bloggang.com mainmenu search



ถ้ายังไม่ได้อ่านบทความนี้ .. แวะไปอ่านก่อนนะครับ จะได้ทราบความเป็นมา เพิ่ม อรรถรส ยิ่งขึ้น ..

ปุจฉาวิสัชนา พรบฯ .. ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ตั้งแต่เริ่ม (อ่านแล้วจะ อืมมม)
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-08-2010&group=7&gblog=70





(ภาพประกอบเครดิต หมอแมว นะครับ )







เบื้องหลังที่ถูกตัดออกไปจาก Prototype


มาตรา ๖

ผู้ให้บริการและสถานพยาบาลควรให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้รับบริการตามมาตรฐานสาธารณสุข

ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาล ต้องรับผิดต่อผลกระทบก็ต่อเมื่อเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบที่จะได้รับการเยียวยาตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๗

ผู้ให้บริการและสถานพยาบาลที่สั่งจ่ายยาหรือใช้ผลิตภัณฑ์ทางการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งทางแพ่งและอาญาในกรณีที่เกิดผลกระทบจากการใช้ยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น

เว้นแต่เป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบที่จะได้รับการเยียวยาตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๘

ความผิดอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุขโดยประมาทของผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาล เป็นความผิดอันยอมความได้


มาตรา ๙

ในการให้บริการสาธารณสุข ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ผู้รับบริการอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจำเป็นต้องใช้เพื่อประกอบ การตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการนั้น และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้

ในกรณีที่เกิดผลกระทบแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการแจ้งข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้ผู้ให้บริการทราบ ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ความในวรรคแรก มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและมีความจำเป็นต้องได้รับบริการสาธารณสุขโดยรีบด่วน

(๒) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทตามความเป็นจริงที่มีอุปการะ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการแล้วแต่กรณี รับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้

(๓) กรณีอื่นตามประกาศของคณะกรรมการภายใต้คำแนะนำของสภาวิชาชีพ


มาตรา ๑๐

ผู้ให้บริการต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับบริการหรือญาติของผู้รับบริการก่ อนให้บริการสาธารณสุข เว้นแต่ผู้รับบริการอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน หรือ อยู่ในสภาวะที่ไม่มีสติเพียงพอที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง

การให้บริการในสภาวะฉุกเฉิน หมายความรวมถึง การวินิจฉัยหรือการรักษาพยาบาลในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อเป็นการช่วยชีวิตผู้รับบริการ หรือ ทารกในครรภ์ของผู้รับบริการ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงชีวิต
(๒) เพื่อให้ผู้รับบริการพ้นหรือบรรเทาทุพพลภาพจากสภาวะล้มเหลวหรือความพิการของ ร่างกาย
(๓) เพื่อให้ผู้รับบริการพ้นจากสภาวะความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวดอย่างรุนแรง
(๔) กรณีอื่นตามที่สภาวิชาชีพกำหนด

ผลกระทบอันเกิดจากการให้บริการสาธารณสุขในสภาวะฉุกเฉินตามวรรคสอง ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งทางแพ่งและอาญา

เว้นแต่เป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบที่จะได้รับการเยียวยาตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๑๑

ผู้รับบริการหรือญาติของผู้รับบริการ มีสิทธิปฏิเสธการรับบริการได้ โดยการลงลายมือชื่อในหนังสือปฏิเสธการรับบริการที่จัดทำโดยสถานพยาบาล ซึ่งต้องมีรายละเอียดที่บ่งบอกถึงโรคหรือสภาวะที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ วิธีการให้การรักษา ผลเสียของการปฏิเสธการรักษานั้น

การกระทำตามวรรคแรกตามความประสงค์ของผู้รับบริการหรือญาติของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลย่อมได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา เว้นแต่เป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง





APOLOGY LAW or I'M SORRY law
ถ้าไม่มีมาตรานี้ก็ไม่มีทางพัฒนาระบบอย่างที่พูกกันปาว ๆ ในหน้าจอ



มาตรา ๑๓

การแสดงความเสียใจ ความเห็นอกเห็นใจของผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลต่อผู้รับบริการ หรือ การรายงานปัญหาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุข ต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการในกรณีที่เกิดผลกระทบ ทั้งทางวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ไม่สามารถนำมาใช้เป็นมูลเหตุหรือพยานหลักฐานในการฟ้องร้องเพื่อให้แสดงความรับผิดชอบทางกฎหมายได้




ถ้าไม่มีสองข้อนี้แล้วจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และให้เรื่องจบอย่างที่กล่าวอ้างในหลักการและเหตุผลได้อย่างไร ?

เอะอะก็ รอนสิทธิ์ ตัดสิทธิ์ ....ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว เป็นการเพิ่มทางเลือก สิทธิ์เดิมยังมีอยู่ สิทธิ์ใหม่ก็มี แต่ต้องเลือก ..... อย่าเล่นจับปลาสองมือ เหมาเข่ง



มาตรา ๓๓

เงื่อนไขการรับการเยียวยา ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดดังนี้

(๑) ไม่เข้าด้วยข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔

(๒) คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ผู้ได้รับผลกระทบมีสิทธิได้รับการเยียวยา

(๓) ผู้ได้รับผลกระทบ และ ผู้ให้บริการและ/หรือสถานพยาบาล ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการและตกลงที่จะสละสิทธิการฟ้องคดีทางแพ่งเพื่อเรียกสินไหมในมูลคดีเดียวกับที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการได้ไต่สวนและมีคำ วินิจฉัยไปแล้ว

(๔) ผู้ได้รับผลกระทบ และผู้ให้บริการและ/หรือสถานพยาบาล ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการและตกลงที่จะสละสิทธิหรือยอมความในคดีอาญาต่อกัน ในมูลคดีเดียวกับที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการได้ไต่สวนและมีคำวินิจฉั ยไปแล้ว


มาตรา ๓๔
ข้อยกเว้นในการเยียวยา

(๑) ผลกระทบมิได้เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการรับบริการสาธารณสุข

(๒) เป็นผลกระทบอันหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการตามมาตรฐานสาธารณสุข

(๓) เป็นผลกระทบอันเป็นผลโดยตรงจากพยาธิสภาพของโรค

(๔) เป็นผลกระทบซึ่งเกิดจากการที่ผู้รับบริการไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริ การหรือสถานพยาบาลภายใต้มาตรฐานสาธารณสุข

(๕) อื่น ๆ ตามประกาศของคณะกรรมการ




รอคนมาดำเนินการต่อ หมดแรงแล้วตลอดสามสี่ปี ไม่สงวนลิขสิทธิ์ สำหรับกรรมการทั้ง ๘ คนที่เป็นตัวแทนผู้ให้บริการที่จะได้รับการแต่งตั้ง


ส่งโดย: doctorlawyer






ปล. ผมนำความเห็นของคุณหมอ มาจากเวบไทยคลินิก นะครับ .. ผมได้ตอบคุณหมอไป ขอยกมาด้วยเลยนะครับ


ขอชื่นชม ในความมุ่งมั่น ความเสียสละ ที่ได้ทำมา ( และ สิ่งที่จะทำต่อไป )


ช่วยกันไป เท่าที่ได้ครับ ..

ได้แค่ไหน ก็แค่นั้น ..

ถือว่า เราทำดีที่สุด เท่าที่จะทำได้แล้ว

" ถ้าสุดมือสอย ก็ปล่อยไป "

Create Date :06 สิงหาคม 2553 Last Update :6 สิงหาคม 2553 11:49:01 น. Counter : Pageviews. Comments :3