![space](../template/theme/11/images/spacer.gif) |
|
|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
![space](../template/theme/11/images/spacer.gif) |
|
|
๓) มั่นใจตน - ไม่อ้อนวอน
เลยจากนี้ไปอีกชั้นหนึ่ง พุทธศาสนาแสดงหลักนรก-สวรรค์อะไรต่าง ๆ ไว้เพื่อมุ่งประสงค์อะไร จะให้เราวางท่าทีอย่างไร อย่างที่บอกไว้เมื่อกี้ว่า ท่าทีสำคัญกว่าจะมัวรอพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ เคยพูดข้างต้นแล้วว่า ในกรณีที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงผลของการทำความดีความชั่ว พระองค์ตรัสว่า การทำชั่วนั้นมีผลต่อไปนี้หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า โดยระบุผลหลายข้อที่มีในชาตินี้ก่อน ส่วนผลชาติหน้าที่ตามมาหลังจากตาย เอาไว้เป็นข้อสุดท้าย แม้ผลดีก็เช่นกัน อันนี้ก็ส่อไปถึงลักษณะของการที่เราจะวางท่าที เรื่องนี้ ขออธิบายว่า ในการที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนรกสวรรค์นั้น ทรงแสดงว่า ผลอะไรต่าง ๆ ย่อมเป็นไปตามเหตุ หลักพระพุทธศาสนาถือเรื่องกรรม ซึ่งเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย เป็นกฎธรรมดาของธรรมชาติ เมื่อมันเป็นไปตามกฎธรรมดา ก็เป็นเรื่องของการที่เราจะรู้เท่านั้น เราไม่ต้องไปวิงวอนให้ผลอย่างนั้นเกิด ในเมื่อมันเป็นกฎ ผลเกิดจากเหตุ เมื่อเหตุเป็นอย่างนี้แล้วผลอย่างนั้นๆ ก็เกิดเอง เราไม่ต้องอ้อนวอนว่าฉันทำเหตุนี้แล้ว ขอให้ผลนั้นเกิดขึ้นเถิด เพราะว่า ถึงจะอ้อนวอนอย่างไร มันก็ไม่เป็นไปตามคำอ้อนวอน แต่มันเป็นไปตามเหตุที่ทำ เมื่อทำกรรมดี ผลดีที่เกิดก็เป็นไปตามหลักกรรม มันเป็นไปตามกฎธรรมดา ไม่เป็นไปตามคำอ้อนวอนของเรา เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องผลดีผลร้ายต่าง ๆ จนถึงว่าตายแล้วไปตกนรก หรือขึ้นสวรรค์นี้ เป็นการตรัสในแง่กฎธรรมดา คือเป็นเรื่องความรู้ ไม่ใช่เป็นคำสั่ง ไม่ใช่คำบงการบัญชาหรือบอกใบ้ให้เราต้องไปขอร้องอ้อนวอนอะไรอีก แต่เป็นการย้ำความรู้ที่จะมั่นใจว่า เมื่อทำอย่างนี้ผลอย่างนั้นจะเกิดขึ้น ในทางตรงข้าม ถ้ามีคนที่คอยให้รางวัลและลงโทษให้เป็นไปตามนั้น เราจึงจะจำเป็นต้องยึดถือจำเอาไว้ เพื่อจะได้อ้อนวอนเพราะเดี๋ยวทำดีไปแล้ว ไม่เอาใจท่าน อาจจะไม่ได้ไปสวรรค์ แต่ในทางพุทธศาสนา คนที่ทำดี ไม่ต้องอ้อนวอนขอไปสวรรค์ เพราะมันเป็นไปตามกฎธรรมดา เพียงแต่รู้ไว้และมั่นใจเท่านั้น ถึงเราไม่รู้ ถึงท่านไม่บอก มันก็เป็นอย่างนั้น แต่รู้แล้วเราจะได้ปฏิบัติตัวเองถูก และมั่นใจ นี้ต้องวางท่าทีให้ถูกต้อง พุทธศาสนิกชนมีความรู้ไว้สำหรับให้เกิดความมั่นใจตนเอง เรารู้แล้วว่าทำกรรมดี จะเกิดผลดี พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เราก็มั่นใจว่า ถ้าทำกรรมดีแล้ว ผลดีจะเกิดขึ้น ไม่ต้องใช้วิธีอ้อนวอน นี้คือการวางท่าทีอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา เราเอาเวลาที่จะอ้อนวอนไปใช้ในการพิจารณาสิ่งที่ทำว่าทำดีรอบคอบ ทำเหตุปัจจัยครบถ้วนไหม เป็นประโยชน์ทั้งบัดนี้ และเบื้องหน้าไหม เกื้อกูลแก่ชีวิต แก่สังคมแค่ไหน แทนที่จะเอาเวลาไปใช้อ้อนวอนขอผล ก็มั่นใจได้ว่าผลจะมาตามเหตุของมันเอง นี่เป็นท่าทีระดับที่สาม
Create Date : 03 พฤศจิกายน 2567 |
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2567 12:33:49 น. |
|
0 comments
|
Counter : 61 Pageviews. |
![](../images/bg-follower.png) |
|
|
|
|
![space](../template/theme/11/images/spacer.gif) |
|
|
|