bloggang.com mainmenu search
ก่อนจะเริ่มตอนที่ ๓ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่าน ถ้ายังไม่ได้อ่านตอน ๑ - ๒ ก็เชิญแวะไปอ่านก่อนนะครับ ..

ตอน ๑

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2010&group=7&gblog=65

ตอน ๒

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2010&group=7&gblog=67




ปีกสองข้างของปัญหาที่เกิดจากการใช้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข(ตอนที่๓)


ตอนที่๒ ได้กล่าวถึงการแก้ปัญหาที่คิดเพียงสองระนาบแกน xy แต่ยังมีปัญหาเพราะแกน z ที่มองไม่เห็น


ในตอนนี้จะกล่าวถึง การบริหารจัดการที่ควรจะเป็น ก่อนที่จะเกิดปัญหาจากสิ่งที่ยังมองไม่เห็น คือ


ปัญหาในแกนที่๔

ซึ่งเป็นอีกระนาบความคิดหนึ่ง ที่แฝงเร้นในกระบวนการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและการสาธารณสุขไทย

ทั้งแกนxyz อันจะได้กล่าวในตอนต่อไป ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย


ขอนำเสนอ วิธีการบริหารจัดการที่ได้เสนอไว้ในตอนที่ ๑ เพื่อแก้ปัญหาจากการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่บกพร่อง

มีวิธีการง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้คำพูดที่หรูๆให้ดูดี แต่เน้นไปที่ความจริงใจ โดยไม่ต้องถึงระดับหัวใจมนุษย์ เพราะมีความคิดว่า

เพียงแค่หัวใจคนธรรมดาก็แก้ได้ ดังนี้


๑.การปกป้องไม่ให้ประชาชนได้รับความเสียหายจากบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข

คือ การบริหารความเสี่ยง

โดยการวิเคราะห์หน่วยบริหารและหน่วยบริการ เพื่อใช้บทบาทของการบริหารในการลดความเสี่ยงของประชาชน

เป็นการบริหารจัดการทั้งระบบ ตั้งแต่รัฐบาลจนถึงหน่วยบริการ


นำข้อเท็จจริง คือ ภาระงาน กับ มาตรฐานการจัดบริการ มาพิจารณา โดยไม่ให้เกิดข้อจำกัดอย่างที่เป็นอยู่ ในการจัดบริการแก่ประชาชน


ต้องมอบคน เงิน เครื่องมือ และการจัดระบบที่ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ ภายใต้นโยบายของรัฐบาล


ทุกวันนี้มันบกพร่องที่ รัฐมอบภารกิจให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลประชาชน แต่

เงินมอบให้หน่วยงานหนึ่งไปถือไว้ แล้วกำหนดนั่นๆนี่ๆให้ทำตามที่ผู้ถือเงินต้องการ

เครื่องมือก็ไม่มีงบ กำลังคนก็ถูกแช่แข็ง เงินไม่มี คนไม่ให้มา มีมาแต่งาน

และ

กฎหมายที่จะบังคับให้รับผิด โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด

เช่นนั้นเสมือนให้เป็นขุนศึกตระกูลหยาง ไม่มีอาวุธ ไม่มีเสบียง ไม่มีกำลังพล

แต่ให้รบเพื่อชนะ


สภาวการณ์เช่นขุนศึกตระกูลหยางนั้น สมัยนี้ ว่ากันว่า แทนที่จะรบกับข้าศึก

สู้ว่าหันหลังกลับมายึดเมืองหลวงง่ายกว่า

จึงหวังว่า จะไม่เกิดเหตุการณ์ชักชวนประชาชนตัวจริง มาคุยกับผู้บริหารที่ระดับสูงๆยิ่งๆขึ้นไป


๒.การจัดการแก้ไข การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่บกพร่อง

โดยผู้บริหาร ต้องเอื้ออำนวยการ ให้ หน่วยบริการและบุคลากรได้พัฒนาศักยภาพ และ ใช้ศักยภาพ อย่างสูงสุดในการดูแลประชาชน

และในทำนองเดียวกัน ผู้ปฏิบัติงาน ต้องแก้ไขข้อบกพร่อง คือ

มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ มาตรฐานวิชาการ มาตรฐานจริยธรรม และสมรรถนะของตน และสนับสนุนระบบของหน่วยบริการ

ไม่ถึงกับต้องประกาศก็ได้ ว่า กำลังปฏิบัติงานด้วยหัวใจมนุษย์ก็ได้ เพราะ การสร้างภาพไม่ใช่อาชีพหลักของผู้ปฏิบัติงาน


๓.การดูแลประชาชน ผู้ที่ประสบความเสียหายจาก การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่บกพร่อง

อันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า

การรับผิดชอบต่อสิ่งไม่พึงประสงค์ที่เกิดแก่ประชาชน เป็นการรับผิดชอบในระดับการเยียวยา

ที่รัฐต้องรับผิดชอบต่อประชาชน


และให้การคุ้มครองผู้ปฏิบัติที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาการและจริยธรรม ตามรัฐธรรมนูญมาตรตรา๘๐(๒)

แต่การปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องที่เป็นการบกพร่องระดับจริยธรรม ไม่น่าได้รับการคุ้มครอง ต้องรับผิดชอบตนเอง

๔.การดูแลประชาชน ผู้ที่ประสบความเสียหายจาก การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ ไม่บกพร่อง


การรับผิดชอบนี้ ควรเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยบริการ ภายใต้นโยบายของรัฐ
ไม่ต้องรอให้ประชาชนออกมาเรียกร้อง

หรือการมีกฎหมายที่กำหนดให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งอ้างการเป็นตัวแทนประชาชนผู้เสียหาย

มาบริหารกองทุนซึ่งมาจากอำนาจทางปกครอง


แม้การบริการประชาชนจะถูกแก้ไขให้ปราศจากข้อบกพร่องใดใดแล้วก็ตาม แต่การประสบปัญหาที่เกี่ยวเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ

ก็ยังเป็นประเด็นที่รัฐพึงให้ความสงเคราะห์ดูแลประชาชน เช่น โรคที่ป่วยทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ หรือ โรคที่ป่วยทำให้ต้อง

สูญเสียทรัพย์สินเนื่องจาก หลักประกันสุขภาพไม่ครอบคลุม จนทำให้ฐานะครอบครัวมีความเปลี่ยนแปลงเป็นความยากจนที่อยู่อย่างยากลำบาก

เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะดำเนินการจัดกระบวนการใหม่ให้แก่องค์กรของรัฐที่มีอยู่ ทำหน้าที่ทั้ง๔ข้อดังกล่าว

จึงไม่ใช่สิ่งที่แพทย์และบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ กับ ประชาชน ที่จะต้องออกมาทะเลาะกัน

และไม่ใช่หน้าที่ของเอ็นจีโอที่จะมาเสนอกฎหมายที่มีผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง







Create Date :28 กรกฎาคม 2553 Last Update :28 กรกฎาคม 2553 10:31:50 น. Counter : Pageviews. Comments :0