ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
22 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
@^-^@ เดี๋ยวนี้มีการ "ซื้อหนี้" กันด้วยเหรอครับ

@^-^@ เดี๋ยวนี้มีการ "ซื้อหนี้" กันด้วยเหรอครับ

ไม่รู้ว่ามาตั้งผิดห้องหรือเปล่า

เรื่องของเรื่องคือ ผมไปกู้เงินจาก EASY BUY มาเมื่อกลางปี 47 และต่อมา ช่วงกลางปี ย้ายไปทำงานที่โคราช และก็ได้ ส่งใบตอบกลับที่มีมาด้านหลังของใบแจ้งหนี้ ไปว่า ให้ส่งใบแจ้งหนี้ไปยังที่อยู่ที่โคราช แต่ก็ไม่มีใบแจ้งหนี้ส่งไปให้ และได้ไปที่ เคาว์เตอร์ EASY BUY ที่เดอะมอลล์โคราช ให้เค้าช่วยเดินเรืื่องให้
แต่ผมก็เอาใบเก่าไปจ่าย แต่...ไม่มีใบแจ้งหนี้ส่งไปให้

ผมก็เลยไม่จ่าย...เพราะ เอาใบแจ้งหนี้เก่าไปจ่าย แต่ก็ไม่รู้ว่า จำนวนเงินลดเหลือเท่าไหร่ อะไรยังไง

ต่อมา อีก 6 เดือน ก็มีใบแจ้งไปที่บ้านผมว่า ยกเลิกสัญญา ให้คือเงินต้นและดอก รวมทั้งค่าอะไรต่าง ๆ มากมาย รวมเป็นเงิน 34,000 บาท

แล้ว ก็มี บ.ทวงหนี้ ชื่ออะไรมั่งก็ไม่รู้ โทรมาทวง โทรมาข่มขู่ และเมื่อกลางปี ประมาณ กลางปี 50 ผมลาออกจากที่ทำงานเก่า มาทำงานที่ใหม่ ก็ได้เงินค่าอะไรต่าง ๆ ที่เค้าหักสะสมไป ก็ว่าจะเอาไปจ่าย ก็ติดต่อไปที่ EASY BUY ที่เดอะมอลล์บางกะปิ

เค้าก็ขอชื่อ เบอร์โทรผมไป แล้วก็หายเงียบไปเลย.....

จากนั้นก็จะมี สำนักงานกฎหมายอะไรก็ไม่รู้ โทรมาบอกว่า เค้า "ซื้อหนี้" จาก EASY BUY มาแล้ว.....ให้ผมจ่ายให้เค้า และ...เค้ามี "โปรโมชั่น" ถ้าจ่ายวันนี้ เค้าจะลดให้เหลือ "สามหมื่นสองพัน" เท่าไหร่ไม่รู้ (ลดเยอะมาก พันกว่าบาทแน่ะ)

มีหลายครั้งที่เค้าโทรมา บอกว่า ให้จ่ายถายในวันนี้ได้ใหม ถ้าไม่งั้นจะส่งฟ้อง ผมก็เลยบอกไปว่า "เออ...ฟ้องไปเลย"

ล่าสุดเมื่อเช้า โทรมาอีก ผมก็ถามไปว่า "ยังไม่ฟ้องอีกเหรอ" เค้าก็ตอบกลับมาว่า จะให้ฟ้องทำไมคะ" ก็ตอบกลับไปว่า "ไหนเห้นว่า สำนักงานอะไรที่ไหนจะฟ้องอ่ะ รอรับหมายศาลอยู่เนี่ย" เค้าก็บอกว่า ไม่ฟ้องหรอก เพราะเรา"ซื้อหนี้" มาแล้ว..." ผมก็เลยบอกไปว่า "จะไม่ใช้หนี้ให้ใคาทั้งนั้น นอกจาก พนักงานจาก EASY BUY จะติดต่อกลับมา และต้องเป็น พนักงาน
จาก EASY BUY เท่านั้น" แล้วผมก็วางหูไป....



เดี๋ยวนี้เค้าซื้อขายหนี้กันแล้วเหรอ.......

จากคุณ : นายเบนซ์
เขียนเมื่อ : 22 มิ.ย. 53 10:31:24

ความคิดเห็นที่ 6

ขอร่วมแสดงความเห็นดังนี้ครับ

การโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้อง กรณียังไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล สามารถกระทำได้ ตามหลักในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ดังนี้ครับ

มาตรา 303 สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าจะพึงโอนกันได้ เว้นไว้แต่ สภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้
ความที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ใช้บังคับ หากคู่กรณีได้แสดงเจตนาเป็น อย่างอื่นการแสดงเจตนาเช่นว่านี้ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต

มาตรา 306 การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดย เฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการ โอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วย ในการโอนนั้น คำบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทำ เป็นหนังสือ
ถ้าลูกหนี้ทำให้พอแก่ใจผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือด้วยประการอื่น เสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าว หรือก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ ลูกหนี้นั้น ก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้

/////

จากหลักกฏหมายข้างต้น การโอนหนี้ เช่น เจ้าหนี้รายนี้ จะโอนหนี้ไปให้เจ้าหนี้อีกราย เป็นเจ้าหนี้แทน(เว้นแต่หนี้นั้นโดยสภาพโอนไม่ได้ หรือ คู่กรณีตกลงกันไว้ว่าห้ามโอน ตามม.303)สามารถกระทำได้ ทั้งนี้หากเป็น"หนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดย เฉพาะเจาะจง" คือมีตัวเจ้าหนี้ระบุแน่นอนว่าเป็นใคร จะต้องปฎิบัติตาม ม.306ข้างต้น คือ

ทำเป็นหนังสือ และ บอกกล่าวการโอนนั้นไปให้ลูกหนี้ทราบ หรือ กรณีไม่มีการบอกกล่าวแต่ลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมในการโอนนั้นๆเป็นหนังสือ การโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้นๆก็ถือว่าสมบูรณ์ ใช้บังคับได้ระหว่างผู้ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องหรือหนี้นั้นๆ ไปบังคับชำระหนี้กับลูกหนี้ต่อไป

กรณีตามกระทู้ หากยังไม่มีการฟ้องคดี เจ้าหนี้เขาจึงอาจโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ ตามหลักกฏหมายข้างต้นครับ

//////

ส่วนกรณีมีการฟ้องคดีและศาลพิพากษาแล้ว การโอนหนี้โดยใช้หลักข้างต้น น่าจะกระทำไม่ได้ เพราะจะไปขัดกับหลักในประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนี้ครับ
มาตรา 271 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมด หรือบางส่วนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตาม คำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
^
^

จากหลักข้างต้น ผู้จะมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง คือ "คู่ความ" ดังนั้น การจะโอนหนี้ตามคำพิพากษาโดยใช้หลักกฏหมายข้างต้น จึงทำไม่ได้ครับ

อย่างไรก็ตาม ได้เกิดภาวะฟองสบู่แตกในประเทศไทย ทำให้มีสถาบันการเงินล้มละลายเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารหนี้เสีย ที่ สถาบันการเงินที่ล้มละลายนั้นๆเป็นเจ้าหนี้บุคคลภายนอกอยู่ จึงได้มีกฏหมายออกมาให้ สามารถโอนหนี้ตามคำพิพากษาได้ แต่กฏหมายก็ให้โอนได้เฉพาะสถาบันการเงินที่มีปัญหาเท่านั้น ดังนี้ครับ

"พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541"
มาตรา 7 ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้อง เป็นคดีอยู่ในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าวและอาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสาร ที่ได้ยื่นไว้แล้ว ถามค้านพยานที่สืบมาแล้วและคัดค้านพยานหลักฐานที่ได้สืบไปแล้วได้ และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น

///////



กล่าวโดยสรุป การโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องสามารถกระทำได้ หากปฎิบัติตามหลักในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ข้างต้น

แต่หากเป็นกรณี หนี้ตามคำพิพากษา จะต้อง ใช้วิธีการและหลักการตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541

ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 22 มิ.ย. 53 13:24:51





Create Date : 22 มิถุนายน 2553
Last Update : 22 มิถุนายน 2553 14:32:16 น. 0 comments
Counter : 8270 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.