13.13 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
12.12  พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
ความคิดเห็นที่ 6-113
GravityOfLove, 2 มีนาคม เวลา 21:24 น.

             คำถาม  วิตักกสัณฐานสูตร
             กรุณาอธิบายค่ะ
             1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
             ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
             สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ [u[[ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ
             ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ]
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4099&Z=4207&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             2.  วิตกที่ประกอบด้วยฉันทะ
                   วิตกที่สหรคตด้วยฉันทะ
                   วิตกที่สัมปยุตด้วยราคะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=256&bgc=aliceblue

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-114
ฐานาฐานะ, 4 มีนาคม เวลา 02:12 น.  

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
             คำถาม  วิตักกสัณฐานสูตร
             กรุณาอธิบายค่ะ
             1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
             ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
             สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ
ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4099&Z=4207&bgc=aliceblue&pagebreak=0
             สันนิษฐานว่า ทรงหมายถึงพระภิกษุผู้ฝึกฝนตามพระธรรมเทศนาข้างต้น
แล้วภายหลังละสังโยชน์ได้แล้ว บรรลุพระอรหัต ย่อมเชี่ยวชาญการตรึก ดังนี้ว่า
จำนงจะตรึกเรื่องใด ก็ตรึกเรื่องนั้นได้ ไม่จำนงที่จะตรึก ก็ไม่ตรึกเรื่องนั้นได้.
             หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ พระภิกษุผู้ฝึกฝนตามพระธรรมเทศนาข้างต้นดีแล้ว
ย่อมให้ถึงพระอรหัต หรือว่ามีพระอรหัตเป็นอานิสงส์ และชำนาญการตรึกฯ.

             2.  วิตกที่ประกอบด้วยฉันทะ
                         วิตกที่สหรคตด้วยฉันทะ
                         วิตกที่สัมปยุตด้วยราคะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=256&bgc=aliceblue
             ขอบพระคุณค่ะ
9:24 PM 3/2/2013
             คำทั้งสามคำนี้ น่าจะมีความหมายใกล้เคียงกัน
หากจะแตกต่างกัน ก็น่าจะเป็นความหนักเบาตามลำดับ.

ความคิดเห็นที่ 6-115
GravityOfLove, 4 มีนาคม เวลา 08:47 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-116
GravityOfLove, 4 มีนาคม เวลา 08:50 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค          
             ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4099&Z=4207&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
             ภิกษุผู้ขวนขวายในอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร
(อธิจิต หมายถึงจิตมีสมาบัติ ๘ อันเป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา เป็นจิตที่ยิ่งกว่าจิต
คือยิ่งกว่าจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)
(ตามเวลาอันสมควร คือเวลาที่อุปกิเลสเกิดขึ้นในเวลาที่เจริญกรรมฐานอยู่)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สมาบัติ_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภาวนา_2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10

             นิมิต ๕ ประการ คือ
             ๑. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่
วิตกทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
ย่อมเกิดขึ้น
             ควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น (อัญญนิมิตตบัพพะ)
อันประกอบด้วยกุศล
             วิตกอันเป็นบาปอกุศลย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ จิตย่อม
ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้น
             เหมือนช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก
ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด
             ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อมนสิการนิมิตอื่นอันประกอบด้วยกุศลอยู่
ย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้

             ๒. หากว่าทำเช่นข้อ ๑ แล้ว แต่วิตกอันเป็นบาปอกุศลก็ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ
             ควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้น (อาทีนพ) ว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่
เป็นอกุศล เป็นโทษ มีทุกข์เป็นวิบาก
             วิตกอันเป็นบาปอกุศลย่อมละเสียได้ ...
             เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชัง
ต่อซากสัตว์หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอของตน แม้ฉันใด
             ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อพิจารณาโทษของวิตกนั้นว่า ล้วนแต่เป็นอกุศล
เป็นโทษ มีทุกข์เป็นวิบาก ...

             ๓. หากว่าทำเช่นข้อ ๒ แล้ว แต่วิตกอันเป็นบาปอกุศลยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ
             ไม่ควรนึกหรือใส่ใจวิตกเหล่านั้น (อสติบัพพะ)
             วิตกอันเป็นบาปอกุศลย่อมละเสียได้ ...
             เหมือนคนผู้มีตา ไม่ต้องการเห็นรูปที่ผ่านมา จึงหลับตาเสีย หรือหันไป
ทางอื่น แม้ฉันใด
             ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อไม่นึกหรือใส่ใจถึงวิตกเหล่านั้น ...

             ๔. หากว่าทำเช่นข้อ ๓ แ้ล้ว แต่วิตกอันเป็นบาปอกุศลยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ
             ควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น
             (ที่ตั้งแห่งเหตุของวิตก คือ วิตกนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย
เพราะเหตุไรจึงเกิดขึ้น แล้วทำลายมูลเหตุิวิตก)
             วิตกอันเป็นบาปอกุศลย่อมละเสียได้ ...
             เหมือนคนเดินเร็ว เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะรีบเดินทำไม
ถ้ากระไร เราควรค่อยๆ เดิน เขาก็ค่อยๆ เดิน เป็นต้น
             คนผู้นั้นเว้นอิริยาบถหยาบๆ แล้วพึงใช้อิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด
             ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขาร ...

             ๕. หากว่าทำเช่นข้อ ๔ แ้ล้ว แต่วิตกอันเป็นบาปอกุศลยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ
             ควรกัดฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิต (ข่มวิตก)
             วิตกอันเป็นบาปอกุศลย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ จิตย่อม
ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้น
             เหมือนคนที่มีกำลังมาก จับคนที่มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว บีบ กด เค้น
ที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้แน่นให้สยบ แม้ฉันใด
             ภิกษุก็ฉันนั้น หากกัดฟันด้วยฟันแล้ว ฯลฯ ย่อมละวิตกอันเป็นบาป
อกุศลได้

             พระองค์ตรัสว่า ภิกษุที่ทำตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ ได้ เรียกว่า
             เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก
             (ผู้ชำนาญคล่องแคล่วในทางเป็นไปของการตรึก)
             เพราะหวังวิตกใด ก็ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่หวังวิตกใด ก็ไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้
ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้
โดยชอบ (ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ (ย่อมถึงพระอรหัต))
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 6-117
ฐานาฐานะ, 4 มีนาคม เวลา 21:36 น.

GravityOfLove, 12 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4099&Z=4207&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
8:50 AM 3/4/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน.

ความคิดเห็นที่ 6-118
ฐานาฐานะ, 4 มีนาคม เวลา 21:36 น.  

             คำถามในวิตักกสัณฐานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4099&Z=4207

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. อรรถกถาวิตักกสัณฐานสูตร มีลิงค์ไปภายนอก กี่ลิงค์
และได้ศึกษาหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 6-119
GravityOfLove, 4 มีนาคม เวลา 22:07 น.

            ตอบคำถามในวิตักกสัณฐานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4099&Z=4207

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑.  ภิกษุผู้ขวนขวายในอธิจิต (สมาบัติ ๘) ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร เพื่อละอกุศลวิตก
             ๒. นิมิต ๕ ประการคือ ถ้าอกุศลวิตกเกิด (วิตกที่มีฉันทะ โทสะ โมหะ) ให้ปฏิบัติเป็นลำดับดังนี้
                  (๑) มนสิการกุศลธรรมที่ตรงกันข้ามกับอกุศลวิตก คือ กุศลวิตก (เหมือนเอาลิ่มมางัดออก)
                        - ถ้าเกิดฉันทะต่อสัตว์ ให้มนสิการอสุภนิมิต
                        ถ้าเกิดฉันทะต่อสังขาร ให้มนสิการว่า สิ่งของไม่เที่ยง (อนิจจลักษณะ) ไม่มีเจ้าของที่แท้จริง เป็นของชั่วคราว
                        - ถ้าเกิดโทสะต่อสัตว์ ให้เจริญเมตตาภาวนา ถ้าเกิดโทสะต่อสังขาร คิดว่า โกรธสิ่งไม่มีชีวิตไปได้อย่างไร
                        - ถ้าเกิดโมหะต่อธรรมใดๆ ให้อาศัยธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
                         ๑. การอยู่ร่วมกับครู
                         ๒. การเรียนธรรม (อุทเทส)
                         ๓. การสอบถามธรรม
                         ๔. การฟังธรรมตามกาลอันควร
                         ๕. การวินิจฉัยธรรมที่เป็นฐานะและอฐานะ
                     (๒) พิจารณาโทษ (เหมือนแขวนซากสัตว์ไว้ที่คอ)
                     (๓) อย่านึกถึงอกุศลวิตกนั้น (หลับตาเสีย หรือหันไปทางอื่น) เช่นเรื่องหันไปเย็บจีวร เรื่องติสสสามเณร
                     (๔) พิจารณาหามูลเหตุของอกุศลวิตกนั้น (เดินให้ช้าลง) เช่น เรื่องกระต่ายตื่นตูม
                     (๕) กัดฟัน ข่มวิตก (จับก้านคอไว้แน่นให้สยบ) ขนาดพระองค์ยังทรงตั้งปณิธานว่า
                         เนื้อและเลือดทั้งหมดในร่างกายของเรานี้
                         จะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนังเอ็นกระดูก
                         ก็ตามที.      
-----------------------------------------------------------------------
             2. อรรถกถาวิตักกสัณฐานสูตร มีลิงค์ไปภายนอก กี่ลิงค์
และได้ศึกษาหรือไม่?
             มี ๓ ลิงค์ คือวิตักกสัณฐานสูตร กกโจปมสูตร และสัพพาสวสูตร
             อ่านมาก่อนแล้ว ๒ ลิงค์
             อีก ๑ ลิงค์ (คือกกโจปมสูตร) ตอนที่อ่านวิตักกสัณฐานสูตร คาดว่าไม่ได้อ่านค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-120
ฐานาฐานะ, 5 มีนาคม เวลา 00:06 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
            ตอบคำถามในวิตักกสัณฐานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4099&Z=4207
...
10:06 PM 3/4/2013
             ตอบคำถามได้ดีครับ
             สำหรับข้อ 2 เรื่องลิงค์ไปภายนอกนั้น ต่อไปขอให้ศึกษาด้วย
เพื่อให้ทราบว่า มีเนื้อความอย่างไรจึงทำให้อรรถกถากล่าวถึงเนื้อความนั้น.
             คำถามเบาๆ ว่า
             พระสูตรนี้ ทั้งเนื้อความในพระไตรปิฎและอรรถกถา
ประทับใจเนื้อความส่วนใดบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-121
GravityOfLove, 5 มีนาคม เวลา 00:14 น.

             สำหรับข้อ 2 เรื่องลิงค์ไปภายนอกนั้น ต่อไปขอให้ศึกษาด้วย
เพื่อให้ทราบว่า มีเนื้อความอย่างไรจึงทำให้อรรถกถากล่าวถึงเนื้อความนั้น. << รับทราบค่ะ (ว่าแล้ว)

             พระสูตรนี้ ทั้งเนื้อความในพระไตรปิฎและอรรถกถา
ประทับใจเนื้อความส่วนใดบ้าง?
             ๑. วิธีละอกุศลวิตกในเนื้อความพระไตรปิฎก
             ๒. ความเด็ดเดี่ยวของพระผู้มีพระภาคที่่ว่า
              เนื้อและเลือดทั้งหมดในร่างกายของเรานี้
              จะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนังเอ็นกระดูก
              ก็ตามที.

ความคิดเห็นที่ 6-122
ฐานาฐานะ, 5 มีนาคม เวลา 00:35 น.
GravityOfLove, 18 นาทีที่แล้ว
             สำหรับข้อ 2 เรื่องลิงค์ไปภายนอกนั้น ต่อไปขอให้ศึกษาด้วย
เพื่อให้ทราบว่า มีเนื้อความอย่างไรจึงทำให้อรรถกถากล่าวถึงเนื้อความนั้น. << รับทราบค่ะ (ว่าแล้ว)
             พระสูตรนี้ ทั้งเนื้อความในพระไตรปิฎและอรรถกถา
ประทับใจเนื้อความส่วนใดบ้าง?
             ๑. วิธีละอกุศลวิตกในเนื้อความพระไตรปิฎก
             ๒. ความเด็ดเดี่ยวของพระผู้มีพระภาคที่ว่า
                    เนื้อและเลือดทั้งหมดในร่างกายของเรานี้
                    จะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนังเอ็นกระดูก
                    ก็ตามที.    
12:14 AM 3/5/2013
             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า วิตักกสัณฐานสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3953&Z=4098

             พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             กกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263

             อลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274

             วัมมิกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4846&Z=4937
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=289

ย้ายไปที่



Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 10:15:57 น.
Counter : 981 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
13 มีนาคม 2556
All Blog