bloggang.com mainmenu search






ได้ไม่เท่าเสีย


โดย สุนทร นาคประดิษฐ์

//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act02070352&am p;sectionid=0130&day=2009-03-07


ข่าวเรื่องแพทย์รักษาผู้ป่วยถูกร้องเรียนหรือถูกกล่าวหาว่า ทำการรักษาสะเพร่าหรือประมาทจนเกิดความเสียหายกับผู้ป่วย และ มีข่าวว่าจะมีการเรียกร้องให้รัฐ ออกกฎหมายจะฟ้องแพทย์ที่เป็นผู้รักษาผู้ป่วยให้รับโทษทางอาญา ซึ่งเป็นข่าวเกรียวกราวในขณะนี้นั้น สร้างความปั่นป่วนให้กับวงการแพทย์พอสมควร




วิธีบริหารผู้ป่วย


ผู้เขียนในฐานะเป็นผู้ที่เคยทำงานในสถาบันการศึกษา ซึ่งมีหน้าที่บริการผู้ป่วย คือ โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย คำว่าโรงเรียนแพทย์เป็นชื่อเฉพาะเรียกภายในหมู่ผู้ผลิตแพทย์ นั่นคือ มหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์นั่นเอง

ผู้เขียนมีความรู้สึกว่าข่าวที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงแพทย์ไทยที่ต้องติดคุก เพราะช่วยเหลือผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อสังคมเริ่มมองแพทย์ด้านเดียวคือความผิดพลาดทางการรักษา และพยายามจะให้แพทย์รับโทษ และชดใช้ค่าเสียหายเหมือนกับบางประเทศ

แต่ประเทศเราจะมีแพทย์สักกี่คน หรือมีผู้ป่วยกี่คนที่จ่ายเงินให้แพทย์ในอัตราสูงเหมือนต่างประเทศ

ผู้ป่วยในชนบทส่วนใหญ่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลให้ผู้ป่วย โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลก็มีมาก บางรายเป็นแสนหรือหลายแสนก็มี



จำได้ว่ามีผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลที่ผู้เขียนทำงานอยู่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดข ึ้นเมื่อนานมาแล้ว มีผู้ป่วยคนหนึ่งดื่มน้ำส้มยาง (น้ำกรด) มารักษาที่โรงพยาบาลต้องเสียค่ารักษาหลายแสนบาท เพราะต้องผ่าตัดหลายครั้ง

เรื่องนี้ต้องเข้าที่ประชุมใหญ่ฝ่ายบริหาร เพราะเป็นเรื่องที่ต้องปรึกษาว่าเป็นเรื่องที่ควรทำหรือไม่ควรทำ

ได้พูดกันมาก คำตอบว่าถูกหรือผิดมันอยู่ที่มองว่า เมื่อ เป็นแพทย์ผู้รักษาต้องช่วยคนให้รอดตาย ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของแพทย์แต่ละคนที่ฝังลึกอยู่ในใจ แม้ว่ารัฐจะเสียเงินเท่าไหร่ก็ไม่เกี่ยว เพราะตัวเองต้องรักษาคนให้หายและได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องของผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบ

ภายหลังกรรมการคณะจึงได้ตั้งกรรมการดูแลความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายแต่ละรายว่าคุ้มกับเงินที่จ่ายออกไป เพราะบางรายรักษาแล้วได้คนไม่สมบูรณ์กลับมาทำงานอะไรก็ไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิดว่าการทำแบบนี้ถูกหรือผิด

นี่เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า แพทย์ก็ต้องดูแลผู้ป่วยที่ตัวเองรับผิดชอบให้ดีที่สุด

คำ ว่าแพทย์เลี้ยงไข้เราได้ยินบ่อยๆ แต่ผู้เขียนไม่เคยเห็นแพทย์คนไหนจะเลี้ยงไข้ เพราะการรักษาคนไข้ของแพทย์ถ้าคนไข้หายแพทย์ก็จะมีความสุขและดีใจ แต่ถ้าไม่หายหรือคนไข้ตายก็ท้อใจในฝีมือตัวเอง

ระบบการรักษา

การที่ผู้ป่วยรักษาไม่หาย หรือบางรายเสียชีวิตกะทันหันโดยไม่รู้สาเหตุตามที่มีข่าวอยู่เป็นระยะๆ

ซึ่งสังคมหรือกลุ่มสื่อต่างๆ ก็ผลักให้เป็นความผิดของแพทย์ เพราะไม่ทราบข้อเท็จจริง

การโจมตีการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนควรจะดูให้รอบคอบ

เพราะความเสียหายไปเกิดที่แพทย์ผู้เป็นเจ้าของไข้เพียงคนเดียวทั้งๆ ที่ผู้ป่วย 1 คนมีผู้เกี่ยวข้องครึ่งโรงพยาบาลก็ว่าได้

แต่สื่อไม่เข้าใจก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเรื่องการบริหารผู้ป่วยเป็นระบบสลับซับซ้อนมาก




ไม่เป็นสองรองใคร


ผู้เขียนไม่ใช่แพทย์แต่เป็นบุคลากรที่ทำงานในโรงเรียนแพทย์ ได้เห็นการทำงานและการตัดสินใจของแพทย์แต่ละสาขา ซึ่งไม่เหมือนกัน ที่นำเรื่องนี้มาเขียนเพราะเห็นว่าสังคมกำลังคิดทำลายระบบแพทย์ที่ถูกสร้างไว้อย่างดีมานานแล้ว

ขอเรียนข้อเท็จจริงให้ทราบว่า หลายคนไม่รู้ว่าแพทย์ไทยนั้นเป็นแพทย์ที่มีฝีมือในการรักษาผู้ป่วย ไม่เป็นสองรองใครในโลกนี้

เพราะระบบและวิธีการรักษาตลอดจนหลักสูตรการเรียนการสอนเอามาจากประเทศที่เจริญแล้ว คือ ยุโรปและอเมริกา แพทย์รุ่นเก่าๆ จะจบจากอังกฤษ เยอรมนี และอเมริกาเป็นส่วนใหญ่

การผลิตแพทย์ในประเทศไทยยังไม่เพียงพอเนื่องจากแพทย์ที่จบมาไปอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนและทำคลีนิคในต่างประเทศ ที่เหลืออยู่ในประเทศไทย

ขณะนี้มีแพทย์อยู่ทั้งสิ้นประมาณ 26,380 คน

ทำงานทั้งในภาครัฐและเอกชน

เฉลี่ยจำนวนแพทย์ต่อประชากร 1 : 2,350 คน

ค่าเฉลี่ยองค์การอนามัยโลก 1 : 1,500 คน คือ 1,500 คน ต้องมีแพทย์ 1 คน


ในขณะนี้เรายังผลิตไม่พอเพราะต้องผลิตเผื่อประเทศอเมริกา ยุโรป และประเทศอื่นๆ ที่ร่ำรวยด้วย

ผู้เขียนคิดว่าคนเป็นแพทย์งานหลักมาก ต้องทำงานเช้ามืดจนดึกดื่น





การเรียนการสอนแพทย์


ปัจจุบันมีโรงเรียนแพทย์หรือมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทย์ทั้งสิ้น 17 แห่ง สามารถผลิตแพทย์ได้ปีละ 2,282 คน ซึ่งการผลิตขณะนี้ถือว่าสูงสุด

การผลิตแพทย์หรือการสอนนักศึกษาแพทย์ บางวิชาเหมือนการสอนนักบิน เพราะต้องสอนตัวต่อตัว ค่าใช้จ่ายในการแพทย์สูงมาก ตกหัวละเกือบ 2 ล้านบาท/คน แต่เดิมแพทย์พอจบการศึกษาในประเทศไทยก็หาทางไปเรียนต่อเพื่อเพิ่มดีกรีจากต่างประเทศ

ในยุคปัจจุบันสังคมที่เต็มไปด้วยอุบัติเหตุทางจราจร และการทำร้ายร่างกาย รวมทั้งอุบัติภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นบ่อย สังคมปัจจุบันเป็นยุคที่มีสื่อเป็นตัวชี้ขาดความผิดถูกของสังคม ทำให้อาชีพแพทย์อยู่ยาก เพราะการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนมีเงื่อนไขหลายอย่างเพิ่ม ขึ้นจากเดิมมาก เป็นสาเหตุให้เกิดการฟ้องร้อง เพราะคนรู้กฎหมายจึงฟ้องร้องง่ายขึ้น



แพทย์มีสิทธิถูกฟ้องและติดคุกได้ทุกคน

การรักษาผู้ป่วยต้องเสี่ยงตลอดเวลา ถ้าการฟ้องแพทย์ทำได้จริงๆ การแพทย์ของประเทศไทยเราต้องถอยหลังเข้าคลองและเสียหายอย่างยับเยิน

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างให้ผู้อ่านได้เห็นภาพว่าแพทย์จะมีปัญหาตรงไหน ขอยกตัวอย่างคนไข้ฉุกเฉินก็แล้วกัน

ปกติการรักษาผู้ป่วยหรือการทำงานในโรงพยาบาลเป็นการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่เป็นการทำงานแบบตัวใครตัวมันทุกอย่างจะต้องเชื่อมต่อกันเป็นวงจรเดียวกันหมด มีเป้าหมายรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคทุกคนจะต้องรู้วัตถุประสงค์นี้ ตั้งแต่ผู้อำนวยการไปจนถึงคนเข็นเปล ยามรักษาการและคนสวนก็ต้องรู้วัตถุประสงค์ กลไกแต่ละส่วนต้องเดินอย่างเป็นปกติไม่มีสะดุด หากมีปัญหาเกิดขึ้นจะกระทบกับคนไข้ทันที

ด้วย ระบบดังกล่าวเป็นต้นว่าห้องปฏิบัติการต่างๆ ห้องยา และงานอื่นๆ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด แพทย์ที่เป็นเจ้าของไข้มีหน้าที่เพียงใช้ระบบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์กับคนไข้มากที่สุด

เช่น การตัดสินใจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการต่างๆ ตั้งแต่ X-ray และผลของการตรวจแต่ละคน เมื่อได้ข้อมูลต่างๆ มาแล้วแพทย์จึงตัดสินใจสั่งการรักษา

จะเห็นได้ว่าคนไข้เข้าไป 1 คนมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากหลายหน่วยงาน ซึ่งแพทย์เป็นผู้บริหารคนป่วยให้หายจากโรคเท่านั้น

การฟ้องเรียกค่าเสียหายผู้เขียนเห็นด้วยแต่การฟ้องทางอาญาน่าจะไม่ถูกต้อง ควรจะได้มีการทบทวนและตรึกตรองให้ดี เพราะแพทย์ไม่ใช่คนเดียวที่ต้องรับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องที่กล่าวถึงมีส่วนร่วมทั้งหมด



ปัญหาจะเกิดขึ้นกับโรงพยาบาล แน่นอนที่สุดที่หนีไม่พ้นคือ

1.แพทย์ที่อยู่ฉุกเฉินของทุกโรงพยาบาล จะดูแลคนไข้ฉุกเฉินอย่างรอบคอบเกินความจำเป็น ทางด้านการรักษา จะไม่เสี่ยงตัดสินใจถ้าไม่ได้ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการมายืนยัน

โดยเฉพาะด้านกฎหมาย จะต้องรอบคอบอย่างมาก กล่าวคือ จะตัดสินใจรักษาใครก็ต้องได้รับการยินยอมจากคนไข้หรือญาติเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ป่วยก็จะต้องนอนรอการรักษา จนกว่าแพทย์จะเชื่อมั่นว่าปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วย

ท่านลองคิดดูว่า คนป่วยฉุกเฉินจะได้รับการรักษาอย่างไร

ปกติ การรักษาฉุกเฉินเป็นการเสี่ยงกันทั้ง 2 ฝ่าย ผู้ป่วยก็เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เพราะการมาโรงพยาบาลฉุกเฉินก็ต้องมาที่ห้องฉุกเฉิน บางรายเป็นตายเท่ากัน ด้านแพทย์ก็ต้องเสี่ยงรักษา โดยมิอาจรู้ได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อหรือไม่ และถ้าผู้ป่วยตายลงก็ต้องเสี่ยงกับการถูกญาติว่า

แต่ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการฟ้องแพทย์ก็ยอมเสี่ยงช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน มุ่งแต่ให้ผู้ป่วยหายและมีความสุขกับการได้ดูแลรักษาผู้ป่วยจนหาย



2.รากฐานการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์ไทยที่เจริญมานี้เนื่องมาจากสายพระเนตรอันยาวไกลของกรมหลวงสงขลานครินท ร์พระบรมราชชนก ได้เห็นว่าการแพทย์ของเราในสมัยนั้นล้าหลังประเทศตะวันตกและยุโรป จึงได้ทรงทุ่มเท เสียสละโดยพระองค์ทรงตั้งพระทัยไปเรียนแพทย์ด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเรียนการพยาบาลจากสหรัฐอเมริกามา ทั้งสองพระองค์ได้ทรงวางรากฐานการแพทย์ไทยที่เราเรียกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน จนสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุ 36 พรรษา

แต่ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงวางรากฐานการแพทย์ไว้อย่างมั่นคงมาจนทุกวันนี้

เราจะเห็นได้ว่า โรคหลายอย่างที่เคยระบาด เช่น โรคห่า โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง และโรคอื่นๆ อีกมากได้หายไปจากประเทศไทย จนพระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย"




"ได้ไม่เท่าเสีย" หมายความว่าหากมีการฟ้องแพทย์ให้ได้รับโทษทางอาญา เมื่อเกิดรักษาผู้ป่วยผิดพลาดจะโดยประมาทหรือไม่ก็ตาม ย่อมทำให้กระเทือนวงการแพทย์และกระทบกับคนไทยทุกคน สร้างความเสียหายให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่มีเงินและต้องพึ่งแพทย์ให้ ดูแลชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มคนในชนบท ต้องมารับเคราะห์กรรมจากการคิดควบคุมแพทย์โดยใช้กฎหมายอาญาให้แพทย์อยู่ในกติกาเหมือนกับอาชีพอื่น


ความจริงก็ถูก ในแนวคิดที่แพทย์จะต้องรับผิดชอบต่อสังคม แต่สังคมมองเฉพาะกลุ่มแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลที่มีรายได้สูงและมองตัวเงินเ ป็นหลัก

สังคมไม่หันมามองกลุ่มแพทย์ที่ อยู่ในโรงพยาบาลของรัฐ โดยเฉพาะในชนบทต้องรับผิดชอบชีวิตคนสูงมากแต่มีแพทย์น้อย และต้องทำงานหนักตลอดเวลา บางวันแทบไม่ได้นอนก็มี แพทย์บางคนอยากจะพักผ่อนมากกว่าอยากจะได้เงิน

นอกจากแพทย์แล้วพยาบาลยังต้องทำงานหนักไม่มีเวลาหยุดพัก การเฝ้าไข้โดยการจ้างพยาบาลพิเศษจะหาได้ยากขึ้นทุกวัน การเรียนพยาบาลก็เริ่มลดลงทุกวัน

จากการที่ทำงานในโรงเรียนแพทย์ได้เห็นได้สัมผัสและได้รู้จักกับแพทย์ อาจารย์แพทย์ และนักศึกษาแพทย์ หรือรู้วิถีแพทย์อย่างดี และได้พบว่า

วงการแพทย์มีทั้งคนดีและไม่ดี แต่ที่ไม่ดีมีน้อยนิดไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของแพทย์ทั้งหมด

การจะฟ้องร้องแพทย์ให้ได้รับโทษทางอาญา ย่อมกระทบกับแพทย์ดีที่มีอยู่จำนวนมาก ย่อมไม่เป็นผลดีกับประเทศ


แพทย์ บางสาขาจะไม่มีคนเรียน และแพทย์จะเฉยเมยต่อผู้ป่วยไม่กระตือรือร้นจะช่วยผู้ป่วย เพราะกลัวจะรับเคราะห์กับการทำงาน เช่นเดียวกับรถที่ช่วยเหลือผู้ถูกรถชนมาส่งโรงพยาบาล และถูกข้อหาว่าเป็นผู้ชนเอง เดี๋ยวนี้เลยไม่ค่อยมีคนอยากช่วยผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน


ที่เขียนมานี้เพียงจะบอกท่านผู้เกี่ยวข้องที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ให้มีการฟ้องแพทย์ได้ ควรจะรู้ว่าคนที่เรียนแพทย์จะต้องรู้จรรยาแพทย์และมีแพทยสภาควบคุมกลุ่มแพทย ์โดยตรงแล้ว แต่ละปีมีการทำโทษแพทย์มาก แต่สังคมไม่รู้

หวังอย่างยิ่งว่า บทความนี้ช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจแพทย์

แพทย์ ที่รักษาผู้ป่วยไม่หายจนถึงขั้นผู้ป่วยเสียชีวิตเขาก็เสียใจพออยู่แล้ว อย่าฟ้องเขาให้ต้องโทษทางอาญาอีก เลยเพราะสิ่งที่ได้ไม่เท่าเสีย











เอาไปแปะ ในห้องสวนลุม เช่นเคย จะได้มีคนแจมเยอะหน่อย ...

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L7622921/L7622921.html






Create Date :13 มีนาคม 2552 Last Update :13 มีนาคม 2552 19:51:13 น. Counter : Pageviews. Comments :1