bloggang.com mainmenu search



"ศาลปกครองกลาง" .. ตัดสินให้ผู้ป่วยชนะคดี " เวชระเบียนหาย" รพ.ศิริราช ต้องจ่ายชดเชย ๑ แสนบาท+ดอกเบี้ย vote [ถูกใจ]
[แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

//www.thaipbs.or.th/s1000_obj//lite/html/news_detail.asp?content_id=281082

(2010-11-17 13:38:19 น.)

"ศาลปกครองกลาง" ตัดสินให้ผู้ป่วยชนะคดีเวชระเบียน


ศาล ปกครองกลางตัดสินให้ น.ส.ศิริรัตน์ จั่นเพชร ผู้เสียหายทางการแพทย์ ที่เรียกร้องการเข้าถึงเวชระเบียนซึ่งเป็นประวัติการรักษาคนไข้ชนะคดี ขณะที่ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์เผยผู้เสียหายที่ฟ้องแพทย์ร้อย ละ 99 ไม่สามารถเข้าถึงเวชระเบียนได้


ศาลปกครองกลางพิจารณาตัดสินคดีของ น.ส.ศิริรัตน์ จั่นเพชร ยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นต้นสังกัดโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งทำการผ่าตัดอาการปวดหลังซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนจากโรคภูมิแพ้ โดยศาลปกครองกลาง วินิจฉัยว่า โรงพยาบาลศิริราชละเลยต่ออาชีพตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ผู้ป่วยไม่มีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสาร ต้องชดเชยค่าเสียหายจำนวน 100,000 บาทภายใน 60 วัน และคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5

อย่างไรก็ตาม แพทย์ได้ระบุในขณะนั้นว่า ผู้ป่วยมีอาการเป็นหนองที่กระดูกสันหลัง หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดครั้งแรก และแพทย์ระบุว่าเอาหนองออกไม่หมดจึงต้องผ่าตัดครั้งที่ 2 จากนั้นผู้ป่วยเกิดอาการชา ตั้งแต่ราวนมลงไปขนถึงขา ทำให้เป็นอัมพาตเดินไม่ได้ 5 ปี

นอกจากนี้ โรงพยาบาลศิริราชไม่เปิดเผยชื่อแพทย์ผู้ผ่าตัด จึงขอให้ทนายยื่นขอเวชระเบียนกับโรงพยาบาล แต่พบว่าข้อมูลในเวชระเบียนที่เกี่ยวกับการผ่าตัดทั้ง 2 ครั้งหายไป โดยศาลชั้นต้น ผอ.รพ.ศิริราช กล่าวว่า เวชระเบียนของคนไข้หายไป เพราะว่าข้อมูลการผ่าตัดครั้งแรกข้อมูลถูกมารดาผู้ป่วยหายไป และข้อมูลผ่าตัดครั้งที่ 2 มี นพ.โชติพัฒน์ ตากชัยวิจิตร ได้ยืมเวชระเบียนการผ่าตัดครั้งที่ 2 ไป จึงทำให้ข้อมูลหายไป

ด้านนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาคดีความที่เกิดขึ้นระหว่างคนไข้กับหมอหรือโรงพยาบาลที่รักษา ร้อยละ 99 ไม่ได้เข้าถึงเวชระเบียนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่คดีนี้เป็นคดีแรกที่ศาลปกครองตัดสินให้ผู้ป่วยชนะคดี









******เนื้อหาคดีเดิม************

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000124346

“ศิริรัตน์” ฟ้อง “ศิริราช” 17 ล.เหตุรักษาพลาดจนขาพิการ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กันยายน 2548 19:50 น.


“ศิริ รัตน์” ผู้ป่วยขาพิการฟ้อง “ศิริราช” เรียกค่าเสียหาย 17 ล้านบาท ฐานประมาทเลินเล่อ รักษาโรคภูมิแพ้ SLE จนกลายเป็นคนขาพิการ ควบคุมระบบขับถ่ายไม่ได้ ชี้มีเงื่อนงำพยามปกปิดไม่ให้ดูเวชระเบียน ทั้งที่ต้องการทราบสาเหตุเผื่อจะเอารักษาต่อที่อื่น สุดท้ายได้รับคำตอบว่าหายได้มาบางส่วน เอาไปให้แพทย์ท่านอื่นดูพบการรักษามีความประมาท ทำให้กลายเป็นคนขาพิการ ยืนยันจะสู้เพื่อความเป็นธรรมจนถึงที่สุด

วันนี้ (12 ก.ย.) ที่ศาลแพ่ง ธนบุรี นางสาวศิริรัตน์ จั่นเพชร ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ SLE ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของโรงพยาบาลศิริราช ในข้อหาละเมิดและเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวน 17,260,000 ล้านบาท ซึ่งนางสาวศิริรัตน์ กล่าวว่า สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2543 ได้เดินทางไปตรวจรักษาโรคภูมิแพ้ตามที่แพทย์นัด ซึ่งได้แจ้งให้แพทย์ทราบแล้วว่ามีอาการปวดหลัง แต่แพทย์ไม่ได้ตรวจร่างกายบริเวณที่ปวดหลัง ให้ยามากินและบอกให้กลับบ้าน

ต่อมาวันที่ 5 ก.พ.2543 ตนมีอาการชักเกร็ง หมดสติ เมื่อญาตินำส่งโรงพยาบาลศิริราช แพทย์ทำการผ่าตัดให้ เมื่อฟื้นจากการผ่าตัดพบว่าขาทั้ง 2 ข้างเป็นอัมพาต และไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายได้ ซึ่งได้พยายามสอบถามแพทย์ถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ พยายามบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด ทั้งให้ความหวังว่าให้ทำกายภาพบำบัด 1-2 ปี แล้วจะหาย แต่ผ่านไป 4 ปี ยังเหมือนเดิม

“ทำให้เราสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา จนที่สุดต้องขอดูเวชระเบียน แพทย์ก็ไม่ยอมให้ ที่สุดต้องไปร้องเรียนตามที่ต่างๆ ได้รับคำตอบจากโรงพยาบาลศิริราชว่าเวชระเบียนส่วนหนึ่งได้หายไป มีเพียงบางส่วนที่เอามาให้ดูเท่านั้น ไม่ครบ จึงเกิดความสงสัยว่าน่าจะมีอะไรปกปิดอยู่ ซึ่งการร้องเรียนขอเวชระเบียนนี้กว่าจะได้ก็เมื่อปี 2547 ซึ่งก็ได้ไม่ครบด้วย เมื่อดิฉันเอาเวชระเบียนบางส่วนที่ได้รับไปให้แพทย์ท่านหนึ่งดู ได้รับคำตอบว่าการรักษามีความประมาทเลินเล่อ ถ้าตอนนั้นแพทย์ตรวจที่หลัง และฉีดยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรคทางเส้นเลือด ดิฉันจะไม่มีอากรชักเกร็งจนต้องผ่าตัดและกลายเป็นคนพิการในที่สุด เพราะแพทย์ก็ทราบดีว่าดินฉันป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ SLE อยู่แล้ว จึงตัดสินใจยื่นฟ้องในครั้งนี้”

นางสาวศิริรัตน์ กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้ชีวิตความเป็นอยู่ลำบากมาก เป็นลูกคนเดียว พ่อแม่ต้องมาหาเลี้ยงดู ทั้งในเรื่องการขับถ่าย ช่วงแรกที่ขาพิการ เคยไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลอื่นเพื่อทำการรักษา แพทย์ท่านนั้นบอกว่า ต้องเอาเวชระเบียนมาดูเพื่อจะได้รู้ประวัติ แต่ก็ไม่ได้เวชระเบียน ผ่านไป 1 ปี แพทย์ที่โรงพยาบาลนั้นบอกว่า ไม่สามารถทำการรักษาให้ได้เพราะไม่ทราบเวชระเบียน ไม่รู้ประวัติ และบอกว่าสายเกินไปแล้วที่จะรักษาให้หายกลับมาตามปกติ

นางสาวศิริรัตน์ กล่าวว่า ก่อนหน้าที่จะตัดสินใจยื่นฟ้องนั้น นิติกรของโรงพยาบาลศิริราชได้เข้ามาสอบถามว่าตัดสินใจอย่างไร เมื่อบอกว่ายืนยันที่จะฟ้อง ทางนิติกรบอกว่าต้องเข้าใจนะว่าเรื่องเวชระเบียนหายเป็นเรื่องปกติ ปีหนึ่งมีคนมารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ปีละ 2 ล้านคน มีเวชระเบียนหายปีละ 5 พันคนทุกปี ไม่เห็นมีใครมาเดือดร้อน และทางโรงพยาบาลก็ไม่มีเวลาไปแจ้งความด้วย ซึ่งเมื่อได้ยินเช่นนั้น ตนก็ยืนยันว่าจะต้องสู้เพื่อความเป็นธรรมจนถึงที่สุด

“ถ้าโรงพยาบาลศิริราชยอมให้เวชระเบียน ดิฉันอาจจะมีโอกาสหาย แต่กลับปกปิดไว้ ก่อนหน้านี้เคยยื่นฟ้องขอเวชระเบียนมาแล้วเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คดียังอยู่ในชั้นศาล และการตัดสินใจยื่นฟ้องครั้งนี้ขอบอกว่าทำเพราะไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ชีวิตนี้หมดสิ้นทุกอย่าง แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีความหวังอยู่ ไม่อยากให้พ่อแม่ต้องมาลำบากหาเลี้ยงลูก ทั้งที่ควรจะเป็นเราที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ ส่วนจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น เชื่อว่าศาลคงมีความเป็นธรรม” นางสาวศิริรัตน์กล่าวในที่สุด




ปล. ศาลตัดสินให้ชนะคดีที่เวชระเบียนหาย เท่านั้นนะครับ ส่วนคดีนี้ฟ้อง ๑๗ ล้านยังไม่ตัดสิน ..





รพ.รัฐ รพ.เอกชน และ คลินิกผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ก็ต้องระมัดระวังเวชระเบียนให้ดี อย่าให้หาย ซึ่ง รพ.รัฐ ตอนที่ผมเคยทำงานอยู่ ก็เจอเวชระเบียนหายหลายครั้งเหมือนกัน ..

ต่อไปนี้ ปัญหาเวชระเบียนหาย ก็คงน้อยลง เพราะ มีบรรทัดฐานจากคำตัดสินของศาลในคดีนี้ ..




อีก ประเด็นที่ยังค้างคาก็คือ " เวชระเบียน อิเลคทรอนิค " ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตอนนี้ ในทางกฏหมายไปถึงไหนแล้ว ศาลยอมรับ ข้อมูลเหล่านี้เป็นหลักฐานตามกฏหมายหรือยัง ??? เพราะเมื่อสัก ๕ ปีก่อน เคยมีข่าวว่า ทางกฏหมายยอมรับเฉพาะที่เป็น " กระดาษ " เท่านั้นนะครับ

ใครพอรู้รายละเอียด ก็รบกวนช่วยเล่าให้ฟังหน่อยนะครับ ....



Create Date :19 พฤศจิกายน 2553 Last Update :19 พฤศจิกายน 2553 12:08:54 น. Counter : Pageviews. Comments :1