bloggang.com mainmenu search
























ดอกกะเร่กะร่อน

 ......

ไม้ดอกหอม คนละชนิดกับ “กะเรกะร่อนปากเป็ด"

 ชื่อท้องถิ่น เอื้องปากเป็ด (เชียงใหม่) เอื้องด้ามข้าว (ลำปาง)

กล้วยหางไหล (ชุมพร) กาเรการ่อน (ภาคกลาง)

เขตการกระจายพันธุ์ในเอเชีย ตอ.ต

จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย

 เกาะอยู่ตามต้นไม้อื่น ลำต้นมีขนาดสั้น

 เกาะรวมกันเป็นกระจุกแน่น

 ลำต้นเป็นหัวรูปรี มีหลายข้อ และขึ้นชิดกันเป็นกอ

ต้นมีรากออกเป็นเส้นแข็ง ชี้ขึ้นไปในอากาศ

พบได้ตามป่าผลัดใบ

 และป่าไม่ผลัดใบ มีพบได้ตามป่าเต็งรัง มีหลายชนิด

กะเรกะร่อนปากนกแก้ว กะเรกะร่อนอินโดฯดอกแดง

กะเรกะร่อนเผือก


ดอกเป็นช่อสายห้อยลง โดยจะออกที่โคนต้น

 มีช่อดอกประมาณ 1-2 ช่อ

ช่อดอกมีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร

 ในช่อดอกมีดอกย่อย จำนวนมาก ประมาณ 17-26 ดอก

 ดอกมีขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร -3.5 เซนติเมตร

กลีบดอกสั้นสีเหลือง มีลักษณะเป็นรูปแถบ มีแถบสีม่วง

 หรือสีน้ำตาลอมแดงขอบขาว ส่วนกลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ

 มีลักษณะเป็นรูปแถบ โดยกลีบดอกจะแคบ

และสั้นกว่ากลีบเลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้มีสีเหลือง

ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ

ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน

ปลายใบมนเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบ

ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร

 และยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร

แผ่นใบมีลักษณะหนาแข็ง หลังใบและท้องใบเรียบ

ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก เป็นพู 5 พู ผิวผลเรียบ

 สีเขียวอมสีเหลือง เมื่อผลแห้งจะแตกได้

 มีเมล็ดเป็นผงละเอียดจำนวนมาก


























ขอบคุณข้อมูลจาก fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

Create Date :18 พฤษภาคม 2558 Last Update :18 พฤษภาคม 2558 11:02:18 น. Counter : 5578 Pageviews. Comments :0