กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
กรรมฐาน
จงกรม
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ภาษาธรรมวันละคำ
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
บุญ
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาท ๓ เดือนก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
วัฒนธรรมประเพณี
จาริกบุญ จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
ถ้าศาสนาพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่สูญสิ้นจากถิ่นเดิม
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
ฅนไทย ใช่กบเฒ่า ?
พระไทย ใช่เขาใช่เรา?
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติบัญญัติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ภาวะแห่งนิพพาน
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
อิทธิบาท ๔
รู้ทุกอย่างแต่ปล่อยวางไม่ได้
สติ,สติปัฏฐาน
ตถตา
อ่าน แล้ว คิดว่าเป็นนั่นเป็นนี่
ทำยังไงจะให้เชื่อเรื่องกรรม
<<
พฤศจิกายน 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
3 พฤศจิกายน 2564
สมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง
จริยธรรมในใจ ออกประสาน จริยธรรมทางสังคม
ขังตัว ไม่ขังใจ
ธรรมะจากธรรมาสน์
แม่พระธรณีวัด
ยกเลิกเหอะ
โรคกาย และจิตใจ ไม่เหมาะสมเป็นตุลาการ
บัญญัติแก้ไขได้
แล้วแต่ฝ่ายไหนถือปากกา
วัฏฎะ
มรดกบาป
นิติ
ฆ่าเขาได้แล้วเราอยู่เป็นสุข
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (จบ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (ต่อ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
Pictures
ตุลาการ ๔ ความหมาย
ธรรมะที่ทำให้เข้มแข็งและเป็นสุขในการทำหน้าที่
ข้างใน มีใจเที่ยงตรง ข้างนอก เป็นธรรมเสมอกันทุกคน
สมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง
จริยธรรมในใจ ออกประสาน จริยธรรมทางสังคม
ถ้ารู้เข้าใจ อนิจจัง ผิด ก็ยุ่ง
ปัญญาที่แท้ก็ต้องชัด ถ้าไม่ชัดก็ยังไม่เป็นปัญญา
พรหมวิหาร หลักประกันสันติสุข
อุเบกขาดำรงรักษาธรรม
อำนาจ
มองพรหมวิหารคือคำนึงทุกสถานการณ์
พรหมวิหาร
ธรรมะอาศัยกันและกัน
มองพระพุทธศาสนาให้ครบ
ย้ำ เจตนา อีกที
เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
ไตรสิกขาระบบพัฒนาคนทั้งคน
ศีลธรรมค่อยๆหล่นหาย ตั้งแต่มีแผนพัฒนาฯ
ไปให้ถึงจริย(ธรรม)แท้ที่เป็นระบบ
เข้าใจ จริยธรรม ให้ชัด
ความไม่รู้บังความรู้
เน้นย้ำ บัญญัติธรรม อีกที
สภาวะ จริยะ บัญญัติ ซ่อนอยู่ใต้ ธรรมวินัย
พักเบรคความคิด
ปัญญา กับ เจตนา คุณสมบัติในตัวคน
บัญญัติจะดี ปัญญาต้องเต็ม เจตนาต้องตรง
ปัญญาต้องรู้ชัด เจตนาตั้งไว้ถูก
รู้ธรรมแล้วบัญญัติวินัย
ธรรม กับ วินัย แยกให้ชัด
ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดาของมัน
ถ้าเป็นธรรม ก็ถูกต้องตามความจริง
จะนั่นนี่โน่นให้เป็นธรรม ต้องรู้จักธรรม
หลักเบื้องต้น คือ เจตนา กับ ปัญญา
ศัพท์ยาก ที่ต้องแปล
เจตนารมณ์หนังสือ ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคมสมดุล
จริยธรรมในใจ ออกประสาน จริยธรรมทางสังคม
ข้างใน
ใจก็กว้างใหญ่อย่างพรหม
ข้างนอก ก็สมานทั้งสังคมไว้ในเอกภาพ
แทรกเสียยืดยาว
หันกลับมาที่หลักพรหมวิหาร เมื่อกี้ได้บอกแล้วว่า พรหมวิหารเป็นหลักธรรมชุดประจำใจ ถ้าจะให้สมบูรณ์และได้ผลจริง ต้องออกสู่ปฏิบัติการ ก็จึงต้องพูดกันหน่อยในเรื่องชุดปฏิบัติการนั้น
หลัก
พรหมวิหาร
นั้นบอกแล้ว่า เป็น
จริยะด้านภายในจิตใจ
คราวนี้ ก็มีหลักชุดปฏิบัติการที่จะประกอบ และกำกับ
เจตนา
ในการแสดงออกข้างนอก เป็น
จริยะทางสังคม
เหมือนมาประสานรับช่วงการทำงานต่อออกไปจาก
จริยะ
ฝ่ายภายในนั้น
(ระวังว่า จริยะที่นี้
มิได้หมายถึง จริยธรรม แบบฝรั่ง
ที่เราพูดกันเวลานี้ ซึ่งเป็นเรื่องความประพฤติภายนอก และเป็นการปฏิบัติตามกฎกติกาที่เป็นบัญญัติเป็นข้อๆไม่อยู่ในระบบความสัมพันธ์)
ชุดปฏิบัติการก็มี ๔ ข้อ
รับกัน เป็นชุดออกสู่สังคม ไม่ใช่ไปนอนแผ่เมตตาอยู่ในมุ้งอย่างเดียว แต่เป็นเมตตาที่ออกสู่ปฏิบัติการ จะออกมาอย่างไร นี่แหละ ที่จริงเราก็ได้ยินอยู่ แต่เราโยงไม่เป็น ก็จึงมองไม่เห็น
ดูกันแบบตื้นๆ พระพุทธศาสนานี้ สอนหลักธรรมอะไรเป็นพื้นเบื้องต้น ชาวพุทธนั้น พอเริ่มทำบุญ ก็ทำทานก่อนเลยใช่ไหม ตักบาตรพระแต่เช้า ไปวัดก็ไปถวายภัตตาหาร แล้วก็เอาไทยธรรมไปถวาย และที่เดี๋ยวนี้นิยมกันนัก ก็คือ ถวายสังฆทาน ถวายกันจริงจังมาก
นี่ก็แสดงว่า ชาวพุทธทำดี ไม่ใช่แค่นอนแผ่เมตตาแล้วนะ มีการปฏิบัติออกมาด้วย คือ
ทาน
การให้ จะเป็นปัญหาก็ในแง่อื่น เช่นว่าเฉไปทางทำทานด้วยหวังผลตอบแทนแก่ตน หรือทำทานเชิงไสยศาสตร์มากขึ้นๆ แทนที่จะทำทานเกื้อหนุนกันในสังคม (ตรงนี้ฝรั่งนั้นก็ไม่เห็นเสียอีก)
พุทธศาสนาสอนธรรมข้อเริ่มแรกในภาคปฏิบัติ
ก็คือทาน ที่จริงสอนแทบจะก่อนเมตตาด้วยซ้ำไป คือเอาที่ด้านปฏิบัติการก่อน สอนทานให้ให้แก่กัน ตั้งแต่ให้กันในครอบครัว ซึ่งที่จริงก็เป็นการประสานกันระหว่างด้านพฤติกรรม กับ ด้านจิตใจ ให้ทานมาเป็นช่องทางของเมตตา กรุณา พร้อมทั้งเป็นเครื่องเพิ่มแรงช่วยพัฒนาเมตตา กรุณา ในจิตใจนั้น แล้วก็ไม่ใช่ให้วัตถุเท่านั้น แต่มี
ธรรมทาน
คือการให้ความรู้คำแนะนำสั่งสอนด้วย
ทีนี้
ทาน
ที่เป็นธรรมข้อแรกของภาคปฏิบัติการนี้ ก็อยู่ในชุดที่มาประสานเชื่อมต่อ กับ พรหมวิหารนี่แหละ คือมันเป็นฝ่ายปฏิบัติสนองรับช่วงงานให้แก่ชุดพรหมวิหาร ในการช่วยผดุงรักษาสังคมไว้ ให้เกิดความสามัคคี และความมั่นคง คือมาเป็นช่องทางที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาจะออกมาสู่ปฏิบัติการในสังคม
ทีนี้ ก็มาดูว่ามันจะประสานกันออกสู่ปฏิบัติการได้อย่างไร ก็
๑.
ทาน
การให้ นั่นแหละ เป็นข้อเริ่มต้น
หนึ่ง
ทานด้วยเมตตา คือ ตามปกตินี่เอง เรามีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น เขาก็ไม่ได้เดือดร้อนมีทุกข์อะไร ลูกก็ไม่ได้เป็นทุกข์อะไร หรือเพื่อนก็ไม่ได้เป็นทุกข์อะไร แต่บางครั้ง เราก็ให้ด้วยความรัก ด้วยปรารถนาดี ด้วยไมตรีจิต ให้ของเล็กๆน้อยๆ แสดงน้ำใจ อย่างนี้ก็เรียกว่า ให้ทานด้วยเมตตา นี่คือเมตตามาออกที่ทานแล้ว
สอง
ทานด้วยกรุณา คือ ยามที่คนประสบภัยอันตราย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม อัคคีภัย หรือเกิดอุบัติภัยอะไรขึ้นมาก็แล้วแต่ แล้วคนเดือดร้อน ตอนนี้ ทานที่ให้การช่วยเหลือทั้งหลาย จะเป็นเงินทอง ของใช้อะไรต่างๆ ก็เป็นการให้ด้วยกรุณา แสดงว่ากรุณามาออกที่ทานด้วย
สาม
ทานด้วยมุทิตา คือ บางทีบางคนได้ทำสิ่งที่ดีงาม ทำการสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์แก่สังคม ประสบความสำเร็จในการกระทำนั้น เราก็ดีใจด้วย แล้วก็ส่งเสริมสนับสนุนด้วยทาน ถ้าเขาขาดเงิน เราก็เอาเงินไปช่วย ส่งเสริมอุดหนุนให้เขามีกำลังทำการสร้างสรรค์ที่ดีนั้นต่อไปได้ หรือยิ่งขึ้นไป นี่ก็ ให้ทานด้วยมุทิตา
นี่ก็รับกันแล้ว พรหมวิหารในใจ ออกสู่ปฏิบัติการข้อที่หนึ่ง เรียกว่าทาน
๒.
ปิยวาจา
วาจาเป็นที่รัก ในข้อหนึ่งที่ผ่านมาแล้ว เมตตา กรุณา มุทิตา แสดงออกที่พฤติกรรมในการให้ ในข้อที่สองนี้ เมตตา กรุณา มุทิตา นั่นแหละ ก็มาแสดงออกที่พฤติกรรมในการพูดจา เรียกว่า ปิยวาจา คือ พูดดี พูดน่ารัก พูดคำสุภาพอ่อนโยน พูดด้วยน้ำใจรัก หรือพูดจามีน้ำใจ นั่นเอง แยกเป็น
หนึ่ง
ปิยวาจาด้วยเมตตา คือ ในยามปกติ ก็พูดจาอย่างเป็นมิตร มีน้ำใจไมตรี พูดคำสุภาพไพเราะ มีวาจาน่ารัก ตั้งแต่พูดกับลูก กับ พ่อแม่ พี่น้องในครอบครัว เป็นต้นไป แล้วก็เพื่อน ญาติมิตร และทุกคนในสังคม
สอง
ปิยวาจาด้วยกรุณา คือ ยามเขาทุกข์มีความเดือดร้อน ก็พูดจาปลอบโยน ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ ช่วยให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหา ก็เป็นวาจามีน้ำใจด้วยกรุณา
สาม
ปิยวาจาด้วยมุทิตา คือ ยามเขาทำดีงามประสบความสำเร็จ ก็มุทิตาด้วยคำพูด ไปแสดงความยินดีด้วย พูดสนับสนุน อาจจะบอกกล่าวแก่ผู้คนทั้งหลาย เพื่อช่วยส่งเสริมยิ่งๆขึ้นไป เป็นวาจาส่งเสริม ปิยวาจาก็ทำได้ทั้งด้วย เมตตา กรุณา และมุทิตา
๓.
อัตถจริยา
บำเพ็ญประโยชน์ การแสดงออกของ เมตตา กรุณา มุทิตา ทางที่สาม ก็มาออกที่เรี่ยวแรงกำลังความสามารถต่างๆ ที่จะเอามาใช้ในการเกื้อกูลกัน และช่วยเหลือสังคมด้วย คือ
หนึ่ง
อัตถจริยาด้วยเมตตา คือใน ยามปกติ เราก็มีเรี่ยวแรงกำลังมีกิจหน้าที่ที่ต้องทำกันทุกคน ก็แค่แสดงน้ำใจต่อกัน เช่น เขามาหา เราก็ต้อนรับด้วยไมตรี เอาเก้าอี้มาให้นั่ง เอาน้ำมาให้ เป็นต้น
สอง
อัตถจริยาด้วยกรุณา คือ ในยามเขาทุกข์ยากเดือดร้อน เช่น เขาตกน้ำ เรามีกำลังดีว่ายน้ำแข็ง เราก็กระโดดลงไปช่วย หรือไปช่วยพาคนที่ติดในไฟไหม้ออกมา เป็นต้น
สาม
อัตถจริยาด้วยมุทิตา คือ ในยามที่เขาทำความดีกัน เราก็ไปช่วยไปร่วมทำประโยชน์ด้วยเรี่ยวแรงกำลังความถนัดความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างสมัยก่อน เวลาวัดมีงาน ญาติโยมก็มาช่วยกันจัดเตรียมงาน มาสร้างโรง สร้างเต็นท์ จัดบริเวณพิธี ถึงสงกรานต์ก็ขนทรายเข้าวัด ฯลฯรวมความว่า คนเขาทำความดีงามทำประโยชน์ มีกิจกรรมส่งเสริมอะไร เราก็เอาเรียวแรงกำลังของเราไปช่วย จะเป็นกำลังกาย เรี่ยวแรงปัญญา เรี่ยวแรงความสามารถอะไรมี ก็เอามาช่วยกัน
รวมทั้งหมดที่ว่า ทานด้วยเมตตา ด้วยกรุณา ด้วยมุทิตา ปิยวาจาด้วยเมตตา ด้วยกรุณา ด้วยมุทิตา อัตถจริยาด้วยเมตตา ด้วยกรุณา ด้วยมุทิตา คือ ๓ x ๓
รวมเป็น ๙ สถานการณ์
เสร็จแล้วก็คุมท้ายอีกที ที่ผ่านมาในชุดพรหมวิหารนั้นคุมท้ายด้วยอุเบกขา คราวนี้ ในชุดสี่ของภาคปฏิบัติการ ที่คู่กับพรหมวิหาร ก็มีตัวคุมท้าย เป็นข้อที่ ๔ คือ
๔.
สมานัตตตา
มีตนเสมอสมาน ข้อสมานัตตตานี้ แปลตรงๆว่า ความมีตนเสมอ สมัยนี้เรียกว่า ความเสมอภาค คือมีตนเสมอเท่าเทียมกัน ข้อนี้เป็นที่รวม แต่เน้นการแสดงออกของอุเบกขา มุ่งหมายเป็นธรรม
สมานัตตตา
คือ ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และเสมอภาคต่อทุกคนนี้ มีความต่างจากสามข้อแรกที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ จะเห็นว่า ในสามข้อแรกนั้น ยังเป็นการกระทำต่อกันก็ได้ เช่น
ทาน
เราอาจจะไปจากที่หนึ่ง เขาอยู่ที่อื่น เราก็ไปให้ ก็เป็นการกระทำต่อกัน
ปิยวาจา
ก็ไปพูดต่อกัน
อัตถจริยา
ก็ไปช่วยเหลือ ไปให้กำลังใจเขา แต่พอถึง
สมานัตตตา
นี้ ก็เข้าร่วม หรืออยู่ร่วมด้วย เข้าถึงกัน เข้าคลุกเลย เป็นตัวที่ช่วยให้มั่นใจยิ่งขึ้นว่าจะทำให้สังคมเกิดความสามัคคี มีเอกภาพ
ที่ว่ามีตนเสมอนี้ เสมออย่างไรบ้าง เอาง่ายๆ ก็ไม่ดูถูกดูหมิ่นกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง หรือไม่เลือกที่รักไม่ผลักที่ชัง ก็มีความเป็นธรรม นี่คือ หลักความยุติธรรม มีตนเสมอเหมือนกัน เสมอต่อทุกคน เป็นตัวรักษาความเป็นธรรม
อุเบกขา
ก็มาบรรจบกันตรงนี้
กับสมานัตตตา
ตัวสุดท้ายในชุดแรก กับตัวสุดท้ายในชุดที่สอง เป็นตัวดุลที่จะรักษาธรรม คุมหมดเลย
Create Date : 03 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2564 12:20:54 น.
0 comments
Counter : 611 Pageviews.
Share
Tweet
ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณRain_sk
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com