bloggang.com mainmenu search
ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันการใช้ Growth Factor มารักษารอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าได้จริง


รายละเอียด จากเวบสมาคมแพทย์ผิวหนัง

//www.dst.or.th/news_details.php?news_id=35&news_type=oth


//www.dst.or.th/news_details.php?news_id=36&news_type=oth


//www.dst.or.th/news_details.php?news_id=37&news_type=oth





สธ.สั่งระงับฉีด 'โกรท แฟคเตอร์'
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 25 มกราคม 2553
//www.thairath.co.th/content/edu/61038


สธ.สั่ง สถานเสริมความงามระงับฉีด "โกรท แฟคเตอร์" ให้รอผลวินิจฉัยแพทยสภา อ้างสรรพคุณเพื่อความอ่อนเยาว์ ระบุหากขัดมาตรฐานวิชาชีพมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ...

กรณีที่ขณะนี้สถาบันเสริมความงามนิยมใช้วิธี นำเลือดมาปั่นแล้วนำ "โกรท แฟคเตอร์" ที่อยู่ในเกร็ดเลือดมาฉีดบนใบหน้าเพื่อความอ่อนเยาว์นั้น


ความ คืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ม.ค. นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้แจ้งไปยังสถานบริการเสริมความงามที่มีการใช้วิธีดังกล่าวบริการ ลูกค้าแล้วว่าให้ระงับการบริการด้วยวิธีดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าแพทยสภาจะมีวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมาว่าถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพหรือ ไม่

ทั้งนี้ หากแพทยสภาวินิจฉัยออกมาว่าการใช้วิธีดังกล่าวมาเสริมความงามไม่ถูกต้องตาม มาตรฐานวิชาชีพ ผู้ที่ฝ่าฝืนก็จะมีความผิดตามมาตราที่ 65 ของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ




แพทย์ผิวหนังเตือน ฉีดโกรท แฟคเตอร์ ทำหน้าเด้งอ่อนวัย ระวัง-เสี่ยงติดเชื้อ

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 25 มกราคม 2553
//www.thairath.co.th/content/page1/60898

แพทย์ ผิว หนังเตือนคนอยาก หน้าสวยเด้ง ไร้รอยยับย่น จนแห่ใช้บริการปั่นเลือด ดึง "โกรท แฟคเตอร์" มาใช้ฉีดเข้าหน้า เพื่อแก้ปัญหาริ้วรอยบนผิวหนัง ยอมรับแม้เป็นวิธียอดฮิตใน ขณะนี้


แต่วงการแพทย์ผิวหนังยังไม่ยอมรับ เหตุไม่มีผลวิจัยชี้ชัดว่าเป็นวิธีการรักษาที่เป็นไปตามมาตรฐาน หนำซ้ำ ยังอาจเสี่ยงติดเชื้อระหว่างลงเข็ม เผยคลินิกเสริมสวยใช้ กลยุทธ์การตลาดโฆษณาแต่ด้านดี

ขณะเดียวกันแพทยสภา เตรียมขยับจัดการหมอที่รับทำ ร่อนหนังสือสอบถามราชวิทยาอายุรแพทย์ พร้อมนำเรื่องเข้าพิจารณาด้านจริยธรรม

ใน ขณะที่คนไทยส่วนใหญ่ยังติดกับค่านิยมต้องการมีใบหน้าขาว เนียน ไร้ริ้วรอยด่างดำหรือเหี่ยวย่น จนกลายเป็นการเปิดช่องให้มีการโหมโฆษณาผลิตภัณฑ์ ช่วยให้หน้าเด้ง ชะลอวัยกันอย่างครึกโครมในทุกสื่อ

ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 ม.ค. พญ.พรทิพย์ ภูวบัณฑิตศิลป กรรมการสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยได้ออกมาเตือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสความนิยมในการนำเลือดมาปั่นแล้วนำ "โกรท แฟคเตอร์" ที่อยู่ในเกร็ดเลือดมาฉีดบนใบหน้าเพื่อความอ่อนเยาว์ว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาของแพทย์ผิวหนัง เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยที่ดำเนินการ ทดสอบกับจำนวนคนที่มากพอจนเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของอาการติดเชื้อ ความสะอาดและความปลอดภัย

"ขณะนี้มีกระแสความนิยมในคลินิกเสริมความ งาม โดยการนำเลือดไปปั่นให้ได้โกรท แฟคเตอร์ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เซลล์ทำงานเป็นปกติ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ใบหน้าดูดีขึ้น ลดรอยเหี่ยวย่น ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งทางการตลาดเท่านั้น

ส่วนข้อเสียคือ อาจจะไม่ไม่มีผลการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย นอกจากนี้ ยังเจ็บตัว เสียเวลาและเสียเงินด้วย ที่ผ่านมากลยุทธ์ทางการตลาดต้องการที่จะขายของ ก็บอกแต่กลุ่มตัวอย่างวิจัยที่ได้ผลหรือบอกส่วนดีที่ได้ผลในห้องทดลอง แต่ไม่ได้บอกถึงข้อเท็จจริงหรือแง่ลบว่าใช้ในมนุษย์จริงๆแล้วเป็นอย่างไร" พญ.พรทิพย์กล่าว

และว่า โดยปกติการทำให้ผิวขาวคือการลดปัจจัยที่ทำให้แสงกระทบกับผิวหน้า การใช้ครีมกันแดด รวมถึงการทำทรีตเมนต์ โดยให้เซลล์ผิวหนังชั้นขี้ไคลที่อยู่ชั้นนอกสุดลอกออก เพื่อให้เซลล์ผิวหนังชั้นกำพร้านั้นดูกระจ่างใส

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ยาโดยเน้นหยุดการสร้างเม็ดสีของผิว เช่น ยาไฮโดรควิโนน ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง แต่สามารถนำไปใช้เพื่อการรักษาได้


ด้าน นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ตรวจสอบการใช้เลือดมาปั่นแล้วนำโกรท แฟคเตอร์ที่อยู่ในเกร็ดเลือดมาฉีดบนใบหน้า ช่วยให้ผิวเต่งตึงแล้ว พบว่า วิธีการดังกล่าวยังไม่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ และถือว่าไม่ใช่วิธีการรักษาที่เป็นไปตามมาตรฐาน


อย่างไรก็ตาม ได้นำเรื่องดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการจริยธรรมว่ามีความเหมาะสมเป็นไปตามหลัก วิชาการหรือไม่ รวมทั้งแพทยสภาได้ทำหนังสือสอบถามไปยังราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย แล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า มีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิงหรือไม่ หรือมีการวิจัยและตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับหรือไม่


ผู้ สื่อข่าว รายงานว่า จากการโทรศัพท์ไปสอบถาม สถานบริการความงามชื่อดังแห่งหนึ่ง ที่มีการโฆษณาว่าให้บริการลดริ้วรอยบนใบหน้าด้วยการใช้ "โกรท แฟคเตอร์" พบว่าการให้บริการโกรท แฟคเตอร์ 1 คอร์ส จำนวน 5 ครั้ง ราคา 24,000 บาท โดยอ้างว่าให้ดูผิวอ่อนเยาว์หน้าตึง สำหรับขั้นตอนเป็นการดูดเลือดจากแขน 10 ซีซี ผสมกับวิตามินซี จากนั้นฉีดกลับใบหน้า 22 จุด สามารถทำได้ทุกสาขา

ขณะ ที่การให้บริการโกรท แฟคเตอร์ ในสถานบริการเสริมความงามบางแห่ง ก็มีการโฆษณาว่าใช้สาร โกรท แฟคเตอร์ สกัด โดยเป็นสารสกัดที่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา อ้างว่าได้รับการรับรองจาก อย. อัตราค่าบริการ 1 คอร์ส จำนวน 4 ครั้ง 16,700 บาท หรือครั้งละ 5,500 บาท สรรพคุณทำให้ผิวหนังอวบอิ่ม ช่วยฟื้นฟูและสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ ทำให้ผิวเต่งตึงทันที อยู่ได้นานเป็นปี ตามด้วยระบุว่า ทั้งแพทย์และลูกค้าที่มาใช้บริการปลอดภัยดี


นอกจากนี้ ยังพบว่าในอินเตอร์เน็ตมีการลงโฆษณาขาย "โกรท แฟคเตอร์" กันอย่างแพร่หลาย สารพัดรูปแบบ สนนราคาตั้งแต่หลักพันบาทไปจนถึงหลักหมื่นบาท ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตในหมู่ผู้เข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตว่า โฆษณาบางชิ้นเป็นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือไม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปล่อยให้มีการอวดอ้างสรรพคุณเพื่อขายสินค้าได้ อย่างไร




อายุรแพทย์ไม่ชัวร์ “โกรท แฟกเตอร์” ช่วยหน้าเด้ง อ้างเทคนิคใหม่ไร้ข้อมูล

ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 26 มกราคม 2553
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000011072


อายุร แพทย์ไม่ชัวร์ “โกรท แฟกเตอร์” ช่วยหน้าเด้ง ลบรอยเหี่ยวย่น-ตีนกา อ้างเป็นเทคนิคใหม่ยังไร้ข้อมูล สคบ.วอนประชาชนอย่าหลงเชื่อ ด้าน “กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ” ระบุหากแพทยสภาชี้ผิดมาตรฐานวิชาชีพ เจอฟันแน่

ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี ประธาน คณะกรรมการวิชาการ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การฉีดโกรท แฟกเตอร์ เป็นเทคนิควิธีการใหม่ซึ่งยังไม่มีข้อมูลที่พอเพียงและชัดเจนว่า มีประสิทธิภาพในการช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลบรอยตีนกา สามารถช่วยได้จริงหรือไม่ หรือผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร ถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ส่วนกรณีแพทยสภาทำหนังสือมาขอความเห็นด้านวิชาการนั้น ยังไม่ทราบว่าถามถึงประเด็นใดบ้างคงต้องดูรายละเอียดอีกครั้ง

“ผู้ที่จะเสริมความงามด้วยวิธีนี้คงต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบ และต้องยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเอง เพราะถึงแม้ว่าไม่มีอันตรายแต่ผลอาจไม่เป็นไปตามที่หวังไว้

ซึ่ง ก่อนที่จะไปทำนั้นต้องรู้ว่า เครื่องมืออุปกรณ์ได้มาตรฐานหรือไม่ แพทย์มีความสามารถหรือมีความเชี่ยวชาญหรือไม่ ด้านการให้บริการ การให้ข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน ไม่ใช่หลอกลวง ซึ่งในการตรวจสอบคงต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ไม่สามารถสรุปในภาพรวมได้ ทั้งนี้ โกรท แฟกเตอร์ ถือเป็นความรู้ใหม่ คงต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพิจารณาพอสมควร” ศ.นพ.อมรกล่าว

นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า วิธีดังกล่าวไม่แตกต่างจากการทำศัลยกรรม ดังนั้น สถาบันเสริมความงามใดก็ตามหากใช้วิธีนี้ต้องขออนุญาตทาง สธ.ก่อน แต่กรณีนี้ยังไม่แน่ใจว่าถูกต้องตามหลักวิชาชีพหรือไม่ ซึ่งหากมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงก็ถือว่าผิด ต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้ประชาชนไปหลงเชื่อ และหากใครที่หลงเชื่อไปแล้ว และเกิดผลข้างเคียงสามารถร้องมายัง สคบ.ได้ โดยจะดำเนินการเป็นตัวประสานงานกับ สธ.

ด้าน นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้แจ้งไปยังสถานบริการเสริมความงามที่มีการใช้วิธีดังกล่าวบริการ ลูกค้าแล้วว่าให้ระงับการบริการด้วยวิธีดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าแพทยสภาจะมีวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมาว่าถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพหรือ ไม่

ทั้งนี้ หากแพทยสภาวินิจฉัยออกมาว่าการใช้วิธีดังกล่าวมาเสริมความงามไม่ถูกต้องตาม มาตรฐานวิชาชีพ ผู้ที่ฝ่าฝืนก็จะมีความผิด ตามมาตราที่ 65 ของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



ก็คิดตรึกตรอง แล้วตัดสินใจ กันเองนะครับ ... คิดอย่างไร เชื่ออย่างไร ก็ไม่ว่ากันอยู่แล้วววววว

แจ้งไว้ก่อนเลยว่า ผมเป็นหมอกระดูกและข้อ ไม่ได้มีส่วนได้เสียกับเรื่องนี้ เดี๋ยวจะหาว่า ขัดผลประโยชน์
Create Date :28 มกราคม 2553 Last Update :28 มกราคม 2553 15:41:06 น. Counter : Pageviews. Comments :1