กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
1 พฤศจิกายน 2564
space
space
space

อุเบกขาดำรงรักษาธรรม



170สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยธรรม ผู้พิพากษา เอาอุเบกขามาดำรงรักษาธรรม


  ก็ครบทุกสถานการณ์แล้วนี่ ยามปกติก็มีเมตตา ยามเดือดร้อนก็กรุณาช่วยเขาไป ยามดีมีสุขก็มุทิตาส่งเสริมสนับสนุน มันก็น่าจะครบแล้ว เรานึกว่าพอ แต่ท่านบอกว่าไม่ครบ ต้องมีตัวที่ 4 คุมท้าย เป็นตัวสำคัญที่สุด

  อธิบายว่า พรหมวิหาร 3 ข้อแรกนั้น  ยังหนักทางด้านความรู้สึก แม้จะเป็นความรู้สึกทีดีอย่างยิ่ง แต่ยังไม่เป็นหลักประกันว่ามีปัญญาหรือไม่ และในที่สุด ความรู้สึกนั้นๆ ถูกต้องดีจริงหรือไม่ จะต้องรู้โดยมีปัญญาที่จะบอกให้ตัดสินได้


  เขาอยู่เป็นปกติ เราก็รู้สึกเป็นมิตรมีเมตตาปรารถนาดี นี่ก็เป็นความรู้สึกทีดี เขาตกต่ำเดือดร้อน เราก็รู้สึกสงสารอยากช่วยเหลือ นี่ก็เป็นความรู้สึกทีดี แล้วเขาได้ดีมีสุข เราก็มุทิตาพลอยรู้สึกยินดีด้วย ก็เป็นความรู้สึกทีดีทั้งนั้น


  แต่ไม่ใช่แค่นั้น จะ ต้องมีปัญญารู้ความจริงด้วยว่า มันเป็นความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ในกรณี นั้นๆ ที่จะไปช่วยคนที่ว่าเดือดร้อน หรือจะไปยินดีส่งเสริมคนที่ว่ามีสุขสำเร็จ บางครั้งจะต้องรู้สึกซึ้งลงไปอีก ว่าความจริงมันเป็นอย่างไรในเรื่องนั้นๆ


  เจ้าหมอนั่น ไปทำอะไรมา อ๋อ....นี่ไปลักขโมยเงินของเขามา จึงถูกจับและกำลังเดือดร้อนมีทุกข์ เราจะกรุณาสงสารช่วยปล่อยไป หรือว่าเขาทำการสำเร็จขโมยเงินได้มาก้อนใหญ่ เราจะมุทิตาพลอยยินดี สนับสนุนได้ไหม นี่ถ้าว่าตามหลักสามข้อแรก ก็ถูกใช่ไหม ตอนนี้แหละ คือ ถ้าไม่มีปัญญา ก็ได้แค่สงสารไปช่วยออกมา หรือดีใจตามไปสนับสนุน อย่างนี้ยังไม่พอที่จะให้สังคมอยู่ได้


  จึงต้องมีปัญญารู้ลึกลงไปอีกว่า ที่เขาทำมาได้มาอย่างนี้ ความจริงของเรื่องเป็นอย่างไร เป็นความถูกต้องหรือไม่ จะเกิดผลเสียอย่าไรหรือไม่แก่สังคม หรือ แม้แต่ชีวิตของเขาเอง การได้เงินมาในทางไม่ดีนี้ ก็อาจจะก่อผลเสีย เป็นเครื่องบั่นทอนชีวิตของเขาเอง กลายเป็นนิสัยเสีย ไม่ตั้งใจทำมาหา กิน ตกอยู่ในความประมาท สังคมก็เสีย ชีวิตก็เสีย เพราะฉะนั้น เราจะอยู่แค่กับความรู้สึกไม่ได้ จะต้องมีความรู้เข้าใจความจริง คือ มีปัญญากำกับด้วย


  ตอนนี้แหละที่ว่า ต้องมีปัญญารู้ว่าการที่จะทำจะปฏิบัติการอะไรด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา ในกรณีนั้นๆ มีความจริงเป็นอย่างไร เป็นการถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ เมื่อรู้ ความจริงแล้ว ก็จะได้ปฏิบัติจัดดำเนินการไปโดยให้เป็นไปตามความถูก ต้อง เพื่อรักษาธรรม เพื่อประโยชน์แก่สังคม และเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงแก่ ชีวิตของเขาเองในระยะยาว


  เขาไปก่ออาชญากรรมมา ไม่ถูกต้อง เป็นผลเสียแก่ชีวิตของตัวเขาเองด้วย สังคมก็เดือดร้อนด้วย ต้องแก้ไข เขาถูกจับก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ แต่ถ้าเราไปกรุณาสงสารแล้วปล่อยออกมาจากคุก ก็ไม่ถูกต้อง เขาถูกจับก็ต้องถูกจับ อันนี้เป็นไปตามหลักความจริงความถูกต้อง ปฏิบัติการด้วยกรุณาไม่ได้   ตอนนี้ท่านใช้คำว่า ต้องหยุดขวนขวาย ในการที่จะทำตามสามข้อต้น เพราะจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามปัญญาที่รู้ความจริง ความถูกต้องนั้น


  การที่หยุดระงับความขวนขวาย ไม่ทำตามสามข้อต้น เพื่อจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามปัญญาที่รู้ความจริงความถูกต้องนั้น ก็คือข้อ 4 ที่เรียกว่า อุเบกขา ซึ่งสำคัญมาก ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา เป็นจุดประสานเข้าสู่ดุลยภาพ ระหว่างความรู้ กับ ความรู้สึก หรือ เอาความรู้ มาปรับดุลความรู้สึกให้ลงตัว พอดี


  สามตัวแรก (เมตตา กรุณา มุทิตา) เป็นความรู้สึกที่ดี แต่ถึงจะเป็นความรู้สึกที่ดี ก็เลยเถิดได้ ส่วนอุเบกขานี้ แม้จะเป็นความรู้สึก แต่เป็นความรู้สึกที่ตั้งอยู่บนฐานของ ปัญญา คือมีปัญญามาให้ความรู้ แล้วความรู้ก็มาปรับความรู้สึกให้เข้า ดุล ก็เป็นอุเบกขาขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะลงตัว พอดี เข้าที่ เรียบ สงบ เป็นกลาง


  อาการที่วางตัวเป็นกลาง หรือมีความเป็นกลางนี้ ในแง่หนึ่งก็เป็นการหยุด ไม่ขวนขวายตามกรุณา หรือมุทิตา ไม่ไปช่วยขัดขวางตำรวจที่จับมา ไม่ แสดงความยินดีชื่นชมที่เขาลักขโมยมาได้สำเร็จ


  การไม่ขวนขวายนี้ บางทีก็เรียกให้สั้นว่า เฉย หรือ วางเฉย แต่ไม่ใช่เฉยเฉยๆ หรือเฉยเมย แต่เฉยเพราะจะรักษาธรรม คือ เปิดโอกาสแก่ธรรม ที่จะว่ากันไป หรือจัดการกันไปตามธรรม ตามระเบียบแบบ แผน กติกา กฎหมาย ฯลฯ นี่แหละคือข้ออุเบกขา


  ต้องระวัง ที่คนไทยเราแปล อุเบกขา ว่า “เฉย” บอกแล้วว่า เฉยในที่นี้ คือ ไม่ขวนขวายตาม 3 อย่างแรก ในกรณีที่จะเสียธรรม หรือจะทำให้เกิดความไม่ถูกต้อง คือ ไม่ขวนขวาย เพราะถ้าขวนขวายไปแล้ว จะไม่ถูกต้อง ก็จึงหยุดขวนขวาย


  แต่คนไทย แปลว่า เฉย นั้น มักว่ากันไปโดยไม่ค่อยรู้เข้าใจ หรือไม่ค่อยอธิบายกันให้ชัด ทำให้เข้าใจผิดเพี้ยน กลายเป็นเฉยเมย เฉยเมิน เฉยมึนงง เฉยเฉื่อยแฉะ จนถึงเฉยโง่ ก็ เลยเสียหาย


  ตัวคำว่า “อุเบกขา” เอง ในภาษาพระท่านก็ให้ระวังอยู่แล้ว ท่านจำแนกแยกอุเบกขาไว้ถึง 10 อย่าง ว่าอย่างรวบรัด   ก็แบ่งเป็นฝ่ายดี กับ ฝ่ายร้าย พูดกันง่ายๆ ก็ถามว่า อุเบกขา ที่ว่าเฉยนั้น เฉยเพราะอะไร ง่ายที่สุด คือ เพราะรู้ กับ เพราะไม่รู้


  คนไม่รู้ก็เฉย เพราะแกไม่รู้เรื่องไม่รู้ราว อะไรเกิดขึ้นก็ไม่รู้ ก็เลยเฉย เรียกว่าเฉยไม่รู้เรื่อง แล้วก็ไม่เอาเรื่อง แล้วก็ไม่ได้เรื่อง เฉยอย่างนี้ พระท่านเรียกว่า อัญญาณุเบกขา แปลว่า “เฉยโง่” เป็นอกุศล เป็นบาป


   ส่วนอีกเฉยหนึ่ง เป็นความเฉยด้วยปัญญา คือรู้เข้าใจ พอรู้แล้วก็วางตัวได้พอดี หรือลงตัวเข้าที่ เพราะมองเห็นแล้วว่า เราจะปฏิบัติการอะไร อย่างไร เมื่อไร จึงจะไปสู่จุดหมายแห่งความลุรอด ปลอดภัย ให้เกิดความถูกต้อง ความดีงาม ฯลฯ ตอนนี้ก็เลยอยู่ในลักษณะเฉย หรือวางตัวเรียบสงบไว้ หรือเป็นกลางไว้


  บางทีการเฉยก็เป็นการเตรียมพร้อมอย่างหนึ่ง  เหมือนอย่างเกิดสถานการณ์ร้ายขึ้นมา คนไม่รู้เรื่องรู้ราว ก็เฉย คนที่รู้ครึ่งไม่รู้ครึ่งก็โวยวายโว๊กว้ากไป  แต่คนที่รู้เข้าใจสถานการณ์ชัดเจน และมองออกว่า เมื่ออะไรเกิดขึ้น เราจะดำเนินการอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร เขาอาจจะเตรียมการพร้อมอยู่ในใจ ว่าถึงขั้นตอนนั้นๆ จะทำอย่างนั้นๆ คนนี้ก็ดูเฉยเหมือนกัน

  ความเฉยด้วยปัญญานี้ เป็นอุเบกขา ในความหมาย ของพรหมวิหารข้อที่ 4 คือ เฉยด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริง และจะรักษาธรรม ความถูกต้อง ในเมื่อการทำตามสามข้อแรกในกรณีนั้นๆ ปัญญา บอกว่าผิด เป็นความไม่ถูกต้อง เสียความเป็นธรรม เมื่อปัญญาบอกอย่างนั้น เราก็หยุด ก็เลยทำให้เราเฉยด้วยอุเบกขานี้  ก็จึงบอกว่าอุเบกขา ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา

  จะเห็นว่า  ผู้พิพากษาต้องมีอุเบกขานี้เป็นหลักดำรงตังที่สำคัญมาก เพราะเป็นตัวคุมทั้งหมด ไม่ให้ความรู้สึกเข้ามาครอบงำจิตใจ ไม่ต้องพูดถึงความรู้สึกฝ่ายร้าย เช่น ความรู้นึกเกลียดชัง โทสะ เท่านั้น ที่จะทำให้เสียความเป็นธรรม แม้แต่ความรู้สึกที่ดี มีเมตตา กรุณา มุทิตา ก็ต้องไม่ยอมให้มาเป็นตัวครอบงำ ไม่ให้มีอำนาจบังคับจิตใจจะต้องให้ปัญญาบอกไปตามที่เป็นจริง อันนี้เป็นหลักการที่สำคัญ


  ในพระไตรปิฎก ตอนที่บรรยายอุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์ ท่านก็อธิบายด้วยคำว่า “ตุลา” คือบอกว่า พระโพธิสัตว์นั้น ไม่ว่าจะประสบอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) หรืออนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) เขาจะทำร้าย หรือจะเอาใจ ก็ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง อยู่ในธรรม เที่ยงตรง คงที่ สม่ำเสมอ (ดูความหมายของตุลาการข้อที่ ๑ ท้ายเรื่อง)

  เพราะฉะนั้น  ผู้พิพากษาจะต้องมีพรหมวิหารครองตนครบทั้งชุด ในขณะนั้น มิใช่ไม่มีเมตตา กรุณา มุทิตา แต่มีทั้งหมด คือ มีความเป็นมิตร มีความปรารถนาดี ตั้งต่อคนร้าย ต่อจำเลย และต่อโจทก์ มีทั้งนั้น แต่ความปรารถนาดีนั้นถูกจำกัดควบคุมหรือถูกพักงานด้วยปัญญาที่รู้ความจริง ความถูกต้อง และตั้งท่าทีเป็นอุเบกขา ที่จะรักษาความเป็นธรรม

  เราไม่ได้คิดร้ายต่อใครทั้งนั้น แม้จะตัดสินลงโทษจำเลย ก็ไม่ได้ตัดสินลงโทษเพราะความเกลียดชัง เรายังมีความเป็นมิตร มีเมตตาต่อเขาในความเป็นมนุษย์ อาจจะปรารถนาดีในระยะยาวด้วยซ้ำว่า ถ้าเธอไม่ถูกลงโทษ จะไม่มีโอกาสแก้ไขความประพฤติ แล้วชีวิตของเธอก็จะตกต่ำ จะเป็นชีวิตที่ไม่ดี ไม่มีการพัฒนา ทั้งเสียต่อตนเอง และเสียต่อผู้อื่น

   เพราะฉะนั้น ก็มีเมตตาต่อสังคม ต่อมนุษย์อื่นๆ และเมตตาแม้ต่อจำเลย มีกรุณา มีมุทิตาพร้อมหมด แต่มีอุเบกขาเป็นตัวคุมให้อยู่ในธรรม ที่จะรักษาธรรม อย่างน้อยรักษาบัญญัติธรรม แต่ก็ด้วยจริยธรรม โดยเข้าใจไปถึงสภาวธรรม

   ก็เป็นอันว่า ผู้พิพากษา ต้องมีพรหมวิหารสี่ โดยมีอุเบกขาเป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุด ในฐานะเป็นผู้ที่จะดำรงรักษาสังคมให้อยู่ได้ด้วยดีเพื่อให้อุเบกขานั้น เป็นตัวตรึง เป็นตัวรักษาดุล ที่จะให้ทุกอย่างดำรงอยู่และดำเนินไปในความถูกต้อง ประสานบรรจบเป็นอันเดียวกับธรรม

https://static.wixstatic.com/media/5c5371_48cef50db1a74e138decd37c5d94c85d~mv2.jpg
 



Create Date : 01 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2564 8:14:46 น. 0 comments
Counter : 475 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space