กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
4 พฤศจิกายน 2564
space
space
space

ตอบคำถามท้ายเรื่อง (จบ)


  ถาม: คนที่ทำชั่ว ทำบาป ก็ต้องรับกรรมตามหลักศาสนาพุทธ ใช่ไหม ?

  ตอบ: ไม่ใช่ตามหลักศาสนา   แต่ตามหลักธรรมชาติ คือว่า กรรมนี่ไม่ใช่เป็นเรื่องของความเชื่อ แต่มันเป็นเรื่องของความจริง ภาษาไทยเอามาใช้ผิด ในภาษาบาลีนั้น คำว่าเชื่อกรรมนี้ ท่านไม่ค่อยใช้หรอก ท่านไม่เน้น ท่านใช้คำว่า รู้กรรม เข้าใจกรรม เพราะกรรมเป็นความจริงตามธรรมชาติ เป็นเรื่องของหลักเหตุปัจจัยที่เกี่ยวกับเจตนา หรือเจตจำนงของมนุษย์

  เราจะต้องเรียนรู้ว่า เจตนามันเป็นกลไกที่ทำให้เกิดผลอย่างไร มันมีผลต่อชีวิตของมนุษย์อย่างไร เมื่อเจตนาเกิดขึ้นในใจแล้ว มาแสดงออกทางกาย ทางวาจา แล้วมีผลเปลี่ยนแปลงอย่างไร นี่เป็นเรื่องของความจริงตามธรรมชาติ เราต้องเรียนรู้ต้องศึกษา เพราะถ้าเอาแต่เชื่อ ก็จบเลย ทีนี้ก็ไม่เรียนรู้ ไม่หาความรู้แล้ว ฉะนั้น ในพระไตรปิฎก คำว่า เชื่อกรรมนั้นแทบไม่มี มีแต่รู้กรรม

  ในภาษาไทย   เรามีคำหนึ่งที่ใช้กันว่า กัมมัสสกตาศรัทธา (แปลว่า เชื่อในความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) แต่ในภาษาบาลีไม่ใช้ ภาษาบาลีมีแต่กัมมัสสกตาญาณ คือ ญาณความรู้ในความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน  ภาษาไทยนี่ต้องชำระสะสางกันเยอะ  เพราะมากลายเป็นว่า กรรมไม่ใช่เป็นเรื่องของความจริงแล้ว  แต่โดยหลักการ กรรมไม่ใช่เป็นเรื่องสำหรับเชื่อ  แต่เป็นเรื่องสำหรับรู้ แล้วกรรมก็ไม่ง้อใคร   ก็ในเมื่อกรรมเป็นความจริง  มันจะต้องไปง้อใครกันเล่า แต่ถ้าต้องไปเชื่อมัน ก็คล้ายๆว่ามันอาจจะไม่จริงก็ได้ จึงต้องไปเชื่อไว้ อะไรทำนองนี้

  ในความจริง กรรมไม่ง้อใคร เพราะมันเป็นความจริง คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อ มันก็เป็นไปตามธรรมดาของมัน แต่ทีนี้ ในขั้นต้นๆ การเชื่อก็เป็นประโยชน์อย่างหนึ่ง ในเมื่อยังไม่รู้ ก็จะได้ละกรรมไม่ดี และพยายามปฏิบัติให้ถูก ให้ได้ประโยชน์ เอาละ ทีนี้ก็เชิญถามต่อจากเมื่อกี้


  ถาม: เมื่อคนทำผิด ก็ต้องได้รับผลจากการกระทำของเขาตามกฎธรรมชาติอยู่แล้ว การที่ผู้พิพากษาไปตัดสินนี้ จะเป็นการไปขัดกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติหรือเปล่า ?

  ตอบ: คำถามนี้ทำให้นึกขึ้นมาได้ว่ายังไม่ได้พูดอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคิดว่า ควรจะพูด เป็นหลักใหญ่อย่างหนึ่ง ก็เลยจะพูดไว้หน่อย

  เรื่องที่ว่านั้นก็คือ ด้านหนึ่ง มนุษย์นี้เป็นสัตว์พิเศษ มาโยงกับอีกด้านหนึ่งที่ว่า ธรรมชาติมีกฎ มีความเป็นจริงของมันที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นต้น มันก็เป็นไปตามกระบวนการของมัน ดังเช่นกรรมนี้ก็มีผลตามธรรมชาติของมัน

  ทีนี้ ก็มาถึงคำถามเมื่อกี้ที่ว่า การกระทำของผู้พิพากษา คือของมนุษย์นี้จะขัดกับกฎธรรมชาติหรือเปล่า จะเป็นการเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงธรรมชาติไหม

393ขอให้มองดูมนุษย์ มองถึงความจริงว่มนุษย์ก็เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง โดยตัวเขาเองเป็นธรรมชาติ ใจก็เป็นธรรมชาติ กายของเขาเป็นธรรมชาติ

  แล้วทีนี้  ในบรรดาสภาวะของธรรมชาติมากมายที่มีอยู่ในตัวมนุษย์นี้ มีตัวพิเศษอันหนึ่ง คือปัญญา ตรงนี้ขอให้ดูให้ชัด ปัญญานี้เป็นธรรมชาตินะ ไม่ใช่เป็นของแปลกปลอม ปัญญาเป็นสภาวธรรมชาติอย่างหนึ่งในตัวมนุษย์ และเป็นคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งของมนุษย์นั้น แล้วอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เจตนา ที่ว่ามาเมื่อกี้ สองอย่างนี้ เป็นคุณสมบัติพิเศษในตัวมนุษย์ เอาละนะ ปัญญา กับ เจตนา เป็นธรรมชาติสองอย่างที่เป็นคุณสมบัติสำคัญอันมีอยู่ในตัวของมนุษย์ ที่มนุษย์มีเพิ่มมากกว่าธรรมชาติที่ไหนๆอื่นทั้งหมด

   ทีนี้ ก็แล้วทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติวินัยขึ้นมา ทำไมไม่ปล่อยให้สังคมเป็นไปตามธรรมชาติ ทำไมมาตั้งวินัยบัญญัติ วางกฎกติกาทางสังคม จัดตั้งคณะสงฆ์ อ๋อ....คำตอบมีอยู่แล้วง่ายๆ

  ในเมื่อคนมีธรรมชาติที่พิเศษคือปัญญา และเจตนา ก็เอาปัญญา และเจตนาที่เป็นธรรมชาติพิเศษของคุณมาใช้ซิ เมื่อคุณเอามันมาใช้ เจ้าปัญญา กับ เจตนา นั้น มันก็เลยมาทำงานเป็นเหตุปัจจัยร่วมขึ้นในกระบวนการธรรมชาติที่แต่ก่อนมันไม่มีปัญญา และเจตนา ใช่ไหม ก็เท่านี้แหละ

  ธรรมชาติทั่วไปนั้นมันขาดปัญญา กับ เจตนาใช่ไหม มันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยอื่นเท่าที่มีอยู่นั้น แล้วก็ไปของมันเรื่อยไปอย่างนั้น ทีนี้ เมื่อในมนุษย์เรามีปัญญา กับ เจตนา สองตัวนี้พิเศษเพิ่มขึ้นมา เราก็เอาปัญญา กับ เจตนา ที่เป็นธรรมชาติพิเศษของเรานี้แหละเข้ามาร่วมในกรบวนการของเหตุปัจจัยในธรรมชาติ เราก็สามารถจัดสรรปรุงแต่งชีวิตของเราสังคมของเราให้มันดี หรือให้เป็นอย่างไรๆก็ได้ เราจึงไม่จำเป็นต้องเป็นไปแค่ตามเหตุปัจจัยธรรมชาติอย่างอื่นเท่านั้น ไม่ต้องมัวรอให้เหตุปัจจัยอื่นๆ ก่อผล

  (แม้แต่ที่รอนั้น ก็คือเอา “เจตนา” ที่จะรอ เข้ามาเป็นเหตุปัจจัยด้วยแล้ว และคุณก็จะได้รับผลของกรรมคือเจตนาที่รอนั้นด้วย ซึ่งอาจจะเป็นกรรมแห่งความประมาท)

  ที่ถามว่า   ทำไมไม่ปล่อยไปตามธรรมชาติ เราลืมไปว่า ปัญญา และ เจตนา ของเราก็เป็นธรรมชาติเหมือนกัน ใช่ไหม  อ้าว...เราจะปล่อย คือจะปล่อยให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างอื่นในธรรมชาติ โดยไม่เอาปัจจัยคือปัญญา และ เจตนาของเราเข้าไป  แสดงว่าเรายังไม่ฉลาดพอ ถ้าเราฉลาดพอ เราก็เอาปัญญา และ เจตนาของเราที่พัฒนาอย่างนี้นั้นมาใช้ซะ เอาไปร่วมในกระบวนการของเหตุปัจจัยในธรรมชาติ

  เพื่อจะให้ธรรมชาติส่วนพิเศษนี้ ให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์และแก่ทุกสิ่งทุกอย่างอย่างคุ้มค่าของมัน เพื่ออันนี้แหละ ปัญญา กับ เจตนา ก็จึงเข้ามาสู่ระบบการจัดตั้ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

  หนึ่ง ธรรม คือความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ ที่เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นๆ พระพุทธเจ้าทรงมีปัญญา รู้ตามที่มันเป็นอย่างนั้น (รวมทั้งก็รู้ด้วยว่าในมนุษย์แต่ละคนนั้นมีธรรมชาติพิเศษ คือ ปัญญาและเจตนานี้ ที่จะรู้เข้าใจระบบที่ทรงใช้ปัญญา และการุณยเจตนานี้จัดวางไว้ และเอาไปใช้ไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน)

  สอง ด้วยปัญญาที่รู้ธรรม และปัญญาที่สามารถใช้ความรู้นั้นในการจำเนินการ พระองค์ก็ทรงดำเนินเจตนาที่ประกอบด้วยมหากรุณา นำความรู้ในความจริงของระบบธรรมชาตินั้น มาใช้ในการจัดตั้งวินัย มาวางระบบชุมชนสังฆะหรือสังคมสงฆ์ขึ้น ให้เป็นสังคมที่ดี วางกฎกติกาข้อบัญญัติสิกขาบท ที่จะให้กิจการดำเนินไปในทางที่เกิดผลดี มีทั้งนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการนี้ขึ้นมา

  นี่แหละ เพราะฉะนั้น ในวินัยของพระ เมื่อมีภิกษุทำความผิดขึ้นมา ท่านจึงไม่ปล่อย อ๋อ...เธอทำกรรมไม่ดีนี่นะ ถ้าจะให้เหตุปัจจัยอื่นเท่าที่มีอยู่นั้นเป็นไปของมันจนแสดงผลขึ้นมา คนทั่วไปอาจจะไม่ทันได้เห็น หรืออาจจะเห็นไม่ทัน (แถมภิกษุรูปนั้นยังอาจจะใช้ปัญญาและเจตนา ที่เป็นเหตุปัจจัยในตัวของเธอเองไปทำให้กระบวนการเหตุปัจจัยโดยรวมนั้นซับซ้อนหนักเข้าไปอีก) พวกเราสังฆะก็เลยขอให้ปัญญากับเจตนาของเรามาทำกรรมตามวินัย ให้เป็นเหตุปัจจัยที่เธอจะเจอผลที่ควรจะได้เจอเสียเลย ปัญญากับพระมหากรุณา (เจตนา) ของพระพุทธเจ้าที่จัดตั้งวินัยไว้ และปัญญากับเจตนาของพวกเราที่ดำเนินการตามนี้ จะได้เป็นเหตุปัจจัยที่จะช่วยแก้ไขปรับปรุงตัวเธอและจะได้เป็นเหตุปัจจัยที่จะ ช่วยดำรงรักษาสังฆะสังคมให้มีธรรมะปรากฏอยู่เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์ ยาวนานสืบไป

  นี่แหละ คนไทยยังเชื่อถือนับถือ  และถือปฏิบัติกันผิดพลาด มีการพูดบอกกันว่า เออ...เขาทำกรรมไม่ดี เดี๋ยวเขาก็รับกรรมของเขาเอง  นี่แหละผิดหลักพระพุทธศาสนาอย่างจังเลย คนไทยนับถือผิดเยอะเลย จะต้องแก้กันมากในเรื่องนี้

 ที่จริง  ความเข้าใจผิด เชื่อผิด ถือผิด อันนี้ ถ้าไม่ระวังให้ดี อาจจะพลัดไปเข้าลัทธิมิจฉาทิฏฐิอันหนึ่ง คือ ลัทธิปล่อยไปตามโชค คอยโชคหรือแล้วแต่โชค

  พระพุทธเจ้านั้น ถ้ามีใครทำผิดน่ะหรือ พระองค์ไม่ปล่อยหรอก ทรงบัญญัติวางระบบแห่งกรรมทางวินัยไว้ให้แล้ว คือ มีกรรมในทางวินัย ไว้ให้สังฆะ คือ สังคมพระ ที่จะนำมาปฏิบัติเพื่อเอาปัญญาและเจตนาที่เตรียมอย่างดีแล้ว เข้าไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมด้วยในกระบวนการของกรรมในธรรมชาติ

  เป็นอันว่า มีกรรมในวินัยอีก ถ้าไปอ่านวินัยของพระ ก็เจอเลยสังฆกรรมนี้คือกรรมที่จัดตั้งไว้ชัดๆ ว่าเพื่อเอาปัญญาและเจตนาที่ตระเตรียมอย่างดีเข้าไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับกระบวนเหตุปัจจัยส่วนอื่นในธรรมชาติ (บอกว่า “ส่วนอื่น” เพราะอย่าลืมว่า ปัญญาและเจตนาก็เป็นเหตุปัจจัยของธรรมชาตินั่นแหละ แต่มีพิเศษที่มนุษย์ ไม่มีที่อื่น)

  แล้วจำเพาะลงไป ยังมีนิคหกรรม ซึ่งเป็นกรรมทางวินัยที่วางไว้สำหรับดำเนินการลงโทษพระ มีเยอะไปหมดเลย นี่คือกรรมที่มนุษย์จัดสรรขึ้นมาด้วยปัญญา และ เจตนา แล้วมันผิดธรรมชาติไหม ก็ไม่ผิด

  นี่คือการที่เราเอาปัญญา และ เจตนาที่เป็นธรรมชาติพิเศษของมนุษย์ มาร่วมกระบวนการเหตุปัจจัยในธรรมชาติ และมนุษย์ที่พิเศษได้ก็เพราะมีธรรมชาติสองอย่างนี้แหละ แล้วทำไมจึงไม่ใช้กันเล่า

 เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงปล่อยให้คนทำกรรมเสร็จแล้วก็ปล่อยให้เขารับกรรมไปเอง โดยไม่ทำอะไร แต่ทรงสอนให้เราใช้ปัญญา และ เจตนา เข้าไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมในกระบวนการของธรรมชาติ โดย ขั้นที่ ๑ จัดตั้งวางระบบระเบียบกฎกติกาที่จะช่วยให้คนทำกรรมที่จะทำให้ชีวิตและสังคมดี ขั้นที่ ๒ ดูแลให้คนตั้งอยู่ในระบบระเบียบที่จะทำกรรมที่จะทำให้ชีวิตและสังคมดีนั้น ขั้นที่ ๓ ดำเนินการตัดสินความพิพากษาขัดแย้ง ตลอดจนลงโทษผู้ที่ขัดขืนฝ่าฝืนละเมิด บนฐานแห่งระเบียบกฎกติกาข้อบัญญัติที่จัดตั้งไว้นั้น

  ตลอดกระบวนการทางสังคมนี้ทุกขั้นตอน สาระสำคัญก็คือการนำเอาสภาวะธรรมชาติข้อปัญญาและเจตนาของมนุษย์ เข้าไปร่วมเป็นเหตุปัจจัยที่จะนำหรือผันหันเหกระบวนเหตุปัจจัยของธรรมชาตินั้นให้เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ถูกต้องดีงามเป็นประโยชน์


  เมื่อปัญญาของเราเข้าถึงความจริงชัดเจนจบเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดทั่วทั้งหมด  และเจตนาของเราดีมีเมตตาปรารถนาดีต่อชีวิตและสังคมโดยบริสุทธิ์แท้จริง  ถ้าเราดำเนินการได้ตามปัญญาและเจตนานั้น  ผลดีก็จะเกิดขึ้นสมความมุ่งหมาย
 
 ที่จริง  มนุษย์ทั้งหลายก็เข้าไปร่วมกระบวนการของธรรมชาติด้วยปัญญาและเจตนาของตนกันทั่วไปอยู่แล้ว  แต่ที่มีปัญหากันอยู่ไม่จบไม่สิ้นว่า  ไม่ลุผลที่หมายบ้าง  ไม่เกิดผลดีแต่กลายเป็นผลร้ายบ้าง  เกิดผลไม่พึงปรารถนาอื่นพ่วงหรือตามมาบ้าง เป็นต้น  (เช่น ปัญหาทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดเป็นระยะๆเรื่อยมา)   ก็เนื่องมาจากจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องใหญ่ตรงที่ว่า ปัญญาและเจตนาไม่สมบูรณ์นี่แหละ   ปัญญาไม่เข้าถึงสภาวะเจนจบแท้จริง  หรือไม่ก็เจตนาไม่ใสสะอาดจริง   ก็วนกันอยู่นั่น  แต่ในแง่หลักการ  ก็อย่างที่ว่านั้น
 
  ในที่สุดจึงต้องกลับมาย้ำที่หลักการพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์  คือการพัฒนาคน  ได้แก่  การที่จะต้องทำให้มั่นใจอยู่เสมอในความสมบูรณ์ของปัญญาและเจตนานั้น   ด้วยการตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในการศึกษา  หนึ่ง  ที่จะทำปัญญาให้สมบูรณ์รู้ความจริงชัดเจนแจ่มแจ้งเข้าถึงสัจจะ   สอง  ที่จะตรวจสอบชำระเจตนาของตนให้บริสุทธิ์ใสสะอาด  มุ่งเพื่อความดีงาม เพื่อความสงบสุขเป็นอิสระ ของชีวิต ของสังคม อย่างแท้จริง.


173 171 172

ความจริงคนอาจไม่เชื่อ  ความเชื่ออาจไม่จริง 11 
 


Create Date : 04 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2564 8:27:13 น. 0 comments
Counter : 574 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space