เมื่อตับป่วย เทพเซอุสทรงพระประชวร ภาวะตับขาดน้ำหล่อเลี้ยงอาจเริ่มจากอารมณ์ขี้โมโหโกรธา ในภาวะนั้นตับซึ่งเป็นธาตุไม้ แทนที่จะได้รับน้ำอันชุ่มฉ่ำที่หล่อเลี้ยงให้เติบโต ไม้ต้นของตนเองนั้นกลับตกอยู่ในภาวะไฟไหม้ป่า ถูกเผาไหม้อย่างรุนแรงจนเกิดสภาพผิวหน้าแดง ใจร้อน โกรธง่าย ขาดอารมณ์ขัน น้ำเสียงกระด้าง อารมณ์หุนหันพลันแล่น ความแห้งเกร็งจะปรากฏให้เห็นตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ นั่นคือ คนที่กำลังโกรธจะใบหน้าบึ้งตึง เส้นเอ็นยึดเกร็งเพราะเตรียมตัวต่อสู้หรืออาละวาด กระดูกและข้อต่อก็แข็งกระด้างไปด้วย
กึสุ ฆตฺวา สุขํ เสติ กึสุ ฆตฺวา น โสจติ กิสฺสสฺสุ เอกธมฺมสฺส วธํ โรเจสิ โคตม.
บุคคลฆ่าอะไรได้สิ จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรได้สิ จึงไม่เศร้าโศก
ข้าแต่พระโคดม พระองค์ย่อมชอบใจซึ่งการฆ่าธรรมอะไรสิ ซึ่งเป็นธรรมอันเอก.
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ ฆตฺวา น โสจติ.
บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก
พราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะบุคคลนั้น ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ก็มี ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกาย ก็มี ธรรมที่พึงละมิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้ ก็มี”
“ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา เป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย จะเป็นการดีแท้ ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละกายทุจริต จงบำเพ็ญกายสุจริตเถิด เธอถูกเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่ จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ละด้วยวาจา” “ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกายเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา จะเป็นการดีแท้ ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละวจีทุจริต จงบำเพ็ญวจีสุจริตเถิด เธอถูกเพื่อนพรหมจารี ผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่ จึงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ละด้วยกาย”
“ธรรมที่พึงละ มิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้ เป็นไฉน? คือ โลภะ...โทสะ...โมหะ...ความโกรธ...ความผูกโกรธ...ความหลบหลู่...ความยกตัวกดเขาไว้...ความตระหนี่....พึงละมิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญา จึงละได้...” (อง.ทสก. 24/23/41)
โธตกมาณพ: ข้าแต่พระองค์ผู้ผู้ทรงปัญญาจักษุเห็นรอบด้าน ข้า ฯ ขอน้อมนมัสการพระองค์ ข้าแต่พระศากยะ ขอได้โปรดปลดปล่อยข้าพระองค์จากข้อสงสัยทั้งหลายด้วยเถิด
พระพุทธเจ้า: ดูกรโธตกะ เราไม่สามารถปลดปล่อยใครๆในโลก ผู้ยังมีความสงสัยอยู่ให้พ้นไปได้ แต่เมื่อท่านรู้ชัดซึ่งธรรมอันประเสริฐ ท่านก็จะข้ามกิเลสไปได้เอง
Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2565 |
|
0 comments |
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2566 10:59:32 น. |
Counter : 808 Pageviews. |
|
 |
|