กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
กรรมฐาน
จงกรม
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ภาษาธรรมวันละคำ
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
บุญ
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาท ๓ เดือนก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
วัฒนธรรมประเพณี
จาริกบุญ จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
ถ้าศาสนาพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่สูญสิ้นจากถิ่นเดิม
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
ฅนไทย ใช่กบเฒ่า ?
พระไทย ใช่เขาใช่เรา?
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติบัญญัติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ภาวะแห่งนิพพาน
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
อิทธิบาท ๔
รู้ทุกอย่างแต่ปล่อยวางไม่ได้
สติ,สติปัฏฐาน
ตถตา
อ่าน แล้ว คิดว่าเป็นนั่นเป็นนี่
ทำยังไงจะให้เชื่อเรื่องกรรม
ตุลาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
28 ตุลาคม 2564
มองพระพุทธศาสนาให้ครบ
ย้ำ เจตนา อีกที
เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
ขังตัว ไม่ขังใจ
ธรรมะจากธรรมาสน์
แม่พระธรณีวัด
ยกเลิกเหอะ
โรคกาย และจิตใจ ไม่เหมาะสมเป็นตุลาการ
บัญญัติแก้ไขได้
แล้วแต่ฝ่ายไหนถือปากกา
วัฏฎะ
มรดกบาป
นิติ
ฆ่าเขาได้แล้วเราอยู่เป็นสุข
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (จบ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (ต่อ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
Pictures
ตุลาการ ๔ ความหมาย
ธรรมะที่ทำให้เข้มแข็งและเป็นสุขในการทำหน้าที่
ข้างใน มีใจเที่ยงตรง ข้างนอก เป็นธรรมเสมอกันทุกคน
สมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง
จริยธรรมในใจ ออกประสาน จริยธรรมทางสังคม
ถ้ารู้เข้าใจ อนิจจัง ผิด ก็ยุ่ง
ปัญญาที่แท้ก็ต้องชัด ถ้าไม่ชัดก็ยังไม่เป็นปัญญา
พรหมวิหาร หลักประกันสันติสุข
อุเบกขาดำรงรักษาธรรม
อำนาจ
มองพรหมวิหารคือคำนึงทุกสถานการณ์
พรหมวิหาร
ธรรมะอาศัยกันและกัน
มองพระพุทธศาสนาให้ครบ
ย้ำ เจตนา อีกที
เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
ไตรสิกขาระบบพัฒนาคนทั้งคน
ศีลธรรมค่อยๆหล่นหาย ตั้งแต่มีแผนพัฒนาฯ
ไปให้ถึงจริย(ธรรม)แท้ที่เป็นระบบ
เข้าใจ จริยธรรม ให้ชัด
ความไม่รู้บังความรู้
เน้นย้ำ บัญญัติธรรม อีกที
สภาวะ จริยะ บัญญัติ ซ่อนอยู่ใต้ ธรรมวินัย
พักเบรคความคิด
ปัญญา กับ เจตนา คุณสมบัติในตัวคน
บัญญัติจะดี ปัญญาต้องเต็ม เจตนาต้องตรง
ปัญญาต้องรู้ชัด เจตนาตั้งไว้ถูก
รู้ธรรมแล้วบัญญัติวินัย
ธรรม กับ วินัย แยกให้ชัด
ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดาของมัน
ถ้าเป็นธรรม ก็ถูกต้องตามความจริง
จะนั่นนี่โน่นให้เป็นธรรม ต้องรู้จักธรรม
หลักเบื้องต้น คือ เจตนา กับ ปัญญา
ศัพท์ยาก ที่ต้องแปล
เจตนารมณ์หนังสือ ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคมสมดุล
เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
๓
เจตนาต้องตั้งไว้ใส ตรง และงาม
ถ้าปัญญาสมบูรณ์จริง
ก็ไม่ต้องห่วงเจตนา
แต่ก่อนจะอยู่ได้ด้วยปัญญา เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
ย้อนกลับมาที่เรื่อง
ปัญญา
กับ
เจตนา
ที่ว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก แง่ที่สำคัญ ซึ่งเราพิจารณาในตอนนี้ คือ การที่
มันเป็น
ตัวเชื่อมคน
กับ
ธรรมชาติ
ด้านหนึ่ง
คือ
ความจริงที่เป็นอยู่ตามธรรมดา
หรือ เรื่องของ
ธรรมชาติ
ที่ท่านว่าเอา
แค่รู้ตามที่มันเป็น
ขั้นแรกนี้จุดที่
สำคัญมาก
อยู่ตรงที่ว่า
ต้องรู้ตามที่มันเป็นให้ได้ก็แล้วกัน
นี่คือเรื่องของปัญญาขั้นที่ ๑ ซึ่ง
รู้สภาวะตามที่มันเป็น
หรือ
ปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติ
จากนั้น
ปัญญา
ขั้นต่อมา เป็นขั้นที่ ๒ คือความรู้ว่า ชีวิตที่จะดี สังคมที่จะดีนั้น มันควรจะเป็นอย่างไร และจะเป็นได้อย่างไร
เมื่อมีปัญญารู้เข้าใจมองเห็นแล้ว
เราก็จัดการตามที่รู้หรือ
ตามความรู้
นั้น นี่ก็คือถึงตอนที่จะตั้งเจตนา เราก็ตั้งเจตนาให้สอดคล้องกับปัญญาที่รู้นั่นเอง นี่คือเราเอาความรู้ของปัญญาที่เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ
มาใช้
โดยเราตั้งเจตนาที่จะสนองความต้องการของมนุษย์ให้สอดคล้องกับปัญญาที่รู้ความจริงของธรรมชาติ
นี่แหละคือ ปัญญา กับ เจตนา ได้มาเป็นตัวเชื่อมคน กับ ธรรมชาติ
ข้อสำคัญในตอนนี้ก็คือ ต้องให้เป็นเจตนาที่ดีงามบริสุทธิ์ ตั้งให้ตรงตามที่ปัญญารู้ว่าเป็นความจริงความดีงามถูกต้อง จึงจะเรียกได้ว่ามีจุดหมายที่ดี แล้วก็อาศัยปัญญานั้น นำเอาความรู้ในความจริงมาใช้ในการจัดตั้งวางระเบียบแบบแผน กฎ กติกา ที่เป็นบัญญัติในสังคมมนุษย์อันจะให้เกิดผลดีขึ้นมา
นี่คือเรื่องของ
นิติบัญญัติ
ซึ่งถ้าทำได้อย่างนี้ คือมีปัญญาที่ใสสว่าง และมีเจตนาที่ใสสะอาด ก็เรียกว่ามีฐานที่ดีที่สุดแล้ว
ต่อจากนั้น
ฝ่ายบริหาร
จะเป็นคณะรัฐมนตรี หรืออะไรก็แล้วแต่ก็มาเอานิติบัญญัตินี้ไปออกสู่ปฏิบัติการ โดยบริหารดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น
ฝ่ายบริหารนั้น ก็ต้องมีปัญญาที่ใสสว่าง และมีเจตนที่ใสสะอาดอีกเช่นกัน
ด้านแรกก็มีปัญญาที่รู้ความจริง มองเห็นความเป็นไปในสังคมว่ามันเสื่อม มันเจริญ หรือเป็นอย่างไร เข้าใจชีวิต เข้าใจสังคมมนุษย์ หยั่งถึงความจริงของธรรมชาติ รู้เท่าทันทั่วตลอดทั้งหมด
พร้อมกับที่รู้เข้าใจชัดเจนนั้น ก็มีเจตนาที่ดี ซึ่งมุ่งหวังประโยชน์แก่ประเทศชาติและสังคม เห็นแก่ประโยชน์สุขของประชาชน อย่างที่ได้รู้กันมาเป็นหลักของประเทศไทย ที่ว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นแบบอย่าง พอเสด็จขึ้นครองราชย์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็ประกาศว่า เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม นี้คือการประกาศเจตนาอย่างชัดเจน
การปกครองต้องเพื่อจุดนี้ ต้องเพื่อสนองเจตนานี้ นักปกครอง ผู้บริหารประเทศชาติ ครม. ฯลฯ ต้องมีเจตนานี้ว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนขาวสยาม" อะไรทำนองนี้ จะต้องมีวิธีการหรือมาตรการที่จะให้มีการประกาศหรือตั้งเจตนาที่แน่นอน ชัดเจน ให้เห็นถึงการที่จะต้องมุ่งมั่นไปตามเจตนานี้
อย่างไรก็ตาม ถึงจะมี
เจตนาดี
เยี่ยม แต่ถ้า
ขาดปัญญา
ก็อาจจะผิดพลาดโดยรู้ไม่เท่าถึงการณ์ จึงต้องปฏิบัติตามหลักที่ว่าไม่ประมาท ปัญญาคือใช้และพัฒนาปัญญาไม่ว่างเว้น
แต่ปัญหาที่พบกันมาก มักอยู่แค่ในขั้นที่ว่า คนจำนวนมากที่มาเป็น
ผู้บริหาร
นั้น พอจัดได้ว่าเป็นคน
มีปัญญา
แต่ไป
บกพร่องด้านเจตนา
คือ มีเจตนาไม่สะอาด มีจุดหมายซ่อนเร้นแอบแฝง กลายเป็นว่าที่แท้นั้น เขามุ่งมาหาทางสนองโลภะ จะมาเอามากอบโกยประโยชน์ส่วนตัว และสนองโทสะ คิดจะกลั่นแกล้งเบียดเบียนผู้อื่น หรือไม่ก็ลุ่มหลงอยู่ในโมหะ
เมื่อไรได้ทั้งมีเจตนาดีที่ใสสะอาด และมีปัญญาดีที่ใสสว่าง ก็มั่นใจได้ว่าจะเป็นนักบริหารที่ดี
ทีนี้ มาถึง
ตุลาการ
ก็หลักการเดียวกันนั่นแหละ คือ ด้านที่ ๑ มีปัญญาที่รู้อย่างใสสว่าง เริ่มตั้งแต่รู้ชัดแจ้งในวิชาการของตนเอง รวมทั้งรู้กฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา ทุกเรื่องที่เนื่องกันกับนิติบัญญัติ
แต่แค่นั้นไม่พอ ถ้าจะให้ได้ผลจริง ก็ต้องรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย ที่รวมอยู่ในความรู้ธรรมชาติและธรรมดา เช่น รู้ธรรมชาติของมนุษย์ รู้ธรรมชาติของสังคม รู้สภาพและความเป็นไปของสังคม รู้สภาพการณ์ของโลก รู้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องและที่ส่งผลมาถึงกิจการหน้าที่ของตน ที่จริง ทุกอย่างที่เป็นความจริงนั้น ล้วนเป็นองค์ประกอบที่ต้องรู้ ซึ่งจะมาเป็นส่วนช่วยในการทำงานได้ทั้งสิ้น นี่คือความรู้ให้เขาถึงความจริง คือปัญญา ซึ่งเป็นด้านที่ ๑
แล้วก็โดยเฉพาะ ที่แน่นอนก็คือต้อง
รู้ในเรื่องคดี
ที่จะพิจารณาตัดสินอย่างชัดเจน ถ้าขาดปัญญา ไม่รู้เรื่องชัดเจนพอ ก็มีโอกาสจะพลาดได้ง่าย ฉะนั้น ก็จึงได้มีมาตรการมากมายที่จะทำให้มั่นใจว่าจะได้ความจริงของเรื่องราวของคดีความนั้นๆ ทั้งทางฝ่ายโจทก์ และฝ่ายจำเลย ต้องหาความจริงให้ได้ ตลอดจนจะต้องวางระบบแบบแผนกระบวนการดำเนินการที่จะให้ได้ความจริง ที่จะมาตัดสินให้ถูกต้อง
แล้วต่อไปก็คือ ความจริงในส่วนที่กว้างออกไปทั้งหมด ยิ่งรู้เข้าใจเท่าไรยิ่งดี รวมทั้งความจริงเกี่ยวกับชีวิตจิตใจของมนุษย์ เพราะทั้งโจทก์และจำเลยก็เป็นมนุษย์ มีจิตมีใจ มีสุข มีทุกข์ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวเขา ควรรู้เข้าใจทั้งนั้น ความรู้เหล่านี้ ถ้าปัญญารู้แล้ว ก็เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น
ขอให้มองไปที่
พระพุทธเจ้า
การที่
ตรัสรู้
นั้นก็ด้วย
ปัญญารู้สัจธรรม
พอปัญญานั้นรู้ความจริงถึงที่สุด
รู้ธรรมชาติจริงแท้แล้ว ก็รู้เข้าใจเห็นความจริงของชีวิต
พอเห็นความจริงของชีวิต ก็รู้เข้าใจมนุษย์
และสังคมของมนุษย์ ใจก็ลงตัวกับมนุษย์ และสังคม
เมื่อ
ปัญญาทำหน้าที่ของมันจบบริบูรณ์ กิเลสก็หมดไปเอง
พอปัญญาสว่างแจ้งจริง เจตนาก็ใสสะอาดไปเอง คือ ปัญญาทำให้จิตบริสุทธิ เป็นอิสระ ก็เลยไม่ต้องมีการตั้งเจตนา ไม่ต้องบอกว่ามีเจตนาดี
ทำไมไม่ต้องตั้งเจตนา
? พอจิตเป็นอิสระ คือกิเลสทั้งหลายที่ครอบงำชักนำจูงใจหมดไปแล้ว ไม่มีกิเลสที่ห่วงหวงเรื่องของตัว ที่จะกั้นจะขวางจะดึงจะรั้งจะบังจะบิดเบน พอมองไปเห็นผู้คนในสังคมเห็นชีวิต และสุขทุกข์ของเขา ใจก็ไหวไปตามความทุกข์ความเดือดร้อนของเขา นี่คือกรุณาโผล่ขึ้นมา เหมือนกับว่ามันเป็นไปเอง แล้วกรุณานั้นก็ประสานกับปัญญาที่จะหาทางไปแก้ปัญหาทำให้คนพ้นทุกข์พ้นภัย เจตนามันก็ไปเองตามนั้น ไม่ต้องตั้งมันขึ้นมาอีก
เป็นอันว่า เมื่อ
มีปัญญารู้เข้าใจ
มองเห็นว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น และเป็นมาเป็นไปอย่างนี้ รู้เข้าใจหมดทุกอย่างว่าสภาวะของมันเป็นอย่างไร การที่มันเสื่อมมันเจริญนั้นมันเป็นไปอย่างไร เข้าใจหมดแล้ว เมื่อปัญญารู้เข้าใจมองเห็นว่าอะไรเป็นอะไร และมันควรจะเป็นอย่างไรแล้ว ความรู้นั้นมันก็บอกก็นำทางไปเองว่า จะต้องตัดสินอย่างนี้ ต้องพูดต้องแนะนำอย่าง ต้องจัดการอย่างนี้ มันก็ไปเอง
แต่
สำหรับมนุษย์ปุถุชน
กิเลสที่เป็นทางเลือกสองข้างยังอยู่ บางทีเจตนาก็ไม่ค่อยยอมมาเข้าคู่ประสานรวมเป็นอันเดียวกับปัญญา ซ้ำร้าย เมื่อปัญญายังไม่สมบูรณ์ กิเลสก็จะคอยกินแรง ถือโอกาสเอาผลความรู้ความคิดของปัญญาไปใช้ประโยชน์เสียเองอีกด้วย ก็จึงก็ต้องตั้งเจตนาให้เข้าคู่ที่จะสนองปัญญาให้ดี
ด้านปัญญา ก็ต้องตรวจสอบว่าใสสว่างรู้เข้าใจชัดแจ้งแน่หรือเปล่า แล้วก็สอง ด้านเจตนา ก็ต้องตรวจสอบว่าบริสุทธิ์ใสสะอาดดีแน่ไหม ปัญญาที่ใสสว่าง กับ เจตนาที่ใสสะอาด สองอย่างนี้ต้องให้คู่เคียงกันไปให้ได้
เวลานี้ คงต้องยอมรับว่า
สังคมของเรามีปัญหาหนักทั้ง ๒ ด้าน
ทั้งปัญญา และเจตนา และโดยเฉพาะเมื่อเรามาเน้นกันในเรื่องจริยธรรม ก็ต้องจับให้ถึงเจตนา
ด้านเจตนา แน่นอนว่ามีปัญหาอย่างมาก เราพูดกันนักถึงนักการเมืองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ในเรื่องไม่ดีไม่งามทั้งหลาย พูดกันไปก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ประชาชนไม่สบายใจ และรวมแล้วก็อยู่ที่เรื่องเจตนานี้แหละ คือชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายไม่มั่นใจกับท่านเหล่านั้นว่า นักการเมืองมีเจตนาดีอย่างที่พูดออกมาจริงไหม มีเจตนาบริสุทธิ์หรือเปล่า คือ เจตนาของเขามุ่งเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน จริงหรือ อะไรทำนองนี้ อันนี้ไม่ได้ต่อว่ากัน แต่ประชาชนรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
การที่ประชาชนพูดจาอะไรต่ออะไรที่ไม่น่าสบายใจนั้น สาระสำคัญก็อยู่ที่ว่า เขาเกิดความสงสัยในเจตนา เขาไม่ไว้ใจ อย่างน้อยก็ไม่แน่ใจในเจตนานั่นเอง เช่นว่า เจตนาของนักการเมืองนั้น ตรงตามจุดหมายของประเทศชาติ ตรงตามจุดหมายของการปกครอง ตามนโยบาย หรือแม้แต่
ตรงตามที่เขาพูดหรือไม่
นี่ถ้าประชาชนเกิดความไม่แน่ใจในเจตนา ว่าท่านผู้นี้เข้ามาสู่วงการ
นิติบัญญัติ
เข้ามาสู่วง
การบริหาร
ด้วยเจตนาที่ดี มุ่งเพื่อจุดหมายที่ตรงตามหลักการของงานนั้นจริงๆ แน่นอนว่าเขาจะอุ่นใจขึ้นมาทันที แล้วพอรู้ว่าท่านผู้นี้มีปัญญา นอกจากรู้วิชาการในหน้าที่และสายงานแล้ว ท่านยังรู้เข้าใจความจริงถึงสภาวะด้วย เช่นว่า รู้จักสังคมไทยอย่างชัดเจน เป็นต้น ศรัทธาก็เกิดขึ้นมาหนักแน่น
ฉะนั้น องค์ธรรมสำคัญ ๒ ประการนี้ ยืนเป็นหลักเลย คือ ปัญญา กับ เจตนา
ดูแม่นเหมือนตาเห็น
แต่ว่าก็ว่าเถอะ แค่ข้อเดียวนี้ ก็
รากเลือด
แล้ว
ด้านหนึ่ง คือความจริงที่เป็นอยู่ตามธรรมดา
หรือเรื่องของธรรมชาติ ที่ท่านว่าเอาแค่รู้ตามที่มันเป็น ขั้นแรกนี้จุดที่สำคัญมากอยู่ตรงที่ว่าต้องรู้ตามที่มันเป็นให้ได้ก็แล้วกัน นี่คือเรื่องของปัญญาขั้นที่ ๑ ซึ่งรู้สภาวะตามที่มันเป็น หรือปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติ
รากเป็นเลือด,กระอักเลือด
https://thestandard.co/wp-content/uploads/2018/04/Thumbnail-for-Web_Thumbnail-for-Web-04-1.jpg
Create Date : 28 ตุลาคม 2564
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2564 15:25:12 น.
0 comments
Counter : 664 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com