กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
31 ตุลาคม 2564
space
space
space

มองพรหมวิหารคือคำนึงทุกสถานการณ์

170มองพรหมวิหาร คือ คำนึงทุกสถานการณ์มุ่งประสานทั้งสังคม ทั่วทั้งโลก เข้าสู่ดุล


   แน่ใจและแน่นอนเลยว่า ถ้าทุกคน โดยเฉพาะผู้ทำหน้าที่ในการผดุงสังคม มีความชัดเจนในหลักพรหมวิหาร แล้วปฏิบัติให้ตรงตามความหมาย จะธำรงรักษาสังคมไว้ได้อย่างแน่นอน พระพุทธเจ้าทรงสอนนักหนา ให้เจริญพรหมวิหาร มีเมตตา เป็นต้น กันทุกคน

  การที่จะปฏิบัตินั้น (ปฏิบัติ มีความหมายตามศัพท์เดิมว่า เดิน ในที่นี้ ปฏิบัติก็เริ่มที่เดินจิตให้ถูก)

  ย้ำอีกว่า   ต้องชัดในความหมาย และความชัดนั้นจะเห็นได้จากความสามารถที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างของธรรมแต่ ละข้อนั้นๆด้วย แต่เวลานี้สังคมไทย มีความไม่ชัดเจน และสับสนปนเปมากในเรื่องพรหมวิหาร ตั้งแต่เมตตา กรุณาไปเลย

  นอกจากเข้าใจความหมายคลาดเคลื่อนเพี้ยนไปแล้ว   ความผิดพลาดสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่คนไทยได้กระทำต่อหลักพรหมวิหาร คือ เอาสี่ข้อที่ท่านจัดเป็นชุดไว้ให้ ไปแยกใช้กระจัดกระจายกันหมด จนกระทั่งไปๆมาๆ บางข้อก็อ้างบ่อยนักหนาเหมือนพูดเล่นๆ แต่บางข้อไม่เอามาบอกมาเตือนกัน เหมือนไม่เห็นความสำคัญเสียเลย


   ที่ถูกนั้น ต้องจับให้อยู่รวมกันเป็นชุด เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ครบทั้งชุดเป็นธรรมดา ครบทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าพูดตามภาษานิยมของคนยุคนี้ ก็คือ เป็นองค์รวม หรือเป็นระบบองค์รวม แต่ที่จริงก็คือเป็นเรื่องของความสมดุลและพอดี

  ชุดองค์รวมสี่นี้ คนไทยไม่ใช้แต่ละข้ออย่างเป็นองค์ร่วม แต่เอาไปแยกส่วนกระจายกันไปเสีย เน้นกันนักที่ข้อเมตตา และกรุณา แต่มุทิตาไปไม่ค่อยถึงสักที ยิ่งอุเบกขาแล้วแทบไม่รู้เรื่องเลย


  ที่ว่านี้  ไม่ใช่แยกไม่ได้เลย  ก็แยกได้  คือว่าไปตามสถานการณ์ที่ต้องใช้ข้อ นั้นๆ อย่างเมตตานั้นเป็นพื้นยามปกติ ก็ย่อมใช้เสมอ พูดบ่อยได้ แต่ ข้อสำคัญต้องมีความตระหนักรู้อยู่ มองไปให้ตลอดทั้งชุดให้ถึงอุเบกขา

   โดยเฉพาะอุเบกขานั้น เป็นข้อที่โยงกับปัญญา จึงเป็นข้อที่ต้องเอาใจใส่ศึกษาให้จะแจ้ง แต่ คนไทยไม่ใส่ใจ และไม่พยายามศึกษาให้เข้าใจ เลยกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แล้วก็เข้า ใจผิด จึงต้องมาซักซ้อมทบทวนกันให้ชัด

  ว่ากันให้ถึงหลักแท้ๆ คนที่มีพรหมวิหาร 4 นั้น ผดุงรักษาอภิบาลโลก โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ไว้ได้ เพราะปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมโลกได้ทั่วถึง ครบถ้วน ทัน และถูกต้องตรงตามสถานการณ์ คือ

  1. (ในสถานการณ์ที่เขาอยู่เป็นปกติ) เมตตา  มีความเป็นมิตร คือ มีใจรัก ปรารถนาดี อยากให้เขาเป็นสุข เห็นใครเจอใคร ก็มองอย่างเป็นมิตร เมื่อเขาอยู่เป็นปกติ ก็มีน้ำใจปรารถนาดี อยากให้เขาเป็นสุข เป็นน้ำใจพื้นฐานที่มนุษย์พึงมีต่อกัน มนุษย์ต้องมีความเป็นมิตรกัน นี่คือเมตตา ซึ่งเป็นธรรมข้อพื้นฐานที่สุด


  จากนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อไป ตามเรื่องของความเป็นจริงในสังคมของมนุษย์ คือ เมื่อ เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นนั้น เขาก็อยู่ในสถานการณ์ต่างๆกัน และแม้สำหรับแต่ละคน สถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพราะเป็นธรรมดาที่ว่า ชีวิตและสังคมตลอดจนทั้งโลกที่แวดล้อม ย่อมเปลี่ยนแปลงไป เป็นอนิจจัง เป็นไปตามกฎธรรมชาติ มีสุข แล้วก็มีทุกข์ มีขึ้น แล้วก็มีลง มีขึ้นสูง แล้วก็มีตกต่ำ แล้วแต่เหตุปัจจัย ทำให้ชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เมื่อกี้นี้บอกว่าสถานการณ์ปกติ เรามีเมตตา ทีนี้ต่อไป

  2. (ในสถานการณ์ที่เขาทรุดลงเดือดร้อน) กรุณา  ใฝ่ใจจะแก้ไข ขจัดทุกข์ของเขา คือ เมื่อผู้อื่นประสบเหตุร้าย เกิดปัญหา เกิดความเดือดร้อนขึ้นมา ก็เข้าสู่สถานการณ์ที่สอง เรียกว่า ตกต่ำลงไป เขาก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ ก็มาถึงวาระของพรหมวิหารข้อที่ 2 คือ กรุณา ได้แก่ความปรารถนาที่จะช่วยให้คนพ้นจากความทุกข์

   ถ้าแปลตามศัพท์ก็ว่า กรุณา คือ ความพลอยดีใจหวั่นไหว เมื่อเห็นผู้อื่นประสบความทุกข์ หรือแผ่ขยายใจตามไป คำนึงถึงความทุกข์ของเขา เพื่อหาทางไปช่วยเหลือ เป็นเหตุให้ขวนขวาย เอาใจ ใส่ จนกระทั่งลงมือปฏิบัติเพื่อช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์นั้นขึ้นมา

  เมตตา กับ กรุณา ต่างกันอย่างชัดเจนที่สุด แต่คนไทยมักแยกไม่ออกเลย จึงบอกว่าเป็นปัญหามาก เพราะไม่รู้ไม่ชัดในหลักแม้แต่ที่ ง่ายๆแค่นี้ เป็นอันว่า ถ้าเกิดสถานการณ์ที่คนอื่นเดือดร้อนเป็นทุกข์ขึ้นมา  เราก็ต้องย้ายจากเมตตาไปกรุณา กรุณาก็คือการที่ใจเรานี้ไวต่อการที่จะรับรู้ความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์   พอเห็นเขาเดือดร้อนมีทุกข์   ก็พลอยมีใจหวั่นไหวไปตามความทุกข์ของเขา

  ถ้าเป็นคนธรรมดา ก็คือ พอเห็นคนอื่นทุกข์ ก็พลอยไม่สบายใจด้วย แต่ท่านว่ายังไม่ถูกแท้ ที่ถูกคือ ใจหวั่นไหวไปตามความทุกข์ของเขา หรือไวต่อการรับรู้ความทุกข์ของผู้อื่น ด้วยความปรารถนาจะช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์  แต่ตัวเองไม่ต้องเป็นทุกข์  ไม่มัวไปเศร้า ไม่ปล่อยใจให้ระทมทุกข์ด้วย

  เป็นอันว่า ต้องแยกกันให้ได้หลักการก่อนว่า สอง เมื่อเขาตกต่ำเดือดร้อน ก็มีกรุณา ปรารถนาจะช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์

  3. (ในสถานการณ์ที่เขาดีขึ้น)  มุทิตา พลอยยินดีที่เขางอกงามมีความสุขความสำเร็จ คือ เขาทำความดีงาม มีความสุข มีความเจริญก้าวหน้า หรือทำการสำเร็จ เช่น เด็กสอบไล่ได้ คนเข้างานได้ ได้เลื่อนขั้น หรือละเลิกการร้าย หันย้ายเข้าสู่ทางแห่งความดี เช่น เลิกยาเสพติด หันมาตั้งใจเรียน ก็เรียกว่าขึ้นสูง หรือดีขึ้น เราก็ใช้พรหมวิหารข้อ ที่ 3 คือ มุทิตา มีใจพลอยินดีด้วย อยากจะช่วยส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้เขามีความสุข ทำความดีงามสำเร็จ หรือทำประโยชน์ให้ยิ่งขึ้นไป

  ครบแล้วนะหมดแล้ว สถานการณ์ในชีวิตมนุษย์ก็มี 3 นี่แหละ หนึ่ง เขาอยู่เป็นปกติ เรามีเมตตา สอง เขาตกต่ำเดือดร้อน เรามีความกรุณา สาม เขาขึ้นสูง งอกงามสำเร็จดีขึ้นไปเรามีมุทิตา
 
  ทีนี้ ยังมีอีกข้อ คือข้อ 4 ที่รอจะเอาเข้ามาคุม ข้อนี้แหละสำคัญยิ่งนัก เป็นหลักใหญ่ในการรักษาสังคมมนุษย์ ถ้าตัวนี้ไม่มา ถึงจะมี 3 ตัวแรก ก็รักษาไม่ไหว ไม่พอ

 


Create Date : 31 ตุลาคม 2564
Last Update : 31 ตุลาคม 2564 9:02:21 น. 0 comments
Counter : 372 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space