WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

สมุนไพร-ขอบชะนาง

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/pouzozia1.jpg




ขอบชะนาง สมุนไพร ขอบชะนางแดง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pouzolzia
pentandra Benn.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
-


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ขอบชะนางขาว หนอนตายอยากขาว หนอนขาว (ไทยภาคกลาง)
ขอบชะนางแดงหนอนตายอยากแดง หนอนแดง (ไทยภาคกลาง) หญ้าหนอนตาย (เหนือ)
หญ้ามูกมาย(สระบุรี) ตาสียาเก้อ ตอสีเพาะเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขอบชะนางเป็นพรรณไม้
ล้มลุกจำพวกหญ้า และเลื้อยแผ่ไปตามดินแต่ยอดจะตั้งขึ้น มี 2ชนิด คือ
ขอบชะนางแดง กับ ขอบชะนางขาวและมีลำต้นขนาดโตกว่าก้านไม่ขีดไฟเล็กน้อย


ใบ : ใบขอบชะนางเป็น
ใบเดี่ยวจะออกสลับกัน รูปเป็น รูปปลายหอก
ในขอบใบชะนางแดงส่วนรูปใบของขอบใบชะยางขาว
จะมีลักษณรูปค่อนข้างมนและกลมเส้นใบของทั้งสองชนิด จะเห็นเด่นชัดเป็น 3
เส้น ใบจะโตประมาณ 2กระเบียดนิ้ว ยาวประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 1
นิ้วฟุตส่วนสีและใบของต้นขอบชะนางจะสีม่วงอมแดง
เฉพาะแผ่นใบนั้นสีจะเด่นชัดคือหลังใบจะมีสีเขียวเข้มอมแดง
ท้องใบจะเป็นสีแดงคล้ำและสีของขอบใบชะนางเป็นสีขางอ่อน
ๆรวมทั้งชนิดจะมีขนเล็กน้อยบนต้นและแผ่นใบ


ดอก : ดอกขอบชะนางจะ
มีขนาดเล็กและจะออกเป็นกระจุกระหว่างซอกใบและกิ่งเป็นดอกตัวผู้กับดอกตัว
เมีย ดอกของขอบชะนางแดงมีสีแดง ส่วนดอกของขอบชะนางขาวจะเป็นสีเขียวอมเหลือง


ผล : แห้งไม่แตกแบบ achene


การขยายพันธุ์ : ขอบ
ชะนาง
ขยายพันธุ์โดยการใช้ผล
เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามเรือกสวนริมร่องและตามพื้นที่ร่มเย็นี่มีอิฐปูน
เก่า ๆ หรือที่ผุพัง


ส่วนที่ใช้ : ทั้ง
ต้น ต้นและดอก ใบสด เปลือกของต้น




ขอบชะนาง สมุนไพร ขอบชะนางขาว



สรรพคุณของสมุนไพร :


ทั้งต้น นำมาปิ้งไฟและชง
กับน้ำเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็ก


ต้นและดอกใบ จะมีรสเมา
เบื่อ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก เอามาใส่ในปากไหปลาร้าที่มีหนอน
อีกไม่นานหนอนก็จะตาย


ต้นสด ใช้ตำเป็นยาฆ่าหนอน
ฆ่าแมลงวัวควายที่เป็นแผลจนเน่าขนาดใหญ่ หนอนจะตายและจะช่วยรักษาแผลด้วย


เปลือกของต้น
ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น
หุงน้ำมันทาริดสีดวง หรือจะใช้ต้มผสมเกลือให้เค็มนำมารักษาโรครำมะนาด


ขอบชะนางทั้ง 2 ชนิด นำมาปรุงรับประทานเป็นยาขับเลือด
และขับระดูขาวขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน


ตำรับยา :



  1. ปวดฟัน ให้ใช้ผลแห้งของขอบชะนาง บดเป็นผง แล้วใช้ทาบาง ๆ
    ตามบริเวณจมูกและอุดฟัน

  2. ปวดท้อง อาเจียนเป็นฟอง เบื่ออาหาร
    ให้ใช้ผลแห้งเอกเปลือกออกใส่พริกห้าง(Piper longum) เปลือกอบเชย แปะซุก
    (Atractylodes macrocephala koidz.)ตังกุย (Angelica sinensis Diels)
    นำมาคั่วและบดหยาบ ๆ โสม (Panax ginsengC.A. Mey.) แล้วตัดส่วนหัวออก
    ใช้อย่างละ 15 กรัม หู่จี้ (Aconitumcarmichaeli Debx.)
    แล้วคั่วให้แตกบดพอหยาบ ๆ เปลือกส้ม 1กรัมนำมาแช่น้ำเอาใยสีขาวออก
    แล้วคั่วไฟพอเหลือง ซวงเจีย (Zanthoxylumbugeanum Maxim.) คั่วพอให้หอม 1
    กรัมนำทั้งหมดมารวมกันบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งแล้วทำเป็นยาเม็ดเท่าเมล็ดถั่ว
    เขียว ใช้รับประทานกับน้ำขิงครั้งละ 30 เม็ดเมื่อเริ่มมีอาการ

  3. ขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตร และเป็นยาระบายใช้เหง้าสด
    เอามาตำแล้วคั้นเอาน้ำ 1 แก้ว ผสมมะขามเปียกและเกลือใช้รับประทานได้

  4. เป็นเกลื้อน ให้นำเหง้าสดามหั่นเป็นแผ่น จุ่มเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็น
    2เวลา เช้า-เย็น หรือใช้เหง้าแห้งนำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำมะพร้าวใช้ทา





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:19:33 น.
Counter : 746 Pageviews.  

สมุนไพร-ขยุ้มตีนหมา

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/kayoomteenmha.jpg


ขยุ้มตีนหมา สมุนไพร ขยุ้มตีนหมาเป็นสมุนไพรระงับพิษสุนัขบ้า แก้ไอ <br>และโรคท้องมาน

ขยุ้ม
ตีนหมา สมุนไพร ขยุ้มตีนหมาเป็นสมุนไพรระงับพิษสุนัขบ้า แก้ไอ
และโรคท้องมาน



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Ipomoea pes-tigridis Linn.


ชื่อสามัญ : Indian
marsh fleabane


ชื่อวงศ์ :
CONVOLVULACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่นๆ : เถา
สายทองลอย (สิงห์บุรี) ขยุ้มตีนหมา (เชียงใหม่) เพา ละมูลู (มาเลย์-ยะลา)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขยุ้มตีนหมาเป็นพรรณ
ไม้ล้มลุก มีอายุนาน 1 ปี ลำต้นจะเล็กเรียว
ชอบเลื้อยไปตามพื้นดินหรือเลื้อยพาดพัน จะมีคามยาวประมาณ 0.5-3 ม.
จะปกคลุมไปด้วยขนแข็ง


ใบ : ใบขยุ้มตีนหมาจะ
มีความกว้างประมาณ 2.5-10 ซม. และยาวประมาณ 3-7.5 ซม. ใหจัดเป็นแฉกมี7-9
แฉก มักจะจักลึกไปถึงโคนใบ ก้านใบจะเล็กและเรียวยาวประมาณ 1.5-10 ซม.


ดอก : ขยุ้มตีนหมาจะ
ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบมีประมาณ 2-3 ดอก ก้านช่อดอกจะมีขนยาวประมาณ2-18 ซม.
ส่วนใบประดับนั้นจะเป็นรูปหอกแกมขอบขนานและยวมประมาณ 1.5-3
ซม.กลีบรองกลีบดอกยาวประมาณ 8-12 มม.
จะมีขนยาวและกลีบดอกจะมีสีขาวจะเชื่อมติดกันเป็นรูปปากแตรจะมีความยาวประมาณ
3.5-5 ซม.


เกสร : เกสรตัวผู้และเกสร
ตัวเมียนั้น จะมีลัษณะเกลี้ยง


เมล็ด (ผล) : ถ้าผลแห้งจะ
มีสีน้ำตาล เป็นรูปไข่ยาวประมาณ 8-9 มม. มีผิวเกลี้ยง ส่วนเมล็ดจะมีความยาว
4 มม. และมีขนสีเทากระจาย


ถิ่นที่อยู่ :
ขยุ้มตีนหมาเป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นอยู่ตามบริเวณรกร้างว่างเปล่า
นาข้าวและตามดินทรายใกล้ทะเล ตั้งแต่ระดับ 0-1,000 ม.


ส่วนที่ใช้ : ทั้ง
ต้น ราก เมล็ด


สรรพคุณของสมุนไพร :


ทั้งต้น ใช้ขยุ้มตีน
หมา
ทั้งต้นทำเป็นยาระงับพิษสุนัขบ้า
หรือตำให้ละเอียดผสมกับเนยใช้ปิดหัวฝีไม่ให้แพร่กระจาย


ราก รากของขยุ้มตีนหมาใช้
เป็นยารักษาโรคไอเป็นโลหิต


เมล็ด เมล็ดของขยุ้ม
ตีนหมา
ใช้รักษาโรคท้องมาน







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:16:52 น.
Counter : 1197 Pageviews.  

สมุนไพร-ขมิ้นเครือ

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/CombertumExtensum.jpg




ขมิ้นเครือ สมุนไพร ใบขมิ้นเครือ แก้บิดมดลูก
ช่วยขับประจำเดือนสตรีให้เป็นปกติ



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Combertum extensum


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : COMBERTACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ผ้าลายห่อท้อง มันแดง แหนเนือ (ภาคเหนือ) ขมิ้นเครือ ขมิ้นฤาษี
(ไทยภาคกลาง) เดิมวอโกรด (เขมร) ฮับ


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : ต้นสมุนไพรขมิ้นเครือเป็นพรรณ
ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่เลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่
ใช้โคนก้านใบที่โค้งงอคล้ายตะขอเกาะเหนี่ยวไปได้ไกล เนื้อไม้สีเหลือง


ใบ : ใบขมิ้นเครือจะ
กลมและหนาตรงปลายใบแหลม มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ จะมีสีเขียวเป็นมัน
ปลายใบของมันจะแหลม


เถาและราก : เถาและรากของขมิ้น
เครือ
จะมีสีเหลืองเข้มเหมือนขมิ้นส่วนเนื้อในเถาและรากนั้นเมื่อตัดออก
จะมีจุดตรง กลางเป็นเส้นรัศมีแผ่ออกไปโดยรอบ คล้ายกับธงญี่ปุ่น
หรือเถาสะค้าน


ดอก : ดอกขมิ้นเครือแยก
เพศ มีขนาดเล็ก สีขาวแกมเหลือง ออกบนช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามเถา


ผล : ผลสด กลม
เมื่อสุกสีเหลือง มีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 อัน




ขมิ้นเครือ สมุนไพร
ผลขมิ้นเครือ ผลสด กลม เมื่อสุกสีเหลือง



การขยายพันธุ์ : พบ
บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ขึ้นตามชายป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น
ระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตร ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน
ติดผลเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ขมิ้นเครือขยายพันธุ์โดยการตัดเอาเถา
ตรงข้อมาปักชำหรือแยกต้นเล็ก ๆ ปลูก


ส่วนที่ใช้ :
ต้น ดอก ใบ ราก ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร:


ต้น รสฝาดเฝื่อนร้อน
ใช้ขับผายลมและเรอ รักษาเนื่องจากน้ำดีพิการ


ใบ รสฝาดเฝื่อน
ใช้รับประทานเป็นยาขับโลหิตระดูสตรีที่เสียเป็นลิ่มหรือก้อนให้ขับออก
แก้บิดมดลูก


ดอก รสฝาดเฝื่อน
รักษาอาการบิดมดลูก


ราก รสฝาดเฝื่อน
ใช้ขับลมแก้ลมอัมพฤกษ์ บำรุงน้ำเหลือง ฝนหยอดตา แก้กระจกตา ตาแดง ตาแฉะ
ตามัว และตา อักเสบ







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:13:36 น.
Counter : 721 Pageviews.  

สมุนไพร-ขะย่อมหลวง

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/RzuvolfiaCambodiana.jpg


ขะย่อมหลวง สมุนไพร ดอกขะย่อมหลวงออกเป็นช่อกระจุก <br>ออกเดี่ยวตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ผลมีลักษณะเป็นผลแฝดแต่จะไม่ติดกัน <br>ออกเป็นคู่ แยกกัน

ขะ
ย่อมหลวง สมุนไพร ดอกขะย่อมหลวงออกเป็นช่อกระจุก
ออกเดี่ยวตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ผลมีลักษณะเป็นผลแฝดแต่จะไม่ติดกัน
ออกเป็นคู่ แยกกัน



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Rzuvolfia cambodiana Pierre ex Pitard


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : APOCUNACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ขะย่อมตีนหมา (ภาคเหนือ); ขะย่อมหลวง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); นางแย้ม
(นครราชสีมา); ระย่อม (ตราด)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : ขะย่อม
หลวง
เป็นพรรณไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 0.30-1.00 เมตร
และจะมีน้ำนางสีขาว


ใบ : ใบขะย่อมหลวงมี
ลักษณะเรียว และเรียงรอบข้อ ๆ ละ 3 ใบ เป็นรูปขอบขนาน หรือ
รูปหอกกลับมีความกว้างประมาณ 3.5-7 ซม. ยาวประมาณ 12-30
ซม.ตรงปลายใบและโคนใบจะเรียวแหลม
หรืออาจจะเป็นหางยาวส่วนตรงปลายสุดนั้นจะแหลม หรือ มน แผ่นนั้นจะบาง
และเส้นใบจะมี 10-16 คู่ก้านใบจะมีความยาวประมาณ 1-3 ซม.


ดอก : ขะย่อมหลวงจะ
ออกดอกเป็นช่อใกล้ยอดมีสีขาว ช่อดอกนั้นจะยาวประมาณ 5-10 ซม.
ก้านดอกมีความยาว 1-5 ซม.ก้านดอกจะยาว 4-6 มม. กลีบดอกจะมีประมาณ 5 กลีบ
เป็นรูปไข่ปลายมนมีความยาว 2 มม. รูปไข่ปลายมนมีความยาว 2 มม.
เมื่อดอกจะยังตูมอยู่กลีบดอกนั้นจะบิดเป็นเกลียว และท่อดอกจะนาวประมาณ 14
มม. มีสีแดงปากท่อด้านในจะมีขน


เกสร : เกสรตัวผู้จะมี 5
อันจะติดอยู่ด้านในกึ่งกลางท่อ หรือเหนือกว่าเล็กน้อย
ก้านเกสรนั้นจะสั้นมากส่วนอับเรณุจะยาวประมาณ 1 มม.
ตรงปลายของมันจะเป็นติ่งแหลมและรังไข่จะมีอยู่ 2 ช่อง มีความยาวประมาณ 5
มม.


ผล : ผลของขะย่อมหลวงจะ
มีลักษณะเป็นผลแฝดแต่จะไม่ติดกัน มีน้ำมาก เป็นเหมือนรูปไข่ หรือ
รูปรีตรงหัวและท้ายจะแหลม มีความกว้างประมาณ 5-6 มม. มีความยาว 8-10
มม.ผลอ่อนนั้นจะมีสีเขียว และเมื่อผลแก่จะมีสีเลือดหมู ภายในจะมีเมล็ดเดียว


การขยายพันธุ์ :
ขะหย่อมหลวงขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
จะพบขึ้นในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ


ส่วนที่ใช้ :
รากใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ราก จะมีแอลคอลอยด์อยู่
หลายชนิด ใช้รักษาอาการไข้ และเป็นยาบำรุงประสาท







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:11:18 น.
Counter : 433 Pageviews.  

สมุนไพร-ขลู่

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/pluchea1.jpg

ขลู่ สมุนไพร
ขลู่จะออกดอกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล หรือสีม่วง
จะออกตามง่ามใบดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea
indica (Linn.) Less.


ชื่อสามัญ :
Indian Marsh Fleabane


ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : หนาด
งัว หนาดวัว หนวดงั่ว หนวดงิ้ว (อุดรธานี) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน)
ขลู่(ภาคกลาง) คลู ขลู (ภาคใต้) หลวน ซี (จีนกลาง) หล่วงไซ (แต้จิ๋ว)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขลู่เป็น
พรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.5-2 เมตร
แตกกิ่งก้านมากและเกลี้ยง


ใบ: จะมีกลิ่นฉุน
ใบเล็กรูปไข่กลับ มีความยาวประมาณ 1-5.5 ซม. กว้างประมาณ2.5-9 ซม.
ตรงปลายใบของมันจะมีลักษณะแหลม หรือ
แหลมมีติ่งสั้นขอบใบจะเป้นซี่ฟันและแหลม เนื้อในจะคล้ายกระดาษ
ค่อนข้างเกลี้ยงแต่ไม่มีก้าน


ดอก :
ขลู่จะออกดอกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล หรือสีม่วง
จะออกตามง่ามใบดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ


ก้านช่อดอก : จะมีความยาว
ประมาณ 2-6 มม. แต่ไม่มีก้านดอก


ริ้วประดับ : มีลักษณะแข็ง
สีเขียว และเรียงกันประมาณ 6-7 วง วงอยู่นอกนั้นจะเป็นรูปไข่
วงที่อยู่ในจะคล้ายรูปหอกแคบและตรงปลายของมันจะแหลม


กลีบดอก :
ดอกวงนอกกลีบดอกยาวประมาณ 3-3.5 มม.
ดอกวงในกลีบดอกจะเป็นรูปท่อมีความยาวประมาณ 4-6 มม.
ปลายจักเป็นซี่ฟันประมาณ5-6 ซี่


อับเรณู :
ตรงโคนจะเป็นรูปหัวลูกศรสั้น ๆ


เกสร : ท่อเกสรตัวเมียจะมี
2 แฉกสั้น ๆ


ผล : แห้ง
จะมีรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 0.7 มม. มีสัน 10 สัน ระยางค์มีน้อย สีขาว
ยาวประมาณ 4 มม. แผ่กว้าง


การขยายพันธุ์ : ขลู่เป็น
พรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่มแฉะ ริมห้วยหนอง ตามหาดทายด้านหลัวป่าชายเลน
นิยมปลูกเป็นพืชสมุนไไพร การปลูกใช้วิธีการปักชำโดยตัดต้นชำลงดิน
รดน้ำให้ชุ่มปลูกขึ้นง่าย ไม่ต้องการดูแลรักษาแต่อย่างใด


สรรพคุณของสมุนไพร :


ทั้งต้น ใช้ต้มกิน
รักษาอาการขัดเบา ปัสาวะพิการ ขับปัสสาวะ รับประทานวันละ 3 ครั้ง
ก่อนอาหารครั้งละ 75 มิลลิลิตร หรือ 1
ถ้วยชานอกจากนี้ยังใช้รักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง โรคเบาหวาน
ริดสีดวงทวารขูดเอาแต่ผิวต้นผสมกับยาสูบ แล้วนำมาสูบรักษาริดสีดวงจมูก


ใบ
ใบขลู่ใช้ต้มน้ำดื่มแทนชาเพื่อลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน
เบาเทาอาการปวดเมื่อย มุตกิดและนำมาต้มน้ำอาบบำรุงประสาท เป็นยาบีบมดลูก
น้ำคั้นรักษาโรคบิด ใบแก่ ๆสด ๆ เอามาตำบีบน้ำและทา ตรงหัวริดสีดวงทวาร
จะทำใหัหัวริดสีดวงหดหายได้นอกจกานี้ยังนำมาตำผสมกับเกลือรักษากลิ่นปาก
และระงับกลิ่นตัว


ใบและราก เป็นยาฝาดสมาน
รักษาไข้ พอกแก้แผลอักเสบ ขับเหงื่อ ผสมกับสมุนไพรอื่น
ๆต้มน้ำอาบรักษาเส้นตึง และยังทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลเรื้อรัง


ใบและต้นอ่อน
ใช้บรรเทาอาการปวดในโรคไขข้ออักเสบ รักษาประดง เลือดลม
ตำผสมกับแอลกอฮอล์ทาหลังบริเวณเหนือไต บรรเทาอาการปวดเอว ต้มน้ำอาบรักษาหิด
ขี้เรื้อน




ขลู่ สมุนไพร
ใบขลู่ใช้ต้มน้ำดื่มแทนชาเพื่อลดน้ำหนัก เบาเทาอาการปวดเมื่อย



สรรพคุณและการนำไปใช้เป็น
ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน :



ขลู่ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40 – 50
กรัม แห้งหนัก 15 – 20 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง
ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (หรือ 75 มิลลิลิตร)


สารที่พบ :


ใบขลู่ประกอบด้วยสารประเภทเกลือแร่ เช่น โซเดียม คลอไรด์
สารโปแตสเซียม นอกจากนี้ยังประกอบด้วย stigmasterol (+ beta-sitosterol),
stigmasterol glucoside (+ beta-sitosterol glucoside), catechin เป็นต้น


ข้อมูลทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ
:



  • ฤทธิ์ขับปัสสาวะ นัทพร นิลวิเศษ และคณะได้ศึกษาฤทธิ์ขับปัสสาวะของขลู่
    พบว่ารูปแบบ 5% และ 10% ของยาชงขลู่ (ยาชง 5% ทำได้โดยชั่งขลู่ 5 กรัม
    ใส่ลงในภาชนะแก้วหรือเคลือบที่ทนความร้อนได้ รินน้ำเดือดลงไปประมาณ 100
    มิลลิลิตร ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง
    จึงรินและคั้นน้ำออกกรองให้ได้น้ำยา 100 มิลลิลิตร)
    ทดลองฤทธิ์ขับปัสสาวะในหนูขาว และในอาสาสมัครที่มีสุขภาพปกติ
    โดยเปรียบเทียบกับยา hydrochlorothiazide
    พบว่ายาชงขลู่มีผลเพิ่มปริมาณปัสสาวะ
    และถ้าเพิ่มปริมาณความเข้มข้นก็จะมีผลเพิ่มปริมาณปัสสาวะมากขึ้น

  • ฤทธิ์ต้านการอักเสบ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1991)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบ (antiinflammatory) ของสารสกัดจากรากขลู่
    พบว่าสารสกัดจากรากขลู่สามารถต้านการอักเสบได้
    โดยสามารถยับยั้งอาการบวมของอุ้งเท้าหนูที่เกิดจากการฉีด carragenin,
    histamine, serotonin, hyaluronidase และ sodium urate
    โดยสารสกัดจะยับยั้งกระบวนการที่โปรตีนลอดออกจากหลอดเลือด (exudation)
    และการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวไปยังบริเวณอักเสบ (leucocyte migration)

  • ฤทธิ์ต้านการอักเสบ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1993)
    ได้ทำการศึกษากลไกการต้านการอักเสบ และการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
    ของสารสกัดจากรากขลู่ ( Pluchea indica Less root extract: PIRE)
    ที่คาดว่ามีกลไกเกี่ยวข้องกับ 5- lipoxygenase pathway
    ซึ่งเป็นกระบวนการสังเคราะห์โพรสตาแกลนดิน ( prostaglandin)
    ผลการศึกษาพบว่า PIRE สามารถต้านการอักเสบที่เกิดจาก arachidonic acid,
    platelet activation factor และสารประกอบ 48/80
    ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมที่อุ้งเท้าสัตว์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    นอกจากนี้สามารถยับยั้งสารประกอบ 48/80 เหนี่ยวนำให้เกิดการหลั่งสาร
    ฮีสตามีน ( histamine) จาก Mast cell ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    ส่วนผลต่อการเกิดแผลในกระเพราะอาหาร พบว่าสามารถป้องกับการเกิดแผลจากยา
    indomethacin, เหล้า และ indomethacin ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    โดยสามารถลดปริมา๖และความเป็นกรดของกระเพาะอาหารได้อย่างมีนัยสำคัญ

  • ฤทธิ์การปกป้องตับ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1993)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์การปกป้องตับของสารสกัดจากขลู่
    ในหนูที่ตับบาดเจ็บเฉียบพลัน (acute liver damage) จากการเหนี่ยวนำของสาร
    คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (carbontetrachloride: CCl4)
    พบว่าสามารถลดระดับเอนไซม์ aspartate amino tranferase (AST), alanine
    amino tranferase (ALT), lactate dehydrogenase (LDH), serum alkaline
    phosphatase (ALP) และ bilirubin ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    นอกจากนี้สารสกัดจากขลู่สามารถลดระยะเวลาการนอนหลับของหนูที่ได้รับ
    pentobarbitone ได้อย่างมีนัยสำคัญ และลด plasma prothrombin time
    ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ CCl4

  • ฤทธิ์ป้องกันทางเดินอาหารบาดเจ็บ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1996)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์สารสกัดจากขลู่ ในการยับยั้งปัจจัยกระตุ้นเกร็ดเลือด
    (platelet activation factor: PAF) และยับยั้งการเกิดกระเพาะอาหารเสียหาย
    (gastric demage) พบว่าการให้สารสกัดจากขลู่สามารถยับยั้งการ
    อักเสบและอุบัติการเกิดกับทาง เดินอาหารส่วนล่างเสียหายได้ อย่างมีนัยสำคัญ

  • ฤทธิ์ต่อระบบประสาท Thongpraditchote S. และคณะ (ค.ศ. 1996)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากรากขลู่ (Pluchea indica Less
    root extract: PI-E) ต่อระบบประสาทในหนู พบว่าหนูที่ได้รับ PI-E ขนาด
    50-100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้โดยการกิน
    มีการทำงานของระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนที่ (locomotor) ทำงานเพิ่มขึ้น
    และลดระยะเวลาการนอนหลับของหนูที่ได้รับ pentobarbital ให้สั้นลง
    อย่างมีนัยสำคัญและขึ้นกับขนาดที่ได้รับ (dose dependent)
    นอกจากนี้พบว่าฤทธิ์ของ PI-E ที่ให้ในหนูที่ได้รับ pentobarbital
    จะลดลงเมื่อได้รับ flumazenil (1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้ทางหลอดเลือดดำ)
    อย่างมีนัยสำคัญ และ PI-E (50 – 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ diazepam
    (0.5-5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ตามขาดที่ได้รับ
    (dose dependent) โดยกลไกการออกฤทธิ์ของ PI-E เกี่ยวข้องกับระบบ GABA
    system ในสมอง แต่อย่างไรก็ตาม PI-E
    ไม่มีฤทธิ์ระงับการชักที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของ pentyleneterazole

  • ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 2002)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดจากรากขลู่ ( Pluchea
    indica Less root extract: PIRE) ในหลอดทดลองและสัตว์ โดยใช้
    คาร์บอนเตตระคลอไรด์ ( carbontetrachloride: CCl4)
    เหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการสลายไปมัน ( lipid peroxidation)
    และการเปลี่ยนแปลง arachidonic acid จากเอนไซม์ lipoxygenase ซึ่ง 2
    กระบวนการนี้ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น ผลการศึกษาพบว่า PIRE
    สามารถลดการอักเสบ และการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงอย่างมีนัยสำคัญ
    นอกจากนี้พบว่า PIRE นอกจากนี้พบว่า PIRE สามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้มากกว่า
    B755c และ phenidone (สารต้านอนุมูลอิสระ) ได้อย่างมีนัยสำคัญ

  • ฤทธิ์ยับยั้งจุลชีพ Biswas R. และคณะ (ค.ศ. 2005) ได้ทำการสกัด
    และประเมินสารประกอบที่พบในขลู่ และความแรงในการต้านเชื้อจุลชีพ
    พบว่าค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ ( minimum inhibitory
    concentration: MIC) ของสารสกัดขลู่ต่อเชื้อ Staphylococcus
    aureus ML 11, S. aureus ML 358, S. aureus NCTC 6571, S. aureus 8530,
    Salmonella trphi 59, S. typhimurium NCTC 74, Shigella boydii 8 NCTC
    254/66, S. dysenteriae 7 NCTC 519/66, Vibrio cholerae 214, Vibrio
    cholerae 14033, Bacillus lichenniformis, Escherichia coli ATCC 25938,
    Klebsiella pneumoniae 725, K. pneumoniae 10031 และ Pseudomonas
    aeruginosa 71 คือ 1500 , 2000, > 2000, 1000, 1500, 1500, 1500, 1500,
    1000, 1500, > 2000, 1500, > 2000, 2000 และ 2000 นาโนกรัม/มิลลิลิตร





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:09:37 น.
Counter : 610 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.