WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

ร้อยแปด อาการวิงเวียน

//www.healthcorners.com/2007/article/large/large_1268955522.jpg
หากใครมีอาการตื่นเช้ามาด้วยอาการเวียนศีรษะรุนแรง รู้สึกเหมือนบ้านหมุน
กินยาแล้วไม่หายนับวันจะมีอาการบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
กังวลว่าจะเป็นโรคยอดฮิตที่หลายคนเรียกว่า "บ้านหมุน" หรือ
"น้ำในหูไม่เท่ากัน" ควรรีบไปปรึกษาแพทย์...



สารพัดอาการเวียน



ถ้าจู่ๆ หน้ามืด มึนศีรษะ อาจเกิดจาก "โรคโลหิตจาง"
ที่ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ แต่ถ้ามีอาการขณะลุกนั่งหรือลุกยืน
แสดงว่าเป็น "โรคความดันต่ำ"



เมื่อไรที่คุณมีอาการเวียนศีรษะต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ ตาพร่ามัว
เห็นภาพซ้อน พูดลำบาก พูดไม่ชัด แขนขาชา หรืออ่อนแรง
เป็นอาการเตือนของโรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือเนื้องอกในสมอง
ควรรีบพบแพทย์ด่วน



เมาได้ก็ถอนได้



อาการเมารถมักมาพร้อมกับอาการเวียนศีรษะเสมอ วิธีแก้ง่ายๆ คือ
นั่งที่นั่งด้านข้างคนขับ พยายามมองตรง
และเมื่อรถเลี้ยวทางไหนให้มองตามทางนั้น
เพื่อให้สายตาปรับภาพได้ทันกับระบบทรงตัว แล้วจะไม่เมา



ประเภทอาการเวียน



ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.สุจิตรา ประสานสุข อธิบายว่า
อาการเวียนศีรษะเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยจำแนกระดับรุนแรงของอาการ
และระยะเวลาที่เป็นได้ 2 แบบ คือ



เวียนศีรษะเฉียบพลัน - เสียการทรงตัว
เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับหูชั้นใน อาทิ



โรคบ้านหมุน เกิดจากระบบประสาททรงตัวส่วนปลายบริเวณหูชั้นในเสียสมดุล
ส่งผลให้สูญเสียการทรงตัว เดินแล้วเซหรือล้ม อาจมีอาการคลื่นไส้
อาเจียนร่วมด้วย เกิดขึ้นชั่วคราว ไม่เกิน 2-3 วัน



โรคหินปูนหลุด
เนื่องจากตะกอนที่เกาะผนังในช่องหูหลุดไปสัมผัสกับส่วนปลายประสาทที่เกี่ยว
กับอวัยวะการทรงตัว จึงทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะทุกครั้งที่ทำท่าใดท่าหนึ่ง
เช่น นอนตะแคงซ้ายหรือขวา เป็นไม่เกิน 1 นาที



โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน มีอาการหูอื้อ ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง
เวียนศีรษะนานกว่า 20 นาที



โรคหูอักเสบ หรือหูน้ำหนวก จากการติดเชื้อไวรัสในช่องหู



เวียนศีรษะแบบไม่เสียการทรงตัว ส่วนใหญ่มักมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
เป็นๆ หายๆ หรืออาจเป็นติดกันคราวละหลายวันและเป็นเรื้อรัง
ให้ระวังว่าคุณมีสิทธิ์ที่จะเป็นบางโรคในกลุ่มต่อไปนี้
ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เช่น



โรคเส้นเลือดในสมองตีบ นำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
ส่วนมากพบในผู้สูงอายุ มีเนื้องอกในหูหรือสมอง



ตรวจแยกโรคให้มั่นใจ



คุณหมอจะซักถามลักษณะอาการและระยะเวลาที่เป็นแล้ว
หลังจากนั้นให้ทดสอบประสาทการทรงตัวเพิ่มเติม
เพื่อหาสาเหตุของโรคด้วยเครื่อง Posturography



เมื่อขึ้นไปยืนบนเครื่อง
เจ้าหน้าที่จะติดสายรัดตัวเพื่อป้องกันการลื่นล้มระหว่างทดสอบการทรงตัว
คนไข้ต้องสวมแว่นตาพิเศษที่ทำให้เห็นภาพสี่เหลี่ยมหมุนไปมา
ระหว่างนั้นพื้นเครื่องจะสั่นตามความเคลื่อนไหวของคนไข้
คุณหมอจะทำการทดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง
แล้ววัดผลการทรงตัวจากค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ต่อจากนั้นเป็นการตรวจตา
และการเคลื่อนไหวผิดปกติของลูกตา
โดยคนไข้ต้องเอนตัวเข้าหาจุดโฟกัสสายตาที่อยู่ในแว่น
ซึ่งจะเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ
เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างสายตากับการทรงตัว



รับมือกับอาการ



การรักษาโรควิงเวียนเป็นไปตามสาเหตุ
ส่วนมากคุณหมอมักให้กินยาควบคู่ไปกับการนัดมาติดตามผล
ยกเว้นโรคหินปูนหลุดที่สามารถหายได้เอง คุณหมอบอกว่า
แม้อาการเวียนศีรษะจะเกิดได้บ่อย และหาวิธีป้องกันยาก แต่การดูแลสุขภาพ
งดเครียด งดกินเค็ม พักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยให้เป็นน้อยลง หรืออาจไม่เป็นเลย





 

Create Date : 26 มิถุนายน 2553    
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 14:46:57 น.
Counter : 439 Pageviews.  

อาการซึมเศร้า...รักษาได้

//www.healthcorners.com/2007/article/large/large_1269052052.jpg
 ปัญหาโรคซึมเศร้า
เป็นปัญหาที่ตัวผู้ป่วยเองไม่ได้ต้องการให้เกิดขึ้น
แต่ด้วยเหตุปัจจัยบางประการ หรือหลายประการที่มีความสำคัญต่อตัวผู้ป่วย
อาจเป็นบ่อเกิดของปัญหาอาการซึมเศร้าได้



การวินิจฉัยอาการซึมเศร้าของแพทย์ เริ่มต้นจากการพูดคุย
การซักถามประวัติถึงอาการทางจิตเวชอื่นที่เคยเกิดขึ้น โรคทางร่างกายหลายโรค
และยาบางชนิด อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้าได้
การวินิจฉัยจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ที่สำคัญแพทย์ที่ทำการตรวจต้องอาศัยทักษะในการวินิจฉัยอยู่พอสมควร
ส่วนขั้นตอนในการวินิจฉัยโดยทั่วไป เริ่ม ต้นจาก



การถามอาการหรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
โดยเริ่มตั้งแต่เริ่มมีอาการครั้งแรกไล่มาตามลำดับจนปัจจุบัน
ยิ่งผู้ป่วยเล่าอาการต่าง ๆ ที่มีได้อย่างละเอียด
เล่าปัญหาที่เกิดขึ้นได้มากเท่าไร
แพทย์ก็จะยิ่งเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้นเท่านั้น
การซักถามในขั้นตอนนี้นอกจากเพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้หรือไม่
แล้ว ยังเพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการเหล่านี้หรือไม่
ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีโรคทางร่างกายอื่น ๆ
ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการต่าง ๆ
ที่พบแพทย์อาจซักประวัติเพิ่มเติมจากญาติหรือผู้ใกล้ชิด
เพื่อที่จะได้ทราบเรื่องราวหรืออาการต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น
เพราะคนรอบข้างอาจสังเกตเห็นอะไรได้ชัดเจนกว่าตัวผู้ที่มีอาการเอง



ด้านการรักษา หากได้รับการรักษาผู้ที่เป็นจะอาการดีขึ้นมาก อาการซึมเศร้า
ร้องไห้บ่อย ๆ หรือรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ
จะกลับมาดีขึ้นจนผู้ที่เป็นบางคนบอกว่าไม่เข้าใจว่าตอนนั้นทำไมจึงรู้สึก
เศร้าไปได้ถึงขนาดนั้น
ยิ่งหากมารับการรักษาเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะอาการดีขึ้นเร็วเท่านั้น
การรักษาที่สำคัญ คือการรักษาด้วยยาแก้เศร้า โดยเฉพาะในรายที่มีอาการมาก
ส่วนในรายที่มีอาการไม่มาก
แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองใหม่
แนวทางในการปรับตัวหรือการหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง
ร่วมกับการให้ยาแก้เศร้าหรือยาคลายกังวลเสริมในช่วงที่เห็นว่าจำเป็น



วิธีการรักษา ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักคือ



1. การรักษาด้วยยา การใช้ยาแก้เศร้า
เพื่อไปปรับสมดุลสารเคมีในสมองเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
ยาแก้เศร้าช่วยบรรเทาอาการเศร้า เมื่อทานยาจนรู้สึกดีขึ้นแล้ว
ควรทานยาต่อไปอีก 6-12 เดือน เพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำ
และแม้จะรู้สึกสบายดีก็ยังต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะกลับมาป่วยซ้ำหรืออาจมี
อาการกำเริบซ้ำได้



2. การรักษาทางจิตใจ มีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ
ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นการพูดคุยกับจิตแพทย์
อันจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง สาเหตุที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์
ซึมเศร้า เข้าใจปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมในที่สุด




วิธีการที่พบว่าสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี มีดังนี้
การรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม
เชื่อว่าอาการของผู้ป่วยมีสาเหตุจากการมีแนวคิดที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง
เพราะบ่อยครั้งที่ทุกข์เพราะความคิดของตัวเอง เช่น มองตนเองในแง่ลบ
มองสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ
การรักษาจึงมุ่งแก้ไขแนวคิดของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น
การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การรักษามุ่งให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อื่นให้ดีขึ้น
การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจตนเองจนนำมาสู่โรคซึม
เศร้า





ข้อแนะนำที่ช่วยในการส่งเสริมการรักษาอาการซึมเศร้า มีดังต่อไปนี้


1. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยทางร่างกายแล้ว
จิตใจก็ยังจะดีขึ้นด้วย
ถ้าได้ออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่นด้วยก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการเข้าสังคม
ไม่ทำให้รู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว



2. อย่าคาดหวังหรือตั้งเป้าหมายยากเกินไป
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เรายังต้องการการพักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ
การกระตุ้นตนเองมากไปกลับยิ่งจะทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ที่ทำไม่ได้อย่างที่
หวัง



3.เลือกกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกดี ๆ มักจะเป็นสิ่งที่เราเคยชอบ



4. พยายามทำกิจกรรมที่ทำร่วมกับคนอื่น มากกว่าที่จะอยู่คนเดียว
หลักการเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกอย่างหนึ่งก็คือ
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป แต่จะขึ้น ๆ ลง ๆ ในแต่ละช่วง
คนที่มีความโศกเศร้ามักจะรู้สึกหมดหวัง
คิดว่าความรู้สึกนี้จะคงอยู่กับตนเองตลอดเวลา
ในความเป็นจริงแล้วจะมีอยู่บางช่วงที่อารมณ์เศร้านี้เบาบางลง
ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ให้เราเริ่มกิจกรรมที่สร้างสรรค์
เพื่อให้มีความรู้สึกที่ดีขึ้น



5. อย่าตัดสินเรื่องที่สำคัญต่อชีวิต เช่น การหย่า การลาออกจากงาน ณ
ขณะที่เรากำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้านี้ การมองสิ่งต่าง ๆ
ในแง่ลบอาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาดไปได้ ควรเลื่อนการตัดสินใจไปก่อน
หากจำเป็นหรือเห็นว่าปัญหานั้น ๆ เป็นสิ่งที่กดดันเราทำให้อะไร ๆ แย่ลงจริง
ๆ ก็ควรปรึกษาผู้ใกล้ชิดหลาย ๆ คนให้ช่วยคิด



6. การแก้ปัญหาให้แยกแยะปัญหาให้เป็นส่วนย่อย ๆ
การมองปัญหาโดยไม่แยกแยะจะทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ ไม่รู้จะทำอย่างไร
การจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาว่า เรื่องไหนควรทำก่อนหลัง
แล้วลงมือทำไปตามลำดับโดยทิ้งปัญหาย่อยอื่น ๆ ไว้ก่อน
วิธีนี้จะพอช่วยให้รู้สึกว่าตนเองยังทำอะไรได้อยู่



ข้อแนะนำในการดูแลสำหรับญาติ มีดังนี้



1. รับฟังด้วยความเข้าใจ ใส่ใจอารมณ์ของผู้ป่วยที่มีความอ่อนไหวมาก
และหลายครั้งเข้าใจยาก การรับฟังอย่างเข้าใจ โดยไม่ตัดสิน
จะช่วยให้ความรู้สึกของผู้ป่วยดีขึ้นที่มีคนพร้อมจะเข้าใจตัวเขาอย่างแท้
จริง



2. ชวนคุยบ้างด้วยท่าทีที่สบาย ๆ พร้อมที่จะช่วยเหลือ โดยไม่กดดัน
ไม่คาดหวัง ไม่คะยั้นคะยอว่าต้องพูดคุยโต้ตอบได้มาก
เพราะท่าทีที่คาดหวังมากจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ที่ทำให้ญาติผิดหวัง



3. เปิดโอกาสให้ได้ระบายความคิดความรู้สึก ที่ไม่ดี ที่รู้สึกแย่ ต่าง ๆ
ออกมา โดยเฉพาะความคิดอยากฆ่าตัวตาย
การที่ผู้ป่วยได้พูดได้ระบายออกมาจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในใจลงได้
อย่างมาก



โรคนี้ไม่ได้อาการดีขึ้นทันทีที่กินยา การรักษาต้องใช้เวลาบ้าง
ส่วนใหญ่จะเป็นสัปดาห์ อาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด
จึงไม่ควรคาดหวังจากผู้ป่วยมากเกินไป การรักษาด้วยยามีความสำคัญ
ควรช่วยดูแลเรื่องการกินยา โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ผู้ป่วยยังซึมเศร้ามาก
หรืออาจมีความคิดอยากตาย การตัดสินใจในช่วงนี้จะยังไม่ดี
ควรให้ผู้ป่วยเลี่ยงการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ
ไปก่อนจนกว่าจะเห็นว่าอาการเขาดีขึ้นมากแล้ว



เมื่อได้รู้จักโรคซึมเศร้ากันแล้ว
จะเห็นว่าโรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นแค่อารมณ์ซึมเศร้าเท่านั้น
แต่หากเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว
และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่บำบัดรักษา อาจนำมาสู่ปัญหาการทำงานและการดำเนินชีวิต
และบางรายอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้
ดังนั้นหากพบหรือสงสัยว่าตนเองและคนใกล้ชิดของคุณป่วยด้วยโรคซึมเศร้า
อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรพามาปรึกษาแพทย์
เพราะหากได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง ด้วยวิธีที่เหมาะสม
คุณและคนใกล้ตัวก็สามารถจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขต่อไป.



รศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล

พญ.ทานตะวัน สุรเดชาสกุล

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล




 

Create Date : 26 มิถุนายน 2553    
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 14:43:37 น.
Counter : 364 Pageviews.  

สูตรอาหาร : แซลมอนน้ำมันมะกอก

//www.hilunch.com/wp-content/uploads/2010/05/salmon_small.jpg

ปลาแซลมอน เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
เนื่องจากรสนิยมการทานอาหารญี่ปุ่นมาแรงอย่างมาก
ที่สำคัญเนื้อของปลาแซลมอนนั่นช่างอร่อยยั่วยวนเสียเหลือเกิน
แซลมอนน้ำมันมะกอก
เป็นอีกเมนูอาหารหนึ่งที่อยาำกนำมาบอกต่อให้ได้ลองไปทำกันดู
โดยเฉพาะสำหรับคุณแม่ที่กำลังมีลูก
แซลมอนนั้นมีส่วนช่วยบำรุงคุณแม่ได้อย่างมากมาย
ใครทำแล้วได้ผลเป็นอย่างไรมาบอกเล่ากันบ้างนะ







 

Create Date : 24 มิถุนายน 2553    
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 16:11:41 น.
Counter : 556 Pageviews.  

อาหารเพื่อสุขภาพ : ดื่มชาเขียวช่วยชีวิต

Green-tea-leaves


โรค
หัวใจ สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย
เป็นเพชรฆาตเงียบที่คอยซุ่มทำร้ายคนที่ร่างกายอ่อนแอ
และเริ่มทำงานโดยไม่มีจดหมายแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
เมื่อรู้ว่าเป็นก็มักจะสายเสียแล้ว ทางออกที่กำลังเป็นที่นิยมทาง
หนึ่งคือ การดื่มชาเขียวเป็นประจำ สังเกตได้จากชาวญี่ปุ่นที่เป็นต้น
ตำรับของชาเขียวนั้น มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจน้อยมาก
นั่นเป็นเพราะสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (anti-oxidant)
ที่ช่วยขับอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ซึ่งมีอยู่ในปริมาณมากในชาเขียวร้อน
นอกจากนี้น้ำร้อนยังช่วยละลายไขมันในระหว่างมื้ออาหารได้ดีอีก
ด้วย แต่คนไทยส่วนใหญ่นิยมดื่มชาเขียวเย็นมากกว่า ทั้งแบบที่บรรจุขวด
หรือผสมกับนม จึงเป็นการดื่มชาเขียวที่ผิดวัตถุประสงค์
จนเรียกว่าเป็นการดื่มตามแฟชันมากกว่า สำหรับใครที่เบื่อการดื่มชาเขียวแบบ
เดิมๆ อาจประยุกต์มาอุ่นร้อนรับประทานคู่กับเต้าฮวย หรือ
บัวลอยน้ำขิงแทนได้







 

Create Date : 24 มิถุนายน 2553    
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 16:09:13 น.
Counter : 311 Pageviews.  

อาหารเพื่อสุขภาพ : สับปะรดสร้างกระดูก

//www.hilunch.com/wp-content/uploads/2010/05/pineapple_small.jpg


เมื่อ
อายุมากขึ้น สุขภาพก็เริ่มจะเสื่อมถอย โดยเฉพาะเรื่องของกระดูกและฟัน
ปัจจุบันจึงเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์นมเสริมแคลเซียมกันหลายยี่ห้อ จริงๆ
แล้วอาหารหลายอย่างมีแคลเซียมอยู่แล้ว อย่างที่ทราบกัน คือ อาหารทะเล
ปลาเล็กปลาน้อย หรือแม้กระทั่ง งา ธัญพืชเมล็ดเล็กแต่มากด้วยคุณค่
นอกจากนี้ สับปะรด ผลไม้เมืองร้อนรสหวานฉ่ำ ก็มีแมงกานีส อยู่ในปริมาณมาก
ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันได้เช่นกัน
โดยอาจจะรับประทานแบบสด หรือ ปรุงเป็นอาหารคาว เช่น ผัดเปรี้ยวหวาน หรือ
ข้าวอบสับปะรดก็ได้ นอกจากนี้สับปะรดยังมีวิตามินซี และ ไฟเบอร์สูง
จึงช่วยบำรุงผิวพรรณ และช่วยย่อยอาหารได้อีกด้วย







 

Create Date : 24 มิถุนายน 2553    
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 16:06:04 น.
Counter : 384 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.