ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
7 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
โอนที่ดินให้ลูกเพื่อหนีหนี้

บ้านที่โอนให้ลูก กับหนี้สินบริษัท

ถ้าเราโอนบ้าน ( ไม่มีภาระผูกพันใดๆ )ให้กับลูก แต่บริษัทเกิดมีปัญหาโดยเราเป็นผู้มีอำนาจเพียงผู้เดียว ทางธนาคารเจ้าหนี้สามารถยึดบ้านจากลูกเราได้หรือไม่ หรือมีข้อแม้อื่นใด ( ถามเป็นความรู้ครับ )

จากคุณ : หนึ่ง
เขียนเมื่อ : 28 ธ.ค. 52 13:37:36 A:125.27.241.135 X:

ความคิดเห็นที่ 1

ขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ

ที่คุณ จขกท.ถามมา อาจแบ่งได้ 2 กรณีครับ คือ

1.กรณีโอนให้บุตรผู้เยาว์(อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์)
2.กรณ๊โอนให้บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

มาแยกกรณีข้างต้นดังนี้ครับ

1.กรณีโอนให้บุตรผู้เยาว์(อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์)

กรณีข้างต้น หาก จขกท.เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา(คือศาลตัดสินให้ชำระหนี้แล้ว) เจ้าหนี้ สามารถ ยึดทรัพย์ที่โอนให้ลูกได้ ตามหลักใน ปวิ.พ. ดังนี้ครับ

ปวพ. มาตรา ๒๘๒
ถ้า คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ใด กำหนดให้ ชำระเงิน จำนวนหนึ่ง ภายใต้บังคับ แห่งบทบัญญัติ ห้ามาตรา ต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดี ย่อมมีอำนาจ ที่จะ รวบรวมเงิน ให้พอชำระ ตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง โดยวิธี ยึด หรือ อายัด และ ขาย ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามบทบัญญัติ ในลักษณะนี้ คือ
...เพื่อประโยชน์ แห่งมาตรานี้ ทรัพย์สิน ที่เป็นของ ภรรยา หรือ ที่เป็นของ บุตรผู้เยาว์ ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่ง ตามกฎหมาย อาจถือได้ว่า เป็น ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือ เป็น ทรัพย์สิน ที่อาจบังคับเอา ชำระหนี้ ตามคำพิพากษาได้นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดี อาจยึด หรือ อายัด และ เอาออกขายได้ ตามที่บัญญัติไว้ ข้างบนนี้

2.กรณ๊โอนให้บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

กรณีนี้ แม้ จขกท.จะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ก้อจะยังยึดที่ดินที่โอนให้ลูกไม่ได้ครับ ทางแก้ของเจ้าหนี้คือ ต้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนนั้นเสียก่อนตามหลักใน ปพพ. ดังนี้ครับ

ปพพ. มาตรา ๒๓๗
เจ้าหนี้ ชอบที่จะร้องขอ ให้ศาลเพิกถอนเสียได้ ซึ่ง นิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ ได้กระทำลง ทั้งรู้อยู่ว่า จะเป็นทางให้ เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้า ปรากฏว่า ในขณะที่ทำ นิติกรรมนั้น บุคคล ซึ่ง เป็นผู้ได้ลาภงอก แต่การนั้น มิได้รู้เท่าถึง ข้อความจริง อันเป็นทางให้เจ้าหนี้ ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณี เป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่า เพียงแต่ลูกหนี้ เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว เท่านั้น ก็พอแล้ว ที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติ ดังกล่าวมา ในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่ นิติกรรมใด อันมิได้มีวัตถุ เป็นสิทธิใน ทรัพย์สิน
...

จากหลักข้างต้น หากเป็นการโอนให้ลูกที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เจ้าหนี้จะต้องขอให้เพิกถอนการโอนให้นั้นก่อน จึงจะมีสิทธิยึดที่ดินนั้นๆได้ครับ

ปล. ยังไงๆก้อ ระวังความผิดทางอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ด้วยอีกนะครับ

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 28 ธ.ค. 52 14:12:56



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 13:04:23 น. 0 comments
Counter : 9995 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.