Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
15 กุมภาพันธ์ 2560

ปริศนาบนศิลาที่หลับใหล : ปราสาทตาแก้ว





คราวที่แล้วดูเหมือนผมจะอธิบายเรื่องศิลปะแบบคลังน้อยเกินไป
ดังนั้นจึงขอเขียนต่อเพื่อขยายความให้ชัดเจน โดยเริ่มที่รัชกาล

ชัยวรมันที่ 5 (1511 – 1544 ปราสาท ตาแก้ว)
อุทัยทิตย์วรมันที่ 1 (1544-1545)
ชัยวีรวรมัน (1545-1554)
สุริยวรมันที่ 1 (1546-1593 พระราชวังหลวง ปราสาทพิมานอากาศ)
อุทัยทิตย์วรมันที่ 2 (1593-1603 ปราสาทบาปวน)
หรรษาวรมันที่ 3 (1609- 1623)
ชัยวรมันที่ 6 (1623-1650)
ธรณินทรวรมันที่ 1 (1650-1650)

ศิลปะแบบคลัง เริ่มต้นที่ปราสาทตาแก้ว หรือต้นพุทธศตวรรษที่ 16
ศิลปะแบบบาปวน เริ่มต้นที่ปราสาทบาปวน หรือกลางศตวรรษที่ 16
ดังนั้นศิลปะแบบคลังย่อมเก่ากว่าศิลปะแบบบาปวน

ปราสาทตาแก้วเป็นปราสาทที่สร้างในสมัยชัยวรมันที่ 5
ก่อนหน้านั้น การสร้างปราสาทแบบยอดขนาดใหญ่เป็นเรื่องยาก
เช่นปราสาทอย่างบาแค็ง ก็ต้องใช้ฐานที่เป็นหินของภูเขารับน้ำหนัก
เพราะหากนำมาตั้งพื้นราบลุ่ม ปราสาทขนาดใหญ่นั้นจะเกิดการทรุดตัว

ช่างเขมรสามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้ในสมัยปราสาทแปรรูป
ที่เป็นปราสาทอิฐขนาดใหญ่ 5 ยอด แต่อย่างไรก็ตามยังเบากว่าหิน
ดังนั้นการประสบความสำเร็จจริงๆ คือปราสาทตาแก้ว
ปราสาทหินสูง 3 ชั้น 5 ยอด ที่มีสร้างระเบียงคตเดินได้เกือบรอบ

ด้วยเหตุนี้ ปราสาทนครวัดจึงถูกยกให้เป็นจุดสูงสุดของวิศวกรเขมร
ในการสร้างปราสาท 3 ชั้น 5 ยอดขนาดใหญ่ทีมีระเบียงคตเดินได้โดยรอบ

แต่ปราสาทตาแก้วกลับถูกทิ้งร้างโดยไม่ทราบสาเหตุ
ดังนั้น ส่วนตัวผมไม่เคยเห็นทับหลังให้กำหนดอายุได้
แต่คนอื่นอาจเคยเห็นจึงกำหนดให้ปราสาทแห่งนี้เป็นศิลปะคลัง
เพราะนอกจากทับหลังเค้าอาจใช้องค์ประกอบอื่นของอาคารก็ได้

กล่าวกันว่า เกิดกบฏในเมืองพระนคร ขุนนางที่ขึ้นมาเป็นกษัตริย์คือ
ชัยวีรวรมันผู้ที่กล่าวกันว่า เป็นผู้สร้างปราสาทคลังเหนือ
และถูกโค่นล้มโดยกษัตริย์ที่มาจากต่างถิ่นคือสุริยวรมันที่ 1
ผู้ที่สร้างปราสาทคลังใต้ และย้ายไปพระราชวังไปยังบริเวณนั้น

ทับหลังไม่กี่ชิ้นที่ปราสาทคลัง นักวิชาการได้ใช้กำหนดยุคประวัติศาสตร์ศิลป์
แต่ต่อมาพบว่า ทับหลังแบบนี้พบจำนวนมากกว่าที่ประตูพระราชวังหลวง
บางครั้งจึงมีคนเรียกยุคนี้ว่าศิลปะแบบประตูพระราชวังหลวงแทน
แล้วศิลปะทั้งสองแบบนี้ต่างกันอย่างไร ผมศึกษาจากเว็บไซต์นี้

ฐานข้อมูลโบราณสถานสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



ทับหลังปราสาทเมืองต่ำ ซุ้มประตูด้านในโคปุระชั้นนอก ด้านทิศตะวันตก


ทับหลังมีการสลักลายก้านต่อดอกอยู่เหนือหน้ากาล
หน้ากาลมีมือยื่นออกมาจับท่อนพวงมาลัยทั้ง 2 ข้าง
ปลายทั้ง 2 ข้าง ของท่อนพวงมาลัยเป็นลายกระหนก
ท่อนพวงมาลัยยกขึ้นสูงเกือบถึงขอบด้านบน
ที่เสี้ยวของท่อนพวงมาลัยมีพวงอุบะตกลงมา ตามลักษณะทับหลังแบบคลัง


เราจะไปดูทับหลังของปราสาทคลังเหนือและคลังใต้ที่ใช้กำหนดศิลปะยุคนี้


ปราสาทคลังเหนือ


ปราสาทคลังใต้

จะเห็นว่าต่างกันลวดลายทับหลังปราสาทคลัง และประตูพระราชวังหลวง
ตรงกลางเป็นลายเทวดาประทับเหนือหน้ากาล อันมาจากยุคบันทายศรี
เหนือท่อนพวงมาลัยมีลายใบไม้ม้วนขึ้นและลายใบไม้ม้วนลง
แต่สิ่งที่หายไปคือภาพหน้ากาลที่ขบกลางท่อนพวงมาลัยแบบบันทายศรี

ในขณะที่ทับหลังของปราสาทเมืองต่ำ มีเทวดาประทับนั่งเหนือหน้ากาล
แต่ว่ามีลายอุบะคั่นระหว่างกลางของท่อนพวงมาลัย
ย่อมไม่ตรงกับทับหลังแบบคลังที่เป็นศิลปะต้นแบบของเมืองพระนคร

ดังนั้นหากเรากำหนดให้ทับหลังจำนวนมากที่พบในประเทศไทย
ที่เป็นรูปเทวดาประทับเหนือหน้ากาล มีลายใบไม้ม้วนเช่นที่ปราสาทพนมวัน
เป็นศิลปะแบบบาปวน เราก็ไม่ควรกำหนดให้มีศิลปะแบบคลังในประเทศไทย
เพราะตามภาพมันตรงกับปราสาทคลัง พิมานอากาศ และประตูพระราชวัง

ไม่ใช่ทับหลังแบบที่ติดอยู่กับปราสาทบาปวน




พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 รับราชสมบัติมาจากพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2
ตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์ชันษา ดังนั้นจึงมีที่ปรึกษาบุคคลผู้นั้นคือ
พราหมณ์ยัชญวราหะ ผู้สร้างปราสาทบันทัายศรี ในจารึกเมืองเสมากล่าวว่า

พระองค์ส่งพราหมณ์ผู้นี้มาสร้างปราสาทเมืองแขก ที่ทำให้เกิดทฤษฎีว่า
เหตุใดปราสาทบันทายศรีจึงมีการใช้หินทรายที่ขาวสะอาดกว่าปราสาทอื่น
และช่างนั้นมีฝีมือแกะสลักลวดลายงดงามกว่าปราสาทใดในเมืองพระนคร
ถ้าการนำเข้าช่างฝีมือจากอินเดียคงเป็นไปได้ยาก

แล้วช่างฝีมือกับหินทรายสีขาวนั้นมาจากที่ใด

ดูเหมือนมีคนพยายามโยงว่า ลวดลายกรอบประตูที่ปรางค์พะโค อ. โชคชัย
อาจเป็นคำตอบของเรื่องนี้ เพราะมีฝีมือที่ใกล้เคียงกับปราสาทบันทายศรี
ผมเองไม่เคยไปปราสาทหลังนี้ ได้แต่อาศัยดูภาพจาก internet ก็น่าเชื่อ
แต่เมื่อมองทับหลังกลับเห็นฝีมือที่ต่างกันเหมือนช่างคนละกลุ่ม

ถ้ายึดทับหลังเป็นหลัก ผมก็ให้ยุคสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2
แต่ปราสาทหลังนี้จะเป็นช่างฝีมือกลุ่มเดียวกับช่างที่สร้างบันทายศรีหรือไม่
ปัจจุบันตัวปราสาทนั้น ไม่อยู่ในสภาพที่จะบอกอะไรไปมากกว่านี้
เพราะดูเหมือนว่าปราสาทหลังนี้มีการซ่อม จึงอาจมีการใช้วัสดุซ้ำ

สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ตอนนั้นคงยุ่งกับการสร้างเกาะแกร์
ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ จนไม่มีเวลาสนใจจะขยายอำนาจไปที่อื่น
ดังนั้น ทับหลังแบบเกาะแกร์ที่พบที่ปราสาทในประเทศไทย
อาจเป็นปราสาทในสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ก็ได้

เพราะในทางศิลปะมันแตกต่างกันไม่มาก
จนเราอาจนิยามยุคสมัยจากเกาะแกร์แล้วไปบันทายศรีเลยก็ได้



Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 2 มีนาคม 2560 13:13:45 น. 6 comments
Counter : 1766 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ


 
สวัสดีคะ...

เวลาไปเที่ยวปราสาทเก่าๆ..จะชอบถ่ายภาพขาว-ดำ..

ดูสวย คลาสสิกดีคะ..คิดถึงหลายปีก่อนที่ไปเที่ยวบ่อยๆคะ



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:18:55:48 น.  

 
ทับหลังปราสาทสีชมพูอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีนะคะ
อ่านสนุกค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:20:09:13 น.  

 
สถานีรถไฟบ้านปิน ไปมาแล้วค่ะ ไปหลง อ.ลองมาแระ อิอิ
คุณผู้ชายก็ตามไปแล้วนะคะ อิอิ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuk-tukatkorat&month=01-05-2015&group=24&gblog=262


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:12:33:57 น.  

 
สถานีรถไฟสูงเนินเขาจะรื้อเพราะอะไรคะ
ที่จริงน่าจะทำเป็นการท่องเที่ยวแบบญี่ปุ่นเนาะ เพราะ มีเมืองโบราณเสมา พระนอน ปราสาทเมืองแขก
ต่อยอดมีรถเมล์วิ่งไป - กลับ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:14:51:36 น.  

 
สมัยก่อนนี้เก่งจังนะคะ บางทีเห้นแล้วอึ้งเลย


โดย: kae+aoe วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:15:47:06 น.  

 
อ่านสนุก เพราะคนเล่าเรื่อง "เก่ง" ค่ะ



โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:16:30:32 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]