bloggang.com mainmenu search






















ดอกเกี้ยวเกล้า

......

ดอกไม้ในวรรณคดี ลิลิตพระลอ ชื่อท้องถิ่น ต้นหางเสือ

 หางกระรอกแดง หางลิง หางแมว หูปลาช่อน ไหมพรม

ชื่อสามัญ Red Hot Cat's Tail, Chenille Plant

พบตามป่าดงดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ

เป็นพรรณไม้ที่มีคุณค่า ทางสมุนไพรชั้นดี อีกชนิดหนึ่ง

สมัยก่อนคนไทยจะนำราก มาฝนน้ำแก้พิษงูกัด ได้เป็นอย่างดี

ส่วนเปลือกต้นใช้ ขับเสมหะ แก้หืด

ใบขับปัสสาวะและเป็นยาระบาย

เกี้ยวเกล้า มี 2 สายพันธุ์ คนจะนิยมปลูก ชนิดที่เป็นไม้พุ่ม

ต้นสูง 1-3 เมตร ใบมีขนาดใหญ่

ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกยาว

ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกตัวเมียสีแดงไม่มีกลีบดอก

ปลายเกสรตัวเมีย เป็นพู่สีแดงยาวคล้ายหางกระรอก

 จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะว่า หางกระรอกแดง


ส่วน "หางกระรอกแดงเลื้อย" เป็นไม้จากต่างประเทศเช่นกัน

 แต่ไม่มีบันทึกชื่อประเทศ นำเข้ามาปลูกประดับ

 และขยายพันธุ์ในประเทศไทย นานกว่า 30 ปีแล้ว

นิยมปลูก "หางกระรอกแดงเลื้อย" ลงกระถางแขวน

หางกระรอกแดงเลื้อย เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก

ต้นหรือเถาสามารถเลื้อย ได้ประมาณ 0.1-1 เมตร

แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ

 ก้านใบยาว ใบเป็นรูปพัดจีน หรือรูปกลมรี ขอบจักเป็นฟันเลื่อย

สีเขียวสด เวลาใบดกน่าชมยิ่งนัก

ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ

รูปทรงของดอกเหมือนกับ ดอกหางกระรอกแดง

ชนิดที่เป็นไม้พุ่มทุกอย่าง

แต่ขนาดของดอกชนิดต้นเลื้อยจะสั้นกว่าอย่างชัดเจน

 เส้นผ่าศูนย์กลางของดอก จะกว้างกว่าเล็กน้อย

 จะทำให้เวลามีดอกดก และดอกบานพร้อมกันทั้งต้น

จะดูสวยงามมาก ดอกออกตลอดทั้งปี





















 

 

ขอบคุณที่มา  fb. Siriwanna Jill

ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

Create Date :01 พฤษภาคม 2558 Last Update :1 พฤษภาคม 2558 10:51:56 น. Counter : 6303 Pageviews. Comments :0