bloggang.com mainmenu search






















ดอกเอื้องหมายนา

 ........

ชื่อสามัญ Crape ginger, Malay ginger, Spiral Flag,

Wild ginger Cane Reed, White Costus

ชื่อท้องถิ่น เอื้อง (อุบลราชธานี) เอื้องช้าง (นครศรีธรรมราช)

 เอื้องต้น (ยะลา), เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง)

เอื้องดิน เอื้องใหญ่ บันไดสวรรค์ (ภาคใต้)

ซูแลโบ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)

ชู้ไลบ้อง ซูเลโบ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กู่เก้ง (ม้ง)

 ชิ่งก๋วน (เมี่ยน) ลำพิย้อก (ลั้วะ) ดื่อเหม้ (ยึ) (ปะหล่อง)

จุยเจียวฮวย (จีน) มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชีย ตอ.ต

ไปจนถึงเกาะนิวกินี

“เอื้องหมายนา” มีที่มาของชื่อ จากประเพณีการสู่ขวัญควาย

 เนื่องจากชาวนาได้ดุด่า ทุบตีควาย ระหว่างการไถพรวน

 ในฤดูการทำงาน เมื่อต้นกล้าโตเต็มที่

สามารถถอนกล้าไปดำนาแล้วนั้น เป็นอันสิ้นสุด

สำหรับ การใช้แรงงานของควาย

จากนั้นชาวนาก็จะขอขมาลาโทษ จากควาย

 หรือที่เรียกว่า “สู่ขวัญควาย”

ซึ่งในพิธีจะมีการนำ ต้นเอื้องหมายนา ไปปักไว้ 4 ทิศ

ของบริเวณพื้นที่นา ที่เป็นเจ้าของ

เอื้องหมายนาที่ปักไว้นี้ มีประโยชน์คือ

 ป้องกันวัชพืช ของต้นข้าว เช่น เพลี้ย บั่ว

 ที่จะมาทำลายต้นข้าว เมื่อป้องกันวัชพืชเหล่านี้ได้

ต้นข้าวจะออกรวงดี จึงเป็นที่มาของชื่อ

ต้นเอื้องหมายนา เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอ

 มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา

 ลำต้นกลมฉ่ำน้ำ และเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้น

ได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว

 ที่โคนแข็งเหมือนไม้ มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น

 ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง

 ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ

 ที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 87-126 เมตร

ดอกเอื้องหมายนา ออกดอกเป็นช่อ

ช่อดอกจะออกที่ปลายของลำต้น ลักษณะเป็นรูปไข่

ยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร

กาบรองดอกเป็นรูปไข่ ปลายแหลม

ปลายแข็งคล้ายหนาม สีเขียวปนแดง

 ยาวประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร

 ในแต่ละกาบรองรับดอกย่อย 1 ดอก

ดอกจะทยอยบายครั้งละ 1-2 ดอก

กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดๆ และเป็นสัน 3 สัน

ปลายแยกเป็น 3 กลีบ แยกออกเป็น 2 ปาก

มีปากด้านบน 2 กลีบ และปากด้านล่าง 1 กลีบ

กลีบแยกลึก ส่วนกลีบดอกนั้นมี 3 กลีบ

มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร

และยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร

 โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อยเป็นสีขาว

ดอกมีเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์เปลี่ยนไป

มีลักษณะคล้ายกลีบดอกมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอก

 มีขนาดกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร

 และยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปไข่กลับสีขาว

 ขอบม้วนซ้อนทับกัน ตรงกลางกลีบด้านในของดอกเป็นสีเหลือง

มีขนสีเหลืองปกคลุม เป็นสันตื้นๆ 3 สันไปยังปลายกลีบ

ดอกมีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน

ก้านเกสรเพศผู้จะแผ่แบนเป็นแถบ

 มีขนาดกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร

และยาวประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร

โดยส่วนของปลายจะกว้างประมาณ 6-7 มิลลิเมตร

สีเหลืองเข้มและม้วนลงด้านล่าง

อับละอองเกสรเพศผู้จะติดอยู่ใต้บริเวณสีเหลือง

ขนาดกว้างประมาณ 3.5 มิลลิเมตร

และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

ส่วนเกสรเพศเมียนั้นมี 1 อันก้านเกสรเป็นอิสระ

ส่วนปลายแทรกอยู่ระหว่างถุงละอองเกสรเพศผู้

ยอดเกสรเพศเมียจะแผ่ออกอยู่เหนืออับละอองเกสรเพศผู้

 มีรังไข่ 3 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก

ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม

หรือในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบลำต้น

ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก

ปลายใบแหลม โคนใบมนเรียวเข้าหาก้านใบ

ส่วนขอบใบเรียบ กาบใบอวบเป็นสีเขียว

หรือสีน้ำตาลแดงโอบรอบลำต้น แผ่นใบค่อนข้างหนา

หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบมีขนนุ่มสั้นคล้ายกำมะหยี่

เส้นใบขนานกับขอบใบ เส้นใบออกจากเส้นกลางใบ

 แต่จะไปสิ้นสุดที่จุดเดียวกัน ทุกส่วนของต้นมีขน

ก้านใบมีขนาดสั้นหรือไม่มีก้านใบ

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม

หรือเป็นรูปขอบขนาน แกมรูปสามเหลี่ยม

 มีขนาดยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร

 เมื่อแห้งแล้วจะแตก มีเนื้อแข็ง สุกสีแดงสด

ปลายยอดมีกลีบเลี้ยง 1 กลีบ หรืออยู่เป็นกระจุกแหลม 3 แฉก

กาบหุ้มผลเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดสีดำเป็นมัน

เหง้าสด มีรสฉุน เย็นจัด

สามารถใช้ตำพอก บริเวณสะดือรักษาโรคท้องมาน

 ในเหง้าพบสาร diosgenin ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง

 และเป็นสารตั้งต้น ในการสังเคราะห์ยาสเตอรอยด์

ใช้ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้ตกขาว บวมน้ำ

ฆ่าพยาธิ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

แผลอักเสบบวม มีหนอง และฆ่าพยาธิ

ข้อควรระวัง คือ เหง้าสดจะมีพิษ เมื่อบริโภคในปริมาณมาก

 จะทำให้อาเจียน ท้องร่วงรุนแรง และทำให้แท้ง

เนื่องจากการที่มีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อน ที่ผนังมดลูก

 วิธีลดพิษคือต้องทำให้สุกก่อน

ส่วนของดอก ใบและเหง้ามาบดให้ละเอียดผสมน้ำ

 แล้วนำไปลาดเทลงแปลงนา ที่มีการระบาดของหอยเชอรี่

จะได้ผลดี เนื่องจากเอื้องหมายนามี สาร tannin

ทำให้หอยตายได้ ไข่ก็จะฝ่อ

ในประเทศมาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์

ใช้หน่ออ่อนใส่แกง เป็นผัก

 นิยมตัดประดับแจกันทั้งต้นที่มีช่อดอก

เนื่องจากมีความสวยงามทั้งต้นและกาบประดับ

นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย



ชาวม้งจะใช้เหง้าใต้ดิน นำมาต้มกับน้ำดื่ม

เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตต่ำ อาการหน้าซีด 

ชาวไทใหญ่จะใช้ราก นำมาดองกับเหล้า ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง

 หลายพื้นที่นิยมกินหน่ออ่อนและดอกอ่อนเป็นผัก

โดยชาวม้งจะนิยมนำมาต้มกิน กับไก่ เป็นยาบำรุงกำลัง

แก้ตัวเหลือง แก้อาการอ่อนเพลียไม่มีแรง

 คนเมืองจะใช้ลำต้นนำไปต้มกิน เชื่อว่าเป็นยาต้านโรคมะเร็ง

ส่วนชาวไทใหญ่ จะใช้ใบนำไปรมไฟ

แล้วบีบเอาน้ำมาหยอดหู  รักษาโรคหูเป็นหนอง

เอื้องหมายนาดอกแดง หรือ แดงอินโด

เอื้องหมายนาอินโด เอื้องหมายนาดอกเทียน

เป็นพันธ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากแถวอเมริกากลาง

 จะขึ้นเป็นกอ ดอกสีแดง ไม่มีกลิ่น

































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

Create Date :17 พฤษภาคม 2558 Last Update :17 พฤษภาคม 2558 10:42:09 น. Counter : 3687 Pageviews. Comments :0