ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
3 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
ขับรถราชการไปชนระหว่างปฏิบัติหน้าที่

ขับรถราชการไปชนระหว่างปฏิบัติหน้าที่


เมื่อวานเพื่อนเราได้ขับรถราชการไปเบิกน้ำมันเพื่อจะใช่ในวันจันทร์ ขากลับได้เกิดอุบัติเหตุชนรถเก๋งได้รับความเสียหาย เขายอมรับว่าผิด วันนี้เข้าไปที่กรมสแจ้งให้ทางผู้ใหญ่ทราบ ได้รับคำตอบในเชิงให้จัดการเอาเอง
มีคำแนะนำไหมคะว่าควรทำอย่างไร. แต่เท่าที่ทราบมา ถ้าเกิดอุบัติเหตุในเวลาทำงานแล้วไม่ได้เกิดจากความประมาทร้ายแรง
ทางกรมจะเป็นผู้รับผิดชอบให้ (เงินเดือนเพื่อน หกพันบาทเท่านั้นจะต้องมาซ่อมรถคู่กรณี และมาซ่อมรถที่เอาไปชนอีก ) ใครเคยทำงานราชการแล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้ช่วยให้คำแนะนำทีค่ะ. หมายเหตคือเค้้าเข้ามาพิมพ์กรทู้แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกและไม่มีบัตรผ่านก็เลยช่วยถามแทนเค้าหน่ะค่ะ

จากคุณ : the_virusgirls
เขียนเมื่อ : 31 พ.ค. 54 05:49:02



ความคิดเห็นที่ 6

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิด ที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้อง หน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง
.
.
.
.

หมายความว่า หากเจ้าหน้าที่ทำละเมิดในขณะปฏิบัติหน้าที่(ดังเช่นกรณีตามกระทู้ ถ้าที่เล่ามาทั้งหมดจริง) หน่วยงานของเขาหรือต้นสังกัดของเขานั้นๆจะต้องรับผิดในความเสียหายนั้นๆครับ

เว้นแต่การทำละเมิดเกิดจาก"ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง" หน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ผู้นั้น อาจ"ไล่เบี้ย"เอากับเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดผู้นั้นภายหลังได้

มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้ เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรง
สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใด ให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี เป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้
ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงาน ของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย


////////////////

ทางปฏิบัติ เมื่อเกิดเหตุละเมิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะต้องชี้แจงไปยังต้นสังกัดแล้ว เขาจะมีคณะกรรมการพิจารณาว่า "เป็นการกระทำขณะปฏิบัติหน้าที่หรือไม่" ในชั้นหนึ่งก่อน ถ้าเป็นการกระทำขณะปฏิบัติหน้าที่ ต้นสังกัดจะมีหนังสือถึงอัยการให้ว่าคดีแทนต้นสังกัดและหากผู้เสียหายฟ้องคดีโดนได้ฟ้องทั้งต้นสังกัดและเจ้าหน้าที่ไปแล้ว ให้อัยการขอให้ศาลสั่ง"จำหน่ายคดี"เจ้าหน้าที่ผู้นั้น ตามมาตรา5


กรณีตามกระทู้ หากข้อเท็จจริงคือ เป็นการกระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่และมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็ควรกระทำตามหลักกฏหมายข้างต้น คือ ให้เพื่อนคุณ จขกท.ชี้แจงสาเหตุไป(ซึ่งเขาต้องให้ชี้แจงอยู่แล้ว) ถ้าข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้น ต้นสังกัดเขาน่าจะทำตามที่ผมกล่าวมา คือ ตั้งกรรมการแล้วชี้ว่า"เป็นการละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่" แล้ว จะดำเนินการต่อไปตามที่ผมกล่าวมาข้างต้นครับ

ถ้ากรณีการละเมิดนั้นๆเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่จริงๆและไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ทำละเมิดไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายนะครับ

เพราะ กฏหมายนี้ เจตนารมย์เพื่อ คุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐให้"กล้าทำงาน" ...คนคือคน มีผิดพลาดได้บ้าง ถ้าไม่ร้ายแรงนัก ก็ควรหาทางแก้ไขและเยียวยา หากจะเอาผิดทั้งหมด เจ้าหน้าที่ของรัฐจะไม่กล้าทำงานเลย ผลสียหายย่อมตกกับประชาชนในท้ายสุดอยู่ดี...


ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 31 พ.ค. 54 09:54:07

//www.pantip.com/cafe/social/topic/U10624221/U10624221.html


Create Date : 03 มิถุนายน 2554
Last Update : 3 มิถุนายน 2554 22:04:23 น. 3 comments
Counter : 2933 Pageviews.

 


โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:10:33:51 น.  

 


โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:12:35:38 น.  

 


โดย: SassymOn วันที่: 30 พฤศจิกายน 2554 เวลา:0:23:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.