bloggang.com mainmenu search














ดอกราชาวดีหลวง

..............

มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่อินเดีย ภูฎาน

 บังคลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ เวียดนาม

และภาคเหนือของไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่

บริเวณดอยเชียงดาว และดอยผ้าห่มปก

ขึ้นตามที่โล่งบนเขาหินปูน ระดับความสูง 1600-2200 เมตร

 ช่อสีชมพูยาว กลิ่นหอมแรง กลิ่นเดียวกับราชาวดี

ลักษณะ ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 5 ม.

 กิ่งเป็นสี่เหลี่ยมหรือเป็นปีก มีขนกระจุกตามกิ่งอ่อน

แผ่นใบ กลีบเลี้ยงและหลอดกลีบดอกด้านนอก

หลอดกลีบดอก รังไข่ และผล หูใบคล้ายใบ

 ใบเรียงตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 4-45 ซม.

 ปลายใบแหลมยาว โคนใบรูปลิ่มหรือเรียวสอบจรดลำต้น

ขอบใบจักมน เส้นแขนงใบข้างละ 15-25 เส้น

ไร้ก้านหรือเกือบไร้ก้าน ช่อดอกแบบช่อเชิงลด

 ออกที่ปลายกิ่ง ยาว 5-20 ซม. เรียงหนาแน่น

เป็นกระจุก 1-3 ดอก กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 3-6 มม.

 กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 2 มม.

กลีบดอกสีชมพูอมม่วง เชื่อมติดกันเป็นหลอด

ปากหลอดกลีบสีส้ม หลอดกลีบรูปทรงกระบอกแคบ ๆ

 ยาว 0.8-1 ซม. มีขนยาวด้านใน กลีบเกือบกลม ยาว 2-4 มม.

 เกสรเพศผู้ติดใต้ปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้นมาก

 อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปรี ยาว 2-4 มม.

มีขนกระจุกสั้นนุ่ม ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.5-3 มม.

 ยอดเกสรรูปคล้ายกระบอง ผลแห้งแตก รูปรี ยาว 0.7-1 ซม.

เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 3 มม. มีปีกที่ปลายทั้งสองข้าง















ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :05 เมษายน 2558 Last Update :5 เมษายน 2558 18:01:00 น. Counter : 2403 Pageviews. Comments :2