bloggang.com mainmenu search


โรคกระดูกและข้อ โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด .. มักจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ บางช่วงก็เบาไป บางช่วงก็หนักมาก ..

พอรักษาไม่สักพัก ผู้ป่วยบางคน ก็จะเปลี่ยนหมอ .. ได้ยนข่าวว่าหมอคนนั้นดี รักษาแล้วหาย ก็จะเปลี่ยนไปรักษาหมอคนใหม่ .. บางครั้งก็เปลี่ยนไปหลายสิบคน จนวนกลับมาหาหมอคนเดิม ???

มีหลายครั้งที่ผู้ป่วย รักษาได้ยามาหลายชนิด ซึ่งบางที ก็มีสีสรร ต่างกัน แต่ว่าเป็นยาตัวเดียวกัน ???

ได้ไปอ่านบทความของอาจารย์ ธวัช รพ.เลิดสิน เขียนไว้ น่าสนใจ เลยนำมาฝากกัน ..


ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ

ดัดแปลงจากบทความของ นพ.ธวัช ประสาทฤทธา มูลนิธิโรคข้อ

https://www.thaiarthritis.org/people16.htm



1. สวมเสื้อผ้าที่ค่อนข้างหลวม

เช่น ถ้าปวดเข่า ปวดข้อเท้า ควรใส่กระโปรงหรือกางเกงขาสั้น อย่าใส่กางเกงยีนส์รัดรูป บางครั้ง แพทย์อาจต้องตรวจหลัง คอ แขน ขา ข้างที่มีอาการเปรียบเทียบกับข้างปกติ เพื่อดูอาการแสดงที่สำคัญ เช่น การอักเสบบวมแดง ร้อน ของผิวหนัง การเคลื่อนไหวของข้อ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลีบ ความพิการโก่งงอผิดรูป ฯลฯ

.. ... ที่พบบ่อย ๆ เลย ก็คือ ปวดเข่า แล้วใส่กางเกงยีนส์ .. จะถอดก็ไม่สะดวก ใส่ก็ตรวจไม่ถนัดอีก ... บางทีก็ต้องให้ยาไปก่อนแล้วให้กลับมาอีกครั้งโดยใส่กางเกงขาสั้น .. เสียเวลา ไปอีก ...


2. เตรียมหลักฐานการสืบค้นที่เคยทำไว้ และนำติดตัวเมื่อมาพบแพทย์ด้วย

เช่น ผลเลือด ผลตรวจกล้ามเนื้อ เส้นประสาท ภาพเอกซเรย์ ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ภาพเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น

การสืบค้นที่เคย ทำไว้เป็นข้อมูลสำคัญและมีราคาแพง เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยและการรักษา ผู้ป่วยควรเก็บไว้กับตัวเสมอ ควรนำติดตัวมาและนำกลับไปทุกครั้ง

........ ผลการตรวจต่าง ๆ ใน รพ.เอกชน โดยเฉพาะภาพเอกซเรย์ .. ถ้าเสียค่าใช้จ่ายไปแล้ว ถือว่า เป็นทรัพย์สินของผุ้ป่วย ไม่ใช่ของ รพ. เพียงแต่ รพ.เก็บไว้ให้เท่านั้น ... ...ดังนั้นผู้ป่วย สามารถนำกลับมาเก็บไว้ได้เลย ..

.........แต่ถ้าเป็น รพ.รัฐ ค่าใช้จ่ายจะเป็นบางส่วนเท่านั้น จึงถือว่า ภาพเอกซเรย์นั้นเป็นของ รพ.รัฐ ถ้าต้องการ ก็ต้องใช้วิธียืม เมื่อใช้เสร็จแล้ว ค่อยนำไปคืนที่ รพ.


3. เตรียมประวัติความเจ็บป่วย ประวัติการรักษา

เช่น สำเนาเวชระเบียน ใบรับรองแพทย์ ใบส่งตัว รายละเอียดการผ่าตัด ประวัติการแพ้ยา ประวัติหรือรายงานการใช้ยาแก้อักเสบ ยาปฏิชีวนะ ประวัติการบาดเจ็บ ประวัติการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา เช่น อาการปวดท้อง เสียดท้อง เลือดออก ถ่ายดำ เป็นต้น เพราะรายละเอียดดังกล่าวเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้วางแผนการรักษาให้ถูกต้อง เหมาะสม

......... โดยเฉพาะ ชื่อยา ที่เคยรักษาไปแล้ว เพราะ ถ้ายาเดิมรักษาไม่ได้ผล ก็จะได้เปลี่ยนยากลุ่มใหม่ให้

........ ที่สำคัญที่สุด ก็คือ ชื่อยาที่มีอาการแพ้ ... ไม่งั้น แทนที่ยาจะเข้าไปช่วยรักษา อาจทำใหแพ้ยา อาการแย่ลงจากยา เสียชีวิต จากยา ได้ ...


4. นำ ยา (ซองยา) ที่เคยได้รับ หรือ ยาที่กำลังใช้อยู่ทั้งหมด มาให้แพทย์ดู

เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (N-SAIDs ) ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ ) ยาคลายเครียด ยาแก้เศร้า ยาสเตียรอยด์ หรือยาลูกกลอน เป็นต้น

............ ยาในเมืองไทย จะมียาสารพัดสีสรร ถ้าเอาเฉพาะเม็ดยามา บางครั้งก็จะบอกไม่ได้เลยว่าเป็นยาอะไร ... ถ้ามีแผงยา หรือ ซองยา ก็ให้นำมาด้วยเสมอ


5. เตรียมบรรยายอาการที่สำคัญ

เช่น อาการปวด อาการชา อาการอ่อนแรงของแขน ขา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ความพิการผิดรูปของแขนขากระดูกสันหลัง เป็นต้น

อาจจดใส่กระดาษไว้ก็ได้ เพื่อที่เมื่อมาพบแพทย์ จะได้ไม่หลงลืมอาการที่สำคัญ และแพทย์จะได้ให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

......... เวลาที่ไปพบแพทย์ ผู้ป่วยก็มักจะลืมเล่าว่า เป็นอะไร สงสัยอะไร ฯลฯ อาจเป็นเพราะความตื่นเต้น หรือ เห็นว่า ผู้ป่วยเยอะ แพทย์ยุ่ง ๆ เลยไม่กล้าบอก พอกลับบ้านไปก็ยังติดใจสงสัยอยู่ว่า แพทย์ให้การรักษาถูกต้อง ตรงกับอาการที่เป็นอยู่หรือไม่ ...

.........ถ้าจดไว้ เวลาไปพบแพทย์ ก็จะได้นำขึ้นมาอ่าน ซักถามข้อสงสัย ซึ่งก็จะเสียเวลาไม่มาก และ ตรงกับประเด็นทีสงสัยใคร่รู้ ..


6. นำญาติ หรือ เพื่อน มาด้วย เพื่อช่วยกัน ฟังคำแนะนำจากแพทย์
โดยเฉพาะ การดูแลตนเอง การบริหารกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจต้องช่วยกันตัดสินใจ เกี่ยวกับแนวทางการรักษา ว่า จะเลือกแบบไหน?

....... บ่อยเลย ที่อธิบายชี้แจงไปแล้ว แต่พอผู้ป่วยออกไปหน้าห้องตรวจ ก็ลืมไปแล้วว่า แพทย์ บอกอะไรไปบ้าง .. โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ ..

..... ตอนนี้ ผมก็ใช้วิธี แจกเอกสารให้กลับไปอ่านด้วย แต่ถ้ามีเพื่อน มีญาติเข้ามาด้วย ก็จะดีกว่าที่ผู้ป่วยเข้ามาคนเดียว ...

.... แต่ก็ อย่าลืม สอบถาม แพทย์ หรือ เจ้าหน้าที่ ก่อนนะครับว่า อนุญาตให้ ญาติ หรือ เพื่อน ผู้ป่วย เข้าไปฟังด้วยได้หรือไม่ ??



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 

 
Create Date :04 กรกฎาคม 2551 Last Update :10 กรกฎาคม 2563 21:31:03 น. Counter : Pageviews. Comments :5