ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
6 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
ระหว่างล้มละลาย ยังสามารถประกอบอาชีพได้หรือไม่อย่างไร

ช่วยด้วยค่ะ ปัญหาล้มละลาย

มีเพื่อนกำลังจะโดนฟ้องล้มละลายค่ะ เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่ยุค40 ฟองสบู่แตก อยากทราบผลกระทบค่ะว่าถ้าเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเค้าจะทำมาหากินได้มั้ย

จากคุณ : ป้ามีมี่
เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 53 13:00:01

ความคิดเห็นที่ 2

การตกเป็นบุคคลล้มละลาย จะยังสามารถทำมาหากินเลี้ยงชีพได้อยู่ (เว้นแต่รับราชการหรือวิชาชีพบางประเภท เช่น ทนายจะถือว่า ขาดคุณสมบัติ)

แต่ผู้ล้มละลายจะต้องถูกอายัดเงินที่ทำมาหากินนั้นๆในระหว่างล้มละลาย หรือ ผู้ล้มละลายจำต้องส่งเงินรายได้นั้นๆ ไปให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อกำหนดค่าเลี้ยงชีพประจำเดือนให้

เช่น ผู้ล้มละลายทำงานบริษัท มีเงินเดือนสองหมื่นบาท เขาจะต้องถูกอายัดหรือเขาต้องส่งเงินนั้นๆ ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อ กำหนดค่าเลี้ยงชีพให้เขา ซึ่งทางปฏิบัติ จะกำหนดค่าเลี้ยงชีพ ร้อยละเจ็ดสิบของรายได้/เดือน อายัดมาสองหมื่นบาท/เดือน ก็จะให้ผู้ล้มละลายไปใช้เลี้ยงชีพ ประมาณ ๑๔,๐๐๐ข บาท/เดือน นั่นเองครับ

ตามหลักใน พรบ.ล้มละลายดังนี้ครับ

มาตรา ๖๗ เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้หรือพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย แล้ว และยังไม่ได้สั่งปลดจากล้มละลาย
(๑) ลูกหนี้จะต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินเพื่อใช้จ่าย เลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูป โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็น ผู้อนุญาตให้ลูกหนี้จ่ายจากเงินที่ลูกหนี้ได้มาในระหว่างล้มละลายและลูกหนี้จะต้องส่งเงินหรือ

ทรัพย์สินที่เหลือนั้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนด พร้อมด้วยบัญชีรับจ่าย
(๒) ทุกครั้งที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินอย่างใด ลูกหนี้จะต้องรายงานเป็น หนังสือให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ โดยแสดงรายละเอียดเท่าที่สามารถจะทำได้ภายในเวลา อันสมควร และไม่ว่าในกรณีใด ลูกหนี้จะต้องแสดงบัญชีรับจ่ายเสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทุกระยะหกเดือน
(๓) ลูกหนี้จะออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่ศาลหรือเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จะอนุญาตเป็นหนังสือ และถ้าจะย้ายที่อยู่ ต้องแจ้งตำบลที่อยู่ใหม่เป็นหนังสือให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในเวลาอันสมควร

/////////

ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 53 13:12:38
ถูกใจ : ป้ามีมี่

ความคิดเห็นที่ 3

สงสัยต่อค่ะ กม.ที่เมืองนอกเค้ายึดทรัพย์ที่เอาไปค้ำประกันหมดแล้ว(หรือเรียกอีกทีว่าหมดตัวแล้ว) เรื่องก็จบ ทางกม.ไทยนี่ตามมาเอารายได้ในอนาคตได้อีก อ่านแล้วสลดค่ะ จะไปเมืองนอกต้องรายงานตัว ยังกับคดีอาญา

จากคุณ : ป้ามีมี่
เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 53 13:51:32




ความคิดเห็นที่ 4

ตอบคุณป้ามีมี่คห.๓ นั่นสิครับ กฏหมายล้มละลายบ้านเรา ทำให้ฝรั่ง"งง"ครับ

บ้านเขา(พวกฝรั่งหรือประเทศที่เจริญ) การจะล้มละลาย ผู้ที่จะล้มละลายจะต้องเป็น"ผู้ประกอบธุรกิจ"หรือ"พ่อค้า"เท่านั้น(โดยกฏหมายจะบัญญัติลักษณะเฉพาะไว้) แต่บ้านเรา สามารถล้มละลายได้หมดทุกคน ชาวนาตาดำๆ ล้มละลายกันมากมายในประเทศนี้ครับ ทั้งๆที่ กฏหมายจำกัดสิทธิอะไรเหล่านั้นไม่ได้จำเป็นอะไรที่จะไปจำกัดสิทธิเขาซักหน่อย ซึ่งตรงนี้คงเป็นเรื่องในอนาคตที่กฏหมายเราต้องแก้ไขกันต่อไปครับ

ในส่วนการตามเอารายได้ในอนาคตนั้น ไม่ใช่ว่าตามเอาได้ตลอดไปครับ ถ้าหากครบกำหนด ๓ ปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย ตามกฏหมายล้มละลายของไทยจะ"ปลดล้มละลาย"ให้ผู้ล้มละลาย นั่นคือ เขาจะหลุดพ้นจากหนี้สินและเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ต่อไป ตามหลักใน พรบ.ล้มละลายดังนี้ครับ

มาตรา 81/1 ภายใต้บังคับมาตรา 81/2 บุคคลธรรมดาซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วให้ปลดบุคคลนั้นจากล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เว้นแต่

(1) บุคคลนั้นได้เคยถูกพิพากษาให้ล้มละลายมาก่อนแล้ว และยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายครั้งก่อนจนถึงวันที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ครั้งหลังให้ขยายระยะเวลาเป็นห้าปี

(2) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตที่ไม่มีลักษณะตาม (3) ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษและบุคคลนั้นถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี ศาลจะสั่งปลดจากล้มละลายก่อนครบกำหนดสิบปีตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือของบุคคลล้มละลายนั้นก็ได้

(3) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี

ในกรณีที่มีเหตุตาม (1) (2) หรือ (3) มากกว่าหนึ่งเหตุให้ขยายระยะเวลาโดยอาศัยเหตุใดเหตุหนึ่งที่มีระยะเวลาสูงสุดเพียงเหตุเดียว

ให้นำบทบัญญัติมาตรา 76 มาตรา 77 และมาตรา 78 มาใช้บังคับกับการปลดจากล้มละลายตามมาตรานี้โดยอนุโลม

///////

ขอร่วมแสดงความเห็นเพิ่มเติมเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 53 14:14:55
ถูกใจ : ป้ามีมี่




Create Date : 06 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2553 18:11:51 น. 3 comments
Counter : 28198 Pageviews.

 
แอบเข้ามาศึกษาดูค่ะ ขอบพระคุณสำหรับความรู้นะคะ


โดย: spiyaart วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:19:18:55 น.  

 
เข้ามาหาความรู้เรื่องกฏหมายค่ะ ขอบพระคุณสำหรับข้อแนะนำนะคะ คำถามค่ะ

ขอถามต่อนิดนะคะ

กรณีที่ศาลสั่งให้ล้มละลายแล้ว สามารถเจรจาประนอมหนี้ได้ไหมคะ



โดย: วลีลักษณา วันที่: 3 ธันวาคม 2553 เวลา:20:26:39 น.  

 
ตอบคุณวลีลักษณาครับ

แม้ศาลจะพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว

ฝ่ายลูกหนี้ก็สามารถขอ"ประนอมหนี้หลังล้มละลาย"ได้ครับ

ตามหลักในพรบ.ล้มละลายดังนี้ครับ

มาตรา 63 เมื่อศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วลูกหนี้จะเสนอคำขอประนอมหนี้ก็ได้ ในกรณีนี้ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 6 ว่าด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าลูกหนี้ได้เคยขอประนอมหนี้ไม่เป็นผลมาแล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ภายในกำหนดเวลาสามเดือน นับแต่วันที่การขอประนอมหนี้ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล

ถ้าศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ศาลมีอำนาจสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย และจะสั่งให้ลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้

/////////

ทั้งนี้ต้องยื่นคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ - เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติพิเศษ - ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษเห็นชอบคำขอประนอมหนี้ - เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นำมตินั้นเสนอศาลเพื่อไต่สวน - ศาลเห็นชอบ - ลูกหนี้พ้นภาวะล้มละลายกลับมามีอำนาจจัดการทรัพย์สินได้เช่นเดิม

ทั้งนี้ ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ตามที่ขอประนอมหนี้เขาไว้ เช่น ผ่อนเดือนละ ๑ หมื่น ก็ต้องผ่อนตามนั้น หากไม่ชำระตามคำขอประนอมหนี้ ก็จะถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้ยกเลิกการประนอมหนี้นั้น แล้ว กลับมาล้มละลายอีกต่อไปครับ


โดย: อุบลแมน วันที่: 10 ธันวาคม 2553 เวลา:21:18:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.