กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
3 พฤศจิกายน 2564
space
space
space

สมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง


170ความเสมอภาคที่แท้ มากับความเป็นธรรม ที่สร้างสามัคคี มิใช่มีไว้เพื่อให้แก่งแย่งความเป็นธรรม


   ยังมีความหมายของสมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายหลักเลย ท่านเน้นไว้โดยใช้คำบาลีว่า “สมานสุขทุกขตา” แปลว่า มีสุขทุกข์เสมอกัน หมายความว่า เธอสุข ฉันก็สุขด้วย เธอทุกข์ ฉันก็ไม่ทิ้ง ทั้งร่วมความสุขความเจริญ และร่วมเผชิญร่วมแก้ปัญหา หรือว่า ทุกข์ก็ทุกข์ด้วย สุข ก็สุขด้วย ภาษาไทยเรียกว่า “ร่วมสุขร่วมทุกข์” แง่นี้เป็นลักษณะสำคัญของสมานัตตา ที่จะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยดี เมื่อเราอยู่ร่วมสังคมเดียวกับเขา ก็ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน โดยมีความหมายครบมาทุกแง่ตั้งแต่ตามข้อแรก ความเสมอภาคจึงจะสมบูรณ์

  แล้วก็ไม่ใช่เสมอภาคกันเฉยๆ ยังช่วยเหลือดูแลกันด้วย ทาน ปิยวาจา และอัตถจริยา ครบทุกด้าน ทุกสถานการณ์

  แล้วก็ไม่ใช่มีเพียงแค่การแสดงออกภายนอก  แต่การแสดงออกนั้นมาจากใจจริง โดยมีคุณธรรมในใจเป็นฐานที่มาอีกด้วย ทั้งเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

  เวลานี้ แม้แต่ความเสมอภาค ก็ตรงข้ามกับความเสมอภาคที่พระสอน คือไม่เป็นความเสมอภาคเชิงสมาน แต่เป็นความเสมอภาคที่เน้นในด้านเศรษฐกิจ ที่ทำให้ใจโน้มไปในทางแก่งแย่ง แบ่งแยก ที่คอยเพ่งคอยจ้องกันว่า เอ๊ะ....ฉันได้เท่าเธอหรือเปล่า พวกนั้น ตาคนโน้นได้ ๕๐๐ แล้วเราละ ได้ ๕๐๐ หรือเปล่า จะเห็นชัดว่า ความเสมอภาคของคนปัจจุบัน มักมองกันที่เรื่องลาภผลเงินทองและประโยชน์ส่วนตัว แล้วก็โน้มไปทางแบ่งแยก และแก่งแย่ง ขอให้สังเกตดูเถิด สังคมปัจจุบันเป็นอย่างนั้นจริงไหม  ถ้าจริง  ก็แน่นอนว่าจะขาดสามัคคี และยุ่งไม่หยุด

  ส่วนความเสมอภาคของพระนี่ เน้นในแง่ สมาน ขอให้แยกศัพท์ดูเถิด “สมานัตตตา” ก็คือ สมานอัตตา มาจาก สมาน+อัตตา+ตา (ตา = ภาวะ, อัตต = อัตตา คือ ตน) แปลว่า ความมีตนที่สมาน คือ เสมอ


  ในภาษาบาลี “สมาน” แปลว่า เสมอ น่าแปลกที่คำว่า สมาน ที่หมายความว่าเสมอนี้ เมื่อเข้ามาสู่ภาษาไทยแล้ว ได้มีความหมายค่อนข้างจะเปลี่ยนไป กลายเป็นเชื่อม ประสาน เข้ากันสนิท (พจนานุกรมไทยถึงกับถือว่า สมาน ของไทย กับ สมาน ของบาลี เป็นต่างคำกัน) ซึ่งก็มองเห็นความสืบเนื่อง เพราะว่า “สมาน” คือ เสมอ ในภาษาบาลีนั้น ชัดอยู่แล้วว่า เน้นแง่ประสาน ดังในคำว่า “สมานสุขทุกขตา” ที่ว่ามีสุขและทุกข์เสมอกัน หรือเสมอกันในสุขและทุกข์ ก็คือร่วมสุขร่วมทุกข์ ไปๆ มาๆ “สมาน” ของบาลี เลยแปลว่า “เท่า เท่ากัน” ก็ได้ “ร่วม ร่วมกัน” ก็ได้

  ของพระ มีสุขทุกข์ “เท่ากัน” คือ ร่วมกัน แต่ของไทยปัจจุบัน จะเอาเงิน “เท่ากัน” คือ แย่งกัน

  นี่แหละ ความเสมอภาคที่แท้ ต้องเป็นอย่างที่พระสอน คือ เป็นสมานัตตตา ที่มีตนเสมอสมาน เท่ากัน คือร่วมกัน สังคมจึงจะอยู่ได้ เวลานี้ สังคมของเราจะเอาแต่เสมอแบบแย่งกัน คอยเพ่งจ้องกัน จะแก่งแย่ง จะแบ่งแยก ก็เลยกลายเป็นว่า ความเสมอภาคที่เป็นหลักการใหญ่อย่างหนึ่งของประชาธิปไตย กลายมาเป็นเหตุให้คนแบ่งแยกแตกกัน แทนที่จะทำให้เกิดความสามัคคี เพราะฉะนั้น จึงต้องบอกว่าผิดหมดแล้ว สังคมเดินทางผิดพลาด ความเสมอภาคหรือสมภาพถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด

  ที่จริงนั้น หลักการของประชาธิปไตยเองแต่เดิมของเขา คือของพวกต้นคิดในเมืองฝรั่ง ตั้งแต่ปฏิวัติฝรั่งเศล (ค.ศ.1789) ก็เป็นชุดที่ต้องบูรณาการ และหลักของเขาก็ถูกต้อง ดูสอดคล้องกันดี

  หลักการประชาธิปไตยที่ฝรั่งวางไว้ ซึ่งต้องให้ครบชุดของเขา มีอะไรบ้าง ว่าไปตามที่เขาใช้ในภาษาอังกฤษ ก็มี Equality (ความเสมอภาค หรือสมภาพ) Liberty (เสรีภาพ) แล้วอีกตัวหนึ่ง คือ Fraternity (ภราดรภาพ)

  Fraternity ที่แปลว่า ภราดรภาพ คือความเป็นพี่เป็นน้องกันนี้ เป็นข้อที่ ๓ อยู่ในชุดหลักการของประชาธิปไตย ๓ ประการ มาแต่เดิม แต่เวลานี้ สังคมประชาธิปไตยบ้านเราเหมือนกับว่าจะเหลือหลักการแค่ ๒ ข้อ คือ หนึ่ง เสรีภาพ สอง ความเสมอภาค

  ข้อ Liberty นี้เน้นกันเหลือเกิน บอกว่าต้องมีเสรีภาพ แต่ความหมายที่แท้ว่าอย่างไร ไม่ค่อยสนใจที่จะรู้ ได้แต่นึกเอาตามที่ชอบใจ จนกลายเป็นทำนองว่า เสรีภาพคืออะไร? อ๋อ...ทำได้ตามใจคือไทยแท้ เสรีภาพก็คือเอาได้ตามชอบใจ แล้วก็อ้างกันนัก ชักเย่อกันอยู่ทีสิทธิกับเสรีภาพ

  Equality ความเสมอภาค ก็มุ่งเพื่อจะมาแก่งแย่งกันในทางเศรษฐกิจ ว่าเราได้เท่าเขาไหม

  ส่วน Fraternity  ภราดรภาพ  คือความเป็นพี่เป็นน้อง   หายไปเลย   แทบไม่พูดถึงกันแล้ว นี่แหละ ประชาธิปไตยบ้านเรา   แค่หลักการใหญ่ ๓ ข้อ ก็ยังรักษาเอาไว้ไม่ได้ บูรณาการไม่ได้ ก็แยกส่วนกันไป

  ที่จริงนั้น หลักการใหญ่ ๓ ข้อ ของเขา ก็เข้ากันดีกับหลักพุทธศาสนา แต่ของพระพุทธศาสนา ท่านเน้นตัวสมานัตตตา เอาความเสมอภาคเป็นจุดรวม และเป็นตัวดุลที่คุมได้ทั้งหมด แต่อย่างที่ว่าแล้ว มันเป็นความเสมอภาคแบบสมานอย่างที่ได้พูดมา แล้วยังลงลึกเข้าไปในจิตใจ โดยมีอุเบกขามาเป็นฐานของสมานัตตตา ทำให้มีความเท่าเทียมกัน และมีความเป็นธรรม ในภาวะแห่งสามัคคี แล้วสังคมก็จะเข้มแข็งมั่นคงมีเอกภาพแท้จริง

  หลัก ๔ ประการ ที่เป็นภาคปฏิบัติของพรหมวิหาร ๔ นั้น มีชื่อรวมว่า สังคหวัตถุ คือหลักการสังเคราะห์ หรือสงเคราะห์ ซึ่งแปลว่า จับมารวมกัน คือ มาจากคำว่า “สังคหะ” (สัง = รวมเข้าด้วยกัน + คะหะ = ถือ จับ) แปลว่า จับมารวมเข้าด้วยกัน จับอะไร?

  ก็จับใจคนมารวมกัน หรือจับตัวคนมารวมกัน เพื่อทำให้สังคมอยู่ได้ คือ ทำให้สังคมรวมกันได้ มั่นคง เป็นปึกแผ่น มีความสามัคคี เกิดมีเอกภาพ จึงเรียกว่า สังคหวัตถุ ก็คือหลักยึดเหนี่ยวสังคมนั่นเอง

 ก็เป็นอันว่า ชุด พรหมวิหาร ๔ กับ สังคหวัตถุ ๔ นี้ ต่อเนื่องกัน ออกจากใจ สู่ปฏิบัติการในสังคม

173 171 174

   ประชาธิปไตย (อังกฤษ: democracy) เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่ง ซึ่งพลเมืองเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และเลือกผู้ปกครองซึ่งทำหน้าที่ออกกฎหมาย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเอง หรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทน ก็ได้




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2564
0 comments
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2564 15:59:50 น.
Counter : 572 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space