bloggang.com mainmenu search
นำมาจากกระทู้ ให้เวบไทยคลินิก ..

หัวข้อ 6077: ทำไม พรบ.ร่างรัฐบาลที่เป็นร่างหลัก จึงมีปัญหา (มากกว่าร่าง ภาคประชาชน)

//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1283014385





ทำไม พรบ.ร่างรัฐบาลที่เป็นร่างหลัก จึงมีปัญหา (มากกว่าร่าง ภาคประชาชน)


กลไกทั้ง 50 มาตรา ติด ล๊อกตัวเองจนทำให้ผู้ปฏิบัติงานตามปกติมีปัญหา ส่วนร่างประชาชนที่มีปัญหาน้อยกว่านั้น ก็มีจุดล๊อกคล้ายๆกันที่ต้องปลดก่อนเช่นกัน..

เพราะการออกแบบเหมาะสำหรับ MALPRACTICE แต่มาใช้กับความเสียหายทุกชนิดคือ MEDICAL ERROR ไปด้วย

ศึกษาตารางดูจะพบว่า ออกไปได้ซับซ้อน งง งวยมากครับ และมีจุดที่ละเอียดอ่อน ที่ไม่ชัดเจน

อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายจุด ที่ต้องปลดล๊อกออกก่อน

เช่นที่ ทางผู้บริโภค และ แพทยสภา เห็นตรงกันหลายประการ อาทิ

การกำหนดผู้เสียหายในมาตรา 3 ต้องชัดกันขอเคลมมั่วๆ ทำให้กรรมการงานหนักขึ้น

กรณี มาตรา 6(2) ที่ห้ามจ่ายสุดวิสัย และ ล๊อกกับมาตรฐานวิชาชีพ ต้องแก้ไข หรือปลดออกไป

มาตรา7 กรรมการที่ต้องมี วิชาชีพ ทั้ง6 เข้าร่วมดูส่วนวิชาชีพ

มาตรา38-41 ไกล่เกลี่ยที่ต้องตามหมอมาให้การคุยวุ่นวาย ควรไม่มี การตั้งขึ้นใหม่

หากแต่ให้มีไกล่เกลี่ยระดับสถานพยาบาลเหมือนเดิม จะได้ไม่รบกวนแพทย์ดีๆ ให้เกิดภาระงาน

มาตรา 21 22 ที่ รพ.รัฐ ไม่ควรถูกเก็บเงินจาก รพ.โดยตรง ตามที่ สวรส.เสนอ ให้รัฐจ่ายตามเดิม แบบ ม.41



ที่ยังต้องคุยกันคือ

มาตรา 5 ต้องระบุว่าไม่พิสูจน์ถูกผิด และเพิ่มไม่ต้องหาคนทำผิดเพื่อมาตำหนิ (No False No Blame) และไม่นำไปสู่การฟ้องในกฎหมายอื่นๆ และอาจต้องยุติการฟ้องเมื่อรับเงินในมาตรานี้เลยหรือไม่ แทนใส่ในมาตรา 33
มาตรา 33 ให้ยุติแพ่ง (และอาญา) หากรับเงินแล้วโดยเขียนในกฎหมายให้ชัดเจน

ให้มีเพดานการจ่าย ไม่ให้เวอร์เกินไปกองทุนจะรับไม่ได้

ไห้มีการตรวจสอบ ภายนอก เพื่อป้องกันการใช้เงินผิดประเภท ให้โปร่งใส ประชาชนรับได้

ทั้งนี้เป็นเงินภาษีประชาชนทั้งสิ้น จึงต้องประชาพิจารณ์ให้มาร่วมกันรับรู้และรับผิดชอบทุกภาดส่วน..

ฯลฯ...




สรุปคือรื้อทั้งฉบับ เพราะมาตราอาจต้องแก้ 18 ใน 50 มาตรา หากถอยมาปรับให้ดีๆ ส่งเข้าพร้อมกันแบบ win win น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด โดยห้ามกระทบต่อคนทั่วไปที่ป่วยทุกวันทั้งการเข้าถึงและคุณภาพ และปกป้องคุณหมอที่ทำงานดี โดยเฉพาะในที่ขาดแคลน..

ลองดูกฎหมายนะครับ ส่วนตัวคิดว่าถ้าอ่าน พรบ.นี้น้อยกว่า 5 รอบ จะเชื่อมโยงกันไม่ได้ ไม่เข้าใจว่าทำไมเกิดปัญหา

ยิ่งอ่านเฉพาะหลักการเหตุผลเองนี้ ทุกคนรวมทั้งหมอต้องเห็นดีงามแน่นอน รวมทั้งผมด้วยครับ ทุกคนอยากช่วยคนไข้

เพียงแต่กลไกผิดรูป ผิดเวลา ..ต้องแก้กลไกใหม่ครับ..



การส่งเข้าสภาไปเพื่อย้ายห้องไปมา ส่วนมากเละ เหมือนลงเข็มแล้ว ย้ายห้อง

ควรเอามาออกแบบใหม่ที่ทุกคนต้องการไปเลย ที่เป็นธรรมรับได้ทุกฝ่าย..แล้วเข้าพร้อมกันน่าจะจบครับ


ที่ สังเกตพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ (ฉบับหลักที่เป็นของรัฐบาล-และมีปัญหามากที่สุดใน ๗ ฉบับ-ไม่ใช่ฉบับประชาชน) ที่แพทย์ต้องการในหลักการช่วยเหลือคนไข้ และที่เคลมว่าลดการฟ้อง กลับถูกแพทย์ค้านอย่างหนัก เหตุเพราะเมื่อศึกษากฎหมายทั้ง ๕๐ มาตราแล้วพบว่ามีปัญหาที่ทำให้เป็นไปไม่ได้คือ

1. ร่างพรบ.ฯ นี้ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย น้อยกว่ามาตรา ๔๑ เดิม

โดยเฉพาะใน มาตรา ๖(๒) ที่ไม่จ่ายเหตุสุดวิสัย(ทั้งที่ ม.๔๑จ่าย)ทำให้ผู้เสียหายต้องไปฟ้องร้องทำให้เกิดคดีกับแพทย์มากขึ้น ทั้งที่เดิมไม่ต้องต้องฟ้องก็ได้รับเงินช่วยเหลือ


2. ร่างกฎหมายฉบับนี้ออกแบบเพื่อแก้ปัญหา Malpractice แต่จะมาใช้กับกรณี้ Medical Error ด้วย

ดังนั้นกระบวนการต่างๆ ทางกฎหมายที่จะดำเนินคดี ในกรณีที่แพทย์ผิดมาตรฐานและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงถูกมองว่ารุนแรงและรับไม่ได้ในกลุ่ม Medical Error จากเหตุอื่นๆ


3. ต้นเหตุ Medical Error ในภาครัฐ เกิดจากความขาดแคลนทั้งคน-เงิน ภาระงานมากเกินกำลัง กลับไม่ถูกแก้ที่ต้นเหตุ แต่ออกกฎหมายมาแก้ปลายเหตุ (ผลจากการบริหารของรัฐทำให้ผู้ป่วยเสียหาย)


4. ควรให้ประชาชนเข้าใจข้อเท็จจริงว่าความเสียหายมาจากกระบวนการอื่นๆนอกจากมาตรฐานวิชาชีพได้

กล่าวคือ
(1) โรคและความรุนแรงของโรค
(2) สุขภาพ-สังขารของคนไข้รวมถึงโรคประจำตัว พฤติกรรมและสังคม
(3)เรื่องของระบบความขาดแคลนต่างๆ ทั้งบุคลากร-งบประมาณ- ยาและเครื่องมือแพทย์

ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาแบบเดียวกันได้ โดยความเสียหายที่เกิดจาก ๓ อย่างนี้ ควรมีการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนไปก่อน และไม่ควรไปตั้งเงื่อนไขที่ไปผูกพันกับมาตรฐานวิชาชีพทั้ง๖ ที่มีหน่วยงานกำกับอยู่แล้ว


5. คณะกรรมการผู้ตัดสินในร่าง พรบ.ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอในการแยก Malpractice กับ Medical error ของ ๖ วิชาชีพได้

เพราะเป็นเรื่องทางวิชาการ ไม่ใช่โดยยกมือเสียงข้างมาก ทำให้แพทย์ พยาบาลอึดอัดใจรับไม่ได้


6. ภารกิจของแพทย์ภาครัฐในการเป็นรัฐสวัสดิการรักษาผู้ป่วยด้วยความเมตตากรุณา ต่อกัน ต่างกับแพทย์ภาคเอกชนเป็นบทบาททางธุรกิจย่อมไม่สามารถอยู่ร่วมเป็นกองทุนเดียวกันได้

เพราะความผิดพลาดเสียหายมาจากคนละบริบทและในปัจุบันก็อยู่ในกฎหมายคนละฉบับอยู่แล้ว หากจะมารวมกันต้องมีกลไกแยกให้ชัดเจนเพราะ ความเสี่ยงไม่เท่ากัน อาจทำให้กองทุนภาครัฐ ล่มได้จากการ over claim จาก โรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีความเสี่ยงสูง เช่นด้านความงาม หรือ กลุ่มคุณภาพระดับล่างและมีคดีมากอยู่แล้ว ซึ่งไม่ควรรับเข้ากองทุนนี้..ทำให้ผู้ปฏิบัติงานโดยสุจริตต้องไปจ่ายแชร์ความเสี่ยงไปด้วย


7. กรณี Malpractice นั้น ผู้เสียหายต้องได้รับการช่วยเหลือ และผู้ประกอบวิชาชีพที่จงใจควรต้องรับโทษ

เช่น จ่ายค่าปรับด้วยตัวเองไม่ควรนำกองทุนนี้ไปช่วยทำให้เกิดการสนับสนุนในทางที่ ผิด แต่ควรต้องปกป้องแพทย์ที่ดีที่พลาดเพราะเหตุอื่นๆให้มากที่สุด และรบกวนการทำงานแพทย์ดีๆน้อยที่สุด หรือไม่ควรรบกวนเลย..


8. กฎหมายนี้ไม่มีกลไกปกป้องแพทย์ดีมีจริยธรรมแต่เกิดปัญหาความเสียหายจาก Medical error ตามธรรมชาติของโรคหรือการรักษานั้น ให้แยกแยะออกจากแพทย์ทุรเวช

โดยต้องเข้ากระบวนการเหมือนคนทำผิด ทำให้แพทย์ดีๆแม้ชนะคดี ก็จะหมดกำลังใจเลิกรักษาคนไข้.. แล้วจะเกิดเป็นปัญหาสะท้อนกลับไปที่ผู้ป่วยในที่สุด เพราะรักษามากเสี่ยงมาก จะกลายเป็นกลัวการรักษาคนไข้ไปแทน ต้องใส่กลไกป้องกันคนดีนี้เข้าไปด้วย




เหตุจากปัญหาดังกล่าวทั้งหมดนี้จึงไม่ควรให้ ..ร่างพรบ.ของรัฐบาลผ่าน..โดยไม่มีการแก้ไขปรับปรุง


1. ขอให้สภาถอนร่างพรบ.นี้ มาเพื่อทบทวนแก้ไข ประชาพิจารณ์ให้รอบด้านและให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้าน ปรับจนมั่นใจว่าจะไม่เกิดผลกระทบในด้านลบใดๆต่อระบบสาธารณสุข ตลอดจนเกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้จริงๆ และเป็นที่พอใจทุกฝ่ายเสียก่อนจึงเสนอร่างที่ตกผลึกสมานฉันท์เข้าสภาอีกครั้ง ซึ่งอาจต้องร่างใหม่ทั้งฉบับ โดยครั้งนี้แพทย์ พยาบาล เภสัช ทันตแพทย์ กายภาพบำบัด เทคนิกการแพทย์ ผู้บริโภคและประชาชนร่วมกันผลักดัน จะดีกว่าไหม?

2.ขณะเดียวกันก็เสนอร่างพรบ.ใหม่ที่คุ้มครองทั้งแพทย์และผู้ป่วยคู่ขนานกัน หากเป็นได้โดยรวบรวมรายชื่อ ๑๐,๐๐๐ คน เพื่อเสนอกฎหมายภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความสมดุล. (ถ้าทัน)

3.ทั้งนี้ระหว่ารอกระบวนการดังกล่าว เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ก็ขยายสิทธิ ม.๔๑ ให้คลุม ๓ กองทุนในด้านเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไปก่อน ตามมติครม.ในอำนาจของ รมว.สธ. ให้คนไทยทุกคนได้รับการช่วยเหลือเท่าเทียมกัน เช่นเดียวกับ PP&P ให้ฝ่ายกฎหมายและผู้เกี่ยวข้องพิจารณาว่าทำได้หรือไม่ และต้องทำอย่างไร?

« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: Aug 29th, 2010, 10:57am by 716:16 »






ปล.รายละเอียดข้อมูล เพิ่มเติม และ ดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ ลองดูในเวบนี้นะครับ มีเพียบ ..

//www.thaitrl.org/index.php?option=com_mamboboard&Itemid=55&func=showcat&catid=6


ขอรับการสนับสนุนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ฉบับผู้ให้บริการสาธารณสุข)
//www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=383&Itemid=1

ขอให้ผู้ที่ได้รวบรวมแบบเข้าชื่อเสนอกฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการฯ กรอก แบบ ขก.3
//www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=382&Itemid=1



Create Date :31 สิงหาคม 2553 Last Update :31 สิงหาคม 2553 11:54:26 น. Counter : Pageviews. Comments :0