bloggang.com mainmenu search
 
ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ ยา - หมอ - คลินิก -  โรงพยาบาล - สิทธิรักษา (บัตรทอง ประกันสังคม เบิกได้ พรบ.รถ)



๑. อย. .. สำหรับเรื่อง ยา อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ อาหารเสริม
เมื่อผู้บริโภคประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประเด็นที่ผู้บริโภคสามารถร้องเรียน อย. ได้แก่ 

พบความบกพร่องของผลิตภัณฑ์ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เสียก่อนหมดอายุ ไม่มีฉลากภาษาไทยการแสดงฉลากไม่ครบถ้วน เป็นต้น

พบโฆษณาโอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาโดยวิธีใด

พบการผลิต นำเข้า หรือขายยา และวัตถุเสพติด โดยไม่ได้รับอนุญาต

พบการผลิต นำเข้า หรือขาย ผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอม

พบการผลิต หรือขาย ผลิตภัณฑ์ที่ห้าม หรือมีสารที่ห้ามใช้ เช่น ยาชุด ครีมทาฝ้า ที่มีสารปรอท-แอมโมเนีย หรือไฮโดรควิโนน หรือกรดวิตามินเอ อาหารที่ผสมสารบอแรกซ์สารฟอกขาว หรือ กรดซาลิซิลิค เป็นต้น

ได้รับอันตรายจากการบริโภค หรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งที่ได้ปฏิบัติตามวิธีใช้ คำแนะนำ หรือข้อควรระวังตามที่ระบุบนฉลากแล้ว

หมายเหตุ :ชื่อ และการติดต่อกลับ (E-mail หรือ เบอร์โทร ของท่าน) มีประโยชน์มากในการดำเนินงานของกองพัฒนาศักยภาพผุ้บริโภค เนื่องจากในหลายกรณี ข้อมูลที่ท่านให้อาจไม่ครบถ้วน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ การขอข้อมูลเพิ่มเติมในบางกรณี ทำให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ตามเจตนารมณ์ของท่านที่ได้กรุณาร้องเรียน-แจ้งเบาะแสมาทางเรา

ช่องทางร้องเรียน

https://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/view_complain.php?Submit=Clear&ID_Com=00000054

ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถร้องเรียนหรือแจ้งข้อมูล โดยแจ้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมรายละเอียดของเรื่องที่ต้องการร้องเรียน ไปที่
1. สายด่วน อย. โทรศัพท์ 1556 
2. โทรศัพท์ 0 2590 7354-5
3. โทรสาร 0 2590 1556 
4. จดหมาย/หนังสือ (ร้องเรียน)
5. ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข 11004
6. อีเมล์
1556@fda.moph.go.th
7. ร้องเรียนด้วยตนเอง (หรือกรณีมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์มามอบให้)
    7.1 ผู้บริโภคที่อยู่ในเขต กรุงเทพฯ สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.)
ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอาคาร A ชั้น 1
                7.2 ผู้บริโภคที่อยู่ในต่างจังหวัด แจ้งร้องเรียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 
             ** กรณีนอกเวลาราชการ สำหรับโทรศัพท์ 0 2590 7354 และ สายด่วน อย. 1556 จะมีเทปบันทึกให้ฝากข้อความอัตโนมัติ**
 
             เรื่องร้องเรียนที่ส่งเข้ามา เมื่อทราบผลการดำเนินการ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องเรียนได้ทราบ ดังนั้น ผู้ร้องเรียนจึงควรแจ้ง ชื่อ ที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ นอกจากประโยชน์ในการแจ้งผลการดำเนินการแล้ว กรณีที่ข้อมูลไม่เพียงพอ หรือต้องการหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อกับผู้ร้องได้ โดยชื่อ ที่อยู่ ดังกล่าว จะได้รับการเก็บรักษาเป็นความลับ
            ส่วนกรณีผู้ร้องเรียนต้องการสินบนนำจับ จะต้องแจ้งความนำจับเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดไว้ว่าเรื่องใดจึงจะมีสินบนนำจับไม่ใช่ทุกเรื่องจะมีสินบนนำจับ  และการจะจ่ายสินบนนำจับ จะต้องรอจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ผู้ถูกแจ้งความมีความผิดจริง ซึ่งบางเรื่องอาจใช้เวลานานเป็นปี โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ
 
             ดำเนินการคือ กลุ่มกฎหมาย อาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งผู้แจ้งความนำจับจะได้รับสินบนตามอัตราที่กำหนดดังนี้
            1. กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด และได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายแล้ว ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินสินบนจำนวน 1 ใน 4 ส่วนในอัตราร้อยละ 60 ของเงินค่าปรับที่ได้รับ 
            2. กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด และได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายแล้ว ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินสินบนจำนวน 1 ใน 4 ส่วนในอัตราร้อยละ 80 ของเงินค่าปรับที่ได้รับ

| สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา | 88/24 ถนนติวานนท ์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 2590 7000 |


ช่องทางร้องเรียนอื่น  ๆ  ( มีเพียบบบบบบบ )
https://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/channel.php?Submit=Clear


๒. สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (ชื่อเดิม ..กองประกอบโรคศิลปะ)... สำหรับเรื่อง สถานประกอบการ ( คลินิก หรือ รพ. ) ที่สงสัยว่าทำผิดระเบียบ

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ( สพรศ.)
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร 0 2193 7000
กลุ่มโรงพยาบาล  ต่อ 18406            
กลุ่มคลินิก  ต่อ 18407
เวบ สพรศ. https://mrd-hss.moph.go.th/mrd/index.php
หมายเลขโทรศัพท์ภายใน สพรศ. https://mrd-hss.moph.go.th/mrd/tele.php

แบบฟอร์มรับเรื่องร้องเรียน คลินิก/โรงพยาบาล  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
https://203.157.7.46/complaint/complaintForm.jsp

ตรวจสอบชื่อโรงพยาบาล คลินิก  ที่ได้รับการรับรองจาก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
https://privatehospital.hss.moph.go.th/

ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online
https://hospitalprice.org/

อัตราจ่าย  โครงการเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยในสถานพยาบาลเอกชนด้วยระบบ DRG (ลิงค์หน้าเวบสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ  https://www.mrd.go.th/mrd/index.php )
https://www.mrd.go.th/mrd/2015%20DataFormPrivateHospital.xls?newsID=10451

รายการยาสามัญประจำบ้านที่มีไว้ในคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์
โดย สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558
https://203.157.7.46/uploadFiles/news/N0000000258248.pdf

คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน แจ้ง กรม สบส. 1426 หรือ 02 193 7057

หรือ web ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน https://crm.hss.moph.go.th/

รับเรื่องร้องเรียน ,,,
มาตรฐานการรักษาพยาบาล /มาตรฐานการใช้บริการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
ระบบการใช้บริการสถานพยาบาล /ระบบการใช้บริการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
ค่ารักษาพยาบาล /ค่าบริการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
การโฆษณาสถานพยาบาล /การโฆษณาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
สถานพยาบาลเถื่อน /หมอเถื่อน /สถานประกอบการเพื่อสุขภาพเถื่อน /หมอนวดเถื่อน /บริการแอบแฝง
เรื่องเกี่ยวกับอาสาสมัคร
ค่าป่วยการอาสาสมัคร
-ข้อเสนอแนะ ชมเชย และเรื่องอื่นๆ
สามารถร้องเรียนมาได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โทร 02-193-7057 หรือ 02-193-7000 ต่อ 18618 ในวันและเวลาราชการ



๓. แพทยสภา สำหรับทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานของแพทย์การตรวจสอบชื่อสกุลแพทย์ รวมถึงสงสัยว่าจะเป็น แพทย์ปลอมผู้ที่แอบอ้างว่าเป็นแพทย์ ทำหน้าที่ตรวจรักษาผู้ป่วยทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าเป็นแพทย์
https://www.tmc.or.th/

ฝ่ายจริยธรรม   02-590-1881 , 02-589-7700-8800
Email : 
ethics@tmc.or.th

ตรวจสอบรายชื่อแพทย์

https://www.tmc.or.th/check_md/

เฉพาะแพทย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและยังมีชีวิตอยู่ กรณีตรวจสอบไม่พบ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-590-1884,02-5901887 

สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
อาคาร 6 ชั้น7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี
โทร.: 02-5901886

 
" ร้องคลินิก ต้องไปที่ไหน ? "  ( ๑๙ พค.๖๒ )
Ittaporn Kanacharoen

มีปัญหา สงสัยคลินิกเถื่อน ค่ารักษาพยาบาลที่คลินิกไม่ถูกต้อง ค่ารักษา รวมถึงคลินิกไม่รับผิดชอบผลของการผ่าตัดต่างๆ จะรักษา ด้วยการเจาะเลือดแปลกๆ สเต็มเซลล์ที่ยังไม่อนุญาต และไม่เป็นมาตรฐาน ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล อยู่ในความรับผิดชอบของกรม สบส. สามารถแจ้งได้ตาม โปสเตอร์ หรือ โทร 02193 7057 หรือ Facebook มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน

ขอบคุณหลายท่านที่ส่งมาที่แพทยสภา ผมได้ส่งต่อให้แล้วนะครับ แต่ถ้าเป็นไปได้ส่งตรงเลย แพทยสภา จะดูแลได้ตามอำนาจ ใน พรบ วิชาชีพเวชกรรม ซึ่งจะดูเฉพาะตัวแพทย์ไม่เกี่ยวกับตัวคลินิก และลงโทษได้เฉพาะผู้ถือใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีอำนาจในการไกล่เกลี่ย ขอเงินคืนต่างๆ รวมถึงให้จ่ายชดเชย อันนั้นของ สบส.และ สคบ.ครับ



๔. อื่น ๆ


#หมอชวนรู้ โดย แพทยสภา
ตอนที่ 120 "แพทย์จริง แพทย์ปลอม และสาขาเฉพาะทาง  
.
ตรวจสอบง่ายๆ ได้ แบบ online ได้ที่
https://checkmd.tmc.or.th/
.
บทความโดย
นายแพทย์ภาสกร วันชัยจิระบุญ
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
กรรมการแพทยสภา

https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/3006309486300603



"สบส.ฮอทไลน์"
เบอร์โทรศัพท์สายด่วนกรณีปัญหาจากคลินิกและ รพ.เอกชน ตามพระราชบัญญัติ สถานพยาบาลครับ

1. ร้องเรียน/ปรึกษา จากการไปรับบริการกับคลินิก และ รพ.เอกชน และได้รับความเสียหายหรือเกิดผลกระทบจากการไปใช้บริการ
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18833

2. แจ้งเบาะแส คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18822

3. ตรวจสอบคลินิกที่ไปใช้บริการได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18407

4. ปรึกษาเรื่องอื่นๆ
เบอร์โทร 02-193-7000 หรือ 02-590-2999

เครดิต Ittaporn Kanacharoen   25 พฤศจิกายน 2017 ใ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1628722540521879&set=a.371903056203840&type=3&theater

" มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน "  คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เฟสบุ๊ค  https://goo.gl/F1MjlO
โทร 02-193-7999  ,  02-590-2999  ต่อ 1280


กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.dms.moph.go.th/request/inputform.html

กระทรวงสาธารณสุข
https://www.moph.go.th/
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง   จ.นนทบุรี 11000
โทร. 0-2590-1000

บัตรสุขภาพ (บัตรทอง บัตรสามสิบบาท)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2-4 อาคารรวมหน่วยงานราชการ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ฯ 10210
โทรศัพท์ เบอร์กลาง 02 141 4000    โทรสาร (Fax) 02 143 9730 - 1
เว็บไซท์ : https://www.nhso.go.th

สนใจขอรับบริการสอบถามปัญหา ติดต่อได้ที่
* โทรศัพท์ สายด่วน 1330 เปิดบริการ 24 ชั่วโมง
* ติดต่อทาง E-mail e-news@nhso.go.th




ถามตอบ ปัญหาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://www.nhso.go.th/frontend/page-forhospital_faq.aspx



สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) เปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ 4 ครั้งต่อปี

ต้องใช้เอกสารอะไรในการลงทะเบียนเปลี่ยน รพ. และติดต่อทำได้ที่ไหน

กรณีพักอาศัยตรงกับที่อยู่ตามบัตรประจำตัวประชาชน  หลักฐานที่ใช้คือ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)
                              กรณีพักอาศัยไม่ตรงกับที่อยู่ในบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ ต้องใช้หลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดเพิ่มเติม ดังนี้

(1) หนังสือรับรองการพักอาศัยอยู่จริงของเจ้าบ้าน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
(2) หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นำชุมชน
(3) หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
(4) เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก สัญญาเช่าที่พัก ฯ ที่แสดงว่าตนเองมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
(5) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอลงทะเบียน
ทั้งนี้  หากให้ผู้อื่นไปลงทะเบียนแทน  ต้องเพิ่มหนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจด้วย
สถานที่ติดต่อลงทะเบียน
กทม.              ®     สำนักงานเขต 30 เขต  ในวัน – เวลา ราชการ  (รายชื่อเขตตามภาคผนวก)
ต่างจังหวัด       ®     รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล  หรือ รพ.รัฐบาลใกล้บ้าน  ในวัน – เวลาราชการ

https://www.nhso.go.th/frontend/page-forhospital_faq.aspx







 




 

วิธีการใช้บริการสายด่วน สปสช. 1330

กด 1 รับฟังข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิหลักประกันสุขถาพ กด 2 ตรวสอบสิทธอัตโนมัติ กด 3 รับฟังการแก้ไขสิทธิไม่ตรีงตามจริง กด 4 รับฟังการใช้สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น กด 5 รังฟังข้อมูลการใช้สิทธิฉุกเฉิน 3 กองทุน กด 0 ติดต่อเจ้าหน้าที่ กด # รับฟังซ้ำ

 
 
"สิทธิรักษาพยาบาลของท่านคือสิทธิใด?"

โทรถาม 1330 ได้ 24 ชม.
พอรับสายแล้ว ให้ กด 2
จะมีคำสั่งให้ กดเลขบัตรประชาชน
เสียงตอบรับจะทวนเลข
ให้กด 1 ยืนยัน
แล้ว คอมพิวเตอร์จึง จะบอกสิทธิครับ
30บาท ประกันสังคม หรือ ข้าราชการ

ถ้าเป็น 30 บาท จะบอกชื่อโรงพยาบาลเลย
ถ้าบอกมาผิดจากที่ท่านทราบ ให้ กด 0 คุยกับ Operator เลยครับ

ใครไม่เคยเช็ค ลองเช็คดูนะครับ

เครดิต
Ittaporn Kanacharoen

 

สปสช.ปรับแอปฯ สิทธิหลักประกันสุขภาพโฉมใหม่ เริ่มดาวน์โหลด 27 พ.ค.นี้
https://www.hfocus.org/content/2016/05/12225

สำหรับแอปพลิเคชัน ก้าวใหม่ สปสช.แบ่งการใช้งานออกเป็น 9 หมวด คือ

1.หมวดตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล

2.หมวดวิธีการใช้สิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้เกิดการเข้าถึงเพิ่มขึ้น

3.หมวดแสดงที่ตั้งศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ 818 แห่ง

4.หมวดแสดงที่ตั้งหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50 (5) จำนวน 109 แห่ง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน กรณีที่มีปัญหาการเข้าถึงการบริการในระบบ

5.หมวดสถานที่ตั้ง สปสช.ทั้งสำนักงานกลางและสำนักงานเขต 13 เขตทั่วประเทศ

6.หมวด 1330 มีคำตอบ ซึ่งเป็นการรวบรวมการตอบคำถามที่พบบ่อย (Frequently Asked Questions: FAQ) และสอบถามเข้ามายังสายด่วน 1330 สปสช.

7.หมวดข่าวประชาสัมพันธ์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

8.หมวดมัลติมีเดีย มีทั้งช่องทางการถ่ายทอดกิจกรรม สปสช.ผ่านเว็บไซต์ รวมถึงการค้นหาและรับชมวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับ สปสช.ย้อนหลัง

9.หมวดที่เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ สปสช. (www.nhso.go.th)




E-book เรื่องควรรู้ "สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" ใน E-book มีอะไร...
รู้จักหลักการของประกันสุขภาพถ้วนหน้า
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของคนไทย
รู้จักหน่วยบริการ
สิทธิบัตรทองคุ้มครองโรคร้ายค่าใช้จ่ายสูง
บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นอย่างไร?

คลิกอ่าน E-book : https://stream.nhso.go.th/wp-content/uploads/ebooks/final_03-04-62/?fbclid=IwAR2b0U1ygvDoEVQl2EQGSZSwQTPtXjnEBUKQcXy2_d738VcSGbLA-YVRHlk

ดาวน์โหลดไฟล์ pdf : https://drive.google.com/file/d/1C-s5t1VYU0jadwBK1LiGkr8kS8UUN2iG/view?usp=sharing


สิทธิ ประกันสังคม
สำนักงานใหญ่ ประกันสังคม  เลขที่ 88/28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์  ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000

หมายเลขโทรศัพท์ 0-2956-2345

สายด่วน 1506

เว็บไซต์: https://www.sso.go.th
อีเมล์: info@sso.go.th
 

“สายด่วนประกันสังคม”   ที่รู้จักกันในหมายเลข 1506 ตอบข้อสอบถาม  ให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกันตน จากที่ไม่รู้… เป็นรู้สิทธิ”
https://www.ssolife.com/article_detail.aspx?id=3


เวบ ผู้ประกันตน สิทธิประกันสังคม
https://www.ssolife.com/index.aspx

ความแตกต่างของผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40
https://www.ssolife.com/article_detail.aspx?id=78

ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท – ประกันสังคม
https://www.myonesabuy.com/social-security-type/
 ได้อะไรบ้าง จากประกันสังคม มาตรา 40 ผลประโยชน์สำหรับคนสูงวัยhttps://news.mthai.com/general-news/405124.html

.........................................
 
 
 
ประชาชนทุกคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร เจ้าของรถ คนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

ข้อพึงปฏิบัติเมื่อประสบภัยจากรถ
เมื่ออุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือผู้พบเห็นควรปฏิบัติดังนี้
กรณีมีผู้บาดเจ็บ
1. นำคนเจ็บเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและสะดวกที่สุดก่อน
2. แจ้งเหตุที่เกิดให้ตำรวจทราบ และขอสำเนาประจำวันตำรวจเก็บไว้
3. แจ้งเหตุบริษัทประกันภัยทราบ แจ้งวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ
4. เตรียมเอกสาร ถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันเกิดเหตุ ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการกรณีเมื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
5. ให้ชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ

การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นผ่านโรงพยาบาล
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย ให้เตรียมเอกสาร ดังนี้ (อย่างละ 2 ชุด)
1.สำเนากรมธรรม์ของรถ (ใบเสร็จรับเงินจาก บริษัทประกัน)
2.สำเนาใบบันทึกประจำวันของตำรวจ ประทับตราโล่และสำเนาเอกสารถูกต้อง
3.สำเนาคู่มือรถ หน้าจดทะเบียนและหน้ารายการเสียภาษีหรือสำเนาสัญญาซื้อขาย(สมุดเขียว /น้ำเงิน)
4.สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
5.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
6.สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
7.สำเนาบัตรทะเบียนบ้านเจ้าของรถ

* มีสิทธิข้าราชการ อุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิไหนก่อน?
เมื่อผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์และเข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ตามนัยมาตรา9 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2535 ของระบบราชการ ต้องใช้สิทธิพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ

* มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพ อุบัติเหตุจากรถ  จะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนโดยไม่ใช้พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถได้หรือไม่?
ตามระเบียบกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2540 ต้องใช้สิทธิตามพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ ก่อน

การเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยมากับรถคันไหนให้เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถคันนั้น แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกให้เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถที่เกิดเหตุ (หรือเบิกจากกองทุนเงินทดแทน)
ดังนั้นกรณีที่มีผู้ประสบภัยจากรถ ท่านสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยที่ท่านจะรับการรักษาด้วยความสะดวกรวดเร็วไม่น้อยกว่ามาตรฐานของโรงพยาบาล เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยหรือญาติจะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ญาติเตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นให้กับโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ตั้งเบิกต่อบริษัทประกันแทนผู้ประสบภัย ตามค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงไม่เกิน 30,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

*** วงเงินความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน
     1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
     2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม
    โดย 1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น

ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย
      1. กรณีบาดเจ็บ ไม่เกิน         80,000 บาท
      2. กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร       300,000 บาท
      3. สูญเสียอวัยวะ
             – นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป  200,000 บาท
             – สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน  250,000 บาท
             – สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน  300,000 บาท
        4. ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน  (4,000 บาท)
* ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

หมายเหตุ สำหรับกรมธรรม์ที่เกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป

https://www.thaihealthycare.com/เมื่อประสบภัยจากรถ/

หากผู้ทำประกันภัยรถยนต์ เกิดข้อสงสัยในการให้บริการของบริษัทประกันภัยที่ทำไว้ ว่าทำถูกต้องหรือไม่ เมื่อมีการเครมประกันเกิดขึ้น หากเกิดปัญหาไม่แน่ใจในบริษัทประกันภัยว่าดำเนินการถูกต้องหรือไม่ สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คป.ภ.) และสำนักงาน คปภ. ไม่ได้ให้คำปรึกษาเฉพาะประกันภัยรถยนต์เท่านั้น ยังให้คำปรึกษา ประกันชีวิต ประกันวินาศภัยอีกด้วย
หากผู้ทำประกันภัยรถยนต์ มีข้อสงสัยในการให้บริการของบริษัทประกันภัยรถยนต์ ก็สามารถร้องเรียนเข้าไปได้ที่สำนักงาน คปภ. ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
1  สายด่วน 1186
2. กระดานรับร้องเรียนhttps://www.oic.or.th
3. ทาง e–mail: ppd@oic.or.th
4. Download OIC Mobile Application  ที่นี่  https://www.oic.or.th/th/consumer/download-oic-mobile-application
5. โทร 0-2515-3999  โทรสาร 0-2515-3970
https://www.easyinsure.co.th/news/?p=2921

 
*********************************************

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
https://www.ocpb.go.th


สารพันลิงค์ ติดต่อเรื่อง ร้องเรียน ...
https://www.pantip.com/cafe/torakhong/link/#c1


ฝาก ทุก ๆ ท่าน ด้วยนะครับ ...
... " อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล " ...
... " การนิ่งเฉย ก็คือ การสนับสนุนให้เขาทำชั่ว " ...




ปล.  สำหรับ คลินิกแพทย์ วิธีตรวจสอบง่ายๆ  ก็คือ เข้าไปในคลินิก ต้องแสดงเอกสารเหล่านี้  (ใช้คำว่า" ต้อง " เพราะเป็น กฎหมาย ) .. 
 
 
 
 
 
ถ้าไม่มีการแสดง เอกสาร ดังกล่าว หรือ ผู้ที่ตรวจหน้้าตาไม่เหมือนภาพในเอกสารที่ติดไว้ .. แนะนำให้ไปรักษาที่ คลินิก หรือ โรงพยาบาล อื่น เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง ..


นำมาฝาก จาก เฟสบุ๊ค ของ น.อ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา
 
7 ขั้นตอนง่ายๆ ในการตรวจสอบแพทย์ ที่น่าสงสัย..

7 ขั้นตอน ในการตรวจสอบแพทย์ ที่น่าสงสัย..เป็นโปรแกรมในเว็บไซด์แพทยสภาเตรียมไว้ให้ประชาชนตรวจสอบได้ง่ายและรวดเร็วครับ..เพียงแต่รูปหมอนั้นอยู่ระหว่าง update จะมีราวครึ่งหนึ่งที่ยังไม่มีรูป..

ส่วนที่ไม่พบชื่ออาจมีเพราะหลายสาเหตุ เช่นชื่อพิมพ์ผิด / แต่งงานแล้วเปลี่ยนนามสกุล /เปลี่ยนชื่อไม่แจ้งแพทยสภา/ แพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน /หรือวุฒินอกเหนือ 80สาขาที่แพทยสภามี /รวมถึงหมอเถื่อน

สงสัย อย่าพึ่งระบุว่าเขาไม่ใช่แพทย์ครับ ต้องโทรถามแพทยสภาก่อน ที่ 02-5901884 (เวลาราชการ) ..

เช่นกรณีแพทย์-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจบใหม่ ชื่ออาจขึ้นหลังจากนั้นราว 1เดือนครับ ผมจะพยายามนำรูปทั้งหมดมา update ให้ประชาชนตรวจสอบได้ครบถ้วนเร็วที่สุดครับ..//

ปล.ฝากพี่ๆน้องๆแพทย์ไปตรวจของตัวเองด้วยนะครับ ถ้าพบข้อมูลตนเองไม่ตรง..ต้องการ update ..ต้องการเปลี่ยนรูป แจ้งแพทยสภาแก้ไขด่วนนะครับ ทีี่ 02 590-1887 ครับ


https://www.tmc.or.th/check_md/

 
""""""""""""""""""

สำหรับ สถานพยาบาล คลินิก โรงพยาบาล ที่รับแพทย์ปลอม เข้าไปทำงาน ก็มีความผิดด้วยนะครับ มีคำแนะนำจาก พล.อ.ต. นพ. อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา มาฝาก ..

......

คำแนะนำการตรวจสอบแพทย์ที่จ้างอยู่เวรพิเศษ

เนื่องจากในปัจจุบันมีสถานพยาบาลหลายแห่งที่มีความจำเป็นต้องรับแพทย์เวรนอก เหนือจากแพทย์ประจำที่ทำงานตามปกติ โดยการลงรับสมัครงานในที่ต่างๆ ซึ่งในขบวนการดังกล่าวนั้นอาจเป็นเหตุให้มีการตรวจสอบว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่นั้น ไม่สะดวก   เป็นเหตุให้เกิดช่องว่างให้ผู้ซึ่งมิใช่แพทย์แฝงตัวเข้ามารับงานเป็นแพทย์ได้อยู่เป็นระยะๆ ทั้งนี้จึงใคร่ขอให้คำแนะนำดังต่อไปนี้

1. กรณีรับสมัครแพทย์ ขอให้ตรวจสอบชื่อ นามสกุล และเลขใบประกอบโรคศิลป์ จากเว็บไซต์ของแพทยสภา https://tmc.or.th/check_md/  ว่าถูกต้องและมีชื่อตรงหรือไม่

2. ให้ขอเอกสารแสดงตนทุกรายที่มาสมัคร ได้แก่ บัตรประชาชน และ ใบประกอบวิชาชีพศิลปะ (ถ้ามี) ซึ่งในอนาคตจะใช้บัตร MD CARD แทนได้

3. การชำระเงินให้กับแพทย์นั้น ในกรณีที่เป็นแพทย์ปลอมจะต้องการให้ชำระเป็นเงินสด ถ้าเป็นไปได้ ควรให้จ่ายเป็นเช็คระบุชื่อและนามสกุลของแพทย์ (จ่ายเช็คขีดคร่อม Ac Payee Only)
แพทย์ปลอมใช้ชื่อคนอื่น เบิกเงินไม่ได้ คลินิกก็ไม่ต้องเสียเงิน ในกรณีที่มีปัญหาทางกฎหมายจะช่วยยืนยันให้กับสถานพยาบาลได้มากกว่า

4. กรณีพบแพทย์ที่สงสัย แจ้งได้ที่  ethics@tmc.or.th


ข้อพึงสังเกต พฤฒิกรรมแพทย์ปลอม มักจะ

1.ไม่ให้เอกสารใดๆ ที่แสดงตน บ่ายเบี่ยง ลืมเอามา

2.อยู่เวรจำนวนน้อย มาลงขอเวรบ่อยๆ

3.ไม่อยู่เวรประจำ เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ

4.ขอเป็นเงินสดมากกว่าที่จะรับเงินแบบออกหลักฐาน เนื่องจากไม่สามารถเข้าบัญชีเบิกเงินได้

........................... ทั้งนี้การรับแพทย์ปลอมเข้าปฏิบัติงานในสถานพยาบาล “ เจ้าของและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล” จะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่น

1. ฐานให้บุคคลผู้มิใช่แพทย์ทำงานเป็นแพทย์ ตามมาตรา 27-28 ของ พรบ. ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พศ.2525 ซึ่งเจ้าของคลินิกสถานพยาบาลจะต้องรับผิดชอบ

2. ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลจะต้องถูกดำเนินคดีทางจริยธรรม ตามมาตรา 43-44 มีโทษ จำคุกไม่เกิน3ปี ปรับไม่เกิน3หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ผิด พรบ. สถานพยาบาล ซึ่งต้องถูกดำเนินการโดยกองประกอบโรคศิลปะ อาจถูกปิดสถานพยาบาล ได้

4. ถูกดำเนินคดีจากผู้ป่วย ในคดีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลโดยหมอปลอมทั้งคดีแพ่งและอาญา

5. หากผู้นั้นใช้ชื่อและนามสกุลพร้อม เลข ว. ของแพทย์ ที่มีอยู่จริง จะต้องโดนคดีอาญา ฐานปลอมแปลงชื่อผู้อื่นจากแพทย์ผู้เสียหายอีกด้วย

ทั้งนี้แพทยสภา กวดขันขึ้น เพื่อคุ้มครองประชาชน และปกป้องแพทย์จริง ที่มักเสียชื่อจากแพทย์ปลอมที่ไปรักษาไม่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนผู้เคราะห์ร้ายต้องรับกรรม ..

ด้วยความปรารถนาดีจาก

พล.อ.ต. นพ. อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 






แถม ...
ไปเจอ #เภสัชกรปลอม ตรวจสอบอย่างไร?
แอบอ้างเป็นเภสัชกร ต้องทำอย่างไร??
ตอนนี้มี drama แม่ค้าคนดัง ไปอ้างว่าเจอหมอปลอมมาทำงานในคลีนิคของตนเอง
กลับมาที่ร้านยาเราบ้าง หลายครั้งเราไปร้านยา พบว่ามีคนใส่เสื้อขาวๆ แล้ว ใช้ชื่อว่าเป็นเภสัชกร แล้วเราไม่แน่ใจ "#อยากรู้ว่าเป็นเภสัชจริงๆหรือไม่?"
ตรวจสอบได้อย่างไร??
เรามาแนะนำอย่างง่ายๆ ดังนี้
1. ไปที่ เว๊ปไซต์ https://www.pharmacycouncil.org
2. ใส่ "ชื่อ" หรือ "นามสกุล" ลงในช่องตามที่ระบุ
จะปรากฏ #ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นเภสัชกร > มีชื่อ นามสกุล และ รูปถ่ายตามฐานทะเบียนราษฎร์ ปรากฏขึ้นมาทันที
3. ??? ไม่แน่ใจ หาไม่เจอ ต้องการร้องเรียน???
หากพบว่าคนที่ยืนต่อหน้า #ไม่ได้เป็นเภสัชกร
ลองติดต่อสอบถามได้ที่
สำนักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม อาคารสภาวิชาชีพ ชั้น 8 กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 88/19 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0 2591 9992-5 โทรสาร 0 2591 9996
Email: pharthai@pharmacycouncil.org


เครดิต Utai Sukviwatsirikul  
https://www.facebook.com/utai.sukviwatsirikul/posts/4961617367202705
...............................

 
Create Date :23 กุมภาพันธ์ 2552 Last Update :17 ธันวาคม 2564 15:12:41 น. Counter : Pageviews. Comments :8