bloggang.com mainmenu search




กาญจนบุรี  18 - 20  มีนาคม  2559 


ถนนปากแพรก ถนนคนเดินสายแรก ชุมชนเก่าแก่ของเมืองกาญจน์ (1)


ความเดิมตอนที่แล้ว  วันที่ 20 มีนาคม 2559 เช็คเอาท์จากรายาบุรีแล้ว มาแวะกินข้าวกลางวันที่อบอุ่นเฮ้าส์ 





ถนนคนเดินปากแพรก ถนนเก่าสายแรกของจังหวัดกาญจนบุรี มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมในทุกเย็นวันเสาร์

มีร้านค้าชุมชนสินค้าพืชผักปลอดสารพิษเกษตรอินทรีย์ พร้อมอิ่มอร่อยกับอาหารการกินโบราณอาหารพื้นเมืองเรียงราย 2 ข้างถนน

มีกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หมุนเวียนกันไปในทุกวันเสาร์

โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 16.00 - 21.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งจะมีการปิดถนนหลักเมือง (หน้าจวน)

และเพิ่มเติมแสงสว่างเชื่อมโยงให้มองเห็นตั้งแต่ตลาดโต้รุ่งจนถึงถนนคนเดินปากแพรก

ถนนปากแพรก เป็นถนนสายแรกของจังหวัดกาญจนบุรี ที่ย้ายกาญจนบุรีเก่า จากท่าเสา ลาดหญ้า

มาสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2374  ณ บริเวณปากแพรก ซึ่งเป็นจุดที่ลำน้ำแควน้อยและแควใหญ่มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง

สมัยนั้น ทั้งสถานที่ราชการ และบ้านพักราชการ จะถูกสร้างอยู่ภายในกำแพงเมือง

ขณะที่ประชาชนทั่วไปมักสร้างบ้านเรือนนอกกำแพง เรียงรายกันไปตามแนวกำแพง ที่เป็นถนนปากแพรกในปัจจุบัน





ก่อนเช็คเอาท์ เราถามทางไปถนนปากแพรกกับน้องที่รายาบุรี เค้าเขียนแผนที่ + บอกทางให้...

เราเปิด google map ด้วย  13.04 น. เจอแล้วค่ะ




หาไม่ยากค่ะ




เห็นศาลหลักเมือง บอกปะป๊า จอดรอแป๊บ...




ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี

สร้างขึ้นใหม่แทนศาลเดิม ซึ่งชำรุดในสมัยพระยาประสิทธิสงคราม (รามภักดี ศรีวิเศษ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีคนที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2503

เป็นอาคารจัตุรมุขหลังคาทรงไทย ภายในประดิษฐานหลักเมือง ซึ่งเป็นเสาหัวเม็ดทรงมัน

ด้านหน้ามีศิลาจารึกและจารึกไม้สัก ระบุวัน เดือน ปีที่สร้างเมือง 





ธูป เทียน ดอกไม้ บูชา ด้านหน้าทางเข้าศาล




ศาลหลักเมืองเป็นที่เคารพสักการะของชาวกาญจนบุรี

เทศบาลเมืองกาญจนบุรีได้จัดงานไหว้ศาลหลักเมืองประจำทุกปี ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6




เห็นประตูเมืองกาญจนบุรีแล้วค่ะ




นี่ค่ะ มองไปเห็นศาลหลักเมือง อยู่ใกล้ ๆ กัน




พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 อยู่ด้านหลังประตูเมือง







ประตูเมืองกาญจนบุรี

 ตั้งอยู่บริเวณชุมชนปากแพรก เป็นประตูเมืองก่ออิฐถือปูน ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อปี พ.ศ. 2374

ครั้งย้ายเมืองกาญจนบุรีเก่า จากตำบลลาดหญ้ามาสู่ปากแพรก เนื่องด้วยยุทธศาสตร์การรบเปลี่ยนไป

โดยมีชัยภูมิในการตั้งรับข้าศึกได้ดีกว่าเก่า อีกทั้งยังสะดวกในการค้าขายกับเมืองต่าง ๆ อีกด้วย




กำแพงเมืองกาญจนบุรี เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ด้านบนมีใบเสมา

ผังกำแพงเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 210 เมตร ยาว 480 เมตร

มีป้อมประจำมุม 4 ป้อม ป้อมกลางกำแพงด้านหน้า 1 ป้อม และป้อมเล็กกลางกำแพงด้านหลัง 1 ป้อม

มีประตู 8 ประตู ประกอบด้วย ประตูเมือง 6 ประตู และประตูช่องกุด 2 ประตู ซึ่งได้ชำรุดลงเกือบทั้งสิ้น

คงเหลือเฉพาะประตูเมืองด้านหน้า ซึ่งหันหน้าสู่แม่น้ำแควใหญ่

และกำแพงเมืองบางส่วนที่อยู่ติดกัน โดยได้มีการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2549

ส่วนบริเวณด้านหลังประตูเมืองเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)













บ้านหน้าจั่วรูปหมู

 บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้หลังนี้ตั้งอยู่จุดกึ่งกลางของถนนปากแพรก หันหน้าไปหาประตูเมืองเก่า

และโดดเด่นแตกต่างจากอาคารบ้านเรือนหลังอื่น ๆ ด้วยลวดลายฉลุบนกรอบหน้าต่างบานคู่ที่ประณีตสวยงาม

บ้านหลังนี้ปรากฏว่าสร้างขึ้นในปี 2458 ตามหลักฐานบนหน้าจั่วที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของบ้าน 

บ้านหลังนี้เป็นของตระกูลเสตะพันธุ์




เดิม ๆ ก็มี ที่บูรณะแล้วก็มี




วันที่  20  มีนาคม  2559  เจอกลุ่มขี่จักรยานพอดี







โรงแรมสุมิตราคาร โรงแรมแห่งแรกของจังหวัดกาญจนบุรี




มีป้ายอธิบายเป็นไกด์นำชมด้วยค่ะ ดีเลยเนาะ  Smiley




เรามาวันอาทิตย์ แต่ถึงจะเป็นวันเสาร์ ตอนนี้ก็ยังไม่มีขายของ เพิ่งบ่ายโมงเองค่ะ




ศาลเจ้าแม่กวนอิม ไม่ได้แวะค่ะ







บ้านสหกุลพาณิชย์







สิ่งที่โดดเด่นคือ ราวลูกกรงบนระเบียงชั้นสองและดาดฟ้า

ถ้าไม่มีสายไฟ คงเห็นความงามชัดเจนกว่านี้ Smiley







ร้านกาแฟ บ้านสิทธิสังข์ ด้านในคนเยอะ เดี๋ยวมาใหม่ค่ะ ขอเดินถ่ายรูปก่อน




ด้านหลังตัวอาคารที่ต่อเติม ก็เป็นที่นั่งร้านกาแฟด้วยค่ะ




ร้านไทยยงและไทยเสรี

บ้านร้านค้าครึ่งไม้ครึ่งปูนหลังนี้ มีราวลูกกรงบนระเบียงชั้นบนที่สวยงามน่าประทับใจอย่างเห็นได้ชัดเจน ลวดลายลูกกรงปูนเป็นรูปเทพพนมที่หายาก

และไม่สามารถพบเห็นได้อีกแล้วจากตึกสมัยใหม่   นอกจากนี้ลวดลายก้านขดที่ฉลุบนกรอบประตูชั้นล่างก็เสริมเสน่ห์ให้แก่ตึกแถวหลังนี้มากขึ้น

เช่นเดียวกับอาคารหลังอื่น ๆ ที่ร่วมยุคสมัยเดียวกัน หลังคาบ้านเดิมเป็นปูน  ปีที่ก่อสร้างยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

แต่กล่าวกันว่าสร้างก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แน่นอน คาดว่าปัจจุบันอาคารหลังนี้มีอายุประมาณ 87 ปี

และมีช่วงหนึ่งที่เคยเป็นโรงพยาบาลโดยครูสอนศาสนาเป็นผู้เปิดให้บริการ





หลังติดกันกับบ้านไทยเสรีค่ะ







บ้านบุญเยี่ยม เจียระไน (คุ้มจันทร์ศิริ)










เสาแบบโรมันคลาสสิกรองรับระเบียงที่ยื่นออกมา และช่องลมทึบเป็นรูปโค้งเหนือหน้าต่างบานคู่ชั้นบนที่อ่อนช้อยมีเสน่ห์เป็นจุดเด่นของบ้านหลังนี้







บ้านสิริโอสถและบ้านบุญผ่องแอนด์บราเธอร์

อาคารสองหลังนี้สมควรได้รับความสนใจ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในจังหวัดกาญจนบุรี  นายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ ผู้ได้รับมรดกอาคารหลังนี้ จากหมอเขียนผู้เป็นพ่อ  (ขุนสิริเวชชะพันธ์) ก็สมควรได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษด้วยเช่นเดียวกัน   นายบุญผ่อง เป็นนักธุรกิจที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  เขาชนะการประมูลตัดไม้หมอนรถไฟให้กับญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ร้านค้าของเขาก็ได้ต้อนรับเชลยศึกหลากหลายสัญชาติจำนวนมาก  จากการพบปะกันดังกล่าวและความสามารถด้านภาษาอังกฤษของเขา ทำให้บุญผ่องได้กลายเป็นตัวเชื่อมระหว่างเชลยศึกและประเทศที่พวกเขาจากมา พวกเขาใช้รหัสลับในการส่งข้อความถึงกันโดยมีบุญผ่องและเชลยศึกเท่านั้นที่รู้ความหมาย  จากการปฏิบัติการลับ ๆ ดังกล่าว ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถทิ้งระเบิดทำลายสะพานข้ามแม่น้ำแควได้อย่างแม่นยำ เมื่อสิ้นสุดสงคราม บุญผ่องได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากประเทศอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ เพื่อตอบแทนที่เขาได้ช่วยเหลือเชลยศึกในระหว่างสงคราม  ขณะนี้บ้านบุญผ่องซึ่งเป็นตึกสามชั้นมีอายุ 74 ปี  และร้านสิริโอสถซึ่งเป็นตึกสองชั้นตั้งอยู่ถัดไปมีอายุ 92 ปี

ปัจจุบัน สิริโอสถเปลี่ยนเป็นร้านขายอาหารสัตว์ แต่ในอดีตเป็นร้านขายยาแผนโบราณ






















บ้านชวนพานิช




ป้ายชื่อหน้าร้านยังเป็นของแท้ดั้งเดิม







โครงสร้างที่หล่อปูนทั้งหลัง กันสาดกันแดดที่คล้ายรังผึ้ง




ลักษณะเฉพาะตัวแบบจีนเห็นได้ชัดจากลวดลายลูกกรงระเบียง








ขอบคุณข้อมูลจาก


//breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=779403

//www.tourmuangkan.com/









Create Date :22 กันยายน 2559 Last Update :22 กันยายน 2559 5:00:44 น. Counter : 5335 Pageviews. Comments :59