Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
7 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
คนออกแบบ + เจ้าของบ้าน = ความลงตัว


แบบบ้านที่ลงตัว

วันนี้เราจะมาพูดถึงคุณสมบัติของเจ้าของบ้านและผู้ออกแบบ
รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลทั้ง 2 คนเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีครับ

เป็นที่ทราบกันดีว่ามัณฑนากรที่ดีนั้น จะไม่มีความหมายอยู่ในโลกเบี้ยวๆ ใบนี้เลย หากว่าไม่มีเจ้าของบ้าน
เพราะว่ามัณฑนากรไส้แห้งแบบพวกกระผมนั้น (แต่ตับแข็งแรงมาก) คงไม่มีปัญญาจะไปซื้อบ้านได้บ่อยๆ
และคงไม่สามารถมีบ้านได้หลายหลัง (รวมถึงบ้านเล็ก บ้านน้อยด้วย)

เจ้าของบ้าน แปลตรงตัวว่า คนจ่ายเงิน เพื่อซื้อบ้าน (บางคนจ่าย แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน ภรรยาเป็น ฮา)
และยังเป็นคนจ่ายเงิน เพื่อจ้างดีไซน์เนอร์ให้มาออกแบบบ้านด้วย
เพราะฉะนั้นเจ้าของบ้านจะเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้เลยจริงๆ

เกริ่นไปเยอะละ ตอนนี้เรามาดูกันว่าอินทีเรีย (หรือบางคนเรียกมัณฑนากร ผู้ออกแบบ หรือดีไซน์เนอร์)
มีไว้ทำไม? ต้องมีจริงๆ หรือ? จ้างแพงไหม? แล้วเราจะได้อะไรจากอินทีเรียบ้าง?

มาว่ากันถึงการว่าจ้างก่อนละกันครับ โดยทั่วไปหากคุณดีลกับมัณฑนากรสักคน
โดยส่วนมากผู้ออกแบบจะคิดค่าออกแบบเป็นเปอร์เซ็นต์ จากการประเมินราคาการก่อสร้าง
โดยคิดอยู่ที่ประมาณ 7-15%
หรือบางคนอาจคิดให้ง่าย ต่อเจ้าของบ้านและดีไซเนอร์ ด้วยการใช้ระบบเหมาจ่ายก็ได้


สิ่งที่จะรวมอยู่ในค่าออกแบบโดยทั่วไป ก็คือ

1. แบบแปลน (ไม่ว่าจะเป็นแบบไฟฟ้า แบบเฟอร์นิเจอร์ หรืออื่นๆ (ถ้ามี)

2. ภาพ perspective (หรือที่เรียกกันว่า “ภาพเปอร์” หรือภาพ 3 มิติ) อันนี้กี่ภาพก็แล้วแต่ตกลง
แต่ยิ่งเยอะก็จะยิ่งแพงนะครับ

3. ใบ B.O.Q. (Bill of Quantity) อันนี้ จะเป็นตารางบอกวัสดุและสเป็คต่างๆ รวมถึงจำนวนของวัสดุด้วย

4. การตรวจงาน ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่า ควรจะมีการตกลงกันด้วยว่าดีไซน์เนอร์จะเข้ามาตรวจงานให้ด้วย
อาจจะทุกสัปดาห์ หรือ สัปดาห์เว้นสัปดาห์ก็ดี เนื่องจากว่าพอช่างรับเหมาเริ่มทำงานแล้ว
ตัวเจ้าของบ้านอาจจะต้องการแก้ไขงาน หรือช่างอาจจะไม่เข้าใจแบบดีพอ
ซึ่งตรงนี้เอง ตัวดีไซน์เนอร์ก็จะเหมือนที่ปรึกษาให้กับบ้านของเราด้วย

การชำระเงิน ก็อาจจะแบ่งออกเป็นงวดๆ ไป อันนี้ต้องตกลงกันเองนะครับ

ในส่วนของการทำงาน (หลังจากตกลงสรุปราคาเรียบร้อย)

ขั้นตอนแรก ตัวของผู้ออกแบบจะเข้ามาวัดสถานที่จริง (ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ออฟฟิศ หรืออื่นๆ)

ถัดมาก็จะทำการวางเลย์เอาท์ (layout) มาให้
เพื่อดูฟังก์ชั่นการใช้งาน ว่าเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าหรือไม่ ซึ่งก็สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้

หลังจากที่เลย์เอาท์สรุปลงตัว ก็จะเป็นขั้นตอนของการออกแบบ
โดยเขียนเป็นภาพ perspective มาให้ดูรูปแบบของการตกแต่ง
พอปรับเปลี่ยนแก้ไขงานลงตัวเป็นที่เรียบร้อย ผู้ออกแบบจะทำการขยายแบบ คือการเขียนแบบด้านเทคนิค
เพื่อให้ช่างเอาไปทำงานได้ และรวมถึงใบ B.O.Q เพื่อให้ผู้รับเหมาทำเสนอราคามาให้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การว่าจ้างข้างบนที่ผมพูดถึง อาจจะปรับเปลี่ยนได้แล้วแต่สถานการณ์นะครับ
เพราะนี่เป็นเพียงลักษณะงานทั่วไปเท่านั้น

ถึงตรงนี้ เราจะเห็นว่าการทำบ้าน เอาเข้าจริงวุ่นวายไม่ใช่เล่น นี่แค่เริ่มต้นตกลงก็ขั้นตอนเยอะแยะแล้วครับ
เพียงแต่ว่าบ้านที่เราจะสร้าง มันไม่ได้อยู่แค่เพียงเดือน สองเดือนนะครับ อาจจะเป็นสิบปีก็ได้
เพราะฉะนั้นสร้างทั้งทีต้องให้ลงตัวที่สุด

ผมไม่ได้บอกว่าต้องจ้างอินทีเรียนะครับ เพียงแต่หากต้องการการทำงาน รวมถึงบ้านที่สะดวกสบาย
และมีประโยชน์ แม้กระทั่งการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่คุณอาจจะต้องเสียไปโดยไม่จำเป็น
คุณเจ้าของบ้าน อาจจะต้องมองหาอีกครึ่งของความสมบูรณ์ในการทำบ้านก็ได้ครับ


ที่มา : //www.bangkokbiznews.com


สารบัญ ตกแต่งบ้าน และ จัดสวน


Create Date : 07 มิถุนายน 2554
Last Update : 7 มิถุนายน 2554 15:17:08 น. 1 comments
Counter : 2102 Pageviews.

 
มันยุ่งยากอย่างนี้นี่เอง....


โดย: klint77 วันที่: 8 มิถุนายน 2554 เวลา:8:10:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.