันยอมตนเข้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
             สำหรับพราหมณ์ คฤหบดี สมณะ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ตรัสทำนองเดียวกัน
             พระผู้มีพระภาคทรงให้เขาเหล่านั้นบวช ครั้นเขาเหล่านั้นได้บวชแล้ว เป็นผู้
หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่ง
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
             ท่านเหล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า
             เราทั้งหลายย่อมไม่พินาศแล้ว ด้วยว่าเมื่อก่อนเราทั้งหลายไม่ได้เป็นสมณะ
พราหมณ์ พระอรหันต์เลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ พราหมณ์ พระอรหันต์
             บัดนี้ พวกเราเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ เป็นพระอรหันต์แล้ว

             ๖. ช่างไม้สองคน ชื่ออิสิทันตะ และปุราณะ (๑) ที่หม่อมฉันเลี้ยงดูอยู่
ถึงกระนั้น เขาจะได้ทำความเคารพนบนอบในหม่อมฉันเหมือนในพระองค์ก็หาไม่
             หม่อมฉันเคยทดลองช่างไม้สองคนนี้ โดยพัก (ซ่อน) อยู่ในที่คับแคบแห่งหนึ่ง
             ช่างไม้สองคนนี้สนทนากันด้วยธรรมีกถาจนดึก ได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคประทับ
อยู่ทิศใด เขาก็ผินศีรษะไปทางทิศนั้น นอนเหยียดเท้ามาทางหม่อมฉัน
             หม่อมฉันมีความคิดว่า ท่านเหล่านี้คงจะรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเป็นแน่
(๑)มิคสาลาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=8199&Z=8302

             ๗. แม้พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ แม้หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์
             แม้พระองค์ก็เป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล
             แม้พระองค์ก็มีพระชนมายุ ๘๐ ปี แม้หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปี
             ด้วยเหตุนี้ หม่อมฉันจึงได้ทำความเคารพนบนอบเป็นอย่างยิ่งในพระองค์
และแสดงอาการเป็นฉันทมิตร
             พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทูลลากลับ เสด็จลุกจากที่ประทับ
ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป
             เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ ตรัสธรรมเจดีย์ คือพระวาจาเคารพธรรม
             ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้
             ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์ (เป็นเบื้องต้นของ
มรรคพรหมจรรย์ เป็นการปฏิบัติในส่วนเบื้องต้น)
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #6-37]

ความคิดเห็นที่ 6-37
ฐานาฐานะ, 2 ตุลาคม เวลา 10:28 น.

GravityOfLove, 12 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๙. ธรรมเจติยสูตร ว่าด้วยธรรมเจดีย์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8789&Z=8961&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
8:05 PM 10/1/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
             ที่แห่งนี้ชวนให้เกิดความผ่องใส เหมือนดังว่าเป็นที่ที่เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
             แก้ไขเป็น
             ที่แห่งนี้ชวนให้เกิดความผ่องใส เหมือนดังว่าเป็นที่ที่เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ความคิดเห็นที่ 6-38
ฐานาฐานะ, 2 ตุลาคม เวลา 10:29 น.

             คำถามในธรรมเจติยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8789&Z=8961

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-39
GravityOfLove, 2 ตุลาคม เวลา 12:00 น.

             ตอบคำถามในธรรมเจติยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8789&Z=8961

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงกล่าววาจาเคารพต่อพระพุทธองค์
พระพุทธองค์ตรัสให้ภิกษุทั้งหลาย จงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้จงทรงจําธรรมเจดีย์นี้ไว้
ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์
             ๒. พวกอมนุษย์ย่อมเคาะประตูสูงเกินไป งูก็เคาะต่ำเกินไป มนุษย์จึงไม่ควรเคาะ
อย่างนั้น ควรเคาะที่ใกล้ช่องตรงกลาง นี้เป็นมารยาทในการเคาะประตู
             ๓. เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส (กรอบพระพักตร์) พระขรรค์
ฉัตรฉลองพระบาท
             ๔. พระเจ้าปเสนทิโกศลสวรรคตอย่างคนอนาถา ที่ศาลาภายนอกกรุงราชคฤห์
             ๕. เมื่อกระทําความเคารพในรัตนะหนึ่ง ในบรรดารัตนะทั้ง ๓ ก็ย่อมเป็นอันกระทํา
ในทุกรัตนะทีเดียว

ความคิดเห็นที่ 6-40
ฐานาฐานะ, 2 ตุลาคม เวลา 16:13 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในธรรมเจติยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8789&Z=8961
...
11:59 AM 10/2/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คำถามเบาๆ ว่า
             คำว่า จตุกัณณมนต์ แปลว่าอะไร?

ความคิดเห็นที่ 6-41
GravityOfLove, 2 ตุลาคม เวลา 18:45 น.

จตุกัณณมนต์ สันนิษฐานว่า มาจากคำว่า จตุ (๔) + กัณณ (หู) + มนต์
แปลว่ามนต์ทำให้มี ๔ หู คือ มนต์ทำได้ยินเสียงหรือความคิดของคนอื่น เหมือนหูทิพย์

เสนาบดีนั้นน่าจะเข้าใจผิดว่า ที่พระราชารับสั่งฆ่าลุงและบุตร ๓๒ คนเพราะเรียนมนต์นี้จากพระองค์

ย้ายไปที่



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 12:01:35 น.
Counter : 518 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
16 ธันวาคม 2556
All Blog