bloggang.com mainmenu search




























ดอกดุสิตา

 ......

 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ได้พระราชทานนาม เมื่อครั้งเสด็จ

ณ ทุ่งดอกไม้ป่า ในจังหวัดสกลนคร

ชื่อท้องถิ่น หญ้าข้าวก่ำน้อย ดอกขมิ้น

 หญ้านกขาบ ถือเป็นพืชประจำเขตร้อน

 พบในอินเดีย เอเซีย ตอ.ต. และออสเตรเลีย

 ในไทยพบตามพื้นที่โล่งและชุ่มชื้น

 ในภาคอิสานตอนบน

สามารถดักจับแมลงกิน เป็นอาหารได้

 มักขึ้นในบริเวณพื้นดิน ที่เปียกชื้น ชื้นแฉะ

 อย่างบริเวณใกล้หนองน้ำ

 หรือตามลานหินโล่งกว้างมีน้ำขัง

 ในป่าสน ปาเต็งรัง ต้นดุสิตาขึ้นตามภูเขา

ในจังหวัดสกลนคร ชัยภูมิ ศรีสะเกษ เลย

เชียงใหม่ พิษณุโลก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด

โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติผาแต้มอุบลราชธานี

ในช่วงฤดูหนาว ต้นดุสิตาจะออก

 ดอกสีม่วงเต็มท้องทุ่ง

 ดูแล้วสวยงาม มีกลิ่นหอม ทั่วท้องทุ่ง

ต้นดุสิตา เป็นไม้ล้ม กอเล็ก

 ดอกสีม่วงเข้มออกเป็นช่อ

สูงประมาณ 5-25 ซม. ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ๆ ขึ้น

บนลานหินโล่งจะมีลำต้นสั้น

หากขึ้นรวมกับทุ่งหญ้า ที่มีน้ำขัง

จะมีลำต้นที่ยาวกว่า ดอกออกเป็นช่อๆ

 มีดอกย่อยจำนวน 3-5 ดอก สีม่วงเข้ม

โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก

ด้านบนมีสีม่วงอมน้ำเงิน

 ช่วงเวลาออกดอก ตุลาคม - พฤศจิกายน

 ผลเป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่

ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เรียงสลับ

 มีลักษณะคล้ายใบหอกกลับ

 กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร

ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

 ปลายใบกลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง

 มีเส้นกลางใบ 1 เส้น

ไม่มีก้านใบ เมื่อโตได้ระยะหนึ่ง

ใบจะเปลี่ยนเป็นม้วนกลม

 เพื่อดักจับแมลงกินเป็นอาหาร

มีขนาดเล็ก รูปไข่ขวาง

เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร

มีรยางค์ 2 เส้น ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร

 ก้านถุงดักจับยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยง

สรรพคุณทางยา เป็นยาสมุนไพรใช้บำรุงเลือด

 ดังนั้น ชาวอิสาน ในสมัยก่อน

ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบเลือด

จะนำดอกดุสิตา รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของต้น

 มาต้มน้ำดื่ม เพื่อช่วยบำรุงเลือดลมในร่างกาย

 ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง.

 

...........................























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :22 กรกฎาคม 2558 Last Update :19 ตุลาคม 2560 10:14:19 น. Counter : 3157 Pageviews. Comments :0