bloggang.com mainmenu search















ดอกกาบหอยแครง

...............

ชื่อสามัญ Venus Flytraps สามารถงับแมลงได้

มีถิ่นกำเนินระยะ 60 ไมล์ รอบๆ Wilmington

ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของรัฐนอร์ทแคโรไลน่า

จะขึ้นอยู่บริเวณป่าพรุ และหนองน้ำที่มีอากาศอบอุ่น

ซึ่งฤดูหนาวไม่หนาวมากนัก เป็นไม้กินแมลง

ที่มีลีลาการกิน แมลงเร้าใจที่สุด

เพราะสามารถ งับแมลงต่อหน้าต่อตา

นิยมไม่น้อยกว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิง

กาบหอยแครงมี species เดียวในโลกคือ Dionaea muscipula

 แต่เมื่อมนุษย์นำมาเพาะเลี้ยง ได้พัฒนาสายพันธุ์

แบ่งตามลักษณะประมาณ 8 สายพันธุ์หลัก

1.กาบหอยแครงแบบธรรมดา (Typical VFT)

ต้นใหญ่ประมาณ 3-8 ซม. ต้นกาบหอยแครงเมื่อโดนแดดจัด

 จะเป็นสีเขียวเหลือง ใบกาบก็จะเป็นสีชมพู ถึงแดงเข้ม

 การโตจะเริ่มจากแบบก้านสั้น นอนราบกับพื้น

แล้วก้านก็จะยาวขึ้นเรื่อยๆ จนที่สุดก้านก็จะตั้งยาว

 เรียกกันว่า “ก้านแบบหน้าร้อน”

2.กาบหอยแครงแบบก้านสั้น นอนอยู่กับพื้น

และไม่สูงขึ้นตอนหน้าร้อนทั่วๆ ไป สีจะอ่อนกว่าแบบธรรมดา

3.กาบหอยแครงแบบก้านสีแดงต้นเขียว

เช่น Low Giant, Fane tooth x Red, Red trap

และ Big mouth ฯลฯ ต้นที่สวยที่สุดคือ Big mouth

เป็นกาบที่ทรงสวยไม่สูงและชูก้านใบขึ้นในหน้าร้อน

และมีสีแดงจนถึงฝาด้านนอก และก้าน

แล้วยังเป็นกาบที่ใหญ่ที่สุดในช่วงหน้าร้อน

4.กาบหอยแครงแบบสีแดงทั้งหมด

เป็นกาบชนิดที่มีสีแดงเข้มทั้งต้น

ถึงแม้จะปลูกในที่แดดไม่สว่างมาก ก็จะเป็นสีเขียวออกน้ำตาล

 แต่ถ้าโดนแดดมากๆ ก็จะเป็นสีแดงทั้งต้น แบบสีแดงน้ำตาล

 กาบสีแดงเริ่มมาจากพันธุ์ Royal Red ซึ่งเลี้ยงยากมาก

 หลังจากนั้นได้พัฒนาพันธุ์มาเรื่อยๆ

 จนมาเป็น Akai Ryu (Red dragon)

ต้นนี้เป็นต้นที่แดงมากที่สุด โตเร็ว และอึดที่สุด

ในบรรดาสีแดงทั้งหมดด้วย

5.กาบหอยแครงแบบฟัน ลักษณะเหมือนเลื่อย

จะสังเกตได้ว่าฟันของกาบ จะเป็นเหมือนเลื่อย

 และจะเริ่มโดจากการฟัก ตัวเป็น แบบทรงกาบกอราบไปกับพื้น

 แต่ต้นจริงๆ คือ ก้านจะชูสูงเหมือนกาบในหน้าร้อน

 เช่น Shark teeth, Saw teeth และ Dente เป็นต้น

6.กาบหอยแครงแบบก้านชูสูง เมื่อกาบโตมา

จะเป็นเหมือน Shark teeth แต่ฟันเป็นแบบธรรมดา

 เช่น Upright form และ Adelaide

7.กาบหอยแครงแบบกลายพันธุ์

 จะมีหลายรูปแบบสายพันธุ์ยังไม่แน่นอน

8.กาบหอยแครงแบบจิ๋ว มีใบกาบใหญ่ที่สุด 2 มม.

เป็นกาบหอยแครงที่มีขนาดเล็กมาก

ต้นกาบหอยแครง ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

 (สนธิสัญญาว่าด้วยการค้าสัตว์และพืชหายาก

ซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์ : CITES) ตั้งแต่ปี 2535

และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายยุโรป (EC Reg.338/97)

ตั้งแต่ปี 2545 การเก็บเด็ดพืชจากธรรมชาติ

มีโทษปรับมากกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อพืชแต่ละต้น

ลักษณะของกาบหอยแครง ตามปกติจะมีขนาด 3.2 ซม.

 บางต้นที่มีอายุมาก และอยู่ในสถานที่เหมาะสม

สามารถมีกาบขนาดเกือบ 2.5 นิ้ว ใบแบ่งเป็นสองส่วน

 กับดักพร้อมซี่ฟันปลาประมาณ 15-20 อัน

ความแตกต่างทางพันธุกรรม และปริมาณแสงที่ได้รับ

ต้นกาบหอยแครง จึงมีสีสันแตกต่างกันออกไป

ขอบใกล้กับฟัน จะมีแถบเล็กๆ ซึ่งเป็นส่วนผลิตน้ำหวาน

เพื่อดึงดูแมลงให้เข้ามากิน ใต้ขอบลงไปจะพบขน 3-4 เส้น

 กระจายอยู่ภายในกาบ แต่ละข้าง

ขนพวกนี้จะตอบสนองต่อความรู้สึกเพื่อให้กาบงับแมลง

การที่กาบ จะงับเหยื่อจะต้องมี การสัมผัสขนเหล่านี้

ตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป ภายใน 20 วินาที

กระบวนการงับจะเสร็จภายในเวลา 1/20 นาที

หากสภาพแวดล้อม อุณหภูมิและความชื้น

จะส่งผล ให้การงับช้าลงมาก หากเหยื่อมีโปรตีนอยู่

จะไปกระตุ้นตัว รับโปรตีน จะมีการสร้างน้ำย่อย

ซึ่งมีเอนไซม์พิเศษออกมา กาบจะแคบลงและปิดลงในที่สุด

ส่วนที่มีประโยชน์จะถูกย่อยและดูดซึมกลับโดยต่อมในกาบ

หลังจากย่อยแล้วกาบจะเปิดออกอีกครั้ง

การย่อยจะใช้เวลาตั่งแต่ ไม่กี่ชั่วโมงจนถึง 2 สัปดาห์

ขึ้นอยู่กับขนาดของเหยื่อ หลังจากการจับเหยื่อ 7-10 ครั้ง

 หรือการย่อยอาหาร 2-3 ครั้งตัวกาบก็จะตายไป

ความไวในการงับเหยื่อ เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ

ยิ่งอากาศร้อน มันยิ่งงับเหยื่อได้เร็ว

 การที่กาบไม่หุบ อาจเกิดจากหลายสาเหตุเช่น หมดอายุ

กาบมีอายุ 2 เดือน จากนั้นมันจะดำสลายตัวไป

แล้ว มีกาบใหม่มาแทนที่ หรืออีกประการหนึ่ง

ไปแหย่ให้มันหุบหลายๆ ครั้งซึ่งต้องใช้พลังงานมาก

บางครั้งกาบไม่หุบ เพราะเปลี่ยนไปทำหน้าที่สังเคราะห์แสง

จึงอ้ากาบเต็มที่จนโค้งไปหลัง เพื่อให้มีพื้นที่รับแสงสูงสุด

ดอกของกาบหอยแครงจะออกในช่วง

เดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม

ก้านดอกสูงขึ้นไปประมาณ 12 นิ้ว

ดอกของมันเส้นผ่านสูงกลางประมาณ 1 นิ้ว

ส่วนมากมีมีขาวและสีอื่นๆ เช่น สีแดง สีแสด ฯ

และมีประมาณ 5 กลีบ น้อยมากที่ดอกจะบาน

มากกว่า 2 ดอกพร้อมๆ กันในก้านเดียว

หากจะผสมเกสรเพื่อเก็บเมล็ด จะต้องมี 2 ต้น

ที่มีพันธุกรรมที่แตกต่างกัน และมีเพียงบาง Clones เท่านั้น

ที่จะสามารถผสม ในดอกเดียวกันได้

ฝักของมันจะบรรจุเมล็ดจำนวนมากไว้ภายใน


























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :25 มิถุนายน 2558 Last Update :25 มิถุนายน 2558 10:52:39 น. Counter : 5056 Pageviews. Comments :0