ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
6 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
ล้มละลาย/การคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา

เรื่องทรัพย์ค้ำประกันในสัญญาของเจ้าหนี้+เรื่องล้มละลาย

ญาติของผม
1เป็นหนี้นอกระบบ ร้อยละ5บ./เดือน (เงินต้น 7-8หมื่นบาท) โดยลูกหนี้เซ็นเอาบ้าน(ประเมินราคาแล้วประมาณ1.5แสนบาท) ค้ำ ซึ่งเจ้าหนี้ระบุ.."ลูกหนี้ไม่สามารถนำดอกเบี้ยที่ได้ตกลงกันไว้มาชำระได้ ติดต่อกัน 10-11เดือน " จึงฟ้องศาลเพื่อให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ส่งมอบ หลักประกัน(คือบ้าน) ให้
2เคยได้ยินมาว่า หนี้นอกระบบ คิดดอกเบี้ยร้อยละ5บ./เดือน ซึ่งเกินที่กฏหมายกำหนด จะมีอย่างไรต่อหนังสือสัญญาฉบับนี้หรือเปล่า พอจะมีแนวทางแก้ไข อะไรได้ไหมครับ
3 จากข้อที่1 ศาล มีสิทธิ์สั่งให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายได้หรือไม่ /จากที่อ่านข้อกฏหมายตามเว็บดู บุคคลธรรมดาต้องเป็นหนี้1ล้านบาทขึ้นไป ใช่หรือไม่ ศาลจึงจะสั่งให้บุคคลนั้นล้มละลายได้..หรือผมอาจจะเข้าใจผิด รบกวนผู้รู้กฏหมาย ช่วยอธิบายให้ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

จากคุณ : คนจน
เขียนเมื่อ : 6 พ.ค. 53 16:28:42 A:61.7.136.17 X: TicketID:247087


ความคิดเห็นที่ 2

ขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ

กรณีล้มละลาย

หลักการฟ้องคดีล้มละลาย มีหลักในพรบ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ให้ไว้ดังนี้ครับ

มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียว หรือหลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็น นิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ
(3) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึง กำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
มาตรา 10 ภายใต้บังคับ มาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน และ
(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้วจะยอมสละหลักประกันเพื่อ ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับ จำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เป็น จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท

////

จะแยกเป็น 2 กรณี คือ เจ้าหนี้ธรรมดาฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย(ม.9) และ เจ้าหนี้มีประกันฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย(ม.10)

กรณีตามกระทู้ เป็นเรื่องเจ้าหนี้ธรรมดา(ไม่มีหลักประกันของลูกหนี้ จำนอง จำนำไว้) หากเขาจะฟ้องล้มละลาย จึงต้องใช้หลักตาม ม.9 ข้างต้น

คือ

1.ลูกหนี้ที่จะฟ้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว คือ มีหนี้มากกว่าทรัพย์ มีพฤติการณ์หนีหนี้ ยักย้ายถ่ายเททรัพย์ (ดูข้อสันนิษฐานตามม.8 พรบ.ล้มละลาย)

2.ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา(ตามกระทู้)เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียว หรือหลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท

3.หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึง กำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม


///////

จากหลักข้างต้น จำนวนหนี้ตามกระทู้ จึงยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะฟ้องญาติ จขกท.ให้ล้มละลายได้ครับ

ในส่วนที่คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด(กฏหมายให้ร้อยละ 1.25 บาท/เดือน ) กฏหมายกำหนดว่า หากในสัญญาคิดเกินเท่าใดให้ลดลงมาไม่เกินที่กฏหมายกำหนด ตามหลักในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ดังนี้ครับ

มาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้า ในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้า ต่อปี

/////

กล่าวโดยสรุป คือ

1.กรณีตามกระทู้ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะฟ้องล้มละลายได้

2.ในส่วนที่คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฏหมายกำหนด หากมีเรื่องขึ้นโรงขึ้นศาล จะบังคับได้เพียงไม่เกินร้อยละ 15/ปี หรือ 1.25บาท/เดือน และ ศาลฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยเรื่องการคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ถึงขนาดว่า ข้อตกลง เรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะเลยทีเดียวครับ เช่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3375/2549 แจ้งแก้ไขข้อมูล

หนังสือสัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 มีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน แต่ข้อความถัดไปกลับเขียนว่าร้อยละ 1.50 ต่อเดือน ซึ่งขัดแย้งกันเอง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.50 ต่อเดือน นั้นผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง จึงต้องตีความว่าข้อตกลงดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยได้ถึงอัตราร้อยละ 1.50 ต่อเดือน หรือเท่ากับอัตราร้อยละ 18 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 จึงตกเป็นโมฆะ ผลเท่ากับไม่มีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ย แต่ ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด



ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 6 พ.ค. 53 18:53:27


ที่มา- //www.pantip.com/cafe/social/topic/U9218300/U9218300.html


Create Date : 06 พฤษภาคม 2553
Last Update : 6 พฤษภาคม 2553 20:12:47 น. 0 comments
Counter : 1451 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.