กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
พฤศจิกายน 2567
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
3 พฤศจิกายน 2567
space
space
space

๒) พิจารณาเหตุผล


๒) พิจารณาเหตุผล
 
     แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า จะเชื่อหรือไม่ ก็ไม่เป็นไร ไม่ได้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเชื่อ ในพุทธศาสนาไม่มีการบังคับ
 
     เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพบกับคนที่ยังไม่เชื่อ ไม่มีศรัทธา พระองค์ก็ทรงสอนให้มีท่าทีอย่างที่สอง คือท่าทีในกรณีที่ยังไม่รู้ด้วยตนเอง และยังรู้ไม่พอที่จะมั่นใจ เช่นที่ตรัสในกาลามสูตร
 
     เรื่องมีว่า พระพุทธเจ้าทรงพบกับกาลามชน  พวกนี้ยังไม่นับถือลัทธิศาสนาไหนทั้งนั้น  แต่ได้พบกับพวกเจ้าลัทธิต่างๆ ที่ผ่านไปมา เขาก็ถามปัญหา พวกเจ้าลัทธิเหล่านั้นซึ่งสอนต่างๆ กันไป ต่างก็ว่าของตนจริง ของพวกอื่นเหลวไหล เลยไม่รู้จะเชื่อใคร
 
     เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาในถิ่นของเขา คนพวกนี้ก็ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าให้ว่าเลย ใครจริงใครเท็จ ไม่ต้องพูด ยังไม่ต้องตัดสิน
 
     จากนั้น  พระองค์ตรัสวิธีวางท่าทีเชิงเป็นกลางไว้ก่อน  (ยังไม่รู้แน่ ก็แค่รับฟังไว้ แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธ) ว่า อย่าเชื่อเพียงเพราะได้ยินได้ฟังตามกันมา หรือเรียนต่อกันมา  อย่าเชื่อเพียงเพราะข่าวเล่าลือ  อย่าเชื่อเพียงเพราะมีเขียนในตำรา หรือเพียงเพราะเห็นว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา   ฯลฯ   พระองค์ตรัสหลักกาลามสูตร ที่มี ๑๐ ข้อให้เราพิจารณาด้วยตนเอง
 
     ตอนท้ายพระองค์ตรัสยกตัวอย่าง ซึ่งมาเข้าเรื่องนรก-สวรรค์ และกรรมดี-กรรมชั่ว กุศล-อกุศล
 
     ทรงสอนให้พิจารณาในปัจจุบันนี้ว่า สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นกุศล ทำแล้วมันเกื้อกูลแก่ชีวิตของตนเอง  มันดีต่อตัวเราไหม  ดีต่อผู้อื่นไหม เป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่ายใช่ไหม
 
     ที่ว่าเป็นอกุศล   มันดีต่อชีวิตจิตใจของเราไหม ดีต่อผู้อื่นไหม เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นไหม บางทีดีต่อเรา แต่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น หรือมันดีเพียงว่าเราเห็นในชั่วสายตามองสั้นๆ แคบๆแต่ที่จริงเป็นผลร้ายแก่ตัวเราเอง เราพิจารณารอบคอบหรือยัง
 
     เมื่อพิจารณาแล้ว มองเห็นว่า สิ่งที่เป็นกุศลดีงาม ก็คือเป็นประโยชน์ต่อชีวิต เกื้อกูลอย่างแท้จริงแก่ชีวิตจิตใจของเราเองระยะยาว และแก่ผู้อื่น แก่สังคม ส่วนอกุศลนั้นตรงข้าม ไม่เกื้อกูล
 
     เมื่อพิจารณามองเห็นอย่างนี้แล้ว  ถามว่าอย่างไหนควรทำ  อย่างไหนควรเว้น ก็เห็นว่ากุศล คือสิ่งที่ทำโดยมิใช่เพราะโลภ โกรธหลง เกิดจากใจที่มีเมตตา เผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีปัญญา แบบนี้ดีกว่า ควรจะทำ นี้ว่ากันให้เห็นในปัจจุบันนี้เลย
 
     พระองค์ตรัสต่อไปว่า ถ้าเราทำดี บังเกิดผลดี เป็นสิ่งที่เกื้อกูลในปัจจุบันแล้ว หากว่าสวรรค์-นรกมีจริง เราก็ไม่ต้องไปตกนรก  เราจะไปสวรรค์  ก็เป็นกำไรเพิ่มเติมขึ้น ถ้าสวรรค์-นรกไม่มี เราก็ได้ผลดีไปขั้นหนึ่งแล้ว  ส่วนในขั้นสอง  เราก็ปลอดภัย  ไม่มีเสีย
 
     แต่ถ้าเป็นฝ่ายอกุศล  เกิดจากโลภ โกรธ หลง ในปัจจุบันนี้   มันก็ไม่เกื้อกูลแก่จิตใจ และเป็นการเบียดเบียน  ไม่เกื้อกูลแก่สังคม  นี้คือผลเสียเกิดขึ้นตั้งแต่ชาตินี้แล้ว ทีนี้ เมื่อตายไป ถ้านรก-สวรรค์มีจริง  เราก็ไม่ได้ไปสวรรค์  แต่ไปนรกแน่  ก็เป็นอันว่าเสียทั้งสองด้าน  ถ้านรก-สวรรค์ไม่มี  ปัจจุบันนี้ก็เสียไปแล้ว ไม่ได้เลยสักขั้น
 
     เพราะฉะนั้น  ก็เป็นอันสรุปในแง่นี้ได้ว่า  ถึงแม้ไม่ต้องใช้ศรัทธา   เอาตามเหตุผล   ก็ควรทำกรรมดี  ละเว้นกรรมชั่ว   นี้เป็นแนวกาลามสูตร ซึ่งเป็นการวางท่าทีในขั้นปัญญา
 


Create Date : 03 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2567 11:42:57 น. 0 comments
Counter : 70 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space