|
|
|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
|
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนรก-สวรรค์ |
|
- ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนรก-สวรรค์
เอาละ ทีนี้ มาพูดถึงเรื่องนรก-สวรรค์ เข้าสู่เนื้อหาของเรื่องนรก-สวรรค์ ซึ่งมีแง่ที่ต้องแยกอีก ๒ อย่าง แง่ที่หนึ่ง คือ ความมีอยู่จริงหรือไม่ นรก-สวรรค์มีจริงไหม แง่ที่สอง คือ ท่าทีของชาวพุทธ หรือท่าทีของพุทธศาสนาต่อเรื่องนรก-สวรรค์ ต้องพูดทั้งสองแง่ จะพูดแง่เดียวไม่พอ เพราะมันสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สำหรับพุทธศาสนานี้ ขอพูดไว้ก่อนว่า เรื่องท่าทีต่อนรก-สวรรค์เป็นสิ่งสำคัญมาก เราจะต้องวางท่าทีให้ถูกต้อง พูดเกริ่นไว้หน่อยว่า เรื่องนรก-สวรรค์จัดอยู่ในประเภทสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ สำหรับคนสามัญ ที่ว่าพิสูจน์ไม่ได้นี้ หมายถึงทั้งในแง่ลบและแง่บวก คือจะพิสูจน์ว่ามี ก็ยังเอามาแสดงให้เห็นไม่ได้ จะพิสูจน์ว่าไม่มี ก็ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าไม่มีให้มันเด็ดขาด พูดไม่ได้ทั้งสองอย่าง บางคนบอกว่า เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ว่ามี มันก็ไม่มี อย่างนั้นก็ไม่ถูก ในเมื่อตัวเองไม่มีความสามารถที่จะพิสูจน์ ในการพิสูจน์นั้น ต้องพิสูจน์ด้วยอายตนะที่ตรงกัน สิ่งที่จะรู้ด้วยการเห็น ก็ต้องเอามาให้ดูด้วยตา สิ่งที่จะรู้ได้ด้วยการได้ยิน ก็ต้องพิสูจน์ด้วยการเอามาทำให้ฟังได้ด้วยหู ฯลฯ เป็นอันว่า ต้องพิสูจน์ให้ตรงตามอายตนะ จะพิสูจน์ว่าเสียงมีหรือไม่มี พิสูจน์ด้วยตาได้ไหม ก็ไม่ได้ พิสูจน์ว่ารสมีไหม จะพิสูจน์ด้วยหูก็ไม่ได้ ไม่ได้เรื่อง มันต้องตรงอายตนะกัน ทีนี้ นรก-สวรรค์พิสูจน์ด้วยอะไร พิสูจน์ด้วยตา ด้วยหู ด้วยจมูก ลิ้น กายไม่ได้ มันต้องพิสูจน์ด้วยชีวิตที่ใจนั่นเอง ดูหลักง่ายๆ ไม่ต้องพูดลึกซึ่ง เราถือว่าจิตเป็นแกนของชีวิตเป็นตัวทำหน้าที่เกิด จะพิสูจน์เรื่องนรก-สวรรค์ว่าตายแล้วไปเกิดหรือไม่ ก็ต้องพิสูจน์ด้วยจิต คือ ลองตายดู ทีนี้ พอบอกว่าจะพิสูจน์ด้วยตาย ก็ไม่มีใครยอม เพราะต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง จะให้คนอื่นพิสูจน์ไม่ได้ เราบอกว่าคนหนึ่งตายแล้ว เขาไปเกิดที่ไหน เราไม่รู้ ตัวเขาเป็นผู้พิสูจน์ เราเป็นแต่ผู้ไปดู เหมือนเขาลิ่มรส แล้วเราดูเขาลิ่มรส เราจะไปรู้ได้อย่างไรว่าเขารู้รสจริงหรือเปล่า และรสนั้นเป็นอย่างไร เราไม่ได้ลิ่มรส ก็ได้แต่ดูเท่านั่นเอง เรื่องของชีวิตนี้ก็ต้องพิสูจน์ด้วยตัวจิต เมื่อจะพิสูจน์ด้วยการที่ต้องตาย เราก็ทำไม่ได้ ไม่มีใครกล้าทำ เกิดเป็นปัญหาติดอยู่ตรงนี้ที่พิสูจน์ไม่ได้ นี่เป็นเรื่องเกร็ดแทรกเข้ามา เราจะต้องพูดกันต่อไปอีก รวมความในตอนนี้ว่า นรก-สวรรค์เป็นเรื่องพิสูจน์ไม่ได้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ว่ามีหรือไม่มี สำหรับสิ่งที่พิสูจน์ออกมาให้เห็นชัดไม่ได้อย่างนี้ ทางพุทธศาสนามีหลักให้ปฏิบัติ คือถือการวางท่าทีเป็นสำคัญ เรื่องบางอย่าง ถ้ารอให้พิสูจน์เสร็จ มนุษย์เลยไม่ต้องทำอะไร ได้แต่รอแบบพวกนักปรัชญา พวกนักปรัชญาจะเอาให้รู้ความจริงเสียก่อน เช่น รู้ความจริงเกี่ยวกับโลกว่า โลกนี้เป็นอย่างไรแน่ มันเกิดเมื่อไร มันจะไปอย่างไร พวกนักปรัชญาจะเถียงกัน ใช้สมองใช้สติปัญญาในการโต้เถียง เมื่อแกยังตอบเรื่องโลกและชีวิตไม่ได้ เช่น ด้วยวิธีอภิปรัชญา แกก็ต้องเถียงกันต่อไป นี้ก็เถียงกันมาห้าพันปี แล้วโดยประมาณ ทีนี้ ถ้าแกจะต้องเถียงกันจนกว่าจะรู้คำตอบ แล้วจึงจะปฏิบัติได้ เพราะแกอาจจะบอกว่า เรายังไม่รู้ความจริงว่ามันเป็นอย่างไร เราจะไปปฏิบัติกับมันอย่างไร แกจะต้องรอให้รู้ความจริงอันนั้นแล้วจึงจะวางหลักปฏิบัติ แกตายไปแล้วกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง จนกระทั้งลูกหลานเหลนของแกเองก็ตายไป โดยที่ยังทำอะไรไม่ได้ และยังไม่ได้ทำอะไร พระพุทธศาสนาบอกว่า สำหรับเรื่องอย่างนี้ คือสำหรับเรื่องที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ มันสำคัญที่ปฏิบัติ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ เรามีวิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ โดยให้ถือการปฏิบัติที่ไม่ผิด อย่างที่บอกเมื่อกี่ว่า การวางท่าทีเป็นสำคัญ นรก-สวรรค์ก็อยู่ในประเภทนี้การวางท่าทีหรือการที่จะปฏิบัติต่อมันอย่างไรเป็นเรื่องสำคัญกว่า เป็นอันว่า มีเรื่องที่ต้องพูดสองแง่ คือ แง่ว่ามีจริงไหม กับจะวางท่าทีต่อมันอย่างไร และเน้นแง่การวางท่าที หรือการปฏิบัติ ทีนี้มาพูดถึงหัวข้อสองอย่างนั้น เอาแง่ที่หนึ่งก่อน
Create Date : 02 พฤศจิกายน 2567 |
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2567 12:57:32 น. |
|
0 comments
|
Counter : 75 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|