All Blog
เกริ่นนำ
เกริ่นนำ
 
            ทุกคนคงจะคุ้นเคยกับการอ่านและฟังนิทานตั้งแต่เยาว์วัยและรู้สึกว่าเป็นเรื่องสนุกเป็นเวลาที่ควรค่าแห่งการจดจำ หลายคนจดจำคำสอนและเรื่องราวของนิทานที่มักลงท้ายว่า “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า” ได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่เมื่อสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้และจดจำคำสอนได้แต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอแล้วเพราะความสลับซับซ้อนของสังคมทำให้ผู้คนต้องดิ้นรนกระเสือกกระสน สังคมที่เคยสอนให้รู้และจดจำแต่ไม่เคยสอนให้คิดเป็นและแก้ปัญหาได้อาจจะไม่เหมาะกับโลกในยุคสังคมออนไลน์ที่มีทุกสิ่งให้เลือกสรรอย่างมากมายจากจอเล็ก ๆ ใกล้ตัวเรา
นิทานเล่มนี้ต้องการฝึกทักษะการคิดให้กับเด็กโดยผ่านการเล่าที่สนุกสนานแต่สอดแทรกวิธีคิด เราคงต้องการให้เด็กคิดเป็นมากกว่าจะจดจำได้และเลียนแบบสิ่งที่คนเคยคิดมาแล้ว นิทานเล่มนี้จะจบเรื่องด้วยคำว่า “นิทานเรื่องนี้สอนให้คิดว่า” เพราะการคิดเป็นของเด็กจะขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่เคยสอนให้เด็กได้ฝึกคิด สมองเด็กจะรับรู้ว่าเมื่อรับรู้เรื่องราวใด ๆ คงต้องใช้ความคิดประกอบกันไป ไม่ใช่หลงเชื่อง่าย ๆ และเชื่ออย่างฝังจิตฝังใจหรือเชื่ออย่างงมงายไร้สาระโดยขาดการไตร่ตรอง
การเขียนนิทานในเล่มนี้อาจแปลกแตกต่างจากนิทานที่เคยพบเห็นแต่เชื่อว่าเมื่อได้อ่านจนจบคงจะรู้สึกว่าดีเหมือนกัน เด็กรุ่นใหม่คงจะเป็นเด็กช่างคิดเหมือนชื่อของหนังสือเล่มนี้
รูปแบบของนิทานเล่มนี้จะนำเค้าโครงของนิทานที่มีชื่อเสียงของอีสปมาดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปโดยการเพิ่มเกร็ดวามรู้และสอดแทรกวิธีการคิดด้วยหวังว่านิทานจะเป็นสื่อนำทางให้เด็กที่ชอบอ่านนิทานได้เกิดคุณธรรมฝังใจตั้งแต่วัยเยาว์และจะอยู่ในจิตสำนึกแม้เมื่อเติบใหญ่ไปแล้ว แต่เมื่อกาลสมัยเปลี่ยนไปและปัญหาที่เกิดขึ้นต่างจากเดิม สิ่งที่รู้จะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อสามารถนำสิ่งที่รู้มาคิดในอีกรูปแบบหนึ่งได้ ซึ่งความสามารถในการคิดนี้จะช่วยให้ชีวิตก้าวไปด้วยความราบรื่นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังได้เพิ่มสำนวนไทยให้ได้เรียนรู้ เพราะสำนวนจะแสดงถึงความสามารถในการใช้ภาษาที่สูงขึ้น คนที่ชอบสำบัดสำนวนจึงมักกลายเป็นนักพูดนักคิดที่มีชื่อเสียง เมื่อเรารู้จักสำนวนและมีโอกาสหัดใช้อาจทำให้เรามีเสน่ห์ในการเจรจาความต่าง ๆ มากขึ้น
สำหรับนิทานของอีสปเล่มนี้อาจมีนิทานที่คิดว่าอีสปคงไม่ได้แต่งเองทั้งหมด แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปนานขึ้น ผู้รู้หลายคนคงพยายามแต่งนิทานทำนองเดียวกับที่อีสปแต่งเพิ่มเติมขึ้นมา จนไม่รู้ว่าใครแต่งบ้าง แต่ทั้งหมดได้ยกยอดให้อีสปผู้เป็นเจ้าตำนานแห่งการแต่งนิทานสอนลูกหลานเป็นผู้แต่งทั้งหมด
 
 



Create Date : 06 สิงหาคม 2562
Last Update : 6 สิงหาคม 2562 6:15:26 น.
Counter : 448 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

BlogGang Popular Award#20



สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments