WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

สมุนไพร-ขี้เหล็กเทศ

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/CassiaOccidentalis1.jpg


ขี้เหล็กเทศ สมุนไพร ดอกขี้เหล็กเทศออกเป็นช่อตรงง่ามใบ <br>และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ลักษณะใบจะรีปลายแหลม ส่วนกลีบดอกจะมีสีเหลือง 5 <br>กลีบ

ขี้เหล็กเทศ
สมุนไพร ดอกขี้เหล็กเทศออกเป็นช่อตรงง่ามใบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ
ลักษณะใบจะรีปลายแหลม ส่วนกลีบดอกจะมีสีเหลือง 5 กลีบ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia
occidentalis Linn.


ชื่อสามัญ : coffea
Senna


ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ขี้
เหล็กผี พรมดาน ชุมเห็ดเล็ก(ภาคกลาง) ขี้เหล็กเผือก หมากกะลิงเทศลับมืนน้อย
ผักเห็ด (ภาคเหนือ) กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ (จีน)
ผักจี๊ด(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขี้เหล็กเทศเป็นพรรณ
ไม้ปีเดียวตาย ลำต้นมีความสูง 1-2 เมตร เนื้อไม้ตรงโคนต้นจะแข็ง
และจะแตกกิ่งก้านสาขามาก


ใบ : ใบขี้เหล็กเทศจะ
ออกสลับกัน ส่วนก้านใบนั้นเป็นใบร่วมยาวประมาณ 3-5
ซม.ตรงโคนใบจะมีตุ่มนูนออกมา 1 ตุ่ม ใบย่อยมีราว 3-5
คู่คู่ปลายนั้นจะมีขนาดใหญ่
คู่ถัดไปจะมีขนาดเล็กลงนาตามลำดับลักษณะปลายย่อยนั้นจะรีปลายของมันจะแหลม
ยาวประมาณ 3-6 ซม. กว้างประมาณ 1-2ซม. ส่วนฐานใบจะเบี้ยวข้างหนึ่ง
ตรงขอบใบจะเรียบขนอ่อนนุ่มด้านหลังใบจะมีขนอ่อนนุ่มสั้น ๆ
ถ้าขยี้ใบดมกลิ่นจะเหม็นเขียวหูจะเป็นใบเส้นมีลักษณะแหลมและหลุดร่วงง่าย


ดอก : ขี้เหล็กเทศจะ
ออกดอกเป็นช่อตรงง่ามใบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ลักษณะใบจะรีปลายแหลม
ส่วนกลีบดอกจะมีสีเหลือง 5 กลีบ ตรงปลายกลีบดอกจะมนและกลม


เกสร :
เกสรตัวผู้นั้นจะมีอยู่ 10 อัน ส่วน 3 อันที่อยู่ตรงบนจะร่วงไป และอีก
7อันที่อยู่รอบ ๆ
ก็ตะเจริญเติบโตเต็มที่ลักษณะของรังไข่จะเป็นเส้นโค้งมีขนสีขาวปกคลุม
ปลายรังไข่นั้น จะมีก้านสั้นของเกสรตัวเมียอยู่


ฝัก : ฝักขี้เหล็กเทศมี
ลักษณะเป็นเส้นตรงรูปทรงกระบอก แบนและมีขอบเห็นได้ชัดเจนทั้ 2 ด้าน
มีความยาวประมาณ 6-10 ซม. กว้างประมาณ 3-4 มม. จะมีรอยตามขวางนูนขึ้น
เปลือกฝักบาง


เมล็ด (ผล) :
ผลเมื่อก่จะมีสีน้ำตาล ฝักหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 40
เมล้ดลักษณะเมล็ดนั้นจะกลมมรีและแบน
ปลายด้านใดด้านหนึ่งจะมีลักษณะค่อนข้างแหลมผิวภายนอกจะเรียบและแข็ง


การขยายพันธุ์ :
ขี้เหล็กเทศนั้น พบขึ้นเองตามที่รกร้าง ที่แห้งแล้ง
ที่ตามไหล่เขา และริมน้ำลำคลอง ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด


ส่วนที่ใช้ : ทั้ง
ต้น ใบ  ฝัก และเมล็ดใช้เป็นยา ทั้งต้นและใบควรใช้แห้ง หรือจะใช้สดก็ได้
ส่วนฝักและเมล็ดนั้น ควรเก็บเมื่อฝักแก่จัดเป็นสีน้ำตาล
ตากแห้งแล้วเด็ดก้านฝักออกแล้วหั่นเป็นท่อนเล็ก ๆ
หรือใช้เกาะเปลือกเอาแต่เมล็ดเก็บตากแห้งไว้ได้


//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/CassiaOccidentalis2.jpg

ขี้เหล็กเทศ สมุนไพร
ฝักขี้เหล็กเทศมีลักษณะเป็นเส้นตรงรูปทรงกระบอก
แบนและมีขอบเห็นได้ชัดเจนทั้ 2 ด้าน จะมีรอยตามขวางนูนขึ้นเปลือกฝักบาง



สรรพคุณของสมุนไพร :



  1. ต้นและใบ ทั้งต้นและใบขี้
    เหล็กเทศ
    ใช้แห้งประมาณ6-10 กรัม ส่วนใบสดเพิ่มอีกประมาณ 1 เท่าตัว
    ใช้ต้มกินหรือคั้นเอาน้ำกิน ถ้าใช้ภายนอก ควรตำก่อนแล้วใช้พอก กินจะมีรสขม
    ใช้ขับของเสียออกจากไต รักษาอาการบวม ถอนพิษ รักษาอาการไอ หอบ ท้องผูก
    หนองใน ปวดหัวปัสสาวะเป็นโลหิต แผลบวมอักเสบ ตาแดง แมลงสัตว์กัดต่อย
    หรือถูงูกัด

  2. ฝักและเมล็ด
    ใช้แห้งประมาณ 6-10 กรัม ใช้ต้มน้ำกินมีรสชุ่ม ขม แต่มีพิษ
    บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้การขับถ่ายดี และทำให้ตาสว่าง
    ใช้รักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี โรคบิด ปวดท้อง ท้องผูก
    ปวดหัวและถอนพิษปวดกระเพาะอาหาร วิงเวียน ตาบวมแดง
    ถ้าใช้ภายนอกควรบดให้ละเอียดเป็นผงแล้วใช้ทาได้

ตำรับยา :



  1. รักษาโรคไข้มาลาเรีย ให้นำเมล็ดขี้เหล็กเทศมาคั่วให้เกรียมจน
    มีกลิ่นหอม แล้วบดเป็นผฝให้ละเอียด ใช้กินครั้งละ 6-10 กรัม วันละ 2 เวลา

  2. รักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ที่อักเสบเรื้อรัง
    ท้องผูกเป็นประจำระบบทางเดินอาหารย่อยไม่ดี
    ให้ใช้เมล็ดที่คั่วจนเหลืองประมาณ 15-30 กรัมบดแล้วกินติดต่อกันเป็นเวลา 10
    วัน

  3. โรคหนองใน ปัสสาวะเป็นโลหิตใช้ต้นสด 30 กรัม ต้มน้ำกิน

  4. ลดความดันโลหิตสูง ให้คั่วจนเกรียมมีกลิ่นหอมแล้วบดเป็นผง
    ใช้กินครั้งละ 3 รัม ผสมกับน้ำตาลกรวดพอสมควร ชงน้ำรับประทานเป็นประจำ

  5. แมลงสัตว์กัดต่อย ให้ใช้ใบสดตำพอก

  6. ฝีบวมอักเสบ ให้ใช้ใบขี้เหล็กเทศตากแห้งแล้วบดเป็นผง
    ผสมกับน้ำส้มสายชูพอก หรือจะเอาผสมเหล้าพอก ช่วยเร่งให้หัวฝีออกเร็วขึ้น

  7. งูกัด ให้ใช้ใบสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มคันน้ำกิน
    และกากสามารถใช้พอกได้

  8. ตาแดงบวมเห็นพร่ามัว ให้ใช้เมล็ดแห้ง 15-30 กรัม
    ผสมกับน้ำตาลกรวดประมาณ 30 กรัม ชงกับน้ำกินได้

ข้อมูลทางคลีนิค :



  1. รักษาอาการอักเสบภายนอก ใช้ใบสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น
    รวมทั้วต้นสดประมาณ30-60 กรัม หรือจะเมล็ดประมาณ 15-30 กรัม
    นำมาต้มนำกินสามารถทำให้อาการอักเสบหายได้

  2. รักษาอาการปวดเรื้อรังให้นำใบสดประมาณ 20 กรัม เนื้อหมูอีก 250 กรัม
    ใช้ต้มน้ำกินวันละ 1 ตำรับจากการรักษาคนไข้จำนวน 42 ราย ได้ผล 36 ราย
    ส่วนที่เหลืออีก 6
    รายไม่ได้ผลและจากการติดต่อสอบถามคนไข้ที่หายจากการเป็นโรคมาแล้วครึ่งปียัง
    ไม่ปรากฏอาการเดิมอีก

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :



  1. น้ำต้นจากใบและต้น สารสกัดจากแอลกอฮอล์ของขี้เหล็กเทศ จะมี
    ฤทธิ์ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อใน
    ลำไส้เล้กและมดลูกหนูใหญ่และช่วยลดความดันดลหิตของสุนัขที่ทดลองนอกจากนี้
    ยังมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นหัวใจของกระต่ายได้เล็กน้อยสารสกัดที่ได้จากต้นขี้
    เหล็กด้วยแอลกอฮอล์ ผสมกับอีเธอร์ปริมาณ 100
    มก.จะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะและทำให้เพิ่มปริมาณน้ำปัสสาวะของสุนัขที่ได้จากการ
    ทดลองทำให้สลบและให้น้ำสม่ำเสมอ มีปัสสาวะเพิ่มขึ้นอีก
    300%เมื่อนำมาเปรีบยเทียบกับสัตว์ที่ทดลองกลุ่มที่ไม่ให้สารสกัด

  2. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ สารที่สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเธอร์ เบนซิน
    แอลกอฮอล์จากใบรากและเมล็ดของขี้เหล็กเทศ
    ทำให้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น Staphylococcus aureus,Bacillus
    subtilis,B. proteus และ Vibrio
    choleraeฤทธิ์ที่สามารถฆ่าเชื้อนี้เกิดจากน้ำมันระเหยของพรรณไม้สารสกัดด้วย
    พรรณไม้ชนิดนี้จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้บางชนิด





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:33:06 น.
Counter : 389 Pageviews.  

สมุนไพร-ขี้กาแดง

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/TrichosanthesTricuspidata1.jpg




ขี้กาแดง สมุนไพร
ผลมีลักษณะกลมโตเท่าผลส้มเขียวหวาน ผลสุกนั้นจะมีสีแดงสดห้อยเป็นระย้า



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnopetalum
integrifolim Kurz., Trichosanthes tricuspidata Lour.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
แตงโมป่า (กาญจนบุรี), มะกาดิน (ชลบุรี), กายิงอ (มลายู)  ขี้กาแดง
ขี้กาลาย ขี้กาน้อย


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพร
ขี้กาแดง
เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่
ลำต้นนั้นจะเป็นสีขียวและมีขน


ใบ : ใบขี้กาแดงมี
ลักษณะเถาและใบจะคล้ายฟักเขียว เส้นผ่านศูนย์กลางใบ 4-16 ซม.
แฉกรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายแฉกแหลมหรือแหลมยาว โคนใบรูปหัวใจ
ขอบจักฟันเลื่อยหรือเรียบ แผ่นใบบาง มีขนตามเส้นแขนงใบด้านล่างประปราย
ก้านใบยาว 2-7 ซม. ตามข้อของเถาจะมีมือสำหรับยึดเกาะ ใบจะมีขนทั้ง 2 ด้าน


ดอก :
ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะมีลักษณะต่างดอกกัน ส่วนช่อดอกตัวผู้จะมีหลายดอก
ช่อดอกตัวเมียจะเป็นดอกเดี่ยว และกลีบนั้นจะมีสีขาว




ขี้กาแดง สมุนไพร
ดอกขี้กาแดงเพศเมีย ออกเดี่ยวๆ



ผล : ผลของขี้กาแดงมี
ลักษณะกลมโตเท่าผลส้มเขียวหวาน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. ก้านผลยาว
0.1-0.5 ซม. ผลเมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อเริ่มแก่จะเป็นสีส้ม
เมื่อสุกแก่จัดจะเป็นสีแดงสด
ซึ่งผลจะออกบริเวณข้อที่ลำต้นห้อยระย้ามาเกือบทุกข้อ ขั้วของผลมีสีเขียว
ส่วนล่างของผลจะมีปุ่มยื่นออกมาสีเดียวกับผล ผลเรียบ เมื่อแก่จัดหนักประมาณ
92-1๐๐ กรัม ความยาวผลประมาณ 18-23 ซม. ผลสุกใช้ตากแห้งจะแข็งและหนา
ผลสุกนกชอบรับประทานมาก


เมล็ด :
เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีเขียวเข้ม เมล็ดมีประมาณ 12 เมล็ด หรือน้อยกว่านั้น
รูปไข่กลับ ยาว 0.5-0.8 ซม. เรียวแคบที่โคน เว้า สีเทาหรือสีน้ำตาล
เมล็ดมีพิษ เพียงแค่ 2-3 เมล็ดก็สามารถทำให้คนถึงตายได้ในเวลาเพียงเล็กน้อย
ถ้าหากกิน


ส่วนที่ใช้ :
ใบ หัว เถา ผล และราก


สรรพคุณของสมุนไพร:


ใบ รสขม ตำพอกฝี
ทาแก้โรคผิวหนังอักเสบ




ขี้กาแดง สมุนไพร
ช่อดอกเพศผู้ของขี้กาแดง มีใบประดับสีแดงอมน้ำตาล



หัว รสขม บำรุงหัวใจ
แก้ม้ามย้อย ตับโต หรืออวัยวะในช่องท้องบวมโต


ทั้งเถา รสขม ต้มอาบ
แก้เม็ดผดผื่นคัน แก้ไข้หัว ไข้พิษ ไข้กาฬ ต้มดื่ม บำรุงน้ำดี ขับเสมหะ
ดับพิษ แก้ไอเป็นเลือด


ผล รสขม บำรุงน้ำดี
แก้พิษเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษเสมหะให้ตก แก้พิษตานซาง แก้ตานขโมย ขับพยาธิ
ทำให้แห้งโดยการนำมารมควันใช้รักษาโรคหืด และเป็นยาถ่ายอย่างแรง
น้ำมันซึ่งได้จากการต้มผลขี้กาแดงในน้ำมันมะพร้าวหรือ
น้ำมันงาให้ใช้ทาบริเวณหนังศีรษะเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะเพียงข้างเดียว
hemjicrania และริดสีดวงจมูก ozaena


ราก รสขม บำรุงน้ำดี
แก้ไข้ ดับพิษไข้ แก้จุกเสียด แก้ตับโต ม้ามย้อย อวัยวะในช่องท้องบวมโต
ใช้รักษาโรคปสดในวัวควาย โดยผสมกับขี้กาเทศ colocynth ใช้อย่างละเท่า ๆ
กันแล้วบดเป็นผงใช้ทาแก้ฝีฝักบัว นำมาต้มกับผงเมล็ดพันธุ์ผักกาด
Mustardใช้ทารักษาอาการปวดศีรษะ


อื่่น ๆ :


ยอดอ่อนของขี้กาแดง นำไปลวก ต้มให้สุก หรือต้มกะทิ
รับประทานเป็นผักกับน้ำพริกกะปิ







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:30:18 น.
Counter : 1287 Pageviews.  

สมุนไพร-ข้าวสารดอกใหญ่

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/RaphistemmaPulchellum.jpg


ข้าวสารดอกใหญ่ สมุนไพร ข้าวสารดอกใหญ่จะมีดอกขนาดใหญ่ <br>สีขาวถ้าบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 3-4ซม.

ข้าวสารดอกใหญ่ สมุนไพร
ข้าวสารดอกใหญ่จะมีดอกขนาดใหญ่ สีขาวถ้าบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 3-4ซม.



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
raphistemma pulchellum (Roxb.) well.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
ASCLEPIADACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :ข้าว
สาร(กลาง) เครือเขาหนัง(เหนือ) ข้าวสารดอกใหญ่(กรุงเทพฯ)เคือคิก(สกลนคร)
โอเคือ(ลาว) ไคร้เครือ(สระบุรี)
เซงคุยมังอูมื่อมังอุยเหมื่อเซงครึย(กะเหรี่ยง-ลำปาง) เมืองสาร(ชุมพร)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : ข้าวสารดอกใหญ่เป็น
พรรณไม้เถา ลำต้นนั้นจะเล็กและเกลี้ยง และมีน้ำยางสีขาว


ใบ : ใบของข้าวสารดอก
ใหญ่
จะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน
คล้ายรูปไข่หรือรูปหัวใจตรงปลายใบของมมันจะแหลมมเป็นหางยาว
ส่วนขอบใบนั้นจะเรียบและโคนใบจะเว้ามีความกว้างประมาณ 4-15 ซม. ยาวประมาณ
6-20 ซม. เนื้อใบนั้นจะบางและด้านบนที่โคนเส้นกลางใบจะมีขนขึ้จนเป็นกระจุก
ก้านใบจะยาวประมาณ 4-12ซม. มีลักษณะเรียวและเล็ก


ดอก : ข้าวสารดอกใหญ่จะ
มีดอกขนาดใหญ่ สีขาวถ้าบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 3-4ซม.
ดอกนั้นจะออกเป็นช่อตามง่ามใบช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 2-10 ดอก
และก้านช่อจะยาว ประมาณ 5-10 ซม.ก้านดอกเล็กมากและยาวประมาณ 2-5
ซม.กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบคล้ายรูปไข่หรือรูปขอบขนาน
ตรงปลายจะกลมขอบกลีบนั้นบางตรงโคนนั้นจะเชื่อมติดกันยาว 3-4 มม.
กลีบดอกทั้ง 5 กลีบนั้น จะมีสีขาวโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง
มีความยาว 12-18 มม. ปลายกลีบนั้นจะหนาและสั้นกว่าท่อดอกมาก


เกสร : เส้าเกสรนั้นจะมี
อยู่ 5 กลีบ และมีความยาวประมาณ 10-12 มม.
ซึ่งจะติดอยู่กับชั้นของเกสรเกสรซึ่งเชื่อมติดกัน


ผล : ผลข้าวสารดอกใหญ่จะ
มีลักษณะเป็นฝัก มีความยาวประมาณ 15 ซม. และโค้ง


การขยายพันธุ์ : ข้าวสารดอก
ใหญ่
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด จะเกิดตามป่าเบญพรรณแล้งทั่ว ๆ ไป


ส่วนที่ใช้ : ผล
ดอก และเมล็ด


สรรพคุณของสมุนไพร :


ดอกและผล ใช้เป็นอาหาร เมล็ด จะมี Cardiac glycoside ที่เป็นพิษ
ใช้รักษาอาการไข้และขับเหงื่อ







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:28:14 น.
Counter : 311 Pageviews.  

สมุนไพร-ขันทองพยาบาท

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/suregada1.jpg//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/suregada2.jpg




ขันทองพยาบาท
สมุนไพร ผลขันทองพยาบาทมีลักษณะแบน ตรงปลายกลมและแข็งจะมีเส้นตามความยาว
เมื่อผลแก่จะแตกตรงรอยประสานตรงกลาง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Gelonium multiflorum A. Juss.


ชื่อสามัญ :
Suregada multiflorum


ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE,
HIPPOCRATEACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ฮ่อสะพายควาย ยางปลอก(แพร่,น่าน) ขันทองพยาบาท (ไทยภาคกลาง)
ขันทองพยาบาทเครือ (จันทบุรี) ป่าช้สหมอง (Hippocratea cambodiana Pierre)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขันทองพยายบาทเป็น
พรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง กิ่งก้านค่อนข้างกลม จะมีสีเทา เกลี้ยง หูใบเล็ก
หลุดร่วงได้ง่าย


ใบ : ใบขันทองพยาบาทจะ
หนาแข็ง ดก ทึบ เป็นใบเดี่ยว จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปหอกแกมขอบขนาน
มีความกว้างประมาณ 4-8 ซม. ยาวประมาณ 10-16.5 ซม.
ตรงปลายใบของมันจะแหลมหรือ มน โคนใบก็จะแหลม
ขอบใบจักเป็นซี่ฟันเนื้อใบจะหนามีลักษณะคล้ายแผ่นหนัง
เส้นใบมีทั้งหมดประมาร 14-16 คู่และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. เป็นร่องลึก


ดอก : ขันทองพยาบาทจะ
ออกดอกเป็นช่อกระจาย ยาวประมาณ 16-18 ซม. ใบประดับรูปหอกยาวประมาณ 1
มม.ตรงปลายของมันจะแหลมก้านดอกย่อยยาว 1-1.5 มม. และกลีบรองกลีบดอก จะมี
5กลีบ เรียงซ้อนกันอยู่ ลักษณะคล้ายรูปไข่หรือรูปหอกยาวประมาณ 1
มม.ขอบจักเป็นซี่ฟัน กลีบดอกจะมีอยู่ 5 กลีบ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 6-7
มม.และยาวประมาณ 3 มม. ตรงโคนสอบแคบ




ขันทองพยาบาท สมุนไพร ใบขันทองพยาบาทจะหนาแข็ง ดก
ทึบ เป็นใบเดี่ยว จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆรูปหอกแกมขอบขนาน



เกสร : เกสรตัวผู้จะมี 3
อัน เชื่อมติดกันที่ดคน อับเรณูค่อนข้างกลม ยอดเกสรตัวเมียจะมี 3 พู


รังไข่ : จะมีอยู่ 3 ห้อง


เมล็ด (ผล) : ผลขัน
ทองพยาบาท
นั้นจะแบนและกว้างประมาณ 18-20 มม.และยาวประมาณ 8-10
ซม.ตรงปลายของมันจะกลมและแข็ง
จะมีเส้นตามความยาวเมื่อผลแก่จะแตกตรงรอยประสานตรงกลาง
ส่วนเม็ดนั้นมีความกว้างประมาณ 2 มม.ยาวประมาณ 1 ซม. และจะแบน


การขยายพันธุ์ :
ขันทองพยาบาทขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดชอบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่ว ๆ
ไป จะเลื้อยพาดพันไม้อื่น ๆขึ้นประปรายทางอำเภอ มะขาม จังหวัดจันทบุรี
และตามป่าทางภาคเหนือและภาคกลาง เนื้อไม้ขาว


ส่วนที่ใช้ : เนื้อ
ไม้ เปลือก


สรรพคุณของสมุนไพร :


เนื้อไม้ เนื้อไม้ของขัน
ทองพยาบาท
จะมีรสเฝื่อนเมา ใช้รักษาอาการพิษในกระดูก ประดง
รักษาโรคเรื้อนมะเร็งคุทราด กลากเกลื้อน ลมเป็นพิษ โรคผิวหนัง
ฆ่าพยาธิโรคผิวหันงทุกชนิด กามโรค


เปลือก เปลือกขันทอง
พยาบาท
ใช้เป็นยาบำรุงเหงือกใช้รักษาเหงือกอักเสบ
และใช้เป็นยาถ่ายรักษาโรคตับพิการ โรคผิวหนังกลากเกลื้อน







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:25:25 น.
Counter : 501 Pageviews.  

สมุนไพร-ข่อยหยอง

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/koaynham1.jpg//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/koaynham2.jpg




ข่อยหยอง สมุนไพร
ใบข่อยหยองเป็นใบเดี่ยว ใบเหนียว แข็ง ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน
ริมขอบใบเป็นจักรมีหนามแหลมคม



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Streblus ilicifolius   (Vidal) Corner


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
MORACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ข่อย
หยอง , ข่อยหนาม , กะชึ่ม , ข่อยเตี้ย , ผักรูด (ประจวบฯ) ข่อยดิน,
หัสสะท้อน (เหนือ)  ,ชาป่า (ศรีราชา) , กันทรง (สุราษฎร์)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไำพรข่อยหยองเป็นพรรณไม้
ยืนต้นพุ่มขนาดกลาง มีหนามยาว 2 – 3 ซม. เรียงสลับรอบลำต้น


ใบ : ใบข่อยหยองเป็น
ใบเดี่ยว ออกสลับ ขนาดใบ 2 x 4 ซม. ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ใบเหนียว แข็ง
ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน ริมขอบใบเป็นจักรมีหนามแหลมคม


ดอก : ดอกข่อยหยองมี
ขนาดเล็กเป็นช่อเล็ก ๆ ออกตามกิ่ง


ผล : ลักษณะผลฉ่ำน้ำ
มีเมล็ดเดี่ยว แข็ง




ข่อยหยอง สมุนไพร
ต้นข่อยหยองเป็นพรรณไม้ยืนต้นพุ่มขนาดกลาง มีหนามแหลมเรียงสลับรอบลำต้น



การขยายพันธุ์ :
-


ส่วนที่ใช้ :
เนื้อไม้ ราก ใบ ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


เนื้อไม้และราก
ใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับเมือกในลำไส้ และรักษาโรคกษัย ไตพิการ


ใบ รสเมาเฝื่อน
ตำกับข้าวสาร คั้นเอาน้ำดื่มทำให้อาเจียนถอนพิษยาเบื่อเมาหรืออาหารแสลง


อื่น ๆ :
ข่อยหยองเป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามป่าบนเนินเขา


ถิ่นที่อยู่ : ข่อย
หยอง
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในปากถ้ำวิมาณจักรี จังหวัดสระบุรี
และที่เขากระวาน จังหวัดจันทบุรี กับตำบลทุ่งกร่าง




บทความสมุนไพรที่เกี่ยวข้อง:





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:22:25 น.
Counter : 672 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.