bloggang.com mainmenu search


ได้เห็นภาพจากหลายสื่อ โฮมสเตย์บ้านทุ่งเพล จันทบุรี ติดริมน้ำ บรรยากาศดีงาม อยู่จันท์แค่นี้เอง ไม่ต้องรอวันหยุดยาวนี่นา 

เลยลองแวะเข้าไปหาข้อมูลจาก 11 ที่พักทุ่งเพล บรรยากาศสุดชิล ติดริมน้ำตกและสวนผลไม้ เว็บ  https://www.chillpainai.com/scoop/8135/

เราตกลงใจเลือกบ้านสวนพฤกษาโฮมสเตย์ แต่จากหน้าเพจบ้านสวนพฤกษาแจ้งว่าเปิดจองถึงเดือนพฤษภาคมแล้ว (ตอนนั้นเดือนมีนาคม) 

... สรุปเราเลยได้ห้องพักวันที่ 3-4 มิถุนายน 2560 พร้อมกับบอกเค้าว่า ถ้ามีใครยกเลิกในเดือนเมษายน, พฤษภาคม ช่วยบอกเราด้วย (ไม่มีค่ะ)

เค้าคิดเป็นหัว คนละ 800 รวมอาหารเช้า-เย็น บ้านเรา 4 คน 800 x 4 = 3,200 บาท โอนเงินค่ามัดจำ 1,000 บาทในวันที่จอง (25 มีนาคม 2560)

ส่วนที่เหลือ 2,200 บาท ไปจ่ายในวันเข้าพัก จ่ายเงินสด ไม่รับบัตรเครดิตค่ะ

รายชื่อกลุ่มโฮมสเตย์บ้านทุ่งเพล Smiley

1.บ้านสวนริมน้ำ โทร. 089-0930144
2.บ้านป่าริมธาร โทร. 081-8545205
3.บ้านสวนพฤกษา โทร. 082-2021094
4.บ้านธาราวิว โทร. 089-0949409
5.บ้านสวนตวงรัก โทร. 088-4833677
6.บ้านต้นน้ำจันทร์ โทร. 088-4844457
7.บ้านธารน้ำใส โทร. 086 1502007
8.บ้านอิงธาร โทร. 086-0033186
9.บ้านริมธารา โทร. 081-868 8163
10.บ้านมุกดา โทร. 082-2919336

*** ข้อมูลจาก กลุ่มโฮมสเตย์บ้านทุ่งเพล - จันทบุรี



9.20 น. วันที่ 3 มิถุนายน 2560



9.44 น. 



10.39 น.



10.53 น.  พอเข้าเส้นนี้ รถเยอะเลยค่ะ



ไปทางเส้น อ.แกลง ค่ะ



11.11 น.









12.17 น. วิวข้างทาง 



ทำไมต้องมีรูประหว่างเดินทาง... 

บอกทางไปไม่ถูกค่ะ เลยพยายามถ่ายจุดสำคัญ ๆ ที่จะพอไกด์ได้ (เอาไว้ดูเองด้วย)



ถ้าไปปากน้ำประแสก็เลี้ยวขวาตรงนี้ (เคยไป เคยอัพบล็อกแล้วค่ะ)



จริง ๆ เราก็ชอบดูวิว ดูถนนหนทาง ระหว่างเดินทางด้วยแหละ



12.34 น.





เดี๋ยวแวะกินข้าวร้านนี้กันค่ะ ร้านอยู่ฝั่งตรงข้าม ต้องยูเทิร์นก่อน



กินเพราะถึงเวลากิน ไม่มีข้อมูลอะไรเลยค่ะ / ดูสะอาดดีนะ



เมนูค่ะ



บ้านเราสั่งอาหารจานเดียวกินกัน อร่อย ใช้ได้ เกาเหลามันไปหน่อย



กินเสร็จแล้ว เดินทางต่อ / นี่ค่ะ ร้านครูแฉล้ม อยู่คนละฝั่ง



13.12 น. 



เราไปหน้าผลไม้ ระหว่างทาง จะได้เห็นการซื้อขายถ่ายเทผลไม้เป็นระยะ ๆ 







13.46 น.



14.01 น.



มาแวะศาลหลักเมืองก่อนค่ะ





ศาลหลักเมืองจันทบุรี

ตั้งอยู่ที่ถนนท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยอยู่ด้านหน้าค่ายตากสิน ศาลหลักเมืองแห่งนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง มีเพียงการสันนิษฐานว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเข้าเมืองจันทบุรี เพื่อใช้เป็นที่รวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหารก่อนยกทัพไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ตามหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงได้เมืองจันทบุรี เมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หากข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นเรื่องจริงแล้ว ก็อาจสรุปได้ว่า ศาลหลักเมืองจันทบุรีคงสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2310 นั่นเอง

ศาลหลักเมืองที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่หลังเดียวกันกับที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 250 ปีที่แล้ว โดยศาลเดิมน่าจะสร้างด้วยศิลาแลงซึ่งยังปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก มีต้นโพธิ์และต้นข่อยขึ้นปกคลุมจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม

สำหรับตัวศาลหลักเมืองในปัจจุบัน แต่เดิมเป็นศาลไม้รูปทรงธรรมดา ตั้งอยู่ระหว่างต้นข่อยใหญ่ 2 ต้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ทางจังหวัดจันทบุรีได้ก่อสร้างศาลฝังเสาหลักเมืองและหล่อองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยแบบจัตุรมุข ก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกา และมีปรางค์ที่ด้านบน นอกจากนั้น บริเวณใกล้ ๆ กันกับศาลหลักเมือง ยังได้สร้างศาลขนาดเล็กที่สวยงามในแบบสถาปัตยกรรมจีนขึ้นอีกด้วย ส่งให้ศาลหลักเมืองดูสง่างามเพิ่มขึ้นไปอีก หากมีโอกาสได้มาเยือนจังหวัดจันทบุรี อย่าลืมแวะมาสักการะสิ่งศักดิสิทธิ์ประจำเมืองจันท์ ณ ศาลหลักเมืองแห่งนี้

การเดินทาง

จากถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาที่สี่แยกไร่ยา เข้าถนนรักศักดิ์ชมูล ประมาณ 6 กิโลเมตร จะพบสี่แยก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนท่าหลวง ประมาณ 600 เมตร ก็จะถึงศาลหลักเมือง

วันและเวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.30 – 20.00 น.




3 มิถุนายน 2560 ไปช่วงกำลังบูรณะศาลหลักเมือง แต่เข้าไปสักการะได้ตามปกติค่ะ







เดินผ่านกองพันทหารราบที่ 1 นี้ไป เราจะไปศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกันต่อค่ะ





ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองจันท์ บ่งบอกถึงความผูกพันของชาวเมืองนี้ที่มีต่อพระเจ้าตาก โดยมีคำกล่าวว่า ถ้าไม่ได้มาสักการะพระเจ้าตาก ก็ถือว่ายังมาไม่ถึงเมืองจันท์

ประวัติ : ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เดิมเป็นศาลไม้อยู่ข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ต่อมาในปี 2463 สมัย ม.จ. สฤษดิเดชชยางกูร เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ได้สร้างศาลขึ้นในบริเวณด้านหน้าค่ายทหารกองพันนาวิกโยธิน คนละฝั่งถนนกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นศาลาคอนกรีตสี่เหลี่ยมจัตุรมุข มีบันไดด้านหน้าและด้านข้างรวม 3 ด้าน กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ภายในเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำพระองค์พระเจ้าตาก

ขณะนั้นยังไม่มีพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประดิษฐานเช่นปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2534 ชาวจันทบุรีได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขึ้นใหม่อีกหลัง เป็นศาลทรงเก้าเหลี่ยมคู่ กับศาลเดิม

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นศาลทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลา เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งหล่อด้วยทองเหลืองรมดำผนังภายในเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ไว้อย่างสวยงาม

ชาวจันทบุรีถือว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทำให้จันทบุรีเป็นที่รู้จัก และเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ในฐานะเป็นฐานที่มั่นของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในระหว่างการรวบรวมพลรวมถึงเสบียงอาหาร และสถาปนาอำนาจขึ้นใหม่ กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2310 ขณะที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ สมเด็จพระเจ้าตากสินหรือพระยาวชิรปราการ (สิน) ในขณะนั้น เล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาต้องแตกพ่ายและตกเป็นของพม่าแน่นอน จึงรวบรวมพลทหารไทย จีน ได้ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าทางทิศตะวันออก โดยต่อสู้กับข้าศึกในระหว่างทางและได้ชัยชนะ สามารถรวบรวมไพร่พลได้มากขึ้น

พระยาวชิรปราการเห็นว่าจันทบุรีมีชัยภูมิที่เหมาะสมในทางยุทธศาสตร์ เป็นหัวเมืองชายทะเลที่ปลอดจากสงคราม ทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพรรณธัญญาหาร รวมทั้งยังเป็นชุมชนชาวจีนแต้จิ๋ว พระยาวชิรปราการมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋วและเคยเป็นพ่อค้ามาก่อน จึงมุ่งหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากชาวจีนเหล่านี้ ดังนั้นจึงใช้เมืองจันท์เป็นที่มั่น และรวบรวมหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกได้ทั้งหมด สามารถต่อเรือรบได้ 100 ลำ มีผู้สวามิภักดิ์มากขึ้นถึง 5,000 คน แล้วกลับไปตีทัพพม่า ขับไล่ออกไปจากอยุธยาได้สำเร็จนับเป็นการกอบกู้เอกราชของชาติกลับคืนมาได้อีกครั้ง











อีกมุม



เดินกลับมาที่ลานจอดรถ ใกล้ศาลหลักเมือง ป้ายบอกว่า จามจุรีต้นนี้อายุ 200 ปี



ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.eculture.rbru.ac.th/index.php

Create Date :15 มกราคม 2561 Last Update :15 มกราคม 2561 17:27:37 น. Counter : 3064 Pageviews. Comments :54