bloggang.com mainmenu search




กาญจนบุรี  18 - 20  มีนาคม  2559 

ถนนปากแพรก ถนนคนเดินสายแรก ชุมชนเก่าแก่ของเมืองกาญจน์ (2)





ถนนปากแพรก มีความน่าสนใจ ด้วยความเป็นชุมชนเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ที่มาสร้างเมืองกาญจนบุรี ยังคงมีบ้านเก่า ๆ หรือประตูไม้บานใหญ่ ๆ และมุมเก๋ ๆ ให้ถ่ายรูปอยู่ไม่น้อย เป็นภาพที่เห็นแล้วก็ชวนตื่นตาและพาตื่นใจกว่าแน่นอน เพราะบ้านเรือนเก่าของที่นี่ ดูแปลกตากว่าทุกที่ ซึ่งมีทั้งบ้านแบบฝรั่ง จีน ญวน และแบบไทยเรียงรายอยู่ 2 ฝั่งถนน ตามแนวกำแพงเมืองของกาญจนบุรี

พร้อมกันนั้น บ้านเรือนบนถนนสายนี้ได้เปิดให้ผู้สนใจได้เยี่ยมชมได้ทุกวันเสาร์ พร้อมทั้งเล่าประวัติความเป็นมาของบ้านแต่ละหลังให้ฟังโดยละเอียด หรือบ้านบางหลังที่ยังไม่ได้เปิดให้เยี่ยมชม ก็มีข้อมูลแสดงไว้บนแผ่นป้ายแสดงไว้อย่างน่าสนใจ

แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้น ก็คือเรื่องราวของบ้านแต่ละหลังและเรื่องราวของผู้คนที่อาศัยในชุมชนแห่งนี้ ซึ่งผ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สำคัญ ตั้งแต่การตั้งเมืองกาญจนบุรี และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านแต่ละหลังยังคงถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี อย่างบ้าน “บ้านแต้มทอง” ซึ่งเป็นบ้านตึกหลังแรกของถนนปากแพรก สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยช่างชาวจีนที่พาขึ้นเรือสำเภามา ทำให้สถาปัตยกรรมเป็นแบบจีน แม้เวลาผ่านมากว่า 150 ปี แต่บ้านก็ยังคงความสมบูรณ์ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ไว้เหมือนของเดิมได้อย่างน่าอัศจรรย์

บ้านบุญผ่อง แอนด์ บราเดอร์ (สิริโอสถ) เป็นบ้านอีกหนึ่งหลังที่น่าสนใจมาก ซึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านหลังนี้เปิดเป็นร้านขายของชำ และมีข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ อยู่อย่างครบถ้วน ทำให้ทหารญี่ปุ่นได้มาติดต่อขอซื้อสินค้าจากนายบุญผ่องซึ่งเป็นเจ้าของร้านที่ต้องขนของช่วยเชลยไปส่งที่ค่ายญี่ปุ่นจึงได้ไปเห็นความยากลำบากของเชลยชาติต่าง ๆ ที่ถูกเกณฑ์มาทำทางรถไฟ จึงแอบช่วยอย่างลับ ๆ เช่นแอบส่งยาแก้ไข้มาเลเรีย ส่งเครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งแอบช่วยเชลยที่หลบหนีออกมาด้วย ทำให้หลังสิ้นสุดสงคราม ได้รับสมญานามว่า “วีรบุรษสงครามของทางรถไฟสายมรณะ” มีส่วนให้ประเทศไทยไม่ถูกปฏิบัติอย่างผู้แพ้สงคราม ซึ่งเรื่องราวของนายบุญผ่องได้นำมาสร้างเป็นละครด้วย





ต่อตอน 2 กันเลย แปะแผนที่กันหน่อยเนาะ







ถนนสองเลน ถ้ามีรถจอดหน้าบ้าน วิ่งสวนกันไม่ได้มังคะ




โรงแรมกาญจนบุรี (ที่มีป้ายสีเหลืองหน้าบ้าน)



















ร้านฮั้วฮง










เป็นร้านกาแฟค่ะ ไม่ได้แวะจิบกาแฟ ซึมซับบรรยากาศด้านในเลย เราตั้งใจจะไปแวะร้านสิทธิสังข์แทน










บ้านศิวภา










ร้านศรีจำนงพานิช




ทำป้ายข้อมูลประกอบแบบนี้ ดีเลยค่ะ




บ้านแต้มทอง




มองข้างหน้าคล้ายศาลเจ้า





บ้านแต้มทอง  ซึ่งเป็นอาคารตึกหลังแรกของกาญจนบุรี สมควรได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากผู้มาเที่ยวถนนปากแพรก

บ้านหลังนี้สะดุดสายตาเนื่องจากลักษณะภายนอกที่ดูเหมือนศาลเจ้า

อย่างไรก็ตาม ในอดีตเคยมีศาลเจ้าตั้งอยู่หน้าบ้านก่อนที่จะย้ายไปรวมกับศาลเจ้าพ่อกวนจง 

ด้านหน้าบ้านมีกำแพงล้อม ทางเข้าทำเป็นซุ้มประตูแบบเก๋งจีนและที่ผนังซุ้มประตูมีภาพเขียนแบบลายจีน 

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้สองชั้นหลังนี้ สร้างขึ้นตอนปลายรัชกาลที่ 4 คาบเกี่ยวต้นรัชกาลที่ 5  มีอายุประมาณ 142 ปี

** ถ้าสร้างในปี 2410 ปีนี้ 2559 งั้นบ้านหลังนี้อายุ 149 ปีแล้วสิ **

หน้าจั่วของบ้านเป็นปูนปั้นลวดลายจีน  ในอดีตเคยเปิดเป็นร้านขายของและขายยาจีนเรียกว่า ยี่กงซี

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ก่อนที่แม่น้ำจะเปลี่ยนทิศทางในเวลาต่อมา  เมื่อครั้งเกิดไฟไหม้ เป็นบ้านหลังเดียวที่รอดพ้นจากไฟ 

จนถึงปัจจุบัน บ้านแต้มทองได้เป็นที่อาศัยพักพิงของคนในตระกูลถึงห้ารุ่นด้วยกัน

เจ้าของ นางพัชรี แต้มทอง

ปีที่สร้าง 2410








บ้านบุญไชยพานิช

























บ้านรัตนกุสมภ์




บ้านรัตนกุสุมภ์

ตั้งอยู่ห่างจากบ้านเรือนร้านค้าที่เป็นตึกแถวอยู่ลึกเข้าไปภายในชุมชนบนถนนปากแพรก บ้านไม้อายุ 100 ปี หลังนี้ค่อนข้างโดดเด่นในตัวของมันเอง

เนื่องจากลวดลายฉลุเหนือประตูบานเฟี้ยม และเหนือระเบียงชั้นบนที่ประณีตสวยงามน่าประทับใจ 

งานไม้ต่าง ๆ เช่น ประตูและหน้าจั่ว ได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่ในรูปแบบเดิม บางส่วนของบ้านได้รับการซ่อมแซมและดัดแปลงใหม่บ้าง

เช่น พื้น หลังคา และผนังชั้นล่างซึ่งก่ออิฐโชว์ เช่นเดียวกับอาคารสำคัญอื่น ๆ บนถนนปากแพรก 

บ้านทรงมะนิลาหลังนี้ มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเช่นกัน 

โดยเจ้าของบ้าน (นายทอง รัตนกุสุมภ์ - ทนายความ)  ได้ให้นายทหารญี่ปุ่นชื่อ นายพันนาการิ มาระ กับลูกน้องอีก 5 นาย เช่าอาศัยอยู่

 หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม นายพันนาการิได้มอบชุดเครื่องลายครามและดาบซามูไรไว้เป็นที่ระลึก  

แต่เหตุการณ์ที่น่าจดจำมากที่สุดสำหรับครอบครัวรัตนกุสุมภ์ คือ การที่สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

ได้เสด็จมาประทานน้ำพระพุทธมนต์และพระพุทธรูป ภปร. 5 นิ้ว เนื่องในโอกาสวันสมรสของลูกสาวของเจ้าของบ้าน

ซึ่งได้รับมรดกบ้านหลังนี้จากพ่อผู้เป็นที่รัก เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นสิริมงคลสูงสุดของครอบครัว 

เจ้าของ นางวนิดา ปลาทิพย์

ปีที่สร้าง 2452









บ้านธนโสภณ










หน้าบ้านเขียนว่า บ้านสุธี ค่ะ




อยู่ใกล้กับบ้านนิวาศแสนสุขค่ะ




บ้านนิวาศแสนสุข




บ้านนิวาศแสนสุข

บ้านไม้สองชั้นอายุ 72 ปี หลังนี้มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกันกับบ้านสุธี  คือมีหลังคาทรงปั้นหยา มีมุขยื่นออกมาทางซ้าย

และที่น่าสังเกตคือ มีประตูไม้บานใหญ่และบานหน้าต่างเรียงติดต่อกันเป็นแนวยาว 

เจ้าของคนปัจจุบัน ได้บูรณะ ดัดแปลงและทาสีใหม่หมดทั้งหลัง แต่ไม่ทำให้เสียสภาพเดิม 

สิ่งที่ควรจะได้รับการบันทึกไว้ก็คือ บ้านหลังนี้เคยเป็นเรือนหอของ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา อดีตนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 7

ปัจจุบันตกเป็นของตระกูลมาโนช

เจ้าของ นายศิริชัย มาโนช

ปีที่สร้าง 2480




บ้านอำนวยโชค




บ้านอำนวยโชค

 ถึงแม้ว่าจะถูกปล่อยทิ้งร้างจนอยู่ในสภาพที่เป็นซากปรักหักพังในปัจจุบัน อาคารตึกสองชั้นก่ออิฐถือปูนหลังนี้

ก็ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงอดีตอันรุ่งเรืองของมันผ่านสถาปัตยกรรมที่หลงเหลือตกทอดมาจากสมัยรัชกาลที่ 5

คล้ายคลึงกับบ้านที่ตั้งอยู่ถัดไปสองหลัง คือบ้านนิวาศแสนสุขและบ้านสุธี  ซึ่งอยู่ในยุคสมัยเดียวกัน

บ้านอำนวยโชคมีกำแพงล้อมรอบและมีซุ้มประตูทางเข้าที่ดูเรียบง่ายอยู่ด้านหน้า 

แต่สิ่งที่ทำให้บ้านหลังนี้ดูโดดเด่นสวยงามที่สุดน่าจะเป็นโค้งระหว่างเสาเหนือระเบียงทั้งชั้นบนและชั้นล่าง 

หลังคาแบนราบและระเบียงมีราวลูกกรงที่ดูเรียบง่ายแต่มีเสน่ห์

เจ้าของ นายสมจิตต์ เสตะพันธุ์

ปีที่สร้าง ประมาณ 2460







บ้านกุลสุวรรณ




บ้านกุลสุวรรณ์

บ้านกุลสุวรรณ์ สร้างขึ้นประมาณปี 2421 ตอนปลายรัชกาลที่ 5 โดยได้รับอิทธิพลจากแบบบ้านที่พบเห็นในสิงคโปร์ 

มีลักษณะเป็นบ้านไม้สองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในยุคกลางของรัตนโกสินทร์ 

หน้าจั่วเป็นบานเกล็ดระบายอากาศซึ่งสำคัญยิ่งสำหรับอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย 

มุขหลังมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ข้าวหลามตัดที่นิยมใช้ในการสร้างบ้านเรือนไทยในอดีต 

บริเวณระเบียงและเหนือประตูโดดเด่นสะดุดตาด้วยการประดับกระจกสี

เจ้าของ นายสมจิตต์ เสตะพันธุ์

ปีที่สร้าง 2458




บ้านคชวัตร




ถูกรื้อทิ้ง สร้างใหม่ ตั้งแต่ 50 ปีที่แล้วค่ะ




ต่างคนต่างเดิน ... ปะป๊า กับเมฆ โทร. มาบอกว่า รออยู่ที่ร้านสิทธิสังข์แล้วค่ะ







บ้านสิทธิสังข์

   อาคารหลังหนึ่งซึ่งไม่เคยพลาดที่จะดึงดูดความสนใจจากผู้สัญจรไปมาบนถนนปากแพรก คือ บ้านสิทธิสังข์ 

ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นร้านกาแฟ ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับโรงแรมสุมิตราคาร 

บ้านตึกหลังนี้ตั้งชื่อตามชื่อตระกูลของผู้เป็นเจ้าของสร้างขึ้นในปี 2463

ในยุคสมัยรัชกาลที่ 5  และเห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบซิโน-โปรตุกีส

ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดน่าจะอยู่ที่ลวดลายปูนปั้นประดับ ลายฉลุของช่องลมเหนือประตูหน้าต่าง

โดยเฉพาะปูนปั้นลายก้านขดเหนือป้ายชื่อบ้านที่เป็นเอกลักษณ์

รวมทั้งประตูบ้านเฟี้ยมที่มีเสน่ห์ซึ่งสะท้อนอายุอันเก่าแก่ของบ้าน  ก่อนที่จะได้รับการบูรณะโดยเจ้าของร้านกาแฟเมื่อต้นปี 2552 

บ้านหลังนี้ใช้สีทาบ้านซึ่งเป็นสีธรรมชาติทำมาจากดินที่นำมาจากทุ่งนาคราช นำมากรองแล้วผสมกับน้ำข้าวเหนียวซึ่งมีความคงทนหลายปี

ปัจจุบัน บ้านหลังนี้ยังคงเป็นของตระกูลสิทธิสังข์

เจ้าของ นายประพฤติ สิทธิสังข์

ปีที่สร้าง 2463










ราคาไม่แพงค่ะ




หน้าร้าน




มีที่นั่งด้านนอกด้วย แต่บ่าย ๆ แบบนี้ ร้อนค่ะ เข้าไปนั่งด้านในกันดีกว่า







14.07 น. คนบางตา มีที่นั่งแล้วค่ะ




3 คน 3 แก้ว อเมริกาโน่ โอวัลตินภูเขาไฟ ลาเต้เย็นค่ะ




ภาพบ้านสิทธิสังข์




มีโปสการ์ดขายด้วยค่ะ




14.38 น. ไปแล้วค่ะ





ขอบคุณข้อมูลจาก

//www.tourmuangkan.com/

//www.hunsa.com/





Create Date :06 ตุลาคม 2559 Last Update :6 ตุลาคม 2559 4:46:28 น. Counter : 6079 Pageviews. Comments :51