ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
5 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
[บัตรเครดิต] มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการชดใช้หนี้กรณีขึ้นศาล และมีหนี้บัตรจากหลายสถาบันการเงิน

[บัตรเครดิต] มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการชดใช้หนี้กรณีขึ้นศาล และมีหนี้บัตรจากหลายสถาบันการเงิน


ถ้าเรามีหนี้บัตรหลายใบ แล้วธนาคารแรก เราได้ขึ้นศาล และศาลได้กำหนดให้ชำระหนี้เป็นจำนวนหนึ่งทุกเดือน แล้วบัตรอื่นจะสามารถมาอ้างให้เราชำระหนี้หรือให้เราไปขึ้นศาลเพื่อชำระหนี้ ในขณะที่เรากำลังชำระหนี้ให้อีกบัตรหนึ่งได้หรือเปล่าคะ เหมือนเคยอ่านเจอว่า เราต้องชำระหนี้ธนาคารแรกที่ศาลตัดสินให้หมดก่อน อีกธนาคารหนึ่งจึงจะมีสิทธิฟ้องศาลให้เราชำระของเค้าได้น่ะค่ะ เวลาอีกบัตรโทรมาเราจะได้อ้างข้อกฏหมายนี้ได้ แล้วถ้าอ้างได้ เราควรจะบอกกับเค้าว่าอย่างไรคะ

จากคุณ : tangmo_ka
เขียนเมื่อ : 31 มี.ค. 54 12:19:40




--------------------------------------------------------------------------------

bookmark เก็บเข้าคลังกระทู้ ส่งต่อกระทู้ พิมพ์ หน้าหลัก กระทู้ก่อนหน้า กระทู้ถัดไป








--------------------------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นที่ 1

กรณีตามกระทู้ ในคดีแพ่ง ลูกหนี้อาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องต่อศาลตามที่มีหนี้ต่อกัน ได้หลายๆคดี ตามแต่มูลหนี้ที่มีต่อกันครับ

เช่น เป็นหนี้บัตรเครดิต ธนาคารเอ ธนาคารบี ธนาคารซี แล้วไม่ชำระ แต่ละธนาคารนั้นๆย่อมมีสิทธิทวงถามและฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับชำระหนี้ได้

แต่ ถ้ามีการยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ เช่น กรณีข้างต้น ทั้ง 3 ธนาคารได้ฟ้องลูกหนี้และศาลพิพากษาให้ธนาคารชนะคดีแล้ว ต่อมา ธนาคารเอ ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้แล้ว ดังนี้ เจ้าหนี้อื่นจะไม่มีสิทธิยึดทรัพย์ชิ้นนั้นๆของลูกหนี้"ซ้ำ"ได้อีก แต่เขามีสิทธิที่จะ"ขอเฉลี่ยหนี้"จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ชิ้นนั้นๆได้ ตามหลักกฏหมายดังนี้ครับ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 290 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก แต่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นว่านี้มีอำนาจยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยใน ทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
...

//////////

สรุปคือ ที่คุณจขกท.ถามมาตามกระทู้ จึงไม่สามารถจะอ้างต่อเจ้าหนี้เพื่อไม่ให้เขาฟ้องคดีตามสิทธิของเขาต่อศาลได้นั่นเองครับ

ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 31 มี.ค. 54 12:55:41
ถูกใจ : tangmo_ka









ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณคุณอุบลแมนมากๆ เลยนะคะ

"เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก"

แต่เราสงสัย งงกับศัพท์กฏหมายเล็กน้อยค่ะ ขออธิบายด้วยภาษาชาวบ้านนะคะ คือ ว่าเป็นไปได้มั้ย ที่เราจะปิดบัญชีเป็นธนาคารๆ ไป เพราะปัจจุบันหลังจากขึ้นศาลกับธนาคาร A ได้พยายามผ่อนชำระธนาคาร A อยู่ทุกๆ เดือนตามคำสั่งศาล แต่มีธนาคาร B ธนาคาร C มาบอกให้ปิดบัญชี ซึ่งตรงนี้ หากปล่อยให้เค้าไปฟ้องเราในชั้นศาล ศาลจะทำอย่างไรกับเราคะ จะให้ผ่อนพร้อมกันให้ทั้ง 3 ธนาคารเลยหรืออย่างไร


***เพิ่มเติมคำที่ตกหล่นค่ะ

แก้ไขเมื่อ 31 มี.ค. 54 13:07:34

จากคุณ : tangmo_ka
เขียนเมื่อ : 31 มี.ค. 54 13:07:04










ความคิดเห็นที่ 3

ตอบคห.2

"หากปล่อยให้เค้าไปฟ้องเราในชั้นศาล ศาลจะทำอย่างไรกับเราคะ จะให้ผ่อนพร้อมกันให้ทั้ง 3 ธนาคารเลยหรืออย่างไร"

เบื้องต้น ต้องเข้าใจก่อนว่า ฝ่ายเจ้าหนี้เขาย่อมมีอำนาจฟ้องลูกหนี้ได้ตามที่เป็นหนี้กันจริง ดังนั้น เมื่อเขาฟ้องต่อศาลแล้ว

ในชั้นศาล
1.ศาลอาจจะไกล่เกลี่ยให้ยอมความกัน-ผ่อนชำระหนี้ แล้วพิพากษาตามที่ยอมกัน หรือ
2. หากตกลงไม่ได้ศาลก็จะพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ฟ้องว่าจริง/ไม่จริงเป็นหนี้เท่าไหร่แล้วก็จะพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงข้อกฏหมายที่ปรากฏ

จึงเป็นไปได้ที่อาจมีลูกหนี้ถูกฟ้องโดยเจ้าหนี้หลายราย และ ศาลก็พิพากษาให้ชำระหนี้เป็นรายคดีไปตามนั้น

เมื่อศาลพิพากษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปครับ

ซึ่งหากลูกหนี้ไม่มีเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา ฝ่ายเจ้าหนี้เขาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์ฝ่ายลูกหนี้

ถ้าลูกหนี้เป็นคนมีทรัพย์สินมาก ก็คงไม่มีปัญหานัก แต่ละธนาคาร(เจ้าหนี้)เขาก็คงบังคับคดีในส่วนของหนี้ตามคำพิพากษาของเขาจนครบไปได้ไม่ยาก

แต่ กรณีลูกหนี้มีทรัพย์สินน้อย เช่น มีทรัพย์เพียงที่ดิน 1 แปลง ดังนี้ กรณีไม่ชำระหนี้ต่อกัน แล้วมีเจ้าหนี้(ธนาคาร)ยึดทรัพย์คือที่ดินนั้นๆ ดังนี้ เจ้าหนี้ในคดีอื่นจะยึดทรัพย์นั้นซ้ำอีกไม่ได้ แต่เขาชอบที่จะขอเฉลี่ยหนี้ตามหลักกฏหมายที่ผมคอมเม้นไว้ในคห.1 นั่นเองครับ

อย่างไรก็ดี คดีแพ่งสามารถตกลงเจรจาต่อรองกันได้เสมอๆ ไม่ว่าในชั้นศาลหรือชั้นบังคับคดีแล้วก็ยังตกลงกันได้ ยังไงๆก็ลองคุยๆกับฝ่ายเจ้าหนี้หาทางออกในการชำระหนี้กัน น่าจะเป็นทางที่ดีที่สุดครับ

ขอร่วมแสดงความเห็นเพิ่มเติมเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 31 มี.ค. 54 13:33:03










ความคิดเห็นที่ 4

ขอบคุณคุณอุบลแมนอีกครั้งค่ะ ^^

จากคุณ : tangmo_ka
เขียนเมื่อ : 31 มี.ค. 54 13:50:40






//www.pantip.com/cafe/social/topic/U10401292/U10401292.html


Create Date : 05 เมษายน 2554
Last Update : 5 เมษายน 2554 11:21:46 น. 2 comments
Counter : 3866 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะแวะมาอ่านเรื่องกฏหมายน่ารู้ค่ะ ขอบคุณเรื่องราวน่ารู้ที่นำมาให้อ่านกันค่ะ หลับฝันดีค่ะ

กลิตเตอร์


โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 6 เมษายน 2554 เวลา:23:57:04 น.  

 
แวะมาทักทายค่ะ.

ขอบคุณสำหรับความรุ้ดีดีนะค่ะ.:]]


โดย: enjoydvd วันที่: 21 พฤษภาคม 2554 เวลา:1:09:46 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.