Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มีนาคม 2560
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
24 มีนาคม 2560

ปริศนาบนศิลาที่หลับใหล : ปราสาทบันทายฉมาร์ (5)




เราไม่มีวันเข้าใจปราสาทบันทายฉมาร์จนกว่าจะได้อ่านจารึก K. 227
โดยต้นจารึกเกริ่นนำถึงเรื่อง ความสำคัญของศาสนสถานแห่งนี้


ในพระคฤหรัตน์กลางกมรเตงชคตศรีนครินทรเทวะ รูปของกมรเตงอัญศรีนครินทรราชบุตร
อาคเนย์ กมรเตงชคตอรชุนเทวะ อีศาน กมรเตงชคตศรีธรเทวปุระเทวะ
หรดี กมรเตงชคตศรีเทวเทวะ พายัพ กมรเตงชคตศรีวัทธนะเทวะ ซึ่งเป็นมนตรี

กมรเตงชคตศรีนครินทรเทวะ ควรเป็นชื่อปราสาทและพระพุทธรูปประธานที่อุทิศให้
และใกล้กันควรมีเทวรูปซึ่งเราไม่รู้ว่าหน้าตาเช่นไรอุทิศให้บุตรชายของศรีนครินทร
เช่นเดียวกับที่ทิศทั้งสี่มีอีก 4 เทวรูป ที่เป็นของสองขุนนางพร้อมบุตรชาย
ซึ่งชื่อของคนเหล่านี้จะถูกขยายความว่า เหตุใดจึงได้เป็นเทวะที่ปราสาทหลังนี้


เมื่อภรตราหูเข้าประทุษร้ายแก่พระบาทศรียโศวรรมเทวะเพื่อแย่งเอาพระราชมณเฑียร
บรรดาพลนครทั้งปวงต่างก็ขว้าง ปีตัย ของเขาเข้าไปในปากของมันแล้วก็หนีไป
เสด็จออกรบ นักสัญชักอรชุน นักสัญชักธรเทวะปุระ ได้รบคุ้มกันเสด็จ
เขาทั้งหลายได้ล้มลงเฉพาะพระพักตร์เสด็จ เสด็จตีจมูกภรตราหูแล้วทำให้ล้มลง

จำเนียรกาลต่อมาโปรดพระราชทานนามว่าพระกมรเตงอัญ ศรีนฤปติสิงหวรมัน
แก่นักสัญชักเทวะปุระ ผู้เป็นบุตรนักสัญชักศรีธรเทวะปุระ
และพระราชทานนาม อำเตง แก่นักสัญชักทั้งสอง
สถาปนารูปบรรดากุลปักษ์ทั้งปวง ทรงประกอบด้วยสมบัติและยศศักดิ์

พระบาทศรียโศวรรมเทวะ คือพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 พี่ชายของชัยวรมันที่7
เสด็จจึงน่าจะหมายถึง ศรีนครินทร เจ้าชายที่ร่วมรบกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ตามภาพสลักการรบกับจามปาด้านหน้า และตามเนื้อหาที่จะกล่าวต่อไป
นักสัญชักอรชุน คือเทวรูปที่อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้
นักสัญชักธรเทวะปุระ คือเทวรูปที่อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

ที่แปลยากคือบรรทัดที่เล่าเรื่องราวเหมือนกับเทพนิยายว่า
พลนครทั้งปวงต่างก็ขว้าง ปีตัย ของเขาเข้าไปในปากของมันแล้วก็หนีไป
แต่น่าประหลาด ที่เรากลับพบภาพสลักบนกำแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ที่มีเนื้อหาตรงกับจารึกราวกับถอดออกมาเป็นภาพเลยทีเดียว



พ.ศ. 2453 ภาพนี้ถูกตีความเป็นครั้งแรกโดย Henri Parmentier
เจ้าชายกำลังยกดาบ และใช้เท้าถีบปากของอสูร
ด้านหลังมีคนขี่ม้าในมือซ้ายชูสิ่งที่ซ้อนกันเป็นชั้น
Parmentier อธิบายว่า เมื่อมาใกล้ เขาคงปาสิ่งของสิ่งนั้นใส่ปากอสูร

พ.ศ. 2472 ศ. เซเดสได้แปลจารึกทั้งหลัก เชื่อว่าสิ่งนี้คือปีตัยหรือสิ่งของศักดิ์สิทธิ์
โดยพบคำนี้ก่อนหน้านี้ที่จารึกเมืองโลเลย กล่าวถึงคำว่า pitay คือสิ่งของที่ใช้บูชา
แม้คำแปลจะเข้ากับภาพสลัก แต่เหมือนเราจะแยกไม่ออกว่าเป็นเรื่องจริงหรือตำนาน
ใครหรืออะไรคือ ภรตราหู ที่ถูกทหารขว้างของศักดิ์สิทธิ์ใส่ปาก

พ.ศ. 2555 Ian Lowman ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง K. 227 and
The Bharata Rahu Relief : Two Narratives from Banteay Chmar
เพื่อแปลข้อความที่เป็นปัญหา pan-pitaya-kantal-mattavara นี้ใหม่ว่า

เมื่อภารตะและราหูผู้สมรู้ร่วมคิดทรยศต่อพระเจ้ายโศวรมันด้วยการเข้ายึดพระราชวัง
ทหารทั้งหมดได้ป้องกันระเบียงที่นำไปสู่ใจกลางพระราชวัง หลังจากนั้นก็หลบหนีไป


การแปลข้อความใหม่ดูจะเข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริงมากขึ้น
แต่ภาพอสูรที่อยู่ในภาพสลักจะหมายความว่าอย่างไร
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ Ian Lowman แยกชื่อนี้ออกเป็นคนสองคน
ภรตะ กับ ราหู

โดยไม่มีความรู้ทั้งด้านภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์
ผมมีความคิดเห็นในส่วนนี้ ถ้าเชื่อว่าภาษาไทยมีรากมาจากเขมร
ภรตะ ในภาษาไทยจะหมายความว่า ชาวอินเดีย ในที่นี้คือพวกพราหมณ์
ราหู ไทยและเขมรทับศัพท์มา หมายถึงอสูรผู้ล่าพระอาทิตย์และพระจันทร์
เช่นนั้น ภรตะราหู อาจแปลว่านักบวชผู้ชั่วร้าย



แล้วทำไมพราหมณ์สามารถก่อกบฏได้ ถ้าเราจำเรื่องปราสาทบันทายศรีได้
ยัชญวราหะก็เป็นพราหณ์ที่อาจจะเป็นขุนนาง และคงเป็นคนที่มีอำนาจมาก
ดังนั้นตามจารึก หากนักบวชคนหนึ่งลุกมาก่อกบฏก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น เหตุใดในจารึกจึงไม่ยอมเอ่ยชื่อคนผู้นี้ออกมา

ถ้าผมเป็นคนสั่งให้ประกาศคุณความดีของทหารองครักษ์ทั้งสองคนนี้
คงไม่ยินดีที่จะให้ชื่อทรราชย์ปรากฏร่วมอยู่กับเหล่าวีรบุรุษในศิลาเป็นแน่
และนั่นอาจจะเป็นเหตุว่า มีการใช้คำสรรพนามแทนว่า นักบวชผู้ชั่วร้าย
แต่นั่นยังไม่ใช่ปัญหาสุดท้าย จากจารึกบอกอะไรในเหตุการณ์จริง?

ชะเอม คล้ายแก้ว ได้แปลศิลาจารึกสมัยชัยวรมันที่ 7 ไว้หลายหลัก
จากจำนวนทั้งหมด 10 หลักที่พบในประเทศไทย อีก 10 หลักที่พบในกัมพูชา
และได้สรุปเหตุการณ์ในช่วงนี้ว่า

เจ้าชายชัยวรมัน ได้นำกองทัพไปปราบอาณาจักรจามปา
ในช่วงเวลาเดียวกับที่พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 สิ้นพระชนม์
พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 พระเชษฐาซึ่งมีสิทธิ์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป
แต่ถูกขุนนางชื่อตรีภูวนารทิตยะก่อการกบฏ
พระองค์ยกทัพกลับมาแต่ไม่ทัน พระเชษฐาถูกปลงพระชนม์ไปแล้ว
ต้องหลบซ่อนตัวจากพระเจ้าตรีภูวนารทิตยะเป็นเวลากว่า 15 ปี

ต่างจากที่ ศ. เซเดส์เขียนไว้ในหนังสือ The Indianized States
of Southeast Asia ว่า พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ทรงครองราชย์ 6 ปี
ก่อนที่จะถูกขุนนางชื่อตรีภูวนารทิตยะก่อการกบฏ

ผมเทใจไปทาง ศ. เซเดส์ เพราะหากพระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนขึ้นครองราชย์
คงไม่ได้รับพระนาม พระบาทศรียโศวรรมเทวะ เป็นแน่
การกบฏในจารึกปราสาทบันทายฉมาร์น่าจะเขียนตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง




 

Create Date : 24 มีนาคม 2560
4 comments
Last Update : 24 มีนาคม 2560 13:29:13 น.
Counter : 1570 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ

 

ิวิเคราะห์สนุกมากค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 24 มีนาคม 2560 11:10:31 น.  

 

คุกขี้ไก่ เป็นป้อมปืน
อาจทำไว้เป็นป้อมปืนก็ได้เนาะ
แต่วางตำแหน่งผิดเลยต้องเปลี่ยนเป็นคุกขี้ไก่แทน

 

โดย: tuk-tuk@korat 24 มีนาคม 2560 16:56:57 น.  

 

เซเดส์นี่เป็นชื่อที่เราได้ยินสมัยเรียนบ่อยมากค่ะ

มาทักทายค่ะ หายไปนาน แหะๆ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 25 มีนาคม 2560 18:16:31 น.  

 

อ่อนด้อยประวัติศาสตร์มากค่ะ แต่ชอบอ่าน

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 27 มีนาคม 2560 20:44:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]