bloggang.com mainmenu search

เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน ที่น่าจะช่วยกัน ทำความเข้าใจ เผยแผ่ความรู้ให้กับประชาชนทั่วไปได้รับรู้รับทราบตรงกันว่า

" อย.มีหน้าที่รับรองเฉพาะส่วนผสม สถานที่ผลิต และระบบการผลิต ไม่ได้รับรองสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ "


มีเครื่องหมาย อย. ก็แสดงว่า ส่วนผสม สถานที่ผลิต ระบบผลิต ของผลิตภัณฑ์นั้น " ปลอดภัย " แค่นั้น ...

เห็นโฆษณาว่า ได้รับเครื่องหมายรับรองจาก องค์การอาหารและยา ก็ "อย่า " หลงเชื่อว่า " ดีจริง ได้ผลจริง ตามที่ โฆษณา " เพราะ เข้าใจว่า อย. รับรอง แล้ว ..


ต่อให้มี เครื่องหมาย อย. ถูกต้อง ก็ต้องระวัง ... เวลาส่งขออนุญาตโฆษณา จาก อย. เป็นอีกอย่าง ทาง อย. พิจารณาแล้วอนุญาตให้โฆษณาได้ แต่พอไปโฆษณาจริง (โดยเฉพาะขายตรง) ก็พูดกันซะเกินไป รักษาหายหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอะไร ก็รักษาได้ ทำให้ดีขึ้นได้ ( ขาดแต่ไม่โฆษณาว่า กินแล้วเหาะได้เท่านั้นเอง ??? )

ชาวบ้าน ก็ถูกหลอก ด้วยความไม่รู้ ด้วยความหวังว่า จะทำให้ความเจ็บป่วยของตนเองดีขึ้น ขวดละหลายพัน ก็ซื้อ .. กลายเป็นว่า โรคเดิม ก็ไม่หาย แถมเสียเงิน เสียรู้ อีกต่างหาก ..



**************15 กุมภาพันธ์ 2553

แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ


“อย.มีหน้าที่รับรองเฉพาะส่วนผสม สถานที่ผลิต และระบบการผลิต ไม่ได้รับรองสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ ถ้าไปอวดอ้างสรรพคุณถือว่าโฆษณาเป็นเท็จ เกินจริง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ” นายจุรินทร์ กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ขอเตือนประชาชนและผู้บริโภคว่าอย่าเชื่อไปตามคำโฆษณา ในการซื้อผลิตภัณฑ์ใดๆควรอ่านฉลาก รายละเอียดที่ระบุไว้ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นจริง เพราะผลร้ายจะตกอยู่กับผู้บริโภค จึงขอประชาชนระมัดระวัง ใช้ดุลพินิจให้ดี พร้อมกันนี้ขอความร่วมมือจากประชาชน ถ้าพบเบาะแสข้อมูลอะไรที่สงสัยว่าสินค้า การโฆษณาไม่ถูกต้อง สามารถแจ้งสายด่วน อย. หมายเลข 1556 หรือตู้ ปณ.1556 กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี


ส่วนกรณีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดหนึ่งซึ่งชื่อ เอโดซี่ ที่มีลักษณะเป็นของเหลว ซึ่งโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคร้ายแรงได้หลายโรค เช่น เบาหวาน มะเร็ง หัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต

โดย อย.ได้รายงานว่าจากการตรวจสอบมีการอวดอ้างโฆษณาเกินจริง หรือเป็นเท็จ และโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตทางสื่อ เช่นทีวีดาวเทียม ที่แผ่นพับมีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ไม่แสดงข้อความตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศบังคับไว้ คือ ไม่ระบุว่าไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค นอกจากนี้ยังมีการโฆษณาโดยนำผู้ป่วยที่มีการกล่าวอ้างยืนยันสรรพคุณด้วย ซึ่งขณะนี้ อย.ได้สั่งระงับและดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว



มีตัวอย่างให้อ่านอีกเพียบบบบบบบบ



ใครว่า องค์การอาหารและยา ( อย. ) ไม่มีผลงาน ... ผมค้านเต็มที่ ... มีผลงานของ อย.มาแสดงด้วย .

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-03-2010&group=7&gblog=53


ยา กับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5


อย. ยัน...ไม่เคยรับรอง .... ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร .... ลดอ้วนได้จริง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-11-2008&group=7&gblog=8


"คลอโรฟิลล์" .. ดีจริง ตามที่โฆษณา หรือว่า แค่หลอกเล่น เหมือนกับที่เคย ๆ ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-09-2010&group=7&gblog=105


อย.ย้ำ ผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตย์ อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรค

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-09-2008&group=7&gblog=7


อาหารเสริม เลือดจระเข้ ดีจริงหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-12-2009&group=7&gblog=41


มารู้จักโบท็อกซ์ (BOTOX) ... ความรู้เพื่อประกอบการติดตามข่าว

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-02-2009&group=4&gblog=71

Create Date :25 กันยายน 2554 Last Update :25 กันยายน 2554 14:58:16 น. Counter : Pageviews. Comments :1