กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
เขาว่า ถ้าพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่ 0 สิ้นจากถิ่นเกิด
ภาวะแห่งนิพพาน
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
ภาวนา ๔ ภาวิต ๔
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
พฤศจิกายน 2567
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
5 พฤศจิกายน 2567
ผลกรรมตามนัยจูฬกรรมวิภังคสูตร
บทเสริม ผลกรรมในชาติหน้า
ตอบคำถาม จบ
ผลกรรมตามนัยจูฬกรรมวิภังคสูตร
บทเสริม ผลกรรมในชาติหน้า
ตอบคำถาม จบ
ตอบคำถาม ต่อ
ตอบคำถาม ต่อ
ตอบคำถาม
???
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔) ไม่งอนง้อผลตอบแทน
๓) มั่นใจตน - ไม่อ้อนวอน
๒) พิจารณาเหตุผล
๑) มีศรัทธา
๓) นรก - สวรรค์ แต่ละขณะจิต
๒) นรก-สวรรค์ ที่อยู่ในใจ
๑) นรก - สวรรค์ หลังตาย
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนรก-สวรรค์
ความสำคัญของนรก-สวรรค์ ในแง่พุทธศาสนา
นรก สวรรค์ เรื่องสำคัญและใหญ่มาก
อารัมภบท
บทเสริม ผลกรรมในชาติหน้า
บทเสริม
ผลกรรมในชาติหน้า
เรื่องชาติก่อน ชาติหน้า นรก-สวรรค์ มีจริงหรือไม่ เป็นคำถามที่คนสนใจกันมาก และเป็นข้อกังวลค้างใจของคนทั่วไป เพราะเป็นความลับของชีวิตที่อยู่ในอวิชชา จึงเห็นควรกล่าวสรุปแทรกไว้ที่นี้เล็กน้อย เฉพาะแง่ว่า มีจริงหรือไม่ พิสูจน์ได้อย่างไร
๑. ตามคำสอนในพุทธศาสนา เมื่อว่าตามหลักฐานในคัมภีร์ และแปลความตามตัวอักษร ก็ตอบได้ว่า สิ่งเหล่านี้มี
๒. การพิสูจน์เรื่องนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่อาจแสดงให้เห็นประจักษ์แก่ผู้ไม่รู้ ไม่ว่าในทางบวกหรือในทางลบ คือไม่ว่าในแง่มี หรือในแง่ไม่มี เป็นไปได้เพียงขั้นเชื่อว่ามี หรือเชื่อว่าไม่มี เพราะทั้งผู้เชื่อและผู้ไม่เชื่อ หรือผู้พยายามพิสูจน์ว่ามี และผู้พยายามพิสูจน์ว่าไม่มี ต่างก็ไม่รู้ที่มาที่ไปแห่งชีวิต ไม่ว่าของตนหรือผู้อื่น ต่างก็มืดต่ออดีต รู้ไกลออกไปไม่ถึงแม้เพียงการเกิดคราวนี้ของตนเอง แม้แต่ชีวิตตนเอง ที่เป็นอยู่ขณะนี้ก็ไม่รู้ และมองไม่เห็นอนาคตแม้เพียงว่า พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร
๓. ถ้าจะพิสูจน์ หลักมีว่า สิ่งที่เห็น ต้องดูด้วยตา สิ่งที่ได้ยิน ต้องฟังด้วยหู สิ่งที่ลิ้ม ต้องชิมด้วยลิ้น เป็นต้น สิ่งที่เห็น ถึงจะใช้สิบหู และสิบลิ้นรวมกัน ก็พิสูจน์ไม่ได้
แม้แต่สิ่งที่เห็นได้ สิ่งที่ได้ยินได้ แต่ต่างระดับคลื่น ต่างระดับความถี่ ก็ไม่รู้กัน บางอย่างที่แมวมองเห็น สิบตาคนรวมกันก็ไม่เห็น บางอย่างที่ค้างคาวได้ยิน สิบหูคนรวมกันก็ไม่ได้ยิน เป็นต้น
ในแง่หนึ่ง การตายเกิดเป็นประสบการณ์ของชีวิตโดยตรง หรือแคบลงมาเป็นปรากฏการณ์ของจิต ซึ่งต้องพิสูจน์ด้วยชีวิตหรือจิตเอง การพิสูจน์จึงควรเป็นไป ดังนี้
ก) พิสูจน์ด้วยจิต ท่านให้ต้องใช้จิตที่เป็นสมาธิ แน่วแน่ถึงที่ แต่ถ้าไม่ยอมทำตามวิธีนี้ หรือ กลัวว่าที่ว่า เห็นในสมาธิ อาจเป็นการเอานิมิตหลอกตัวเอง ก็เลื่อนสู่วิธีต่อไป
ข) พิสูจน์ด้วยชีวิต ตั้งแต่เกิดมาคราวนี้ คนที่อยู่ ยังไม่เคยมีใครตาย ดังนั้น จะรู้ว่าเกิดหรือไม่ต้องพิสูจน์ ด้วยการตายของใครของคนนั้น แต่วิธีนี้ไม่ปรากฏว่ามีใครกล้าทดลอง
ค) เมื่อไม่ยอมพิสูจน์ ก็ได้เพียงขั้นแสดงหลักฐานพยานและชี้แจงเหตุผล เช่น หาตัวอย่างคนระลึกชาติได้ และสอบสวนกรณีต่างๆเช่นนั้น หรือ แสดงเหตุผลโดยหาความจริงอื่นมาเปรียบเทียบ อย่างเรื่องวิสัยการเห็น การได้ยิน ที่ขึ้นต่อระดับคลื่นและความถี่ เป็นต้น ดังได้กล่าวแล้ว ช่วยให้เห็นว่า น่าเชื่อ หรือเชื่อมากขึ้นเป็นต้น ซึ่งรวมอยู่ในขั้นของความเชื่อเท่านั้น
๔. ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ หรือจะพยายามพิสูจน์ให้กันและกันดูได้แค่ไหนก็ตาม สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครหนีพ้น ทุกคนต้องเกี่ยวข้อง และเป็นที่สืบต่อออกไปของชีวิตข้างหน้าที่เชื่อหรือไม่เชื่อว่ามีนั้นด้วย ก็คือ ชีวิตขณะนี้ที่มีอยู่แล้วนี้ ที่จะต้องปฏิบัติต่อมันอย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรเอาใจใส่ให้มาก จึงได้แก่ชีวิตในปัจจุบัน และสำหรับพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติสิ่งที่เป็นจุดสนใจมากกว่า และเป็นที่สนใจแท้ จึงได้แก่การปฏิบัติต่อชีวิตที่เป็นอยู่นี้ ว่าจะดำเนินชีวิตที่กำลังเป็นไปอยู่นี้อย่างไร จะใช้ชีวิตที่มีอยู่แล้วนี้อย่างไร เพื่อให้เป็นชีวิตที่เป็นอยู่อย่างดี และเพื่อชีวิตข้างหน้าถ้ามี ก็มั่นใจได้ว่าจะสืบต่อออกไปเป็นชีวิตที่ดีงามด้วย
ดังนั้น สิ่งที่ควรกล่าวถึง จึงได้แก่ ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
-
บาลีชั้นเดิม
คือ พระสูตรทั้งหลาย กล่าวบรรยายเรื่องชาติก่อน ชาติหน้า นรก สวรรค์ ไว้น้อยนัก โดยมากท่านเพียงเอ่ยถึง หรือ กล่าวถึงเท่านั้น แสดงถึงอัตราส่วนของการให้ความสนใจแก่เรื่องนี้ว่ามีเพียงเล็กน้อย ในเมื่อเทียบกับคำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในโลก หรือข้อปฏิบัติ จำพวก ศีล สมาธิ ปัญญา
-
บาลีเมื่อกล่าวถึงผลร้ายของกรรมชั่ว และอานิสงส์ของกรรมดี
ถ้ากล่าวถึงการไปเกิดในนรกหรือสวรรค์ มักกล่าวไว้ต่อท้ายผลที่จะประสบในชีวิตนี้ โดยกล่าวถึงผลในชีวิตนี้ ๔-๕-๑๐ ข้อ แล้วจึงจบลงด้วยคำว่า “เมื่อกายแตกทำลาย ภายหลังแต่มรณะ ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” หรือ “เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์”
ข้อสังเกตในเรื่องนี้ มี ๒ อย่าง คือ
ประการแรก
ท่านถือผลในชีวิตปัจจุบันเป็นสำคัญ และแยกแยะอย่างชี้ชัดเป็นอย่างๆไป ส่วนผลหลังตาย กล่าวเพียงปิดท้ายไว้ให้ครบรายการ
ประการที่สอง
การตรัสถึงผลดีผลร้ายเหล่านั้น เป็นไปในลักษณะแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือ เป็นผลที่จะเกิดขึ้นเองตามเหตุ ไม่ต้องวอนหวัง เป็นเรื่องของการรู้ไว้ให้เกิดความมั่นใจเท่านั้น ถึงไม่ตั้งความปรารถนา ก็ย่อมเป็นไปเช่นนั้น
-
สำหรับคนที่ไม่เชื่อ
ในเมื่อยังได้เพียงแค่เชื่อ คือ เชื่อว่าไม่มี ยังไม่รู้แจ้งประจักษ์จริง ย่อมไม่อาจปฏิเสธความสงสัยในส่วนลึกแห่งจิตใจของตนได้โดยเด็ดขาด คนเหล่านี้ เมื่อเรี่ยวแรงความมัวเมาในวัยหนุ่มสาวเสื่อมไปแล้ว ถูกชราครอบงำ ความหวาดหวั่นต่อโลกหน้าก็มักได้ช่องแสดงตัว ซึ่งเมื่อไม่ได้เตรียมความดีไว้ ก็จะมีทุกข์มาก ดังนั้น เพื่อความมั่นใจ ถึงคนที่ไม่เชื่อก็ควรทำดีไว้ จะมีหรือไม่มี ก็มั่นใจและโล่งใจ
-
สำหรับคนที่เชื่อ
ก) พึงให้ความเชื่อมั่น อิงหลักแห่งความเป็นเหตุเป็นปัจจัยอย่างแท้จริง คือ ให้มองผลในชาติหน้าว่า สืบต่อไปจากคุณภาพของจิตใจ ที่ได้สร้างขึ้นไว้ในชาตินี้ แล้วเน้นที่การทำกรรมดีในปัจจุบัน เพื่อสร้างเสริมคุณภาพจิตคุณภาพชีวิตที่ดีงาม เพื่อให้ชีวิตที่สืบต่อไปข้างหน้าเป็นชีวิตที่ดีงามด้วย
การเน้นในแง่นี้ จะทำให้การเกี่ยวข้องกับชาติหน้า หรือหวังผลชาติหน้า เป็นไปในรูปของความมั่นใจโดย อาศัยปัจจุบันเป็นฐาน และการหวังผลชาติหน้านั้น จะยิ่งทำให้เอาใจใส่ให้ความสำคัญแก่ชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากขึ้น ไม่เสียหลักที่ว่า ถึงจะยุ่งเกี่ยวกับชาติหน้าอย่างไร ก็อย่าให้สำคัญกว่าชาติที่เป็นอยู่ขณะนี้ และจะได้ไม่เน้นการทำกรรมดี แบบเป็นการลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไร
ข) ความเชื่อต่อชาติหน้านั้น ควรช่วยให้เลิก หรือ ให้บรรเทาการพึ่งพาอาศัยอำนาจดลบันดาลหรือสิ่งลึกลับในภายนอกลงด้วย เพราะการเชื่อชาติหน้าหมายถึงการเชื่อกรรมดีที่ตนกระทำ และการที่จะต้องก้าวหน้าเจริญสูงขึ้นไปในสังสารวัฏนั้น
ส่วนการรอหวังพึ่งอำนาจภายนอก ย่อมเป็นการทำตัวให้อ่อนแอลง และเป็นการกดตัวเองให้ถอยจมลง หรือล้าหลังห่างออกไปในสังสารวัฏ
หากผู้ใดถลำตัวหวังพึ่งอำนาจเหล่านั้นไปบ้างแล้ว ก็ควรรีบถอยตัวออกมาสร้างเรี่ยวแรงกำลังของตนเองขึ้นใหม่โดยเร็ว
-
สำหรับผู้เชื่อ หรือไม่เชื่อก็ตาม
จะต้องก้าวไป หรือได้รับการสอนให้ก้าวไปถึงขั้นเว้นกรรมชั่ว ทำกรรมดี โดยไม่ต้องขึ้นต่อความเชื่อหรือความไม่เชื่อนั้นเลย คือ ทำดีได้โดยไม่ต้องหวังผลชาติหน้า หรือ ถึงแม้ไม่เชื่อว่ามีชาติหน้า ก็จะไม่ทำชั่ว ผลขั้นนี้ ทำให้เกิดขึ้นได้โดย
๑)
ฝึกอบรมกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ให้กล้าแข็ง
คือ ทำให้เกิดความใฝ่ธรรม รักความดีงามต้องการความประณีตหมดจด มุ่งให้ทุกสิ่งทุกอย่างบรรลุอุดมสภาวะของมัน
๒)
สร้างความใฝ่รักในปีติสุขอันประณีตลึกซึ้งภายใน
และให้ความใฝ่ปีติสุขอันประณีต หรือการใช้ประสบปีติสุขอันประณีตนั้น เป็นเครื่องป้องกันการทำชั่ว และหนุนการทำดีโดยตัวของมันเอง ทั้งนี้ เพราะการที่จะได้ปีติสุขอันประณีตนั้น ย่อมเป็นเงื่อนไขอยู่ในตัวว่าต้องเว้นทุจริตประกอบสุจริต และการได้ปีติสุขอันประณีตนั้นแล้ว ก็จะเป็นแรงหน่วงเหนี่ยวไม่ให้หลงใหลกามถึงขั้นที่จะประกอบกรรมชั่วร้ายได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับปีติสุขอันประณีตขั้นโลกีย์ อาจต้องระมัดระวังบ้าง ที่จะไม่ให้ติดเพลินมากเกินไปจนเสียงาน หรือหยุดความก้าวหน้า
๓)
ฝึกอบรมปัญญาให้เจริญถึงขั้นที่จะเป็นอยู่ด้วยปัญญา
หรือ ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา คือ มีความรู้เท่าทันสภาวะของโลกและชีวิต หรือ รู้ธรรมดาแห่งสังขาร พอที่จะทำจิตใจให้เป็นอิสระได้บ้างพอสมควรไม่หลงใหลติดอามิส หรือ กามวัตถุถึงกับจะทำกรรมชั่วร้าย มองชีวิตจิตใจของมนุษย์อื่นสัตว์อื่นด้วยความเข้าใจ หยั่งเห็นทุกข์สุข และ ความต้องการของเขา พอที่จะทำให้คิดการในทางที่เกื้อกูลช่วยเหลือด้วยกรุณา ใจไม่โน้มน้อมไปในทางที่จะเบียดเบียนผู้อื่น
ข้อนี้ นับเป็นขั้นแห่งการดำเนินชีวิตของท่านผู้ได้เข้าถึงโลกุตรธรรม ซึ่งมีโลกุตรสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว หรือ อย่างน้อยก็เป็นขั้นของผู้ดำเนินชีวิตตามแนวปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโลกุตรธรรมนั้น
ถ้าแม้ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นอยู่ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง ก็เป็นอยู่ด้วย
ศรัทธา
ที่เป็นบุพภาคของปัญญานั้น คือ
ศรัทธา
ที่ประกอบด้วยปัญญา และเป็นไปเพื่อปัญญา ซึ่งเชื่อในวิถีทางแห่งการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา มั่นใจในชีวิตที่เป็นอิสระด้วยปัญญานั้นว่าเป็นชีวิตที่ดีงามประเสริฐสุด และพยายามดำเนินปฏิปทาแห่งการเป็นอยู่ด้วยปัญญา ที่ประกอบด้วยกรุณานั้นด้วยตนเอง
*
ความจริง หลักปฏิบัติ ๓ ข้อนี้เนื่องถึงกัน ใช้ประกอบเสริมกันได้ โดยเฉพาะข้อที่ ๑) ต้องใช้ในการทำสิ่งดีงามทุกอย่าง จึงเป็นที่อาศัยของข้อ ๒) และ ๓) ด้วย
ถ้าปฏิบัติได้ตามหลักสามข้อนั้น ความเชื่อเรื่องกรรมในชีวิตหน้า ก็จะเป็นเพียงส่วนช่วยเสริม ความมั่นใจในการเว้นชั่วทำดีให้มั่นคงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นสำหรับบางคน แต่ไม่ถึงกับเป็นตัวตัดสินเด็ดขาดว่า ถ้าเขาจะไม่ได้รับผลนั้นในชาติหน้าแล้ว เขาจะไม่ยอมทำความดีเลย
ถ้าอ่อนแอเกินไป ไม่สามารถฝึกคน
หรือ
ฝึกตน
ให้ปฏิบัติตามหลักสามข้อนี้ได้ การใช้ความเชื่อต่อกามวัตถุ มุ่งแต่แสวงหาอามิสมาปรนเปรอตน ซึ่งมีแต่จะทำให้การเบียดเบียนและความชั่วร้ายนานาระบาดแพร่หลาย นำชีวิตและสังคมไปสู่หายนะถ่ายเดียว
ถึงอย่างไร ความเชื่อผลกรรมชาติหน้าก็จัดเข้าใน
โลกียสัมมาทิฏฐิ
ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อให้ก้าวหน้าไปในทางดีงามง่ายขึ้น
*
ศรัทธา
ที่ออกผลเช่นนั้น ต้องอาศัยความเชื่อมั่นในท่านซึ่งเป็นผู้นำแห่งการดำเนินชีวิตอิสระด้วยปัญญา คือ
พระพุทธเจ้า
เชื่อมั่นในคำสอนของพระองค์ คือ
พระธรรม
เชื่อมั่นในชุมชนผู้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนนั้น และประสบความสำเร็จในการมีชีวิตที่เป็นอิสระเช่นนั้นด้วย คือ
พระสงฆ์
รวมเรียกว่า
ศรัทธา
มั่นคงในพระรัตนตรัย
Create Date : 05 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2567 15:48:29 น.
0 comments
Counter : 36 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com