ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
จำเลยไม่ยอมรื้อถอนตามคำพิพากษา

หัวข้อสนทนา : ศาลพิพากษาให้จำเลย"รื้อถอน"สิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ ถ้าจำเลยไม่ยอมรื้อถอน จะถือว่า "ยังไม่ออกไป" ตาม ปวิพ. ม.296 จัตวา ได้หรือไม่ครับ
กรณีนี้โจทก์ไม่มีเงินที่จะ จึงไม่อาจทดรองค่าใช้จ่ายตามความใน ม. 296 ฉ และ ม. 296 เบญ ได้ จำเลยก็ดื้อไม่ยอมรื้อ(ทั้งที่ตนมีเงินรื้อถอนออกไปได้) แถมยังบอกให้เจ็บใจด้วยว่า อยากให้รื้อก็มารื้อเองสิ ข้าไม่รื้อเอ็งจะทำไม
ที่นี้ผมก็คิดว่า ถ้าเราจะแปล ม. 296 จัตวา ว่า กรณี่ "ยังไม่ออก"ตามคำบังคับของศาล ก็จะแถลง จพค.ให้รายศาลเพื่อขอให้ศาลมีหมายจับ(คำสั่งจับกุมฯ) จำเลย เพื่อให้จำเลยกลัวการถูกขังแล้วก็ยอมรื้อถอนออกไป
เป็นการตีความกฎหมายที่ถูกไม๊ครับ แล้วสามารถบังครับจำเลยได้ไม๊ครับสำหรับ ม.296 จัตวา
อีกอย่างเคยไปปรึกษากับ จพค.แล้ว แต่ จพค.แจ้งว่า ม. 296 จัตวา ใช้เฉพาะกรณีขับไล่เท่านั้น แต่จากที่ผมอ่านดูไม่เห็นเขียนให้ชัดเจนลงไปเช่นที่ จพค.ท่านชี้แจง
เลยอยากจะเรียนถามท่านผุ้รู้ และผู้มีประสบการณ์ด้านนี้ครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับสำหรับคำตอบ
จากคุณ : NERO - [15 ธ.ค.52 22:20]

ความคิดเห็นที่ 3 :
กรณีการรื้อถอน กฏหมายกำหนดให้เจ้าหนี้เป็นผู้ช่วยเหลือ จพบ.และทดรองค่าใช้จ่าย ตามข้อกฏหมายดังนี้ครับ

ปวพ. มาตรา ๒๙๖ เบญจ
ในกรณีที่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ต้องรื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ออกไปจาก ทรัพย์นั้นด้วย เจ้าพนักงานบับคับคดี มีอำนาจ จัดการรื้อถอน สิ่งปลูกสร้างนั้น และ ให้มีอำนาจ ขนย้ายสิ่งของ ออกจากสิ่งปลูกสร้าง ที่มีการรื้อถอนนั้นด้วย ค่าใช้จ่าย ในการรื้อถอน และ ขนย้าย สิ่งของ ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นผู้เสีย
ในการรื้อถอน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ปิดประกาศ กำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณนั้น ไม่น้อยกว่า เจ็ดวัน และ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ใช้ความระมัดระวัง ตามสมควร แก่พฤติการณ์ ในการรื้อถอนนั้น
เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ต้องรับผิด ในการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรานี้ เว้นแต่ จะได้กระทำ โดยมีเจตนาร้าย หรือ ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง
วัสดุก่อสร้าง ที่ถูกรื้อถอน รวมทั้งสิ่งของ ที่ขนย้าย ออกจาก สิ่งปลูกสร้าง ถ้า เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครอง มิได้รับคืนไป เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจ เก็บรักษาไว้ หรือ ขาย แล้วเก็บเงินสุทธิ ไว้แทนตัวทรัพย์นั้น ถ้า เจ้าของ มิได้เรียกเอา ทรัพย์ หรือ เงินนั้น ภายในกำหนด ห้าปี นับแต่ มีประกาศ กำหนดการรื้อถอน ให้ทรัพย์ หรือ เงินดังกล่าว ตกเป็นของแผ่นดิน
ในกรณีที่ สิ่งปลูกสร้างนั้น ถูกยึด ในการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจ ขายทอดตลาด สิ่งปลูกสร้างนั้น แล้วเก็บเงินสุทธิ ที่เหลือจาก หักค่าใช้จ่าย และ ค่าธรรมเนียม ไว้แทน

ปวพ. มาตรา ๒๙๖ ฉ
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีหน้าที่ ช่วย เจ้าพนักงานบังคับคดี ในการดำเนินการ บังคับคดี ดังกล่าว และ ทดรองค่าใช้จ่าย ในการนั้น



หากกรณีข้อเท็จจริงเป็นไปตาม จขกท.ว่ามา คือ กรณีนี้โจทก์ไม่มีเงินที่จะ จึงไม่อาจทดรองค่าใช้จ่ายตามความใน ม. 296 ฉ และ ม. 296 เบญ ได้ จำเลยก็ดื้อไม่ยอมรื้อ(ทั้งที่ตนมีเงินรื้อถอนออกไปได้) แถมยังบอกให้เจ็บใจด้วยว่า อยากให้รื้อก็มารื้อเองสิ ข้าไม่รื้อเอ็งจะทำไม

กรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาน่าจะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยหรือเรียกจำเลยมาไต่สวน ตามข้อกฏหมายดังนี้ครับ

ปวพ. มาตรา ๒๙๗
ภายใต้บังคับ มาตรา ๒๙๖ ทวิ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ชอบที่จะ ยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้อง ต่อศาล ไม่ว่าเวลาใดๆ นับแต่ระยะเวลา ที่กำหนดไว้ เพื่อการปฏิบัติ ตามคำพิพากษา หรือ คำสั่ง ที่ขอให้มีการบังคับ ได้ล่วงพ้นไป จนถึงเวลา ที่การบังคับคดี ได้เสร็จสิ้นลง ขอให้ศาลมีคำสั่ง จับกุมและกักขัง ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งจงใจ ไม่ปฏิบัติตาม หมายบังคับคดี
ห้ามมิให้ ศาลอนุญาต ตามคำขอนั้น เว้นแต่ จะเป็นที่พอใจ จากพยานหลักฐาน ซึ่งผู้ร้อง นำมาสืบ หรือ ที่ศาลเรียกมาสืบว่า
(๑) ลูกหนี้ ตามคำพิพากษา สามารถที่จะ ปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือ คำสั่งนั้นได้ ถ้า ได้กระทำการ โดยสุจริต และ
(๒) ไม่มีวิธีบังคับอื่นใด ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะใช้บังคับได้
...

สรุปคือ ให้จขกท.ยื่นคำร้องต่อศาลให้ออกหมายจับลูกหนี้หรือเรียกลูกหนี้มาไต่สวน ตาม ม.297 นั่นเองครับ

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : พลายงาม - [16 ธ.ค.52 09:24]



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 13:20:58 น. 0 comments
Counter : 4351 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.