WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคจอประสาทตาหลุดลอก

//www.lasikthai.com/th/Pic_Access/eye_care_tips_disease_eye/2_.jpg

 โรคจอประสาทตา
หลุดลอก



โรคจอประสาทตาหลุด
ลอก
เป็นอาการที่รุนแรงและส่งผลต่อการมองเห็น

โดยเกิดขึ้นเมื่อจอประสาทตาแยกออกจากเนื้อเยื่อที่ยึดอยู่ภายใต้จอประสาทตา
เมื่อเนื้อเยื่อเหล่านี้แยกออกจากจอประสาทตา
จะทำให้จอประสาทตาไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
และหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรักษาก็จะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด





โรคจอประสาทตาหลุดลอกชนิดที่พบได้มากที่สุด
เกิดขึ้นเมื่อมีรอยแยกในเนื้อเยื่อชั้นที่รับความรู้สึกของจอประสาทตา
และของเหลวจึงไหลซึมออกมา
ส่งผลให้ชั้นเนื้อเยื่อของจอประสาทตาหลุดออกจากกัน สำหรับผู้ที่มี
สายตาสั้นมาก

และเคยได้รับการผ่าตัดตาหรือเคยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ดวงตา
มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอก
ผู้ที่มีสายตาสั้นมีโอกาสเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอกได้มากกว่า
เนื่องจากผู้ที่มีสายตาสั้นจะมีความยาวของลูกตามากกว่าปกติ ทำให้จอ
ประสาทตาบาง
และเปราะกว่าปกติ โรคจอประสาทตาหลุดลอกอีกชนิดหนึ่ง
เกิดขึ้นเมื่อเส้นของวุ้นในตาหรือเนื้อเยื่อแผลเป็นทำให้เกิดการดึงรั้งบนจอ
ประสาทตา ทำให้เกิดการหลุดลอก
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคจอประสาทตาชนิดนี้ได้



       อาการ
ของโรคจอประสาทตาหลุดลอก




- มองเห็นแสงฟ้าแลบคล้ายไฟแฟลชกล้องถ่ายรูป

- มีสิ่งบดบังในการมองเห็น

- มองเห็นเหมือนมีอะไรลอยไปมามีลักษณะเป็นจุดหรือใยแมงมุม

- การมองเห็นเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว



การตรวจพบในระยะเริ่มต้น เป็นวิธีการรักษาการหลุดลอก
และการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ดีที่สุด
การทราบถึงคุณภาพของการมองเห็นของท่านเองเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด
โดยเฉพาะหากท่านอยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงสูง เช่น มีสายตาสั้น
หรือเป็นโรคเบาหวาน หากท่านสังเกตพบอาการเหล่านี้
ควรไปพบจักษุแพทย์โดยทันที







 

Create Date : 30 มิถุนายน 2553    
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 14:09:39 น.
Counter : 314 Pageviews.  

โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อหิน

//www.lasikthai.com/th/Pic_Access/eye_care_tips_disease_eye/1_2.jpg
 โรคต้อหิน


ต้อหิน
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทตาซึ่งเชื่อมระหว่างดวงตาและสมอง

หากความดันภายในตาสูงกว่าระดับที่เส้นประสาทตาสามารถรับได้จะทำให้ขอบเขตใน
การมองเห็นค่อยๆ แคบลง และมองไม่เห็นในที่สุดซึ่งเป็นผลให้ตาบอดได้

โรคต้อหิน สามารถ
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภท
ที่มีอาการ
และ ไม่มีอาการ
สำหรับต้อหินประเภทมีอาการ ความดันภายในตาจะสูงขึ้นอย่าง
เฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง หรือการมองเห็นไม่ชัดเจน
ผู้ป่วยต้องไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยทันที
แม้ว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคต้อหินจะมีอาการเจ็บปวด
แต่ต้อหินประเภทที่สองพบได้มากกว่า
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าจะมีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต้อหินประเภทที่สองนี้ในช่วงแรกจะไม่มีปัญหาในการมองเห็น
เลย แต่สามารถตรวจพบได้ในการตรวจสุขภาพตา



     ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหิน



บางท่านอาจมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหินมากกว่าคนปกติ เช่น
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคต้อหิน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
หรือผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุ
หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหิน
ก่อนใช้ยาใดๆ จึงควรอ่านฉลากก่อน เพื่อให้ทราบผลข้างเคียงของการใช้ยา
ปัจจัยการเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ที่มีสายตาสั้นปานกลางถึง
สั้นมาก หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจ
สุขภาพตา
เป็นประจำ



      การรักษาโรค
ต้อหิน




จุดมุ่งหมายของการรักษาโรคต้อหิน คือ
การยับยั้งไม่ให้มีอาการมากขึ้น
แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เสียไปกลับคืนมา
แต่สามารถยับยั้งไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นได้
โดยลดระดับความดันตาให้อยู่ในระดับที่เส้นประสาทตาสามารถทนได้
มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถลดความดันตาได้
แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดความดันตาให้อยู่ในระดับ
ที่ต้องการได้ จึงต้องมีการผ่าตัดด้วย



การผ่าตัดรักษาโรคต้อหิน มีขั้นตอนซึ่งแตกต่างกันหลายวิธี
รวมทั้งการใช้แสงเลเซอร์ เพื่อใช้ในการลดความดันตา
อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคต้อหิน คือ
การตรวจพบในระยะเริ่มแรก โดยการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ
ถึงแม้ว่าท่านจะไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติในดวงตาหรือการมองเห็น







 

Create Date : 30 มิถุนายน 2553    
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 14:08:00 น.
Counter : 392 Pageviews.  

ปัญหาสายตาในเด็ก

//www.lasikthai.com/images/child02.jpg
















ปัญหาสายตาใน
เด็ก




            ท่านสามารถทราบได้ว่าบุตรหลานของท่านมี สายตาสั้น
เมื่อพวกเขามองสิ่งต่างๆ จะต้องมองในระยะใกล้มากๆ เช่น
นั่งดูโทรทัศน์ติดหน้าจอ หรือเมื่ออ่านหนังสือก้มศีรษะจนเกือบติดหนังสือ
พวกเขาอาจหรี่ตาหรือเอียงศีรษะเมื่อต้องมองสิ่งที่อยู่ไกล
หรือบางคนอาจมีอาการตาเหล่ได้

         
   ถ้าบุตรหลานของท่านมีอาการดัง
กล่าวเหล่านี้ ท่านควรพาไปพบจักษุแพทย์โดยทันที
ยิ่งได้รับการตรวจเร็วเท่าไร
ก็จะส่งผลดีเท่านั้น พ่อแม่ส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่ผิด
เกี่ยวกับการใส่แว่นสายตาว่าจะทำให้สายตาแย่ลง
แต่ในความเป็นจริงแล้วการใช้อุปกรณ์
ช่วยในการมองเห็น เช่น แว่นสายตาตั้งแต่เริ่มต้น
จะช่วยให้บุตรหลานของท่านสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ
รอบตัวได้ดีกว่าและมีการมองเห็น
ที่ชัดเจนกว่า



อาการตาเหล่ในเด็ก



            ท่านเคยสังเกตดวงตาของบุตรหลานของท่านหรือไม่ เมื่อมองตรง
ดวงตาของพวกเขาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หรือว่าดวงตาของพวกเขาเหล่เล็กน้อย
ตาเหล่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาในแต่ละข้างซึ่งไม่สามารถปรับความ
สมดุลย์ได้ อาจเกิดจากดวงตาถูกดึงเข้าหากัน หรือ ห่างออกจากกัน

            หาก
เด็กที่มีอาการตาเหล่ได้รับการรักษาเร็วเท่าไร

ก็จะส่งผลดีเท่านั้น
หากไม่ได้รับการรักษานอกจากทำให้บุคลิกภาพไม่ดีแล้วยังทำให้ไม่สามารถใช้สาย
ตาทั้งสองข้างได้พร้อมกันอีกด้วย ซึ่งสามารถทำให้ตาข้างหนึ่งเป็นตาขี้เกียจ
ที่ไม่สามารถมองเห็นในระดับปกติได้อีก
หากท่านสงสัยว่าบุตรหลานของท่านมีอาการตาเหล่ ท่านควรพาไปพบจักษุแพทย์ทันท








 

Create Date : 30 มิถุนายน 2553    
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 14:06:14 น.
Counter : 392 Pageviews.  

วิธีการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ

//www.lasikthai.com/th/Pic_Access/How_to_eye_problem_recognition/Picture3.jpg
  3.
การผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ
(Refractive surgery)
ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถ
(หรือไม่ต้องการ) ใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ จากเหตุผลต่างๆ ข้างต้น และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี
จากวิธีกรีดกระจกตา (RK หรือ Radial Keratotomy) มาจนถึงการใช้เอ็กไซเมอร์
เลเซอร์ (Excimer Laser)
ขัดผิวกระจกตาโดยตรงที่เรียกว่า Photorefractive
Keratectomy (PRK)
จนถึงปัจจุบันนี้วิธีที่ปลอดภัย แม่นยำและทันสมัยที่สุดคือ เลสิค (LASIK)





 

Create Date : 30 มิถุนายน 2553    
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 14:03:58 น.
Counter : 365 Pageviews.  

วิธีการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ

//www.lasikthai.com/th/Pic_Access/How_to_eye_problem_recognition/Picture2.jpg
  


2.
คอนแทคเลนส์
(Contact Lens)
เป็นอีกทางเลือกที่นิยมกัน
อย่างไรก็ดีผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์
จะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการรักษาความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน
เช่น การติดเชื้อที่กระจกตา ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียตาได้
การใช้คอนแทคเลนส์จึงควรได้รับการดูแลโดยจักษุแพทย์ นอกจากนี้
คนจำนวนมากอาจไม่สามารถใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจากการแพ้เลนส์
หรือสารน้ำยาล้างเลนส์ ภาวะบางอย่างก็ไม่เอื้ออำนวยกับการใส่คอนแทคเลนส์
เช่น ที่ที่มีฝุ่นควันมาก  รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ เช่น การว่ายน้ำ






 

Create Date : 30 มิถุนายน 2553    
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 14:02:28 น.
Counter : 330 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.