bloggang.com mainmenu search


เขาก็แค่ปากไม่ดี



เขาก็แค่อารมณ์เสียง่าย



เขาก็แค่โมโหร้าย (นิดหน่อย)



เขาก็แค่ชกต่อยเพราะไม่มีอะไรทำ



why has he such short-temperred ?
ทำไมเขาถึงหงุดหงิดง่ายนักนะ

I'm so sick of the violence.
ฉันระอาใจมากกับการใช้ความรุนแรง

He has extreamly bad mouth and lost his temper so quickly
I have met quiet a few students but I have never met such a trouble marker like him.

เขาปากเสียอย่างยิ่ง อารมณ์เสียอย่างเร็ว
ฉันเคยพบนักเรียนอย่างนี้มาบ้างเหมือนกัน
แต่ฉันไม่เคยพบใครที่เจ้าปัญหาเหมือนเขา

เอ่อ ...เขาก็ bad boy แค่นี้เอง



แต่ เขามีน้ำใจอบอุ่น




เท่อะไรกันขนาดนั้น สำหรับบทของ อาซุมะ อานิกิ (Azuma Aniki ) พระเอกของเรื่องที่รับบทโดย "ยามาโมโตะ ยูสุเกะ" (Yamamoto Yusuke) ที่ว่ากันด้วยเรื่องของบทบาทล้วนๆ เพราะไม่มีความนิยมชมชอบเป็นส่วนตัวกันมาก่อนกับยูสุเกะ แม้เขาจะเคยรับบท "อาคาโบชิ " ใน Rookies The movie มาก่อน ก็ไม่ได้ปลื้มอะไรนัก เพราะการเป็นบุคคลผู้มาทีหลัง มีหรือจะข่มหนุ่มๆ Rookies ที่ผูกใจกันมาก่อนในฉบับซีรีย์ได้ลง ทั้ง อานิยะ (อิชิฮาระ ฮายาโตะ) โอคาดะ (ซาโต้ ทาเคชิ) และ ยูฟุเนะ (อิการาชิ ชุนจิ) น่ารักๆ กันทั้งน้านนน




ทำไมต้องเอ่ยถึง Rookies ?

ไม่คิดจะดู Tumbling เพราะกีฬายิมนาสติกเป็นกีฬาที่ไม่ค่อยเท่ในความรู้สึกของตัวเองสักเท่าไร เนื่องจากเป็นความสามารถที่อัจฉริยะเกินไป แถมยังมีทัศนคติไม่ต่างกันนักกับตัวละครหลายๆ คนในเรื่อง คือ เป็นกีฬาอ่อนช้อยที่เหมาะกับผู้หญิงๆ

แต่ยังอุตส่าห์เปิดเข้าไปดู เพราะคิดว่าเจ้าหัวทองในเรื่อง Tumbling ที่เห็นในภาพโปสเตอร์คือ ยูฟุเนะ หนึ่งในสมาชิกของ Rookies ที่แอบปลื้มอยู่ ปรากฏว่าเจ้าหัวทองคนนี้ ไม่ใช่ ยูฟุเนะ เป็นคนละคนที่มีทรงผมและโทนใบหน้าหน้าคล้ายคลึงกันเท่านั้นเอง เห็นชัดครั้งแรกก็รู้เลยว่าไม่ใช่เพราะมีรอยยิ้มต่างกัน หัวทองยูฟุเนะ ใน Rookies เป็นคนยิ้มใสยิงฟันน่ารักเหมือนเด็กๆ ส่วนหัวทองคนนี้คือ มิอุระ โชเฮ เป็นคนยิ้มสวย มุมปากยกมุมยิ้มขึ้นสูงเป็นรอยยิ้มที่ทั้งเท่และดูดี (เยินยอกันเข้าไป) แต่ถึงจะคนละคน ก็งานเข้าเลยค่ะท่าน ตกหลุมรัก(อีกแล้ว)ทันที เพราะหน้าตาดี สูง เท่ แถมยิ้มออกมาแต่แต่ละทีอยากจะควักออกจากจอมากอด (เป็นเอามาก) ก็มันชอบจริงๆ นะ ผู้ชายยิ้มสวย

Tumbling เป็นซีรีย์แนว Sport ที่ไม่มีอะไรดึงดูดใจแต่แรก เนื่องจากเคยดูแนวนี้อย่าง Rookies และ Water boys มาแล้วแบบอิ่มเอม เป็นเรื่องธรรมดาของการ "มาทีหลัง" และ "ไม่ดังกว่า" แต่ถ้าถามว่าสนุกไหม ก็ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้สนุกด้วยเหมือนกัน เมื่อนักเลงเปลี่ยนมาเป็นนักยิมนาสติก ไม่ฮาเฮมากมายอย่างที่คิด แต่ก็พอมีเรื่องให้ซึ้งอย่างที่คาด และไม่ได้ทำให้รู้สึกผิดหวังแต่อย่างใด



เรื่องย่อ : -

อาซุมะ อานิกิ เป็นนักเรียนชั้นปีที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมปลายคาราซึโมริ เขาเป็น devil ระดับหัวโจก ที่ได้รับยกย่องจาก bad boys ด้วยกันว่าเป็นหัวหน้าแก๊งนักเรียน (ที่เอาดีทางนักเลง) ของ ร.ร.คาราซึโมริ

อาซุมะมีเพื่อนสนิทด้วยกันสองคนคือ สึคิโมริ เรียวสุเกะ และ เคนจิ นิปโปริ ซึ่งdevil หัวแดงคนนี้ไม่ธรรมดา เพราะความแสบซ่านั้นทั้งผองเพื่อนและบรรดาคุณครูต่างพากันขยาด ไม่กล้ายุ่งเกี่ยว ไม่อยากจะสบตาด้วย ริอ่านเป็น devil นั้นไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่ แต่เมื่อ devil ดันโดดเรียนบ่อยและอ่อนด้อยทางวิชาการ เขาจึงต้องชดเชยเวลาที่ขาดไปนั้นด้วยการทำกิจกรรมชมรม มันเป็นกฏของโรงเรียนที่เลี่ยงไม่ได้ แสบแค่ไหนก็ต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ เพราะนั่นเป็นกรอบของคำว่า "สำเร็จการศึกษา"

แต่ไม่ว่าจะไปเข้าชมรมไหนก็พังไม่เป็นท่า "กรรมเวร" จึงมาตกทับอยู่กับชมรมยิมนาสติก ที่ดันมีสาวสวยคือนักเรียนหญิง ซาโตนากะ มาริ เป็นนักกีฬาอยู่ในสังกัด เพราะตกหลุมรักสาวเจ้า ปิศาจหัวแดงจึงยอมเข้าชมรมยิมนาสติก ทั้งที่ขัดกับทัศนคติส่วนตนที่ว่ายิมนาสติกเป็นกีฬาหญิงๆ ที่น่าอายสำหรับลูกผู้ชายทั้งแท่ง

เมื่อนักเลงบน street fightling จะหันมาเอาดีทางด้าน Tumbling sport จึงเกิดเป็นเรื่องราวการรวมตัวกันของ Tumbling boys เหล่านี้



แก๊ง Bad boys

สามทหารเสือ

Azuma Aniki
( Yamamoto Yusuke) หัวโจกตัวปัญหาอันดับหนึ่งของโรงเรียน ซับอังกฤษสำหรับบรรยายคุณสมบัติใช้คำว่า devil , dangerous guy ,The top troble marker of the school (เป็นฉายาที่ฟังดูร้ายดี) ในเรื่องเขาชื่อ ฮาซุมะ อานิกิ นะคะ แต่ก็มีอีกชื่อตามที่เรียกกันคือ วาตารุ ไม่รู้ทำไมเรียกแบบนั้นเหมือนกัน แม่ เพื่อนสนิทโชเฮ เรียกวาตารุ เพื่อนสนิทนิปโปริเรียก อานิกิ คิยามะก็เรียก วาตารุ ครูเรียกอาซุมะ งงจริงๆ ค่ะ แต่ชอบชื่อวาตารุมากที่สุด เพราะเวลามีคนเรียกทำให้รู้สึกว่าการออกเสียง วาตารุ เป็นเสียงที่เพราะดี

Tsukimori Ryosuke ( Miura Shohei ) เพื่อนสนิทผู้เป็น "คู่หู" เริ่มต้นการเป็นเพื่อนด้วยการชกต่อยกันเอง และมิตรภาพก็งอกงามเมื่อร่วมมือกันชกต่อยกับคนอื่น ความสัมพันธ์ยิ่งแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเมื่อคู่หูขัดแย้งและหันมาชกต่อยกันเองอีก


Keiji Nippori
(Kento Kaku) เพื่อนสนิทอีกคนของอาซุมะ แต่สถานะต่างไปจากเรียวสุเกะ เพราะเขาเป็นรุ่นน้องที่นับถืออาซุมะเป็นลูกพี่ ในขณะที่เรียวสุเกะเป็นเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจในระดับเดียวกัน

หนึ่งมังกรเดียวดาย

Kiyama Ryuichiro (Daito Shunsuke) เป็นเพื่อนร่วมชั้นของอาซุมะ และเคยเรียนมาด้วยกันสมัยประถม ทั้งสองเป็นเพื่อนแต่ห่างเหินกัน เนื่องจากคิยามะ เป็นคนปลีกวิเวก ไม่ยุ่งวุ่นวายกับใคร และไม่มีใครกล้าไปยุ่งวุ่นวายกะแก เพราะความวู่วามในอดีตเป็นเหตุให้เพื่อนสนิทถูกพวกนักเลงตีตาย คิยามะ จึงพาตัวเองออกห่างจากผู้คน ไม่ยอมให้ตัวเองมีเพื่อน และไม่สุงสิงกับใครอีก ทำนิ่งๆ เท่ๆ อยู่โดดเดี่ยวตัวคนเดียว และในสายตาของเพื่อนร่วมชั้น คิยามะเป็นคนเงียบที่น่ากลัว

ลูกใครหนอ พ่อช่างปั้น ลูกใครกัน ช่างหล่อได้ใจ เขาหล่อค่ะคนนี้ จะจำชื่อไว้ให้แม่นเลยว่าเขาชื่อ ไดโตะ ชุนสุเกะ



กลุ่ม good boys

สี่นักฝัน

Takanaka Yuta
(Seto Koji) เด็กหนุ่มผู้ใฝ่ฝันถึงยิมนาสติก เขาเป็นกัปตันชมรมยิมนาสติกชาย ฝันของเขามีอุปสรรคตั้งแต่แรกเริ่มตั้งชมรมและไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ เนื่องการฟอร์มทีมเพื่อการแข่งขันใดๆ อย่างน้อยที่สุดควรมีตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป แต่สมาชิกที่ร่วมทีมกันอยู่มีแค่เพียง 5 คน ให้นับจริงๆ ก็มีแค่ 4 เพราะสมาชิกอีกคนที่ชื่อฮิโนะนั้น ไม่สนการเล่นเป็นทีม ต้องการแค่เพียงเล่นเดี่ยวแบบวันแมนโชว์

ยูตะเป็นประธานชมรมฯ เพื่อนๆ ที่เป็นสมาชิกในทีมก็จะมีบุคลิกและปัญหาแตกต่างกันไปคือ Taku Mizusawa เพื่อนสนิทของยูตะ (รับบทโดย Tomo Yanagishita) Satoshi Tsuchiya เพื่อนผู้มีปัญหาด้านสุขภาพ (รับบทโดย Satoshi Tomiura) Atsushi Kaneko (รับบทโดย Soran Tamoto )

และอีกหนึ่งนักกีฬายโส หรือหนึ่งวันแมนโชว์ที่ว่า

Tetsuya Hino (Takahiro Nishijima) นักยิมนาสติกฝีมือเก่งกาจ เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกชมรม แต่ไม่เข้ากับใคร ไม่เอาเพื่อนเอาฝูง ฝึกคนเดียว ซ้อมคนเดียว เก่งไม่เกรงใจใครอยู่คนเดียว คนอื่นจะเป็นยังไงข้าไม่สน เกลียดขี้หน้าจังเลยเด็กคนนี้ เห็นแล้วหมั่นไส้ เดินออกมาทีไรอยากเอามือจับหัวโขกกำแพง สงสัยว่าจะติดนิสัยชอบใช้ความรุนแรงมาจากพระเอกของเรื่องหรือเปล่านะเนี่ย



มีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เข้ากันระหว่างเด็กเหล่านี้ กลุ่ม Bad boys ก็มีคิยามะที่ไม่เข้ากับใคร ไม่ต้องการเพื่อน ชอบปิดกั้นตัวเองอยู่คนเดียว ส่วนกลุ่มเด็กดีผู้มีฝันก็มีฮิโนะที่ทำเต๊ะท่าไม่เห็นหัวใคร ไม่ใส่ใจหน้าไหนทั้งนั้นนอกจากมุ่งมั่นฝึนฝนตัวเองเพียงลำพัง สาเหตุก็ล้วนแต่เกิดจากปัญหาภายในใจ และความสัมพันธ์ของพวกเขาก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหากไม่มีเขาคนนี้เข้ามาในชมรมยิมนาสติก

อาซุมะ เอนิกิ "The top troble marker of the school "

เพราะต้องซ่อมเวลาเรียนด้วยการแซมทำกิจกรรม อาซุมะจึงมาลงเอยที่ชมรมยิมนาสติก ตัวปัญหาไปที่ไหนย่อมต้องเกิดปัญหา ชมรมยิมฯก็ไม่รอดไปจากทฤษฎีนี้ด้วยเช่นกัน

แต่ถึงจะเป็นตัวปัญหา อาซุมะก็เป็นคนที่รู้ความควรไม่ควร ใครมีเรื่องได้ และใครไม่ควรมีเรื่องด้วย เขาอาจจะตีกับนักเรียนเกเรด้วยกัน แต่ไม่ได้อยากยุ่งด้วยกับเด็กเรียนที่ดีๆ

"I said that's enough!"
ฉ้นบอกให้พอได้แล้ว!

เมื่อนักเรียนเกเรปลายแถวหาเรื่องชกต่อยเด็กนักเรียนในห้อง ครูที่ทำตัวไม่ถูกเพราะไม่รู้จะห้ามหรือจัดการอย่างไร แต่อาซุมะพูดประโยคนี้ประโยคเดียว ห้องทั้งห้องหยุดชะงักและเงียบกริบ ช่างเป็นการเปิดตัว devil ได้เท่จริง

และถึงจะเป็นตัวปัญหา แต่สิ่งหนึ่งที่อาซุมะมีคือความรับผิดชอบ เมื่อทำให้เรื่องมันวุ่นวาย เมื่อตัวเองเป็นเหตุให้เด็กดีๆ ต้องเดือดร้อน เขาก็พร้อมแอ่นอกเข้าแก้ไข (แม้ไม่มีใครต้องการ 555)





น่าแปลกที่หัวโจกตัวร้ายผู้ซึ่งใครๆ ต่างไม่อยากเข้าใกล้ กลับกลายเป็นกาวหนึบที่ดึงดูดใครต่อใครเข้ามาเกาะติดกันไว้ในชมรมยิมนาสติก และถึงจะมารวมตัวกันได้แล้ว ก็ยังมีความแตกต่างระหว่างแนวความคิดและวิถีปฏิบัติของเด็กสองกลุ่มนั่นเอง ฝ่ายหนึ่งทำอะไรง่ายๆ สบายๆ อะไรก็ได้ อยากเล่นก็เล่น อยากเลิกก็เลิก ไม่อยากเลิกแต่ถ้ามันยากนักก็เลิกกันซะทีสิวะ ไม่ใช่ความฝันอะไรนักหนานี่ แต่เรื่องเดียวกันสำหรับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง อะไรก็จริงจังไปหมด ผิดหวังก็สียใจง่าย ท้อแท้ง่าย และเมื่อถึงเวลาต้องเลือก ฝ่ายแรกเลือก "เพื่อน" อย่างไม่ต้องคิด ส่วนฝ่ายหลังยังลังเลในการตัดสินใจเพราะบางสิ่งที่ทุ่มเทไปก็สำคัญด้วยเช่นกัน ในเรื่องของมิตรภาพความแตกต่างนี้จึงเป็นความไม่ลงตัวที่น่าสนใจ

"คนอย่างนายไม่มีทางเข้าใจถึงการมีอะไรบางสิ่งที่สำคัญมากต่อตัวนายหรอก"

เด็กดีเขาพ่นพิษด้วยคำพูดลักษณะนี้ใส่หน้าเด็กไม่ค่อยดี


"นายพูดแบบนี้ออกมาได้ยังไงฮะ! นายรู้อะไรเกี่ยวกับพวกเราบ้าง"
(ถ้านายไม่รู้อะไรอย่าพูดดีกว่า)

เด็กไม่ค่อยดีเขาก็ตอบโต้ลักษณะนี้ เพราะพวกเขาต่างก็มีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบในแบบของพวกเขา เพียงแต่คนทั่วไปอาจไม่เปิดใจรับรู้





ความฝันอะไรอาซุมะไม่มี รู้แต่เขาต้องรับผิดชอบต่อความฝันของคนเหล่านั้น เพราะพวกเขาคือคนสำคัญที่อาซุมะเรียกว่า "เพื่อน" เมื่อเพื่อนเป็นสิ่งสำคัญเขาจึงต้องปกป้องสิ่งสำคัญของเพื่อนๆ ด้วย

ซีรีย์เรื่องนี้จึงไม่ได้เน้นความฝันแต่เน้นความสัมพันธ์แห่งมิตรภาพ มีคำพูดสวยๆ ก็เยอะ มีเรื่องให้ทำซึ้งก็มาก ตอนแรกๆ ดูแล้วซึ้งดี แต่พอหลังๆ ชักเริ่มรู้สึกว่าเยอะแยะไปหมด เพราะต้องให้ปัญหาของแต่ละคนได้รับความเข้าใจและแก้ไขให้ลุล่วงไปทีละคนในแต่ละตอน บางครั้งก็ทำให้รู้สึกว่าอารมณ์มันไม่ไหลรื่นไปด้วยกัน



แม้เพื่อนๆ จะผลัดกันเด่นไปแต่ละตอน แต่อาซุมะก็เป็นศูนย์กลางของเพื่อนทั้งหมด

เพื่อนที่หัวเดียวกระเทียมลีบ
เพื่อนที่มีภาระหนักทางครอบครัว
เพื่อนที่น้อยใจเพราะรู้สึกเหมือนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
เพื่อนที่เสียใจท้อแท้เพราะบนหนทางเต็มไปด้วยอุปสรรค
เพื่อนที่แอบชอบเพื่อนแต่ไม่สามารถปริปากบอกใครได้
เพื่อนที่แบกความรู้สึกในการเป็นจุดอ่อนของทีม
เพื่อนที่ปากบอกไม่ต้องการใคร แต่ในใจอยากใช้เวลาสนุกสนานกับเพื่อนด้วยเช่นกัน





อาซุมะ ที่ขาดพ่อ แต่ดูความรักของแม่จะไม่ทำให้เขาขาดอะไร ไม่ใช่ลูกแหง่ แต่เป็นตัวของตัวเองมีอิสระทางความคิดและการกระทำเลยออกแนวโผงผางตรงไปตรงมามากไปหน่อย

old hag be quiet! (เงียบนะ ยายเฒ่า)

Annoying bitch!
นี่คือตัวอย่างของความปากร้าย แต่ด่าคุณครูขนาดนี้ออกจะร้ายเกินไปแล้วมั้งนะ อย่าได้เอาเยี่ยงอย่างกันเลยทีเดียว

Who you think you are ?

i'm listening quietly , but that doesnt mean you can act as you please.
Just because you are a teacher, and whatever you say is God's word.

Don't be cocky because we don't say anything
only because you are a little good at it
you don't have the right to talk like that.

There are no way i'd lose.It's lame.

You sure talk big while i'm quiet, don't you ?
what do you know about Nippori?
what do you know about us ?

what did you say , tying to pick a fight?
Don't you dare, forget your word right now!!
like we can stay quiet after being told so much

เรื่องนี้ชอบวิธีการพูดจาของพระเอกค่ะ เขามักจะตั้งคำถามขัดแย้งลักษณะนี้ ชอบนิสัยสไตล์พระเอกแนว bad boy ด้วย ภายนอกดูร้ายๆ แต่เพื่อนที่คลุกคลีถึงรู้ว่าความจริงแล้วเขาเป็นคนใจดี เพราะมีสภาพแวดล้อมสบายๆ ไม่มีสิ่งกดดันเหมือนเพื่อนๆ ที่แต่ละคนมีปัญหาหนักอกกันทั้งสิ้น อาซุมะจึงเหมือนคนที่คอยทำหน้าที่เยียวยาปัญหาคนอื่น ใครเจ็บใครเสียใจ เก็บเข้าบ้านมาให้แม่ช่วยเยียวยาด้วย และยาขนาดเอกของแม่ก็คือข้าวห่อไข่รสอร่อย (น่ารัก)







ดังนั้นจะยอมปิดบล็อกไม่ได้เลยหากไม่เอ่ยถึงเธอและบทบาทนี้

Otsuka Nene หรือ ที่เรียกเอาเองว่า "เนเน่จัง" กับ บทบาทความรักของแม่

หากจะเอ่ยถึงแม่ ต้องกลับไปยังประโยคที่โปรยไว้แต่แรกถึงตัวตนของพระเอกที่ว่า "เขามีหัวใจอบอุ่น" ถึงละครจะไม่ละเอียดในเรื่องครอบครัวแต่คำพูดไม่กี่คำและพฤติกรรมไม่กี่อย่างระหว่างความสัมพันธ์แม่ลูกคู่นี้ ก็พอจะประเมิณได้ว่าเขาควรถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร devil อาซุมะ เป็นคนมีน้ำใจ รักเพื่อน และใจกว้างต่อทั้งอริและมิตร

If you dont help others , no one will want to help you.
ถ้าลูกไม่ช่วยคนอื่น ก็ไม่มีใครจะอยากช่วยลูกหรอกนะ

เพราะแม่สอนมาดี ลูกจึงเป็นคนมีน้ำใจอย่างที่เห็น



ใครๆ ก็บอกว่าเขาเป็นเด็กมีปัญหา แต่จริงๆ แล้วกลับมองว่าเขาเป็นคนที่มีปัญหาน้อยที่สุด และเป็นคนที่มีความสุขกว่าใคร เพราะเขามีแม่ที่รักและเข้าใจ แม่ที่มีทัศนคติว่า มีบาดแผลติดตัวสี่ห้าแผลถือเป็นเรื่องปกติในวิถีลูกผู้ชาย ลูกอาจไปตีกับชาวบ้านมาแต่แม่บอกว่า Good Job นั่นเพราะแม่ก็รู้จักนิสัยและเข้าใจในตัวตนของลูกดี ขณะที่คนอื่นกำลังหัวเราะเยาะในความล้มเหลวแม่กลับยิ้มชื่นชมและปรบมือให้ และไม่ว่าใครจะว่าเขาเป็นตัวร้ายยังไง แม่ยังเชื่อใจและภูมิใจว่าเขาเป็นคนดี

ประโยคที่แม่ของอาซุมะ เอ่ยถึงลูกชายต่ออดีตสามี

"Is he a good boy?"
เขาเป็นเด็กดีใช่ไหมล่ะ

สีหน้าและแววตาของแม่ที่เอ่ยประโยคนั้น เป็นสายตาของคนที่ภูมิใจในตัวลูกอย่างยิ่ง

และประโยคนี้ก็แทนความในใจทุกสิ่ง คือความรักและความภูมิใจทั้งหมดที่มี


For being born, thank you.
ขอบคุณนะ สำหรับที่ลูกเกิดมา






ชอบบทแม่ของอาซุมะมากเลยล่ะค่ะ และเนเน่จังก็เล่นบทแม่คนนี้ได้เหมาะมาก สวย ดุ ใจดี และน่ารัก อาซุมะที่ใครๆ ก็ว่าแน่ เดินสวนทางมาเพื่อนจะหลบทางให้ มีเรื่องอะไรครูก็หงอๆ ไม่กล้าพูดอะไรมาก แต่ทำไมเมื่อครูเอ่ยคำ "เชิญผู้ปกครอง" อาซุมะของเราถึงกับเสียศูนย์ คำตอบคือผู้ปกครองคนนี้คือแม่ และเป็นคนเดียวที่เอาอาซุมะอยู่ ( อยู่หมัด! ) อาซุมะพาเพื่อนมาบ้านที่เป็นร้านอาหารทีไร เพื่อนเป็นต้องปลื้มคุณแม่คนสวย อีกทั้งคุณแม่ยังใจดียิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ จึงมีเสียงซุบซิบ

This son was born from that mother, is it a mutation ?
ลูกชายคนนี้เกิดจากแม่คนนั้น (แน่เหรอ) นี่มันคือการกลายพันธุ์ใช่ไหม

แต่พอเห็นคุณแม่อีกเวอร์ชั่น

They are parent and child after all
จากทั้งหมดนี้พวกเขาคือแม่ลูกกัน(อย่างแน่นอน)





ความเป็นตลกคอมเมดี้ก็มีอยู่ค่ะแต่ก็ไม่มากเท่าที่ Rookies ทำได้ควบคู่กันไปกับสาระในเนื้อหา ความตลกส่วนใหญ่ก็มาจากอาซุมะและเพื่อนๆ นี่แหละที่พอจะมีมุขขำๆ อยู่บ้าง แต่ไม่ถึงกับฮาแตกแตนหรอกนะคะ เขาเป็นนักเรียนนักเลงที่ถนัดเรื่องชกต่อย เพราะเกลียดการพ่ายแพ้ จึงพร้อมที่จะออกกำลังต่อสู้อยู่เสมอ แต่ถ้าอยู่ต่อหน้าสาวที่ชอบล่ะก็สุภาพเรียบร้อยเขินอายขึ้นมาทันที เปลี่ยนไปเป็นคนละคน! เมื่อนักเลงหัวแถวของโรงเรียนหันไปเล่นยิมนาสติกวงการนักเลงย่อมปั่นป่วนเป็นธรรมดา เริ่มจากเพื่อนสนิทใกล้ตัว เรียวสุเกะ (โชเฮ) ก็ไม่ได้ขัดขวางหรอกนะถ้าเพื่อนรักอาซุมะอยากจะทำอะไร แต่เมื่ออาซุมะไปหมกมุ่นอยู่กับชมรมยิมนาสติกมากเข้า ที่เคยเกาะติดกันก็แยกห่าง และถูกชักดึงไปในทางที่ไม่ดี เมื่อรู้สึกว่าติดกับและมีปัญหาหวังว่าเพื่อนจะช่วยคิดแก้ไข แต่อาซุมะก็ยุ่งวุ่นวายอยู่กับปัญหาของชมรมยิมฯ จนไม่มีเวลาเหลียวหลังมาฟัง



เกิดเป็นน้ำตาหยดแรก ตอนที่โชเฮพยายามจะบอกอาซุมะเกี่ยวกับปัญหาของตัวเอง แต่อาซุมะก็บอกให้รอก่อนๆ แถมยังบอกอีกว่า "เรื่องผู้หญิงอีกล่ะสิ" ตอนโชเฮยืนมองตามแผ่นหลังของอาซุมะที่กำลังตามตื๊อยูตะเพื่อเอาใจใส่ต่อปัญหาของชมรมยิมฯ มันจี๊ด ประหนึ่งนางเอกกำลังน้อยใจพระเอกก็ไม่ปาน และนั่นก็เป็นจุด "ตัดใจ" ของเรียวสุเกะด้วย ที่ตัดสินใจจะรับมือกับปัญหาของตัวเองตามลำพัง

เรื่องซึ้งต่อมาก็เป็นเรื่องของคิยามะผู้โดดเดี่ยว เขามีความสัมพันธ์อันดีกับอาซุมะอย่างเห็นได้ชัด แต่ยังเว้นระยะห่างระหว่างกันเอาไว้ คิยามะก็เป็นอีกคนที่ใจดีมีน้ำใจ แต่เพราะเป็นคนที่ไม่มีใครเข้าใกล้ จึงไม่ค่อยมีใครรู้

สองคนนี้ถูกจัดลำดับขึ้นมาก่อนจึงเป็นโอกาสทองในการเรียกคะแนนซึ้ง เพราะเมื่อเรื่องซึ้งของคนอื่นๆ ทยอยตามมาอีกหลายซึ้ง เริ่มรู้สึกว่า "อ่ะ ชักเยอะไป" ทำให้ไม่ค่อยอินเหมือนสองสามคนแรก





คล้ายๆ Rookies อยู่ไม่นิด และคล้ายคลึง Water boys อยู่ไม่น้อย เพราะนี่เป็นปัญหาของเด็กนักเรียนหัวไม้ ที่ต้องการสาระบางสิ่งบางอย่างมาทดแทนเรื่องชกต่อย ถ้ามีอะไรดีๆ สนุกทำ ก็คงไม่ว่างไปมีเรื่องกับใคร เป็นเรื่องของเพื่อน เรื่องของทีม เรื่องของอุปสรรค ที่มี "ครู" และ "ผู้ปกครอง" เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งครูที่ขัดขวาง ครูผู้สนับสนุน ผู้ปกครองผู้ไม่เข้าใจ ซึ่งคล้ายกันกับ Water boys ทั้งเรื่องทัศนคติต่อยิมนาสติกและระบำใต้น้ำ ต่างถูกมองเป็นกีฬาน่าอายสำหรับผู้ชายที่คิดจะมาละเล่น เรื่องของการละทิ้งบางสิ่งเพื่อให้ความสำคัญกับบางอย่าง เช่นการเลิกสูบบุหรี่ หรือการหักห้ามใจไม่ให้เกิดเรื่องชกต่อย นี่ก็ซ้ำรอย Rookies เลยล่ะค่ะ แถมครูผู้ชายที่มาเป็นที่ปรึกษา แม้จะทำบุคลิกให้ต่างออกไป คือดูอ่อนแอ ไร้น้ำยา (เป็นอาซุมะเองที่คอยออกคำสั่งให้ครูคอยทำโน่นทำนี่ให้ และยังผลักดันให้กำลังใจในยามที่ครูอยู่ในภาวะอารมณ์ห่อเหี่ยว) แต่การที่มีครูคอยยืนหยัดให้กำลังใจ และคอยสนับสนุนลูกศิษย์ก็ไม่ต่างกันนักกับการสนับสนุนความฝันของคาวาโต้ ใน Rookies นั่นเอง และการที่ครูก็มีบางสิ่งบางอย่างมาให้เลือกรับผิดชอบ มีโอกาสเปิดมาให้เลือกไปก็คล้ายกับประเด็นของครู ซาโอโตเมะ ใน water boys ด้วยเหมือนกัน

ดูเป็นการพยายามจับโน่นผสมนี่ ด้วยประเด็นดีๆ ทั้งนั้นที่เลือกมา แต่พอพยายามจับมาใส่ไว้ด้วยกันมากเกินไปก็ทำให้ดูไม่รื่นสักเท่าไร อาจเป็นเพราะ "เยอะ" และมีความคล้ายคลึงอย่างที่ว่านั่นเอง ครูผู้ชายเหมือนเป็นตัวแทนในประเด็นของคาวาโต้ (Rookies) ส่วนครูผู้หญิงก็มีบุคลิกชาเย็นคล้ายกันกับครูนัทสึโกะใน water boys เรื่องของการใช้ความรุนแรง การพิสูจน์ความตั้งใจให้เป็นที่ยอมรับ เหตุผลในการขัดขวางและการยุบชมรม คล้ายคลึงกันมาก ถ้า Tumbling มาก่อนอาจจะดึงดูดใจกว่านี้ แต่เมื่อมาที่หลังอย่างนี้ก็ช่วยไม่ได้ที่จะถูกเปรียบเทียบ

แต่ก็ชอบมากในส่วนคาแร็คเตอร์ของตัวละคร





you are not alone
the one who said that was you ? Wataru
you are always like that don't face your own matter
and keep worring for the others all the time.

นายไม่ได้ตัวคนเดียวนะ
คนหนึ่งที่พูดอย่างนั้นก็คือนายเองใช่ไหม วาตารุ
นายเป็นแบบนั้นเสมอ ไม่ยอมเผชิญหน้ากับเรื่องของตัวเอง
แต่คอยกังวลเรื่องของคนอื่นตลอดเวลา

เคยเป็นไหมคะ เวลาที่เรามองเห็นลักษณะบางอย่างของตัวละครแล้วจากนั้นก็มีตัวละครในเรื่องพูดถึงสิ่งที่เราคิดขึ้นมา ทำให้รู้สึกว่า นั่นไง..เหมือนอย่างที่ฉันคิดเลย และรู้สึกแอบดีใจเล็กๆ ที่มีสิ่งยืนยันได้ว่าไม่ได้เทใจคิดเข้าข้างไปเองเพราะชอบนักแสดง ( 5555)





อาซุมะหรือวาตารุมีคาแร็คเตอร์แบบนั้นนั้นค่ะ เอาเรื่องของคนอื่นมาเก็บเป็นกังวล คนที่มีใจอ่อนโยนถึงจะสัมผัสรับรู้ปัญหาคนอื่นได้ง่าย สายตาที่กวาดแลไป แล้วค้นพบ พบแล้วเก็บมาใส่ใจ ครุ่นคิด และไม่ปล่อยมันไปหากปัญหานั้นยังไม่ได้รับแก้ไข นี่แหละค่ะ บทบาทความเท่ของ ยามาโมโตะ ยูสุเกะ ผู้รับบทพระเอก

แต่ขอโทษด้วยนะคะ ที่ดันไปชอบชุนสุเกะและโชเฮซะมากกว่า

ฮ่าฮ่าฮ่า ... it can't help ก็มันช่วยไม่ได้นี่ ความรู้สึกชอบไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล แต่ถ้าต้องการเหตุผลก็พอหาให้ได้



ยูสุเกะในบทอาซุมะนั้นเท่ แต่มาดนิ่งๆ เย็นๆ ของไดโตะ ชุนสุเกะที่รับบทคิยามะก็เท่บาดใจเหมือนกันแถมหล่ออีกต่างหาก (มีคู่แข่ง) ส่วนมิอุระ โชเฮกับบทเรียวสุเกะ นั้นน่ารักมากมาย การที่เขาเป็นเพื่อนสนิทของอาซุมะ และเพราะอาซุมะเป็นศูนย์กลางของเรื่อง ดังนั้น ที่ไหนมียูสุเกะที่นั่นย่อมต้องมีโชเฮอยู่ข้างๆ เสมอ ในขณะที่ชุนสุเกะบทจะน้องลงไปในตอนหลังๆ โชเฮ ในบท เรียวสุเกะจึงมีความโดดเด่นที่ได้เคียงคู่คุณพระเอกและบุคลิกก็เป็นหนุ่มร่าเริงที่น่ารัก (ที่สุด)



ส่วนประเด็นที่อยากชมเป็นพิเศษสำหรับ Tumbling คือการการถ่ายทำฉากยิมนาสติก เพราะนั่นไม่ใช่การตั้งท่าหวด วิ่ง หรือโดดรับบอลเอาได้เหมือนการเล่นเบสบอลแบบ Rookies หรือไม่ใช่การสวมหมวกและแว่นกันน้ำแบบ water boys ที่ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องการใช้แสตนอินน์มากนัก แม้การแสดงฉากยิมนาสติกแบบเต็มรูปแบบทีมจะมีไม่มากแต่หลังจากตั้งใจจับผิดอย่างมาก ขอออกปากว่าของเขาทำได้เนียนจริงๆ บางครั้งยังแอบคิดว่านักแสดง แสดงเองหรือเปล่าหว่า แต่ก็ยังขัดแย้งอยู่ในใจ ไม่หรอกน่า นั่นดูจะยากไปนะสำหรับนักแสดง ที่ต้องตีลังกากลับหลังรอบเดียว หรือทำท่าเรนเดียร์ที่ยืนตรงด้วยฝ่ามือสองข้างเท้าชี้ขึ้นเพดานแยกออกเป็นเหมือนเขากวางนั้น เอาเข้าจริงๆ อาจจะพอฝึกกันได้ (แต่ก็ดูยากเอาเรื่องอยู่นะ) แต่ส่วนที่ต้องตีลังกากลับหลังสองสามรอบหรือโดดหมุนตัวติ้วๆ ต้องเป็นแสตนอินน์แน่นอน แต่เขาตัดต่อภาพระหว่างการตั้งต้นด้วยใบหน้าของนักแสดงกับช่วงจังหวะพลิก จังหวะโดด อะไรต่างๆ ได้เนียนดี



เป็นแนวกีฬาที่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นในประเด็นปัญหากับตัวละครค่อนข้างต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ถ้าใครเคยดู water boys และ Rookies เราจะเห็นว่าปัญหานั้นสัมพันธ์อยู่กับตัวละครหลักๆ อย่าง Water boys มีทั้งเด็กที่ต้องการพิสูจน์ตัวเองให้เป็นที่ยอมรับ เด็กที่กดเก็บความฝันของตัวเองไว้เพื่อเห็นแก่ฐานะครอบครัว เด็กที่ยอมรับสภาพของตัวเองว่าจะไม่ได้เรียนต่อจึงพยายามสร้างความทรงจำที่สนุกสนานและมีความสุขในช่วงสุดท้ายของวัยมัธยมปลาย ยิ่งถ้าเป็น Rookies ซึ่งจะว่าไปแล้ว ตัวละครหลักนอกจากครูผู้สนับสนุนความฝัน ก็คือกลุ่มเด็กอันธพาลที่เป็นเพื่อนสนิทกันอยู่แล้วทั้งกลุ่มและมีอดีตที่ส่งผลต่อพวกเขาร่วมกัน ความสำคัญของระบำใต้น้ำ และเบสบอลเหมือนเป็นสิ่งเดิมพันในการพิสูจน์ตัวตนของพวกเขา เพื่อจะหลุดพ้นไปจากอดีตที่ถูกตราหน้าและเริ่มต้นสู่ชีวิตใหม่ แต่ Tumbling จะต่างไปในเรื่องนี้ ยิมนาสติกอาจจะเป็นฝันของยูตะประธานชมรมฯ เป็นฝันของ ฮิโนะที่เป็นยอดฝีมืออยู่แล้ว แต่ทางฝ่ายตัวละครเด่นๆ จะเป็นกลุ่ม Bad boys ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้แต่แรก อย่างพระเอกเขาแค่บังเอิญต้องทำกิจกรรมชมรม พอทำแล้วจึงอยากทำให้สำเร็จตามนิสัยของคนไม่ยอมแพ้ และเพื่อนฝ่ายตนก็ติดตามเข้ามาเพราะอยากอยู่กับเพื่อนและอยากช่วยเพื่อน ความชอบหรือความสำคัญเป็นเรื่องมาทีหลังจากนั้น และไม่ได้ทำให้รู้สึกเป็นเรื่องยิ่งใหญ่อะไร เพราะเนื้อเรื่องส่วนใหญ่ก็โยงไปที่มิตรภาพมากกว่าอยู่แล้ว

มาก่อนอาจได้ที แต่ถ้ามาทีหลังแบบนี้ ย่อมต้องมีการเสียรังวัดเป็นธรรมดา

แต่ถ้าจะดูผู้ชายหลายคนหลากหลายสไตล์ ดูก่อนหรือดูหลังก็คุ้ม (เรื่องนี้ไม่เข้าใครออกใคร)

*****




ปฏิกิริยาของหนุ่มหัวสามสี (หัวดำ หัวแดง และหัวทอง) เมื่อได้เสื้อทีมใหม่เป็นสีชมพู "เราต้องใส่เสื้อพวกนี้จริงๆเหรอ"





โพสต์ท่าซะเหมือนไม่ใช่ผู้ชาย มีฉากเดินกลับบ้านเป็นกลุ่ม และวิ่งลงเล่นน้ำเหมือนกับ Rookies ด้วยล่ะ






เสื้อยืดสีชมพูน่ะน่ารักดี แต่ชุดยิมนาสติกสีชมพูนี่สิ มันทำใจลำบาก
ดูไม่เข้ากันกับหนุ่มหล่อพวกนี้อย่างแรง


เพื่อนคู่หูที่อยู่ด้วยกันเสมอ


แม้ว่าเซโต้ โคจิ จะเป็นถึงระดับพระเอกเรื่อง Sky of Love และบทก็ถือว่าเด่นพอสมควรในเรื่องนี้
แต่คิดว่าเด่นจริงๆ คงเป็นหัวสามสีนี้ที่อยู่ตรงกลางนี้มากกว่า

ขอโทษด้วยนะแฟนคลับของโคจิ ที่มีรูปของเขาในนี้น้อยมากเนื่องจากเขาอยู่ฝ่ายเด็กดี จึงทำคะแนนสูสีกับฝ่าย bad boys ได้ลำบาก











มิตรภาพ



การฝึกฝน






กำลังใจ








ความมุ่งมั่น






แม่และความภาคภูมิใจ





Okamoto Azusa นางเอก (ถ้าหมายถึงคนที่พระเอกชอบ) ขอไม่พูดถึง เพราะไร้ซึ่งบทบาท









สามสายตาที่ข่มกันไม่ลง




น้ำตาลูกผู้ชาย




และ มิอุระ โชเฮ



























แถม ไดโตะ ชุนสุเกะ ด้วยอีกคน







They have follow thier dreams
Friends who can't be replaced
.






************************************************

Japanese: Tumbling
Director: Ayato Matsuda, Kenjiro Kuranuki
Writer: Michiru Egashira, Yukako Shimizu, Akira Watanabe
Network: TBS
Release Date: April 17, 2010 --
Runtime: Saturday 20:00


************************************************

ข้อมูลจาก : //www.thesisterme.com/content-Tumbling-4-6071-141521-1.html
ภาพจาก : //www.tbs.co.jp/tumbling


***********************************************

ส่งท้ายด้วยรอยยิ้มแบบนี้ของโชเฮที่เอาชนะทุกคนในเรื่องได้ราบคาบ










Create Date :07 พฤศจิกายน 2553 Last Update :22 กุมภาพันธ์ 2558 8:50:23 น. Counter : Pageviews. Comments :16